KAKA Engineering, we're driving the future
  • Home
  • Knowledge
  • Inspection
  • Boiler/ Vessel
  • Hydrotest/Safety valve
  • Contact Us
  • ENG version
  • ASME
  • Boiler Room

บทความ ASME เกี่ยวกับ U Stamp

4/1/2011

8 Comments

 
Picture

ยุคสมัยนี้ การสื่อสารด้วย E mail เท่านั้นครับ ถึงจะว่องไว

Knowledge ฉบับนี้ ผมมีบทความเกี่ยวกับ ASME โดยตรงครับ ที่ได้รับมาเป็นคำถาม เกี่ยวกับ Pressure vessel ในส่วนของ ASME section VIII div 1. ซึ่งเป็น Code ยอดนิยมเลยล่ะครับ เกี่ยวกับ ภาชนะรับแรงดัน ลำดับต้นๆเลยล่ะครับ ที่เจอกันในประเทศไทยของเรา ไม่ว่าจะเป็นถังแรงดัน, ถังลม,  Air receiver tank,  ถังเก็บสารเคมี,  ถังบรรจุก๊าซLPG, หรือว่าถังสารพัดถังที่รับแรงดันและ meeting requirement ในส่วนของ ASME section VIII div 1. ของเรา ซึ่งเป็น E-mail คำถามจากเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งครับ สอบถามเข้ามา ผมเห็นว่าคำถามน่าสนใจมากครับ จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังใน Knowledge ฉบับนี้ครับ

มาทวนคำถามกันเลยครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาครับ จาก Information ที่เราได้รับในเบื้องต้น design pressure 27 PSI ความจุ 740 cubic ft. ซึ่งจะให้ Design ตาม ASME section XIII จากข้อมูลที่ได้รับ

          1)    pressure vessel ลูกนี้ จำเป็นต้อง มี code “Stamp” ไหมครับไม่ทราบว่าการพิจรณาว่าต้อง “Stamp” ดูที่อะไรเพราะ Tank เก่า ขนาดใหญ่ หลายลูกในโรงงานผม (เกือบ 20ลูก) ออกแบบตาม ASME แต่ไม่ “Stamp” เลยสักลูก  หรือว่าผิดกันมาตั้งนาน

          คำตอบคือ ในการที่เราจะตอบว่า Pressure vessel ลูกนี้ จำเป็นต้องมี code “Stamp” หรือไม่/ ดูที่อะไร คำตอบคือ ดูที่ บริษัทผู้ผลิตถัง หรือ โรงงานที่เค้าผลิตถังให้เราครับ ส่วนเราในฐานะผู้ใช้ หรือผู้ซื้อ หรือผู้ไปเอาถังใบนั้นมาใช้งาน จะขายต่อ จะอะไรก็ว่ากันไปนะครับ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเจ้า stamp ตัวนี้เลยครับ เจ้า code stamp เนี่ยมันเป็นหน้าที่ของ บริษัทผู้ผลิตถัง หรือโรง Fabrication ถังนั่นเองครับ

          ซึ่งหน้าที่หลักๆของเจ้า stamp ตัวนี้คือ เป็นการบ่งชี้ หรือบ่งบอกว่า ถังใบเนี้ย......สามารถที่จะทวนกลับไปได้ เริ่มตั้งแต่ เหล็กที่เอามาใช้สร้าง หรือวัสดุี่เอามาใช้สร้าง การเชื่อม การออกแบบ รายการคำนวณ การตรวจสอบ ที่สามารถทวนกลับไปได้ทุกเมื่อ โดยที่ follow ตาม ASME นั่นเอง โดยจะต้องมีรายละเอียดที่ว่าเนี่ยครับ อยู่ที่โรงงานผู้ผลิตถังให้เรา โดยที่จะต้องมี หน่วยงานที่สาม หรือหน่วยงานกลางที่เป็น third party ของ ASME เอง ที่เรียกกันว่า Authorize inspector หรือสั้นๆว่า AI มาจัดการแทนเรา(ในฐานะที่เราเป็นผู้ซื้อ) โดยที่ Authorize inspector ก็ต้องมาจาก Authorize Inspection Agency : หรือ AIA ซึ่งก็ต้อง Accredited by ASME นะครับ ไม่ใช่ Inspector จาก สมชาย เอ็นจิเนียริ่ง, ศรีสมร เอ็นจิเนียริ่ง หรือว่า กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง แบบนั้นก็ไม่ใช่ครับ(ตรงนี้ UG-91 ใน ASME section XIII div 1.)

          ทีนี้คำถามคือ แล้วมันดียังไง คำตอบคือดีตรงที่มันได้คุณภาพมากกว่านั่นเองครับ ทวนกลับได้ หรือ ในภาษาง่ายๆคือ ได้ มอก.แบบบ้านเราว่างั้นครับ แต่เป็น มอก.ของเพื่อนชาวฝรั่งนั่นเองครับ เป็น Code เป็นกฎ ของเพื่อนชาวฝรั่งนั่นเอง ซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์คือ Value หรือ ราคามันจะได้ราคากว่าชาวบ้านนั่นเองครับ ราคาถังแพงกว่า เพราะเหตุผลที่ได้เจ้า Stamp ตัวนี้นั่นเอง Quality มันก็ตามตัวขึ้นไปนั่นเอง

          แล้วทีนี้ที่ผ่านมาล่ะ ถังโรงงานผมที่ใช้งานผ่านมา มันไม่มี Stamp แต่มันออกแบบตาม ASME ผิดหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ผิดครับ ผมออกแบบตาม ASME หรือ Design ตาม ASME ความหนาถัง การเชื่อมต่อ รอยต่อ การทดสอบ ถ้าเราทำตาม ASME code มันก็สามารถทำได้ ทีนี้ประเด็นคือ อ้าว.....แล้วผม ในฐานะคนใช้ถังเนี่ย หรือคนซื้อถังเนี่ย จะรู้ได้อย่างไรว่าท่าน(โรงงานที่ผมจะซื้อถังเนี่ย)ทำตาม ASME code หรือ ที่ท่านบอกว่า ถังของเรา ออกแบบ ทำตาม ASME code นะ ไม่ใช่ สมชาย code ว่าอย่างนั้น

          ตรงนี้ล่ะครับ บริษัททำถังที่ได้ U stamp เนี่ย จะต้องมีเอกสารทุกขั้นตอน ให้เราดู ยืนยันจริง มีคนกำกับการทำงาน ซึ่งต้องเป็น third party ซึ่งก็คือคนของ ASME ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เข้ามาตรวจสอบแทนเราจริง เก็บเอกสารจริง มีเอกสาร รายละเอียดให้เราดู คือขั้นตอนมันจะเยอะกว่า สุดท้ายเนี่ย ตอนที่เราซื้อถังมา ได้ถังมา ก็ต้องได้แบบฉบับเอกสารรวมเล่มขั้นตอนที่กล่าวมาข้างข้นนั่นล่ะครับเป็น เป็นข้อมูลการสร้างถังทั้งหมดที่นิยมเรียกกันว่า MDR หรือว่า Manufacturer’s Data Report มาให้ท่านด้วย เช่นกันครับ
Picture

2)    ถ้าต้องมี “Stamp” ต้องเป็น “U” หรือ “UM” ครับ อะไรคือความแตกต่างครับ

คำตอบคือ U Stamp กับ UM Stamp เนี่ยต่างกันที่อะไร มีสองส่วนที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ U Stamp และ UM Stamp นั่นก็คือ ส่วนแรก UM Stamp เนี่ย ใน U-1(j) เนี่ยจะระบุถึง ขนาด และ design pressure เอาไว้เรียบร้อย ว่าถ้าเข้าข่ายนี้นะ UM Stamp มาแน่นอนล่ะว่างั้น กับเรื่องน่ารู้อีกเรื่องหนึ่งครับนั่นคือ การที่โรงงานผลิตถัง จะผลิตถังที่เป็น UM stamp ออกมาขายได้เนี่ย จำเป็นจะต้องที่ได้ U stamp ก่อนเท่านั้น โรงงานถึงจะทำถัง UM stamp ออกมาได้ แล้วทั้งนี้ และทั้งนั้น U stamp จะต้อง certify โดยท่าน Authorize Inspector หรือ AI หรือ คนของ ASME แต่ UM stamp จะ certify การเก็บหลักฐาน เก็บข้อมูลโดย โรงงานผู้ผลิตถังเอง โดยที่ QC ของโรงงานจะต้องถูก Audit โดยคนของ ASME อีกครั้งหนึ่ง อีกทั้ง UM Stamp เนี่ย เวลาขอต่อ มันต้องขอต่อ ปีต่อปี แต่ของ U Stamp เนี่ย ขอได้ปุ๊บ อยู่ได้สามปี พอครบสามปี ก็ยื่นเรื่องขอ Stamp ต่อายุให้ ASME เข้ามาพิจารณาใหม่ เท่านั้นเอง

จะเห็นได้ว่า มาตรฐานแทบไม่ต่างกัน (ความเห็นส่วนตัวนะครับ) ต่างกันที่ ดีกรีความเคี่ยว ขนาด และ Design pressure เป็นหลักนั่นเองครับ

Picture

3)    การออก code “Stamp” มีการหมดอายุไหมครับ หรือว่าออก “Stamp” ให้ตั้งแต่ตอนสร้างเสร็จครั้งแรก ก็ใช้ได้ตลอด

          อย่างนี้ครับ…..ถังใบนี้ สมมตินะครับ serial no. KAKA120-BUG ได้ผ่านการผลิต จากโรงงาน หรือโรง Fabricationที่ได้รับรองคุณภาพ หรือ ได้ U stamp ว่างั้น เมื่อวันที่ สมมติ 1 มกราคม 2554 หมายถึง เสร็จสิ้นกระบวนการแล้วล่ะ เมื่อวันที่ 1 โรงงานผู้ผลิตถัง ส่งมอบถังให้ท่านแล้วล่ะ ถังท่านมาตรฐานตามนี้ คำตอบคือ มันไม่ได้บ่งชี้ว่ามันจะหมดอายุเมื่อไหร่ครับ อายุของการ ขอ certify หรือว่า อายุการใช้งานของถัง เป็นคนละประเด็นครับ ดังเช่นคำตอบในข้อสอง เกี่ยวกับความแตกต่างของ U และ UM Stamp ตามที่กล่าวไว้แล้ว(ตรงนี้ ใน Mandatory appendix 10 มีรายละเอียดที่เพิ่มเติมครับ) การที่จะบ่งชี้ว่ามันจะหมดอายุเมื่อไหร่ ขึ้นกับ ถังจะสามารถทนแรงดันได้อยู่หรือเปล่านั่นเองครับ ถึงเป็นผลให้มันมีการตรวจสอบถังในลำดับถัดมานั่นเองครับ ไม่ได้เหมือน ปลากระป๋อง มีวันที่ผลิต/ วันหมดอายุนะครับ และก็ไม่ได้เกี่ยวว่า ถัง U stamp จะใช้งานได้ยาวนานกว่า ถังที่ไม่ได้ U stamp ไม่ใช่นะครับ การใช้งาน การบำรุงรักษาก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับที่เราจะพิจารณา พูดในลำดับถัดมา ว่าถังเราเนี่ยจะอยู่ได้นาน อยู่ได้ชั่วลูก ชั่วหลาน เป็นคนละประเด็นครับ

                    Knowledge ฉบับนี้ ว่ากันด้วยเรื่อง Code ASME section VIII div 1 ที่เกี่ยวกับ U stamp, UM stamp ล้วนๆเลยครับ จริงๆผมอยากเขียนถึง UV stamp อีกซักตัว แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้น ถ้าเพื่อนสมาชิก อยากสอบถามเกี่ยวกับ Code ตัวอื่นที่เกี่ยวพันกับงาน engineering ของเราก็สามารถครับ ทางเราเห็นว่า section VIII มันอยู่ใกล้ตัวเรา จะหยิบ จะจับมันใกล้ตัวว่างั้นครับ เลยมาเล่าสู่กันฟังครับ หรือเพื่อนสมาชิกท่านใด มีประสบการณ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ยินดีมาแชร์กันครับ ทางอีเมลล์ของเราได้ที่
KAKA@KAKAEngineering.com


8 Comments

Limitation of NDT หรือ ข้อจำกัดของการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย

25/7/2010

6 Comments

 
         
          หลังจากที่เราได้รู้จัก การเลือก
NDT มาใช้ให้เหมาะสมกับงาน ของเราในเบื้องต้นแล้วนั้น บทความนี้ขอนำทุกท่านเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อจำกัดของ NDT โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะเน้นไปที่งานเชื่อมเป็นหลักครับ โดยที่ Limitation ของ NDT หรือ ข้อจำกัดของมันนั้น แน่นอนว่า NDT คือ กระบวนการตรวจสอบกระบวนการหนึ่ง ซึ่งเพิ่มความมั่นใจในตัวชิ้นงาน หรือสามารถกล่าวได้ว่า เราสามารถที่จะการันตี ชิ้นงาน ของเราได้ในระดับหนึ่ง(หากอ้างอิงจาก Code/ Standard หรือ Specification) แล้วหากกรณีที่ว่าเราต้องการตรวจสอบเพื่อความมั่นใจ ตรวจสอบเพื่อความปลอดัย ตรวจสอบเพื่อความเป็นระบบล่ะ แน่นอนว่าเราสามารถที่จะทำกระบวนการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย หรือเจ้า NDT ตัวนี้ได้ โดยที่เราสามารถที่จะอ้างอิงจาก Welding procedure หรือขั้นตอนงานเชื่อมนั่นเอง ซึ่งก็สามารถทำได้ครับ เนื่องจากหากงานเชื่อมเรามี ขั้นตอนงานเชื่อมนะ ว่างานเชื่อมของเราได้ทำตามเงื่อนไขแล้ว การทำ NDT ก็เปรียบเสมือนการการันตีชิ้นงาน หรือการันตีงานเราไปอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง

            ปัจจัยหลักๆ ที่เรานำมาพิจารณา Method หรือ แต่ละวิธี ซึ่งมันจะสัมพันธ์กับ ข้อจำกัดของการทำ NDT สามารถที่จะสรุปอย่างคร่าวๆได้ดังนี้ครับ โดยในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะ method ในการตรวจสอบหลักๆ ที่เรามักพบเจอ หรือนิยมเจอในประเทศไทย เป็นหลัก อันได้แก่ MT(Magnetic Particle Inspection)/ PT(Penetrant Testing)/ UT(Ultrasonic Testing) และ RT หรือ Radiographic Testing( นิยมเรียกว่า X-ray/ gamma-ray)

          Factor ที่ 1. Type of material หรือ ชนิด ของวัสดุ เช่น งานเชื่อมของท่านเป็นวัสดุกลุ่มไหน เป็นเหล็ก/ สเตนเลส/ ทองเหลือง/ ทองแดง/ อลูมิเนียม เป็นต้น แน่นอนครับว่า group หรือ กลุ่มของบรรดาวัสดุที่กล่าวมา ล้วนเกี่ยวเนื่องกับข้อจำกัดของ NDT อย่างแน่นอนครับ

          ยกตัวอย่าง: งานเชื่อมประกอบโครงสร้างของเรือ ที่ทำจากอลูมิเนียม อยากทำการตรวจสอบแนวเชื่อม แน่นอนครับว่า อลูมิเนียม อยู่ในวัสดุกลุ่ม Non ferrous material(ภาษาบ้านๆเลยคือ วัสดุในกลุ่มที่ไม่มีอำนาจที่จะเหนี่ยวนำแม่เหล็ก) ดังนั้น NDT ใน method ที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้ ในวิธีนี้ก็คือ การตรวจสอบด้วยอนุภาคแม่เหล็ก/ Magnetic Particle Inspection หรือ MPI หรือ MT ก็สุดแล้วแต่จะเรียกครับ ก็เป็นวิธีที่ตัดทิ้งไปได้เลยครับ 


          Factor ที่ 2. Thickness of materialหรือ ความหนาชิ้นงาน งานเชื่อมที่เราต้องการตรวจสอบ หนามาก/หนาน้อย/ ส่วนที่เชื่อมต่อมีหลาย Joint/ หลายจุด หนาบ้าง ไม่หนาบ้าง เท่ากันบ้าง แน่นอนครับว่า ข้อจำกัดของการทำ NDT ในแต่ละ method ส่งผลแน่นอน เพราะ แต่ละวิธีนั้น จะครอบคลุม หรือ Cover ในส่วนของความหนาชิ้นงานเชื่อมที่ไม่เท่ากัน
Picture
PT ครอบคลุม งานเชื่อมที่ความหนาไม่มากนัก/ เน้นการตรวจสอบที่พื้นผิวความหนาชิ้นงานเป็นหลัก

MT สามารถที่จะ Detect หรือตรวจสอบข้อบกพร่องในงานเชื่อม ได้ในระดับความหนาจากพื้นผิวงาน ไม่เกิน 3-4 มิลลิเมตร ถ้าหนามากกว่านี้…แน่นอนครับ อำนาจสนามแม่เหล็ก ส่งผ่านลงไปไม่ถึง ก็ไม่สามารถตรวจสอบในส่วนที่ อำนาจแม่เหล็กลงไปถึงได้

UT เหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีความหนา แล้วหนาเท่าไหร่ล่ะครับ…คำถามถัดมา หนามากกว่า 12.7 มิลลิเมตร หรือ หนามากกว่า ½ นิ้วขึ้นไปครับ ถึงจะเหมาะสมกับวิธีนี้ ด้วยข้อจำกัดทางด้านเทคนิค ของการส่งผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง จะมีผลโดยตรงกับระยะความหนาตั้งแต่ 2 มม. ถึง 12 มม. ซึ่งเป็นตัวแปรหลักอันสามารถทำให้เกิดการตีความที่ผิดพลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงความหนา 3-4 มม. แรก เราไม่สามารถที่จะอ่านค่าได้(จากข้อจำกัดทางเทคนิค)จึงไม่นิยม ทำ UT ในกรณีที่งานเชื่อมเรา หนาน้อยกว่า ½ นิ้วนั่นเองครับ

RT เหมาะสำหรับชิ้นงาน หรืองานเชื่อมที่มีความหนาตั้งแต่ 3-30 มม. หนากว่า 30 มม. ทำไมจะทำ RT ไม่ได้/ ทำได้ครับ แต่…ผลของภาพถ่ายด้วยรังสี หรือ Film จะไม่สวยครับ และอีกทั้ง ท่านจะใช้เวลาในการตรวจสอบที่นานเกินความจำเป็น


Factor ที่ 3.
ความซับซ้อนของชิ้นงาน และ การเข้าถึงชิ้นงาน


           ความซับซ้อนของชิ้นงานเชื่อม ซับซ้อนมาก หรือน้อย เชื่อมต่อชนธรรมดา เชื่อมตั้งฉาก หรือ Fillet weld หรือ Joint ในลักษณะ ของ T-Y-K  พวกนี้จะส่งผลต่อ ข้อจำกัดของการทำ NDT ครับ ยกตัวอย่าง แนวเชื่อม Fillet weld ของแผ่นเสริมแรง ที่ฐานเสาไฟ…RT ได้มั้ย/ ได้ครับ แต่ Film ท่านไม่สวยแน่ อาจตีความผิดพลาดได้แน่ เพราะรังสีที่ผ่าน ตกลงมาบน film นั้น ต้องผ่าน แผ่นเสริมแรงในแนวตั้ง+ผ่านแนวเชื่อม+ผ่านพื้นเสาในแนวนอน แบบนี้ ภาพถ่ายที่ได้ไม่สวยครับ เราไม่นิยมทำ RT ในกรณีที่ต้องผ่านความหนา 2 ความหนาแบบนี้ครับ PT หรือ MT เหมาะสมกว่าด้วยประการทั้งปวงครับ

            การเข้าถึงชิ้นงาน เข้าได้ด้านเดียว หรือ เข้าถึงได้สองด้าน เช่น ผมมีเหล็กกล่อง(หนา 5mm ขนาดหน้าตัด สี่เหลี่ยม กว้างxยาว 1 นิ้วx3.5 นิ้ว) ต่อชนกัน เพื่อให้มันยาวขึ้นว่าอย่างนั้น แน่นอนครับ การเข้าถึงชิ้นงานเข้าได้ด้านเดียว คือด้านนอก เพราะด้านในเราเข้าไม่ได้นี่ครับ ถ้าจะ RT ก็ผ่าน สองความหนาอีก จะ UT ชิ้นงานก็บางเกินไปอีกครับ เหลือแต่ MT และ PT แล้วครับ ที่ท่านสามารถเลือกใช้ได้

            เช่นเดียวกันครับ…ผมเปลี่ยนจากเหล็กกล่องของผม เป็นเหล็ก I – beam หนาเท่าเดิมเลยล่ะ หนา 5 มม. (หน้าตัดชิ้นงานตามขวาง เป็นรูปตัว I) เห็นข้อแตกต่างชัดเจนครับ การเข้าถึงชิ้นงาน สามารถเข้าถึงได้สองด้านแบบนี้ RT ได้มั้ย/ ผ่านความหนาเดียวด้วย คำตอบคือ ได้ครับ film สวย/ อ่าน หรือ แปรผลง่าย เหมาะสมกับการตรวจสอบ แล้ว MT ล่ะ ได้มั้ย…ได้เหมือนกันครับ หนา 5 มม. นี่ครับ แต่เข้าถึงหน้าชิ้นงานได้ทั้งสองด้าน ก็ทำ MT ทั้งสองด้าน 3+3 เท่ากับ 6 มม. Cover หรือ คลอบคลุม แนวเชื่อมแล้วครับ

Picture
Factor ที่ 4. ความปลอดภัยในการทำงาน

          ตรงนี้จะขอเน้นไปที่ การทำ RT เป็นหลักครับ…เนื่องจาก ความปลอดัยทางด้านรังสี ที่ใช้ถ่ายภาพ หรือทำ RT นั่นเอง กล่าวโดยรวมคือ หน้างาน/ site งาน หรือ บริเวณ ที่จะทำงานของท่านเป็นอย่างไร อยู่ที่โล่งแจ้งมั้ย มีกำบังมั้ย อยู่ติดถนนคนเดินผลุกผล่าน หรืออยู่กลางป่า กลางเขา หรืออยู่ใน shop มีคนทำงานเป็นกะ ตลอด 24 ชั่วโมง……

          .เพราะอะไรครับ เพราะหากเป็นสถานที่ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนเป็นข้อจำกัด หากเราไม่สามารถที่จะจำกัด จำนวนคนไม่ให้เข้ามาในบริเวณที่ทำ RT ได้นั่นเอง เนื่องจากรังสีอันตรายไงครับ…..ดังนั้น หากทำ RT ต้องมีการกั้น หรือ กันพื้นที่ ไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปอย่างเด็ดขาด หากเป็นบริเวณที่ไม่สามารถกั้นได้ล่ะครับ เช่น ริมถนนใหญ่/ตึกสูง อาคารสูง/ ใจกลางเมือง สีลม สาทร/ ในโรงพยาบาล/ สถานศึกษา แบบนี้….งาน ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย นิยมที่จะหลีกเลี่ยง การทำ RT เป็นหลักครับ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆครับ


Factor ที่ 5.
ความถี่ในการตรวจสอบ


            แน่นอนครับ ความถี่ในการตรวจสอบมีผลโดยตรง ไม่ว่าท่านจะทำการตรวจสอบแบบ Full Inspection(ทำมัน 100% ทุกแนวเชื่อมเลย) หรือ Random Inspection(สุ่มเอา เป็น% ไป อาจจะ 15% หรือ 25% ก็ว่ากันไป) หรือ เฉพาะ joint เฉพาะจุดที่ serious จุดที่เป็น weak point หรือ จุดแนวเชื่อมสำคัญๆ ที่รับน้ำหนัก รับ load รับ stress ที่เกิดขึ้น ก็เป็นได้ครับ ซึ่งท่านจะทำการตรวจสอบโดยทางผู้ผลิตเอง หรือ ให้ทางหน่วยงานที่สาม(หน่วยงานกลาง หรือ third party) ตรวจสอบ ตรงนี้ล้วนมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบทั้งนั้นครับ หรืออาจจะมี Inspection Test Plan ของแต่ละโครงการ ของแต่ละลักษณะงานเชื่อมนั้นๆ ควรปริกษากับวิศวกรในแต่ละงานนั้นๆครับ เพื่อให้ง่ายขึ้น มี Procedure งานเชื่อมสร้าง งานเชื่อมซ่อม/ Procedure งานตรวจสอบ เป็นต้นครับ

            สำหรับทั้ง 5 Factor นั้น เป็นปัจจัยหลักๆนะครับ จากการทำงานที่ผ่านมา….อาจจะไม่ตายตัว หรือ ไม่ยึดติดในกรณีใด กรณีหนึ่ง แต่ขอให้อ้างอิง ถึงความเหมาะสมในการทำงานเป็นหลักครับ ส่วนในเรื่องของราคาการตรวจสอบ แน่นอนครับ RT คิดเป็น film(ราคาต่อ film ครับ-พอสมควรครับ)PT/MT คิดเป็น ต่อ เมตรแนวเชื่อม หรือ minimum ขั้นต่ำพื้นที่ทำการตรวจสอบ เช่นเดียวกันกับ UT ครับ….ดังนั้นมาถึงตรงจุดนี้แล้ว ท่านก็สามารถที่จะ select หรือ เลือก หรือ พิจารณาข้อจำกัดของ การทำ NDT เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับการทำงานของท่านได้แล้วนะครับ เพื่อเป็นการการันตีงานของท่านให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นครับ
6 Comments

WPS+PQR+WQT กับงานเชื่อม(ภาค1)

1/7/2010

13 Comments

 
               หลายท่านคุ้นเคยกับศัพท์ทางด้านงานเชื่อมพวกนี้อยู่แล้วครับ แต่มาวันนี้เรามาทบทวน เผื่ออีกหลายท่านที่แวะเวียนมายังพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ ได้มาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

               WPS หรือ Welding Procedure Specification หรือ ภาษาไทยจะเรียกว่า ขั้นตอนงานเชื่อม ก็ไม่ผิดนัก ซึ่งโดยชื่อมันก็บอกเราตรงๆแล้วว่า เป็นขั้นตอนที่ระบุตัวแปรของงานเชื่อมเอาไว้ ในแต่ละงานนั้นๆ กำหนดให้ใช้ตัวแปรนั้นๆในการเชื่อม ซึ่งตัวแปรต่างๆนี่ล่ะครับ จะเป็นตัวหลักเลยที่จะบอกว่า งานเชื่อมของท่านนั้น จะมีผลหรือส่งผลต่อ mechanical property ในตัวเนื้องานแค่ไหน หรือ ผลกระทบทางด้านอื่นๆ เช่น โลหะวิทยาที่เปลี่ยนไป ผลต่อความแข็งหรือ hardness หรือแม้กระทั่ง Defect ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ หากผิดขั้นตอนงานเชื่อมตัวนี้ ที่จะเป็นผลให้งานของเราๆท่านๆเสียหายได้ครับ

Picture
               หลายท่านคุ้นเคยกับศัพท์ทางด้านงานเชื่อมพวกนี้อยู่แล้วครับ แต่มาวันนี้เรามาทบทวน เผื่ออีกหลายท่านที่แวะเวียนมายังพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ ได้มาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

               WPS หรือ Welding Procedure Specificationหรือ ภาษาไทยจะเรียกว่า ขั้นตอนงานเชื่อม ก็ไม่ผิดนัก ซึ่งโดยชื่อมันก็บอกเราตรงๆแล้วว่า เป็นขั้นตอนที่ระบุตัวแปรของงานเชื่อมเอาไว้ ในแต่ละงานนั้นๆ กำหนดให้ใช้ตัวแปรนั้นๆในการเชื่อม ซึ่งตัวแปรต่างๆนี่ล่ะครับ จะเป็นตัวหลักเลยที่จะบอกว่า งานเชื่อมของท่านนั้น จะมีผลหรือส่งผลต่อ mechanical property ในตัวเนื้องานแค่ไหน หรือ ผลกระทบทางด้านอื่นๆ เช่น โลหะวิทยาที่เปลี่ยนไป ผลต่อความแข็งหรือ hardness หรือแม้กระทั่ง Defect ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ หากผิดขั้นตอนงานเชื่อมตัวนี้ ที่จะเป็นผลให้งานของเราๆท่านๆเสียหายได้ครับ


Picture
               PQR หรือ Procedure Qualification Recordจะเป็นตัวที่บ่งบอก หรือบ่งชี้ เงื่อนไขของงานเชื่อมใน WPS นั้นๆ เพราะว่า การทำ PQR นั้นๆ จะบ่งบอก หรือบ่งชี้ WPS ตัวนั้นๆ ว่ามันสามารถที่จะเอาไปใช้งานได้หรือไม่ นั่นคือ มีการ พิสูจน์ถึงตัวแปรในงานเชื่อมที่เราระบุอยู่ใน Code นั้นๆไงครับ ซึ่งขั้นตอนของการจัดทำ PQR ก็ต้องมาระบุชิ้นงานตาม WPS นั้นๆ เอาชิ้นงานที่ผ่านการเชื่อมตามที่ WPS นั้นๆ(จริงๆควรจะเรียกว่า Pre-WPS มากกว่า) มาทำ NDT หรือ non-destructive testing(สำหรับ AWS D1.1) หรือ อาจจะไม่ทำ เพื่อดู sound weld(สำหรับ ASME code/ material บางตัว).....มาทำ Tensile test ดึงโหลดดู mechanical property หรือนำชิ้นงานมาบิด มาดัด หรือ bending ดูความเหนียว หรือ toughness เพื่อที่ว่าสามารถรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเชื่อม ในแต่ละ WPS นั้นๆได้ ซึ่ง PQR ตัวนี้ ใน Code แต่ละตัว แต่ละเงื่อนไขก็มีระบุอยู่ครับ ว่าการทำ PQR จะทำอย่างไรบ้าง ตัดชิ้นงานทดสอบอย่างไร เตรียมชื้นงานทดสอบอย่างไร กี่ชิ้น นำไปทำอะไรบ้าง หรือ ผลการทดสอบ จะ Accept หรือ Reject เพื่อเป็นตัวตัดสิน WPS นั้นๆ ตรงนี้ใน Code ภายใต้งานนั้นๆ มีบอกไว้ชัดเจนครับ

               ดังนั้น WPS นั้นๆที่สามารถเอามาใช้งานนั้นๆได้ จำเป็นจะต้องมีเจ้า PQR ตัวนั้นๆรองรับ หรือ สามารถกล่าวว่า WPS ตัวนั้นๆ มี PQR ตัวนั้นๆ support นะ ไม่ใช่อยู่ดีๆ เอา WPS ที่ไหนมาก็ไม่รู้ นั่งเทียนเอามา ผล PQR support ก็ไม่มี แล้วแบบนี้จะเอาไปใช้งานได้อย่างไร ถูกมั้ยครับ เพราะจะเอาอะไรมา การันตี mechanical property ในงานนั้นๆล่ะครับ ดังนั้นใน WPS ทุกตัวจะต้องมี PQR ระบุ ว่า support ทุกครั้งครับ

เช่น WPS kaka 001 จะต้องระบุ Support by PQR no. kaka 001 ในทางเดียวกัน

PQR no. kaka 001 จะต้องระบุ Supported WPS no. kaka 001 เช่นเดียวกันครับ ถึงจะสมบูรณ์

                ซึ่งข้อมูลใน PQR จะต้องระบุ เงื่อนไข ที่ follow ตาม WPS ตาม Code meeting นั้นๆในแต่ละงาน/ มีผลการทดสอบ ยกตัวอย่างเช่น มีผล Bending/มีผล Tensile/มีผล Macro จาก Lab หรือจาก สถาบันทดสอบที่ได้มาตรฐาน ตาม Code requirement นั้นๆ ซึ่ง 1 PQR สามารถที่จะ support ได้ หลายWPS เช่นเดียวกันครับ 1WPS ก็สามารถที่จะ support ได้หลายPQR ดังนั้นจะเห็นว่า ขั้นตอนการจัดทำ WPS จะไปยุ่งยาก ตรงลองผิด ลองถูก เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่ง ผลของ PQR ที่สมบูรณ์ หรือผิดพลาดน้อยที่สุดตาม code requirement เพื่อที่จะให้เงื่อนไขของ WPS นั้นๆ Approve หรืออนุมัติ ไปใช้งานได้ครับ

               งานบางงาน ย้ำว่าบางงานครับที่ทางเราเคยเจอมา เรารู้กันอยู่แล้วว่าคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก คนไทยหัวหมอครับ เจอฝรั่งหัวหมอ ไม่เชื่อในผลของ PQR ในส่วนของตัวชิ้นงาน ถึงกับต้องนำ ชิ้นงานที่ทำ PQR มาวิเคราะห์ดูเองก็มีนะครับ ทั้งก่อนนำชิ้นงานไปดัด ไปดึง แล้วก็ชิ้นงานหลังผ่านการดัด หลังผ่านการดึง นำมาส่งให้เจ้าของงาน ดูด้วยทุกครั้ง แบบนี้ก็มีครับ/ ขนาดถึงกับเจ้าของงาน หรือ owner อยากไปดูตอนทดสอบ ตอนทำ Lab ก็ต้องพาเค้าไปดูจริงๆ ล่ะครับ นี่ล่ะครับ คนไทยหัวหมอ.....เดี๋ยว blog หน้า จะต่อภาคสอง (WPS+PQR+WQT ภาค 2 ครับ)



13 Comments

ศัพท์ Welding ผู้รับเหมา แปลกๆ

4/6/2010

8 Comments

 
          ทางทีมงานขอเสนอ คำศัพท์ ทางด้านงานเชื่อม ที่เรามักจะเจอ หรือมักจะพบ ในลักษณะของผู้รับเหมาพูดกัน เป็นคำฮิด ติดปาก ที่พบกันบ่อยๆครับ หากท่านใด มีศัพท์ทางเทคนิค แปลกๆ ศัพท์เฉพาะทางที่ใช้เรียก ก็ยินดีนำเสนอ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ

Picture
ดีบี หรือ DB      

         
เรามักคุ้น ศัพท์นี้จากงานเชื่อม ท่อ หรือ เชื่อม pipe ครับ ซึ่งคำว่า ดีบี หรือ DB ย่อมาจาก Diameter Bore ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางนั่นเอง หากแต่เทียบขนาดแล้วตัวเลขจะไม่ลงตัวนะครับ เช่นท่อขนาด 1นิ้ว OD ไม่ใช่ 1นิ้วเป๊ะๆ หรือ ท่อ 3 นิ้ว ขนาดก็ไม่ใช่ OD 3 นิ้วเป๊ะๆ แต่ที่เราเรียกขนาดท่อกัน นี่คือ Norminal pipe size หรือ NPS นั่นเอง (ลองดู File ที่ใช้กันบ่อยๆครับ ใน KAKA Support) มีให้โหลดตรงนี้อยู่ เกี่ยวกับขนาดท่อ


          แล้วเราจะเจอ หรือ เราจะใช้เมื่อไหร่ เจ้าดีบี เนี่ย คำตอบคือ ส่วนใหญ่ เราจะใช้กันในการคิดราคา/เสนอราคางานเชื่อม/ ประมาณราคา/ ประมาณปริมาณงานเชื่อมในโปรเจคนั้นๆครับ  ที่เราพบกันส่วนใหญ่เลยนะครับ เช่นโปรเจคนี้ เท่าที่ประมาณดู ไม่ต่ำกว่า 10,000 ดีบี หรือ เช่น ลองนับจำนวน joint ดูตามแบบ แล้ว ผู้รับเหมาคิดออกมาได้ที่ 250 ดีบี เป็นต้น ซึ่งการคิดตรงนี้นั้น เรามักจะทำเป็น Estimate Cost ของราคางานไปครับ เพื่อ Engineering หรือ Contractor หรือ Sub contractor จะได้ เตรีมงานถูก ใช้ช่างเชื่อมกี่คน/ ช่างประกอบกี่คน/ helper กี่คน รถเครนต้องใช้มั้ย รถเฮี้ยบต้องใช้มั้ย Fab ใน shop หรือที่หน้างาน ท่อเป็นอะไร เป็นเหล็ก เป็นสเตนเลส หรือเป็นวัสดุAlloy ต้อง purge แกสมั้ย......bla bla bla……ตรงนั้นต้องนำมาเป็นปัจจัย เพื่อคิด Cost ในงานเชื่อมอีกครั้งหนึ่งครับ

          ทีนี้มาถึง วิธี การคิดหา ดีบี ว่าคิดยังไง คำตอบคือ ไม่ต้องไปคิดมากครับ อ้างอิง หรือ เราก็ยึดที่แบบ(Drawing)เป็นหลักเลย หลักที่ว่า ก็ ท่อ 1 นิ้ว หรือ pipe 1 นิ้ว ก็คิดเป็น 1 ดีบี ลักษณะเดียวกัน หากเป็นท่อ 3 นิ้ว หรือ pipe 3 นิ้ว เอามาเชื่อมต่อกันที่ 1 joint ดังนั้น joint นั้น ก็เป็น 3 ดีบี.....เกิด Line นั้น(อ้างอิงจากแบบISO หรือ as built ก็ไม่ผิดกติกา) มี 10 joints เรียงกันล่ะตามแบบน่ะ แน่นอนว่า 10x3นิ้ว ก็เป็น 30 ดีบี ใน Line นั้นๆ หรือในแบบ มีท่อ 2 นิ้วอยู่ 200 joints ท่อ 3 นิ้วอยู่ 150 joints แบบนี้ ก็เป็น (2 x 200) + (3 x 150) = 850 DB เป็นต้นครับ

          จะเห็นได้ว่า ดีบี ของงานเชื่อม....การคิดราคา เราก็จะอ้างอิง จาก
Volume หรือ ปริมาณงานเป็นหลัก ที่ทางผู้รับเหมา หรือทางเจ้าของงาน อาจจะมีเรทราคางานต่อ ดีบี ไว้ในใจแล้ว ซึ่งรายละเอียดลึกๆตรงนั้นต้องพิจารณา ตัวแปรอย่างอื่นอีกครับ ราคาที่เสนอ อาจจะเป็นล่ำซำ (lump sum) รวมหมดเลยทั้งประกอบ และเชื่อมด้วย หรือ ราคาแยก ประกอบ(Fit up) ราคาหนึ่ง แล้วก็เชื่อม(welding) อีกราคาหนึ่ง เป็นต้นครับ

Picture
เทสต์สี หรือ Test สี       

         
ก็คือการทำ PT หรือว่า Liquid Penetrant Testing นั่นเองครับ แต่ศัพท์อย่างไม่เป็นทางการ (จะเรียกว่าเป็น Local wording หรือ แบบบ้านๆดีครับ) ก็มักจะฮิต ติดปากกันครับ ว่า Testสี นะ งานนี้ สาเหตุ/ที่มาที่ไป ก็คงจะมาจาก การทำ PT หรือ Penetrant Test มันมีสีตกค้าง ภายหลังการทำ นั่นเองครับ เราเลยมักจะเห็น การเรียกติดปากในลักษณะนี้ว่า Test สี กันครับ

          แล้วเอาสีออกได้มั้ย ตอน
Test สี เสร็จเรียบร้อยแล้ว.....เคยมีผู้รับเหมา ถามผมอยู่เหมือนกันครับ คำตอบคือ ได้สิครับ ทำไมจะไม่ได้ล่ะครับ ถ้าท่านทำการทดสอบ หรือว่า Test สี เสร็จแล้วเนี่ย ทางผู้ตรวจสอบ หรือทีมงานตรวจสอบ พิจารณาแล้ว Accept กับแนวเชื่อมนั้นๆ ก็ผ่านการทดสอบแล้วครับ จะลบ/จะล้าง/จะเช็ด สีที่ยังคงอยู่ก็สามารถทำได้ครับ ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด เพราะว่าผ่าน หรือ Accept แนวเชื่อมนั้นแล้ว ถูกต้องมั้ยครับ แต่ถ้า ทดสอบ หรือ Test สี แล้ว ไม่ผ่านล่ะ.....แน่นอนว่าต้องทำการซ่อมแซม หรือ Repair ตรงจุดนั้นๆ ที่ไม่ผ่านนั่นเองครับ แต่ส่วนใหญ่ที่เราเห็น มักจะไม่ลบ/ไม่ล้าง/ไม่เช็ด ออกก็เพราะว่า เผื่อลืม/เผื่อหลง ว่าแนวเชื่อม แนวนี้ Test ไปหรือยัง  เท่านี้เองครับ

Picture
ยิงผี 

          
ยิงผีเป็นคำฮิตติดปากเรียกกันครับ ผี คือสิ่งที่ไม่มีตัวตน คือ การถ่ายภาพด้วยรังสี(Radio graphic Testing) หรือ ว่า X-ray แนวเชื่อมที่มันไม่มีตัวตนนั่นเอง นั่นก็คือ ภาพถ่ายแนวเชื่อมนั้นๆที่ปรากฏอยู่บนฟิลม์ ไม่ใช่ภาพถ่ายของ joint นั้นจริงๆ หรือเป็นฟิลม์ ที่มาจากไหนก็ไม่รู้ แต่ mark no. ของฟิลม์ เป็น mark no. ที่ตรงตามแบบนั่นเอง

          กรณีที่สามารถเจอได้ ของผี ก็คือ งานไม่ทันแล้ว Inspection ตามเก็บไม่ทัน/ หรืองานติดฟิลม์ยาก ติดฟิลม์ลำบาก เช่น บน pipe rack สูงๆ กว่าจะได้แต่ละ joint มันนานว่างั้น หรือ งานถังน้ำมัน ชั้นบนๆ course 5/ course 6 แบบนั้นเป็นต้น หรือสามารถเกิดได้กรณีงานเยอะๆ แล้วเกิดสลับ Joint no. เช่นงาน pipe line ที่ยาวๆ ต้องมาตามเก็บ films กันทีหลัง ก็สามารถเป็นผีได้เหมือนกันครับ 

          แล้วจะรู้ได้ไงครับ ผี/ ไม่ผี ตอบยาก......มาก ครับ ต้องมานั่งดูฟิลม์เป็นวิธีเดียวเลย ความเคยชินเป็นหลัก แนวนี้ผ่านตามาแล้ว มีสะเก็ดไฟตรงจุดนี้ มีรอยขีดตรงจุดนี้ ดูไปซัก 20 ฟิลม์ ชักเบลอๆ ยิ่งถ้าเพ่งมากๆ วันหนึ่งซัก 100 ฟิลม์ นี่ต้องออกมาสูดอากาศ บริสุทธิ์กันบ้างครับ จะได้ไม่เบลอ กับอีกวิธีหนึ่ง คือประเมิณงานตรวจสอบในลักษณะนั้นๆได้ เช่น ประเมิณความแรงของต้นกำเนิดรังสีได้ ยกตัวอย่าง 50 คูรี ของ Ir-192 เป็นแหล่งกำเนิด เอาไปถ่ายภาพรังสี เทียบกับ 15 คูรี ของ Ir-192 เหมือนกัน แน่นอนว่า ความแรงรังสี 50 คูรี ย่อมใช้เวลาถ่ายภาพที่เร็วกว่าแน่นอนครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องประเมิณเวลา การจัดเตรียมเทคนิคการถ่ายเอาไว้ด้วย กว่าจะติดฟิลม์ กว่าจะถ่ายภาพ กว่าจะเปลี่ยน Joint ต้องเผื่อเวลาไว้ด้วยครับ Joint นี้ อยู่บน pipe rack หรือ อยู่บน ถังด้านบนๆ(Course บนๆ) กว่าจะปีนขึ้น/ปีนลง ติดฟิลม์/แปะฟิลม์ ฝนตก/ไม่ตก หรือเตรียมงาน บางทีกินเวลามากกว่า เวลาที่ใช้ถ่ายถาพด้วยรังสีเสียอีกครับ ซึ่งตรงนี้หลายปัจจัยที่นำมาประมาณการณ์

8 Comments

Welding Code นั้นสำคัญไฉน

14/5/2010

2 Comments

 
       หลายท่านในวงการงานเชื่อม อาจจะ หรือมักจะคุ้นเคยเกี่ยวกับเรื่อง Code หรือ Standard หรือบางครั้งเรามักจะเจออีกหลากหลายคำ เช่น Specification, Recommended practice เป็นต้น ซึ่งค่อนข้างจะเป็นที่แน่นอน ว่าหากเรามีความจำเป็นที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับทางด้านงานเชื่อมแล้วล่ะก็ เรามักจะหลีกหนีเรื่องราวของคำเหล่านี้ไม่ได้ ผู้เขียนเองก็เช่นกัน เมื่อเริ่มต้นเข้าทำงานสู่วงการงานเชื่อมใหม่ๆนั้น รู้สึกได้ถึงความสับสนของการเรียกใช้ ในตามแต่ลักษณะงาน ขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น  

-          งานนี้ผู้รับเหมาใช้มาตรฐานไหน ในการประกอบ ก่อนทำการเชื่อม
-          ลวดเชื่อม ที่ช่างเชื่อมเลือกใช้ ใน procedure กำหนดให้ใช้ spec ไหน
-          งานนี้ทำการสอบช่างเชื่อมตามมาตรฐานของ ASME section IX
-          ตรวจสอบด้วยการทำ RT ใช้ standard ไหนเป็นมาตรฐาน…..ฯลฯ 

      บางครั้งบางที วันไหนนอนไม่เพียงพอ เกิดอาการที่เรียกว่า เบลอ ได้เช่นกัน ไม่รู้จะเรียก มาตรฐานดี หรือจะเรียก Specดี หรือจะเรียก Standardดี สับสนเหมือนกัน เคยเป็นกันบ้างหรือเปล่าครับ ซึ่งในเรื่องราวแรกๆเลยที่ทางทีมงานแนะนำ เราควรมาทำตามข้อตกลง หรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ กันอย่างถูกต้องเสียก่อนครับ เรียกได้ว่าตั้งแต่ก่อนที่เราจะเขียน WPS งานเชื่อม, งานประกอบ หรือ Fabrication, จนกระทั่งเริ่มทำการเชื่อม เชื่อมเสร็จ, ตรวจสอบ ทำNDT จนกระทั่ง Coating หรือ ทำสี ล้วนแล้วแต่ต้องมีข้อกำหนด หรือข้อตกลงที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งนั้น 

     Code หมายถึง อะไร…?
      Code ในงานเชื่อมหมายถึง เอกสารมาตรฐานในทางวิศวกรรม ที่เรายอมรับกันว่าเป็นกฎหมาย หรือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Code คือสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องทำตาม ถามว่าถ้าไม่ทำตามผิดไหม คำตอบคือผิด คิดอย่างที่เข้าใจแบบง่ายนั่นคือ กฎหมายกำหนดมาแล้ว เราไม่ทำตามกฎหมายนั่นเอง ยกตัวอย่าง กฎหมายกำหนดไม่ให้เราขับรถเร็วเกินกำหนด 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เราขับด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน

       ซึ่งวิธีสังเกต หรือข้อสังเกต มักจะพบคำว่า Shall หรือ Will เข้ามาเกี่ยวข้องใน Code นั่นคือหมายถึงว่า ต้องทำ หรือ จำเป็นต้องทำ เลยนะครับ อย่าไปแปลว่า ควรจะนะครับ อย่าลืมว่า

                          Shall be ในความหมายของ Code คือ คุณจำเป็นจะต้องทำตาม ซึ่งในลักษณะเดียวกัน
                          Shall not be ในความหมายของ Code คือ ห้ามเลย เด็ดขาด 

       กรณีเดียวกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในการเชื่อมท่อไอน้ำของ Stream boiler ในโรงกลั่นน้ำมัน อุณหภูมิใช้งานประมาณ 550Celsius (หรือประมาณ1022Fahrenheit) ซึ่งตาม Code ที่ใช้งาน นั่นคือ ASME B31.1 – Power piping กำหนดเอาไว้ว่า
Picture
         
     
  Filler metal หรือ ขออนุญาตใช้คำว่าลวดเติม ที่เราใช้นั้น %Carbon ในลวดเติมนั้น ห้ามต่ำกว่า 0.05% สำหรับกรณีการใช้งานที่อุณหภูมิที่สูงเกิน 850 Fahrenheit (ประมาณ 450 Celsius) ซึ่งดังนั้น หากเราพบว่าเราไม่สามารถที่จะเลือกใช้ ลวดเชื่อม E7016 (ซึ่งมี %Carbon ประมาณ 0.08) สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบ SMAW หรือ ER70S-G (ซึ่งมี %Carbon ประมาณ 0.1) สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบ GTAW

         ซึ่งหากเราพบว่าเราเลือกใช้งาน หรือผู้รับเหมาเลือกใช้งาน จะเป็นการทำผิดตามCode ซึ่งสามารถที่จะไม่ยอมรับ หรือสามารถ Reject ได้ในงานนั้นๆ เนื่องจาก Code หรือกฎหมายนั้นได้ระบุไว้อย่างชัดเจน จะเห็นได้ว่าข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในลักษณะนี้ทำให้สูญเสียทั้งเงิน ทั้งเวลา อย่างมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น เป็นต้น

         ตัวอย่าง Code ของเพื่อนชาวอเมริกา ที่เรามักจะพบอยู่บ่อยๆ ในวงการงานเชื่อมของประเทศไทยเรา ขอยกตัวอย่าง ทั้ง AWS Codes และ ASME Codes

AWS Codes อาทิ เช่น   
- AWS D1.1       Structural welding code steel
                                  
- AWS D1.5       Structural welding code-Bridge welding code

ASME Codes อาทิ เช่น  - ASME Code Section I  Rules for construction of Power boilers
                                  - ASME Code Section XIII Rules for construction of Pressure Vessel, Division 1,2 and 3
                                  - ASME Code Section IX Welding and Brazing qualification
                                  - ASME B31.1 Power piping

Standard หมายถึงอะไร…?

        Standard คือ เอกสารระบุวิธีปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในระหว่างขั้นตอนการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพของชิ้นส่วนที่ผลิต ไม่ว่าจะเป็นวิธีการปรับแต่งเครื่องมือ วิธีการทดสอบ ขอบเขต สภาพแวดล้อม และตัวแปรอื่นๆ เพื่อให้สิ่งที่เราทำนั้น เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าในบางครั้ง เราไม่จำเป็นต้องทำตาม standard ก็สามารถทำได้ เนื่องจากไม่ผิดกฎหมายใดๆ นั่นเอง

        ในบางครั้งนั้น เราจะพบว่า Standard บางตัวจำเป็นที่เราจะต้องปฏิบัติตาม หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า Mandatory ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย หรือ Code นั่นเอง จำเป็นจะต้องทำตาม ไม่ทำตามไม่ได้ และ เช่นเดียวกัน ใน Standard บางตัวไม่มีการบังคับว่าจะต้องทำตาม หรือ Nonmandatory นั่นก็คือ เป็นแนวทางให้ เป็น Guideline ให้เฉยๆ ไม่มีการบังคับ ซึ่งเราสามารถจะปฏิบัติตาม หรือไม่ปฏิบัติตามก็เป็นได้ ซึ่งข้อสังเกตที่มักพบคือ มักจะพบคำว่า should be หรือ could be (ควรจะ…) มาแทนที่คำว่า shall be หรือ will be ซึ่งสามารถพบได้ชัดเจน

         ยกตัวอย่าง หากเราจะสร้างถังน้ำมันโดยการเชื่อม ซักใบหนึ่ง Standard ที่เราใช้ในระหว่างขั้นตอนการผลิตถังใบนี้ เราจะทำตาม API 650 (Welded steel tanks for oil storage) หรือ เราจะทำ RT งานเชื่อมเหล็ก โดยที่เราจะเลือกใช้ Standard ของ JIS Z 3104 Method of radiographic test and classification of radiographs for steel welds เป็นต้น

        ซึ่งทั้งนี้ และทั้งนั้น
Standard สามารถที่จะกล่าวอ้างอิงไปถึง Code ให้เราปฏิบัติตาม Code ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า เมื่อ Standard นั้นๆกล่าวอ้างไปถึง Codeนั้นๆ เราจำเป็นจะต้องปฏิบัติ หรือทำตามที่ Codeนั้นๆ ได้กล่าวเอาไว้ 

Picture
        
         กรณีเดียวกัน ทีมงานขอยกตัวอย่างในการสร้างถังน้ำมันโดยการเชื่อม แน่นอนว่าเราจะทำตาม
API 650 (Welded steel tanks for oil storage) กล่าวอ้างอิงไปถึงการตรวจสอบด้วยวิธีภาพถ่ายด้ายรังสี หรือการทำ RT นั้น เทคนิคที่เราใช้ API 650 จะกล่าวอ้างอิงไปยัง ASME Code ตาม Article2, Section V ซึ่งเราก็มีความจำเป็นจะต้องทำตามเทคนิคที่ตาม Article2, Section V ใน   ASME Code กำหนด ไม่ทำตามไม่ได้นะครับ เพราะเนื่องจาก กฎหมาย หรือว่า Code ได้เข้ามามีบทบาทตรงส่วนนี้แล้วนั่นเอง

Specification หมายถึงอะไร…?


โดยทั่วไปแล้ว Specification มักจะหมายถึง เอกสารที่แสดงถึงรายละเอียดของชิ้นส่วนในภาพรวม เกี่ยวกับลักษณะ หรือความต้องการโดยเฉพาะ เช่น เงื่อนไข หรือสมบัติเฉพาะตัว เป็นต้น ซึ่ง specificationนั้น จะเป็นเอกสารบังคับเมื่อถูกใช้โดย Code หรืออยู่ในสัญญา

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราพูดถึง ASME Code ในส่วนของ Section IX ใน Article IV-Welding data, QW-430 F-Number ก็จะทำการแบ่ง หรือ ทำการจัดหมวดหมู่ของ Specification ในส่วนของ Grouping of electrodes and welding rods for qualifications ไว้เป็นลำดับเพื่อความสะดวก หากพูดถึง ลวดเชื่อมไฟฟ้า EXX16 หรือ EXX18 ก็ล้วนจัดอยู่ใน Specification ของ SFA-5.1 ตามที่ ASME Code ส่วนของ Section IX กล่าวอ้างถึง

หรือ หากเราจะพูดถึง Specification ของลวดเชื่อมตาม A-5.1 หรือ SFA-5.1 Specification for welding rods, electrode and filler metals (ตาม ASME Code Section II part C) ก็จะกล่าวเอาไว้ว่า หากเป็น ลวดเชื่อมที่กำหนดว่า Specification SFA-5.1 นั้นจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติตามนี้ มี tensile strengthตามนี้ มี Yield strengthตามนี้ แม้แต่ส่วนผสมทางเคมี รวมไปถึงการบรรจุหีบห่อ ก็มีความจำเป็นต้องเป็นไปตามที่ระบุเอาไว้สำหรับ Specification นั้นๆด้วย เนื่องจากกฎหมาย หรือ Code ได้เข้ามาระบุไว้อย่างชัดเจน ซึ่งก็เช่นเดียวกันคือ ห้ามอยู่นอกเหนือข้อกำหนดเด็ดขาดนั่นเอง

2 Comments

การเลือกวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน)

14/5/2010

4 Comments

 
          วิธีการเลือกการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย หรือขออนุญาตเรียกสั้นๆว่าการทำ NDT ในสมมติฐานขั้นที่หนึ่ง สิ่งแรกที่จะอ้างอิงได้ดีที่สุดสำหรับการเลือกวิธี หรือ Method นั้นๆ ให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ นั่นคือ อ้างอิงจาก Code หรือ อ้างอิงจากมาตรฐานของงานนั้นๆเป็นหลัก ดังนั้นสิ่งแรกเมื่อเราต้องการจะเลือกวิธีของการตรวจสอบงานเชื่อม ด้วยวิธีแบบไม่ทำลายนั้น เราจึงจำเป็นจะต้องรู้ลักษณะของงานนั้นๆ และ Code ที่เราใช้สำหรับงานนั้นๆ เนื่องจาก Code หรือ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ จะบอกเราไว้อย่างชัดเจนถึง วิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลายที่เราสามารถจะเลือกใช้ ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในงานตรวจสอบงานเชื่อมได้อย่างดีที่สุด อาทิเช่น

            ตัวอย่างที่หนึ่ง งานโครงสร้างเหล็ก เช่น ลักษณะโครงสร้างของ Super Truss ของอาคารผู้โดยสาร สนามบินสุวรรณภูมิ แน่นอนว่าจากลักษณะโครงสร้างแล้วเป็นงานโครงสร้างเหล็ก หรือ Steel structure ดังนั้น Code ที่เกี่ยวข้องในงานตรวจสอบโดยไมทำลาย สำหรับงานนี้คือ AWS D1.1 นั่นคือ Structural Welding Code-Steel ซึ่งในรายละเอียด หรือ Detail สำหรับงานตรวจสอบนั้น ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในส่วนของ Chapter 6 – Inspection ไม่ว่าจะเป็น การเลือกวิธีการทำNDT ที่เหมาะสม สำหรับ รอยต่อชนิดนั้นๆในงานเชื่อม การเลือกmethod ของ NDT หาก method นี้ไม่สามารถทำได้ method อื่นๆสามารถใช้เพื่อทดแทนกันได้หรือไม่ เป็นต้น

            ตัวอย่างที่สอง งานก่อสร้างหม้อน้ำสำหรับโรงไฟฟ้า  แน่นอนว่าจากลักษณะของตัวงานคือ เป็นลักษณะงานเชื่อมที่เกี่ยวกับท่อรับแรงดันเป็นหลัก ดังนั้น Code ที่เกี่ยวข้องในงานตรวจสอบแบบไม่ทำลายสำหรับงานนี้นั่นคือ ASME Code for pressure piping B31 เป็นหลักการ และใน Code ของ pressure piping นั้น ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ในส่วนของ Chapter VI คือ Inspection, Examination and Testing พิจารณาถึง Table136.4 ซึ่งกล่าวอ้างอิงเป็น Minimumของการทำ NDT ที่ถูกบังคับไว้ในที่นี้ (mandatory) ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการสรุป ถึงการเลือก method ของการทำ NDT ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 

            สองตัวอย่างที่เกี่ยวกับการเลือกMethod หรือการเลือกวิธีการทำ NDT ที่เกี่ยวข้องหรืออ้างอิงจาก Code หรือมาตรฐานนั้นๆเป็นหลัก ที่นี้หากเราเจอลักษณะงานที่ไม่สามารถจะอ้างอิง Code หรือมาตรฐานใดๆ มาเกี่ยวข้อง เราจะยึดถือ หรือ เราจะเลือก method ในการทำ NDT วิธีไหนดีที่เกี่ยวข้อง คำตอบที่ได้นั่นคือ ไม่มีความตายตัวสำหรับลักษณะงานที่เราไม่มีที่อ้างอิง วิธีการที่ดีหรือเหมาะสมที่สุดนั่นคือ engineering sense หรือ engineering knowledge นั่นเอง เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ยกตัวอย่างเช่น 

            ตัวอย่างที่สาม ขอยกตัวอย่างไม่ใกล้ ไม่ไกล นั่นคืองานเชื่อมซ่อมรอยแตก(Crack) ของท่อร่วมไอเสีย ของเครื่องยนต์ ในรถยนต์ (โดยทั่วไปที่เรามักเรียกว่า-เขาควาย) ที่หากเราพิจารณาแล้วว่า แน่นอนว่าในลักษณะงานแบบนี้ ที่ผู้ซ่อมอยากจะทดสอบดูว่า งานเชื่อมซ่อมนั้นได้มีประสิทธิภาพมากเพียงไหน หากเราพิจารณาว่า Code ที่เกี่ยวข้องมีหรือไม่ AWS D1.1 ก็ไม่เกี่ยวข้อง ASME code ก็ไม่ใช่ หรือ จะเป็น API Standard ยิ่งไปกันใหญ่ แน่นอนว่าลักษณะนี้ Code หรือมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องไม่มีเลย จะมีอยู่แต่มาตรฐานเดียว นั่นคือมาตรฐานเจ้าของรถยนต์ที่ซ่อมเองนั่นเอง ไม่จำเป็นต้องมี WPS ไม่จำเป็นต้องมี PQR หรือ WQT ไม่มี Acceptance criteria ใดๆ นอกจากอยากรู้ว่า เจ้า crack ที่เกิดขึ้นนั้น ภายหลังจากทำการซ่อมแล้วนั้น มันหายไปหมดแล้วหรือยัง ดังนั้นวิธีการเลือกการตรวจสอบงานเชื่อมซ่อมที่เหมาะสมสำหรับกรณีนี้ engineering sense หรือ engineering knowledge จะถูกนำมาประมวลผล เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด
 

            Step I à เชื่อมซ่อมรอยแตก (crack) สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดคือ รอยแตกนั้นหมดไปหรือยังภายหลังการเชื่อมซ่อม นั่นคือ method ที่จะนำมาใช้ต้อง detect รอยแตกได้

            Step II à พิจารณา Geometry ชิ้นงานมีความซับซ้อน หรือ ชิ้นงานของเรา มีความหนา มาก น้อยเพียงใด นั่นก็หมายถึงว่า ในงานเชื่อมเรานั้น มีความซับซ้อน มีชั้น หรือมี layer ของการเชื่อม มากหรือน้อย นั่นคือ method ที่จะนำมาตรวจสอบนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องทำทุก layer ของการเชื่อมหรือไม่ หรือ การเข้าถึงชิ้นงานนั้นยากหรือง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งก็มีผลในการเลือก method ของการทำ NDT

            Step III à ราคาในการตรวจสอบ มักจะหยิบยกกันมาในประเด็นท้ายๆ ของ method การทำ NDT ว่าคุ้ม หรือไม่คุ้ม หากคุ้มค่า จะคุ้มค่าในลักษณะไหน 

            จะเห็นได้ว่าที่ยกตัวอย่างมาเป็น Step นั่นคือในลักษณะของกระบวนการคิด ที่ขึ้นอยู่กับของแต่ละงานนั้นๆ นั่นคือไม่ตายตัว ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับ กระบวนการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย โดยที่ไม่สามารถหา Code หรือมาตรฐานมาอ้างอิงได้ นั่นเอง
4 Comments

    Author

    KAKA

    Archives

    March 2012
    August 2011
    January 2011
    December 2010
    August 2010
    July 2010
    June 2010
    May 2010

    Categories

    All
    ศัพท์ ภาษาอังกฤษ วิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม
    งานบริการ วิเคราะห์การเผาไหม้
    การเลื่อนระดับ วิศวกร
    การเลือกวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย
    Asme U Stamp
    Engineering Society
    Hydrostatic Test
    ศัพท์ Welding ผู้รับเหมา แปลกๆ
    Welding Code นั้นสำคัญไฉน
    Welding Society

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.