WPS หรือ Welding Procedure Specification หรือ ภาษาไทยจะเรียกว่า ขั้นตอนงานเชื่อม ก็ไม่ผิดนัก ซึ่งโดยชื่อมันก็บอกเราตรงๆแล้วว่า เป็นขั้นตอนที่ระบุตัวแปรของงานเชื่อมเอาไว้ ในแต่ละงานนั้นๆ กำหนดให้ใช้ตัวแปรนั้นๆในการเชื่อม ซึ่งตัวแปรต่างๆนี่ล่ะครับ จะเป็นตัวหลักเลยที่จะบอกว่า งานเชื่อมของท่านนั้น จะมีผลหรือส่งผลต่อ mechanical property ในตัวเนื้องานแค่ไหน หรือ ผลกระทบทางด้านอื่นๆ เช่น โลหะวิทยาที่เปลี่ยนไป ผลต่อความแข็งหรือ hardness หรือแม้กระทั่ง Defect ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ หากผิดขั้นตอนงานเชื่อมตัวนี้ ที่จะเป็นผลให้งานของเราๆท่านๆเสียหายได้ครับ
WPS หรือ Welding Procedure Specificationหรือ ภาษาไทยจะเรียกว่า ขั้นตอนงานเชื่อม ก็ไม่ผิดนัก ซึ่งโดยชื่อมันก็บอกเราตรงๆแล้วว่า เป็นขั้นตอนที่ระบุตัวแปรของงานเชื่อมเอาไว้ ในแต่ละงานนั้นๆ กำหนดให้ใช้ตัวแปรนั้นๆในการเชื่อม ซึ่งตัวแปรต่างๆนี่ล่ะครับ จะเป็นตัวหลักเลยที่จะบอกว่า งานเชื่อมของท่านนั้น จะมีผลหรือส่งผลต่อ mechanical property ในตัวเนื้องานแค่ไหน หรือ ผลกระทบทางด้านอื่นๆ เช่น โลหะวิทยาที่เปลี่ยนไป ผลต่อความแข็งหรือ hardness หรือแม้กระทั่ง Defect ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ หากผิดขั้นตอนงานเชื่อมตัวนี้ ที่จะเป็นผลให้งานของเราๆท่านๆเสียหายได้ครับ
ดังนั้น WPS นั้นๆที่สามารถเอามาใช้งานนั้นๆได้ จำเป็นจะต้องมีเจ้า PQR ตัวนั้นๆรองรับ หรือ สามารถกล่าวว่า WPS ตัวนั้นๆ มี PQR ตัวนั้นๆ support นะ ไม่ใช่อยู่ดีๆ เอา WPS ที่ไหนมาก็ไม่รู้ นั่งเทียนเอามา ผล PQR support ก็ไม่มี แล้วแบบนี้จะเอาไปใช้งานได้อย่างไร ถูกมั้ยครับ เพราะจะเอาอะไรมา การันตี mechanical property ในงานนั้นๆล่ะครับ ดังนั้นใน WPS ทุกตัวจะต้องมี PQR ระบุ ว่า support ทุกครั้งครับ
เช่น WPS kaka 001 จะต้องระบุ Support by PQR no. kaka 001 ในทางเดียวกัน
PQR no. kaka 001 จะต้องระบุ Supported WPS no. kaka 001 เช่นเดียวกันครับ ถึงจะสมบูรณ์
ซึ่งข้อมูลใน PQR จะต้องระบุ เงื่อนไข ที่ follow ตาม WPS ตาม Code meeting นั้นๆในแต่ละงาน/ มีผลการทดสอบ ยกตัวอย่างเช่น มีผล Bending/มีผล Tensile/มีผล Macro จาก Lab หรือจาก สถาบันทดสอบที่ได้มาตรฐาน ตาม Code requirement นั้นๆ ซึ่ง 1 PQR สามารถที่จะ support ได้ หลายWPS เช่นเดียวกันครับ 1WPS ก็สามารถที่จะ support ได้หลายPQR ดังนั้นจะเห็นว่า ขั้นตอนการจัดทำ WPS จะไปยุ่งยาก ตรงลองผิด ลองถูก เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่ง ผลของ PQR ที่สมบูรณ์ หรือผิดพลาดน้อยที่สุดตาม code requirement เพื่อที่จะให้เงื่อนไขของ WPS นั้นๆ Approve หรืออนุมัติ ไปใช้งานได้ครับ
งานบางงาน ย้ำว่าบางงานครับที่ทางเราเคยเจอมา เรารู้กันอยู่แล้วว่าคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก คนไทยหัวหมอครับ เจอฝรั่งหัวหมอ ไม่เชื่อในผลของ PQR ในส่วนของตัวชิ้นงาน ถึงกับต้องนำ ชิ้นงานที่ทำ PQR มาวิเคราะห์ดูเองก็มีนะครับ ทั้งก่อนนำชิ้นงานไปดัด ไปดึง แล้วก็ชิ้นงานหลังผ่านการดัด หลังผ่านการดึง นำมาส่งให้เจ้าของงาน ดูด้วยทุกครั้ง แบบนี้ก็มีครับ/ ขนาดถึงกับเจ้าของงาน หรือ owner อยากไปดูตอนทดสอบ ตอนทำ Lab ก็ต้องพาเค้าไปดูจริงๆ ล่ะครับ นี่ล่ะครับ คนไทยหัวหมอ.....เดี๋ยว blog หน้า จะต่อภาคสอง (WPS+PQR+WQT ภาค 2 ครับ)