วิธีการเลือกการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย หรือขออนุญาตเรียกสั้นๆว่าการทำ NDT ในสมมติฐานขั้นที่หนึ่ง สิ่งแรกที่จะอ้างอิงได้ดีที่สุดสำหรับการเลือกวิธี หรือ Method นั้นๆ ให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ นั่นคือ อ้างอิงจาก Code หรือ อ้างอิงจากมาตรฐานของงานนั้นๆเป็นหลัก ดังนั้นสิ่งแรกเมื่อเราต้องการจะเลือกวิธีของการตรวจสอบงานเชื่อม ด้วยวิธีแบบไม่ทำลายนั้น เราจึงจำเป็นจะต้องรู้ลักษณะของงานนั้นๆ และ Code ที่เราใช้สำหรับงานนั้นๆ เนื่องจาก Code หรือ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ จะบอกเราไว้อย่างชัดเจนถึง วิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลายที่เราสามารถจะเลือกใช้ ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในงานตรวจสอบงานเชื่อมได้อย่างดีที่สุด อาทิเช่น
ตัวอย่างที่หนึ่ง งานโครงสร้างเหล็ก เช่น ลักษณะโครงสร้างของ Super Truss ของอาคารผู้โดยสาร สนามบินสุวรรณภูมิ แน่นอนว่าจากลักษณะโครงสร้างแล้วเป็นงานโครงสร้างเหล็ก หรือ Steel structure ดังนั้น Code ที่เกี่ยวข้องในงานตรวจสอบโดยไมทำลาย สำหรับงานนี้คือ AWS D1.1 นั่นคือ Structural Welding Code-Steel ซึ่งในรายละเอียด หรือ Detail สำหรับงานตรวจสอบนั้น ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในส่วนของ Chapter 6 – Inspection ไม่ว่าจะเป็น การเลือกวิธีการทำNDT ที่เหมาะสม สำหรับ รอยต่อชนิดนั้นๆในงานเชื่อม การเลือกmethod ของ NDT หาก method นี้ไม่สามารถทำได้ method อื่นๆสามารถใช้เพื่อทดแทนกันได้หรือไม่ เป็นต้น
ตัวอย่างที่สอง งานก่อสร้างหม้อน้ำสำหรับโรงไฟฟ้า แน่นอนว่าจากลักษณะของตัวงานคือ เป็นลักษณะงานเชื่อมที่เกี่ยวกับท่อรับแรงดันเป็นหลัก ดังนั้น Code ที่เกี่ยวข้องในงานตรวจสอบแบบไม่ทำลายสำหรับงานนี้นั่นคือ ASME Code for pressure piping B31 เป็นหลักการ และใน Code ของ pressure piping นั้น ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ในส่วนของ Chapter VI คือ Inspection, Examination and Testing พิจารณาถึง Table136.4 ซึ่งกล่าวอ้างอิงเป็น Minimumของการทำ NDT ที่ถูกบังคับไว้ในที่นี้ (mandatory) ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการสรุป ถึงการเลือก method ของการทำ NDT ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
สองตัวอย่างที่เกี่ยวกับการเลือกMethod หรือการเลือกวิธีการทำ NDT ที่เกี่ยวข้องหรืออ้างอิงจาก Code หรือมาตรฐานนั้นๆเป็นหลัก ที่นี้หากเราเจอลักษณะงานที่ไม่สามารถจะอ้างอิง Code หรือมาตรฐานใดๆ มาเกี่ยวข้อง เราจะยึดถือ หรือ เราจะเลือก method ในการทำ NDT วิธีไหนดีที่เกี่ยวข้อง คำตอบที่ได้นั่นคือ ไม่มีความตายตัวสำหรับลักษณะงานที่เราไม่มีที่อ้างอิง วิธีการที่ดีหรือเหมาะสมที่สุดนั่นคือ engineering sense หรือ engineering knowledge นั่นเอง เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ยกตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างที่สาม ขอยกตัวอย่างไม่ใกล้ ไม่ไกล นั่นคืองานเชื่อมซ่อมรอยแตก(Crack) ของท่อร่วมไอเสีย ของเครื่องยนต์ ในรถยนต์ (โดยทั่วไปที่เรามักเรียกว่า-เขาควาย) ที่หากเราพิจารณาแล้วว่า แน่นอนว่าในลักษณะงานแบบนี้ ที่ผู้ซ่อมอยากจะทดสอบดูว่า งานเชื่อมซ่อมนั้นได้มีประสิทธิภาพมากเพียงไหน หากเราพิจารณาว่า Code ที่เกี่ยวข้องมีหรือไม่ AWS D1.1 ก็ไม่เกี่ยวข้อง ASME code ก็ไม่ใช่ หรือ จะเป็น API Standard ยิ่งไปกันใหญ่ แน่นอนว่าลักษณะนี้ Code หรือมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องไม่มีเลย จะมีอยู่แต่มาตรฐานเดียว นั่นคือมาตรฐานเจ้าของรถยนต์ที่ซ่อมเองนั่นเอง ไม่จำเป็นต้องมี WPS ไม่จำเป็นต้องมี PQR หรือ WQT ไม่มี Acceptance criteria ใดๆ นอกจากอยากรู้ว่า เจ้า crack ที่เกิดขึ้นนั้น ภายหลังจากทำการซ่อมแล้วนั้น มันหายไปหมดแล้วหรือยัง ดังนั้นวิธีการเลือกการตรวจสอบงานเชื่อมซ่อมที่เหมาะสมสำหรับกรณีนี้ engineering sense หรือ engineering knowledge จะถูกนำมาประมวลผล เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด
Step I à เชื่อมซ่อมรอยแตก (crack) สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดคือ รอยแตกนั้นหมดไปหรือยังภายหลังการเชื่อมซ่อม นั่นคือ method ที่จะนำมาใช้ต้อง detect รอยแตกได้
Step II à พิจารณา Geometry ชิ้นงานมีความซับซ้อน หรือ ชิ้นงานของเรา มีความหนา มาก น้อยเพียงใด นั่นก็หมายถึงว่า ในงานเชื่อมเรานั้น มีความซับซ้อน มีชั้น หรือมี layer ของการเชื่อม มากหรือน้อย นั่นคือ method ที่จะนำมาตรวจสอบนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องทำทุก layer ของการเชื่อมหรือไม่ หรือ การเข้าถึงชิ้นงานนั้นยากหรือง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งก็มีผลในการเลือก method ของการทำ NDT
Step III à ราคาในการตรวจสอบ มักจะหยิบยกกันมาในประเด็นท้ายๆ ของ method การทำ NDT ว่าคุ้ม หรือไม่คุ้ม หากคุ้มค่า จะคุ้มค่าในลักษณะไหน
จะเห็นได้ว่าที่ยกตัวอย่างมาเป็น Step นั่นคือในลักษณะของกระบวนการคิด ที่ขึ้นอยู่กับของแต่ละงานนั้นๆ นั่นคือไม่ตายตัว ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับ กระบวนการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย โดยที่ไม่สามารถหา Code หรือมาตรฐานมาอ้างอิงได้ นั่นเอง
ตัวอย่างที่หนึ่ง งานโครงสร้างเหล็ก เช่น ลักษณะโครงสร้างของ Super Truss ของอาคารผู้โดยสาร สนามบินสุวรรณภูมิ แน่นอนว่าจากลักษณะโครงสร้างแล้วเป็นงานโครงสร้างเหล็ก หรือ Steel structure ดังนั้น Code ที่เกี่ยวข้องในงานตรวจสอบโดยไมทำลาย สำหรับงานนี้คือ AWS D1.1 นั่นคือ Structural Welding Code-Steel ซึ่งในรายละเอียด หรือ Detail สำหรับงานตรวจสอบนั้น ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในส่วนของ Chapter 6 – Inspection ไม่ว่าจะเป็น การเลือกวิธีการทำNDT ที่เหมาะสม สำหรับ รอยต่อชนิดนั้นๆในงานเชื่อม การเลือกmethod ของ NDT หาก method นี้ไม่สามารถทำได้ method อื่นๆสามารถใช้เพื่อทดแทนกันได้หรือไม่ เป็นต้น
ตัวอย่างที่สอง งานก่อสร้างหม้อน้ำสำหรับโรงไฟฟ้า แน่นอนว่าจากลักษณะของตัวงานคือ เป็นลักษณะงานเชื่อมที่เกี่ยวกับท่อรับแรงดันเป็นหลัก ดังนั้น Code ที่เกี่ยวข้องในงานตรวจสอบแบบไม่ทำลายสำหรับงานนี้นั่นคือ ASME Code for pressure piping B31 เป็นหลักการ และใน Code ของ pressure piping นั้น ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ในส่วนของ Chapter VI คือ Inspection, Examination and Testing พิจารณาถึง Table136.4 ซึ่งกล่าวอ้างอิงเป็น Minimumของการทำ NDT ที่ถูกบังคับไว้ในที่นี้ (mandatory) ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการสรุป ถึงการเลือก method ของการทำ NDT ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
สองตัวอย่างที่เกี่ยวกับการเลือกMethod หรือการเลือกวิธีการทำ NDT ที่เกี่ยวข้องหรืออ้างอิงจาก Code หรือมาตรฐานนั้นๆเป็นหลัก ที่นี้หากเราเจอลักษณะงานที่ไม่สามารถจะอ้างอิง Code หรือมาตรฐานใดๆ มาเกี่ยวข้อง เราจะยึดถือ หรือ เราจะเลือก method ในการทำ NDT วิธีไหนดีที่เกี่ยวข้อง คำตอบที่ได้นั่นคือ ไม่มีความตายตัวสำหรับลักษณะงานที่เราไม่มีที่อ้างอิง วิธีการที่ดีหรือเหมาะสมที่สุดนั่นคือ engineering sense หรือ engineering knowledge นั่นเอง เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ยกตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างที่สาม ขอยกตัวอย่างไม่ใกล้ ไม่ไกล นั่นคืองานเชื่อมซ่อมรอยแตก(Crack) ของท่อร่วมไอเสีย ของเครื่องยนต์ ในรถยนต์ (โดยทั่วไปที่เรามักเรียกว่า-เขาควาย) ที่หากเราพิจารณาแล้วว่า แน่นอนว่าในลักษณะงานแบบนี้ ที่ผู้ซ่อมอยากจะทดสอบดูว่า งานเชื่อมซ่อมนั้นได้มีประสิทธิภาพมากเพียงไหน หากเราพิจารณาว่า Code ที่เกี่ยวข้องมีหรือไม่ AWS D1.1 ก็ไม่เกี่ยวข้อง ASME code ก็ไม่ใช่ หรือ จะเป็น API Standard ยิ่งไปกันใหญ่ แน่นอนว่าลักษณะนี้ Code หรือมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องไม่มีเลย จะมีอยู่แต่มาตรฐานเดียว นั่นคือมาตรฐานเจ้าของรถยนต์ที่ซ่อมเองนั่นเอง ไม่จำเป็นต้องมี WPS ไม่จำเป็นต้องมี PQR หรือ WQT ไม่มี Acceptance criteria ใดๆ นอกจากอยากรู้ว่า เจ้า crack ที่เกิดขึ้นนั้น ภายหลังจากทำการซ่อมแล้วนั้น มันหายไปหมดแล้วหรือยัง ดังนั้นวิธีการเลือกการตรวจสอบงานเชื่อมซ่อมที่เหมาะสมสำหรับกรณีนี้ engineering sense หรือ engineering knowledge จะถูกนำมาประมวลผล เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด
Step I à เชื่อมซ่อมรอยแตก (crack) สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดคือ รอยแตกนั้นหมดไปหรือยังภายหลังการเชื่อมซ่อม นั่นคือ method ที่จะนำมาใช้ต้อง detect รอยแตกได้
Step II à พิจารณา Geometry ชิ้นงานมีความซับซ้อน หรือ ชิ้นงานของเรา มีความหนา มาก น้อยเพียงใด นั่นก็หมายถึงว่า ในงานเชื่อมเรานั้น มีความซับซ้อน มีชั้น หรือมี layer ของการเชื่อม มากหรือน้อย นั่นคือ method ที่จะนำมาตรวจสอบนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องทำทุก layer ของการเชื่อมหรือไม่ หรือ การเข้าถึงชิ้นงานนั้นยากหรือง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งก็มีผลในการเลือก method ของการทำ NDT
Step III à ราคาในการตรวจสอบ มักจะหยิบยกกันมาในประเด็นท้ายๆ ของ method การทำ NDT ว่าคุ้ม หรือไม่คุ้ม หากคุ้มค่า จะคุ้มค่าในลักษณะไหน
จะเห็นได้ว่าที่ยกตัวอย่างมาเป็น Step นั่นคือในลักษณะของกระบวนการคิด ที่ขึ้นอยู่กับของแต่ละงานนั้นๆ นั่นคือไม่ตายตัว ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับ กระบวนการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย โดยที่ไม่สามารถหา Code หรือมาตรฐานมาอ้างอิงได้ นั่นเอง