Q.จากภาคีวิศวกร เพื่อเลื่อนระดับเป็น สามัญวิศวกร ทำอย่างไร
A.จากภาคีวิศวกร (ในสาขาที่ท่านทำงานอยู่นั้น) นับตั้งแต่วันที่ ได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม.....ท่านต้องนับไปอย่างน้อย 3 ปี นับจากวันที่ใบอนุญาต ออกให้ ถึงสามารถมีสิทธิ ขอยื่นผลงานประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในสาขานั้นๆได้ โดยที่มีผู้รับรองผลงานประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขานั้นๆรับรองผลงานท่าน หรือ ลงนามเซ็นต์กำกับ
A.จากภาคีวิศวกร (ในสาขาที่ท่านทำงานอยู่นั้น) นับตั้งแต่วันที่ ได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม.....ท่านต้องนับไปอย่างน้อย 3 ปี นับจากวันที่ใบอนุญาต ออกให้ ถึงสามารถมีสิทธิ ขอยื่นผลงานประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในสาขานั้นๆได้ โดยที่มีผู้รับรองผลงานประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขานั้นๆรับรองผลงานท่าน หรือ ลงนามเซ็นต์กำกับ
Q.ทำไมต้อง 3 ปี
A.3 ปี เป็นอย่างน้อย จะเป็นเวลา 4 ปี/ 5ปี/ 10ปี ก็ได้ครับ ไม่จำกัด แต่โดยหลักการและเหตุผลแล้ว ระยะเวลาการทำงานในช่วง 3 ปี กับวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม ผมก็เห็นด้วยในหลักการ และเหตุผล กล่าวคือ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ทำให้ ภาคีวิศวกรน้องใหม่ ได้เข้ามาอยู่ใน Field ได้เห็นหลักการทั้งทางทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ (หน้างาน/ siteงานจริง) เพื่อประยุกต์หรือ นำความรู้ในเชิงวิศวกรรมควบคุมมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ผลงานที่ขอยื่น มีอะไรบ้าง....ผลงานทางด้านวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมครับ ท่านสามารถ Dowload ได้จาก เวบไซท์ของทาง สภาวิศวกร หรือ Http://www.coe.or.th ได้เลย หรือ หากเป็นสาขา วิศวกรรมเครื่องกล สามารถ Download ได้ที่ KAKA Support ได้เลย ในหัวข้อของ ขอบเขต วิศวกรรมเครื่องกล.pdf ขอยกตัวอย่างลักษณะงาน ที่ยื่นผลงาน อาทิ เช่น
- งานควบคุมการติดตั้ง Boiler ขนาด 5 ตัน/ชั่วโมง จำนวน 2 ลูก ที่ โรงงาน XXX……. จังหวัด XXX…….ภายใต้ การควบคุมงาน
ของสามัญวิศวกรเครื่องกล สก.XXXX
- งานพิจารณาตรวจสอบ ภาชนะรับแรงดัน ด้วยวิธี Hydrostatic test ของถังลม ขนาดความจุ XXX ลิตร ที่ความดันทดสอบ XXX PSI (xxx bar)
จำนวน 10 ลูก ที่โรงงาน XXX….. จังหวัด XXX……ภายใต้การควบคุมงานของสามัญวิศวกรเครื่องกล สก.XXXX
-งานควบคุมการติดตั้ง ระบบบำบัดน้ำเสีย โครงการ XXXX ขนาดระบบสูบน้ำ XXX ลิตร/นาที( หรือ ลูกบาศก์เมตร ต่อ นาที แล้วแต่)
ที่ความดันปั้มน้ำขนาด Dia. XXX เมตร แรงดัน XXX PSI(xxx bar) ภายใต้การควบคุมงานของสามัญวิศวกรเครื่องกล สก.XXXX
- งานวางโครงการระบบทำความเย็น ของ ห้าง Big-C/Tesco Lotus/ Central world…หรือ bla bla bla…. สถานที่ตั้ง จังหวัด XXX
ขนาดเครื่องทำความเย็น XXX กิโลวัตต์/ หรือ xxx BTU ภายใต้การควบคุมงานของสามัญวิศวกรเครื่องกล สก.XXXX
- งานติดตั้ง ระบบท่อน้ำ/ ท่อน้ำมัน/ ท่อดับเพลิงอาคาร ของ XXX(สถานที่) ขนาดแรงดัน XXX PSI(xxx bar) จำนวน xxx ระบบ
ภายใต้การควบคุมงานของสามัญวิศวกรเครื่องกล สก.XXXX
พอได้แนวทางการเขียนผลงานประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม เพื่อเตรียมยื่นเลื่อนระดับกันแล้ว(ขอยกตัวอย่างในสาขาเครื่องกล โดยสาขาอื่น ท่านสามารถดูได้จาก เวบไซท์ของสภาวิศวกรครับ) โดยหลักการ และเหตุผล จะเป็นไปในแนวทาง ของ ขอบเขต วิศวกรรมเครื่องกล ดังที่สภาวิศวกรกำหนดเอาไว้ คือ ลักษณะงานจะต้องมีความรับผิดชอบในตัวงาน/ งานมีความเสี่ยงที่อาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้น/ หรือ งานอันตราย เกี่ยวข้องกับ ความดัน อุณหภูมิ ลักษณะนั้นเป็นต้น จะต้องเข้าข่าย ของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งจะเห็นว่าเป็นลักษณะของงานภาคสนามเสียส่วนใหญ่
Q.ทำไม ในผลงานทีเรายื่น ต้องลงไปว่า ภายใต้การควบคุมงานของสามัญวิศวกรเครื่องกล สก.XXXX
A. ก็เพราะว่า สามัญวิศวกรเครื่องกล สก.xxxx ที่เป็นคนควบคุมงานของท่านนี่ล่ะครับ เป็นคนเซ็นต์รับรองผลงานของท่านอีกทีหนึ่ง ว่าท่าน ภก.xxxx ท่านนี้นะ ได้ทำงานวิศวกรรมควบคุมจริงๆ ทำงานนี้ งานนั้น งานโน่น ที่เป็นงานวิศวกรรมควบคุมโดยมี สก.xxxx รับรองอีกครั้งหนึ่ง หรือ จะเป็นวุฒิวิศวกร หรือ วก.xxxx รับรอง ก็ไม่ผิดกติกา แต่ประการใดครับ ในแวดวงวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เราเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นpartner เป็น joint venture กันเป็นส่วนใหญ่ครับ ท่าน สก.ท่านนี้ชำนาญเรื่อง ระบบท่อ/piping แต่ไม่ชำนาญเรื่องระบบทำความเย็น หากมีงานทางด้าน ระบบทำความเย็น ก็แนะนำให้ไปหา ท่าน วก.ท่านนี้ที่ชำนาญระบบทำความเย็น เป็นต้นครับ
Q. จำนวนผลงานล่ะครับ หรือ ปริมาณงานเท่าไหร่ ที่สมควรจะยื่น ให้ทางสภาวิศวกร พิจารณา ว่าสมควรแล้วนะ
A. จากประสบการณ์ และการพูดคุยกับทางคณะกรรมการนะครับ ผลงาน หรือ ปริมาณงานที่เหมาะสม ไม่มีความตายตัว คือยืดหยุ่นได้ครับ แต่ไม่ใช่ว่าน้อยเกินไป/หรือ มากเกินไป
เช่น ปีที่1 ท่านมีผลงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม 3 ผลงาน ปีที่2 มี 5 ผลงาน ปีที่3 มี10 ผลงาน รวมแล้ว 3 ปี ท่านจะยื่น ที่ 15 ผลงาน/ หรือ 15 โปรเจค ซึ่งหากใน 15 โปรเจค.....มีรายละเอียด หรือ subset ย่อย ออกมาในแต่ละงาน แต่ละโปรเจค เช่น(ยกตัวอย่างนะครับ) โปรเจค ห้าง Big-C ท่านสามารถมี subset ย่อย เป็ร ระบบทำความเย็นในส่วนA ส่วนฺB ส่วนC ระบบน้ำ ระบบดับเพลิง ส่วนA ส่วนB ส่วนC ระบบลิฟท์ขนส่ง/ลิฟท์ ลิฟท์ขนของ แบบนี้ ท่านต้องแจกแจง รายละเอียดออกมาให้คณะกรรมการทราบ ถึงรายละเอียดด้วย ว่ามันเข้าข่ายวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตรงไหน เป็นต้นนะครับ หรือ
ท่านไปอยู่โรงกลั่น/ โรงไฟฟ้า ซัก 3 ปี ท่านสร้างถังน้ำมัน/storage tank ท่านก็ต้องระบุให้ทางคณะกรรมการทราบว่า ถังที่ท่านสร้างเนี่ย ท่านสร้างกี่ใบ แต่ละใบมันต่างกันตรงไหน ท่านออกแบบตาม code ตามมาตรฐานอะไร ถังใบนี้ ท่านอาจมี subset ย่อยเป็น ระบบท่อ/ piping/ ระบบปั้ม วาลว์ สร้างเสร็จแล้วมีการตรวจสอบอย่างไร ทดสอบก่อนใช้งานอย่างไร ตรงนี้เราก็สามารถที่จะระบุลงไปได้ครับ ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ว่า เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมควบคุมโดยตรงเลยนะครับ
ตรงนี้...ในส่วนของการยื่นผลงานนี่สำคัญนะครับ อย่าใจร้อนเกินไป เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เช่น พอได้ครบ 3ปีปุ๊บ ยื่นปั้บเลยแบบนี้ก็มีสิทธิที่ทางกรรมการพิจารณาผลงาน เล็งเห็นว่า หากผลงานไม่เข้าข่าย ไม่เข้าตากรรมการจริงๆ คือ งานไม่เชิงวิศวกรรมควบคุมจริงๆ ท่านมีสิทธิผลงานไม่ผ่านนะครับ ทีนี้พอผลงานไม่ผ่าน ท่านต้องรออีก 1 ปีเต็มๆ เพื่อที่จะยื่นผลงานครั้งต่อไปนะครับ
A. จากประสบการณ์ และการพูดคุยกับทางคณะกรรมการนะครับ ผลงาน หรือ ปริมาณงานที่เหมาะสม ไม่มีความตายตัว คือยืดหยุ่นได้ครับ แต่ไม่ใช่ว่าน้อยเกินไป/หรือ มากเกินไป
เช่น ปีที่1 ท่านมีผลงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม 3 ผลงาน ปีที่2 มี 5 ผลงาน ปีที่3 มี10 ผลงาน รวมแล้ว 3 ปี ท่านจะยื่น ที่ 15 ผลงาน/ หรือ 15 โปรเจค ซึ่งหากใน 15 โปรเจค.....มีรายละเอียด หรือ subset ย่อย ออกมาในแต่ละงาน แต่ละโปรเจค เช่น(ยกตัวอย่างนะครับ) โปรเจค ห้าง Big-C ท่านสามารถมี subset ย่อย เป็ร ระบบทำความเย็นในส่วนA ส่วนฺB ส่วนC ระบบน้ำ ระบบดับเพลิง ส่วนA ส่วนB ส่วนC ระบบลิฟท์ขนส่ง/ลิฟท์ ลิฟท์ขนของ แบบนี้ ท่านต้องแจกแจง รายละเอียดออกมาให้คณะกรรมการทราบ ถึงรายละเอียดด้วย ว่ามันเข้าข่ายวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตรงไหน เป็นต้นนะครับ หรือ
ท่านไปอยู่โรงกลั่น/ โรงไฟฟ้า ซัก 3 ปี ท่านสร้างถังน้ำมัน/storage tank ท่านก็ต้องระบุให้ทางคณะกรรมการทราบว่า ถังที่ท่านสร้างเนี่ย ท่านสร้างกี่ใบ แต่ละใบมันต่างกันตรงไหน ท่านออกแบบตาม code ตามมาตรฐานอะไร ถังใบนี้ ท่านอาจมี subset ย่อยเป็น ระบบท่อ/ piping/ ระบบปั้ม วาลว์ สร้างเสร็จแล้วมีการตรวจสอบอย่างไร ทดสอบก่อนใช้งานอย่างไร ตรงนี้เราก็สามารถที่จะระบุลงไปได้ครับ ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ว่า เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมควบคุมโดยตรงเลยนะครับ
ตรงนี้...ในส่วนของการยื่นผลงานนี่สำคัญนะครับ อย่าใจร้อนเกินไป เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เช่น พอได้ครบ 3ปีปุ๊บ ยื่นปั้บเลยแบบนี้ก็มีสิทธิที่ทางกรรมการพิจารณาผลงาน เล็งเห็นว่า หากผลงานไม่เข้าข่าย ไม่เข้าตากรรมการจริงๆ คือ งานไม่เชิงวิศวกรรมควบคุมจริงๆ ท่านมีสิทธิผลงานไม่ผ่านนะครับ ทีนี้พอผลงานไม่ผ่าน ท่านต้องรออีก 1 ปีเต็มๆ เพื่อที่จะยื่นผลงานครั้งต่อไปนะครับ
Q.ยื่นผลงานผ่าน แล้วทำอย่างไรต่อไป
A. อ่านหนังสือสอบครับ คำตอบเดียวเลย ส่วนในเรื่องของการสอบนั้นมีทั้ง วิชาบังคับ และ วิชาเลือก ในส่วนของวิชาบังคับนั้น เป็นวิชาพื้นฐานที่ท่านจะต้องเอามาใช้อยู่แล้ว คือ มันต้องอยู่ในหัวของวิศวกรอยู่แล้ว ถามมา/ตอบได้ ตอบอย่างมีหลักการและเหตุผล ส่วนในส่วนของวิชาเลือก เลือกวิชาที่ท่านถนัดที่สุด หรือ วิชาที่ท่านทำงานอยู่นั่นล่ะครับดีที่สุด ท่านทำงานออกแบบเครื่องจักร แต่ท่านไปเลือกลงวิชา แอร์/เครื่องทำความเย็น แบบนี้ก็อาจจะหนักหน่อย ว่าอย่างนั้น หรือ ท่านทำงานเกี่ยวกับระบบแอร์/ทำความเย็น แต่ท่านไปลงวิชา Boiler/Pressure vessel แบบนี้ก็หนักเหมือนกันครับ คำแนะนำคือ ท่านทำงานสายไหน ให้สอบสายนั้นครับ
ส่วนเกณฑ์การพิจารณาในส่วนของการสอบข้อเขียนนั้น บางท่านบอกยาก บางท่านบอกง่าย ก็สุดแล้วแต่ครับ....แต่หลักเกณฑ์ที่ทางสภาวิศวกรท่านกำหนดขึ้นมาคือ 60คะแนน จาก 100คะแนน ท่านสอบผ่าน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ก็ตรงๆตัวเลย คือ 60% ผ่านนะครับ.....ซึ่งทางสภาวิศวกร เค้ากำหนดมาว่า คนที่ผ่านนั้นต้องได้ 85คะแนน จาก100คะแนน ถึงจะผ่าน ผมก็ไม่เถียงเลยครับ ว่ายากจริงๆ แต่นี่ 60 จาก 100 นะครับ เกินครึ่งมา 10 คะแนน พิจารณาดูครับ
A. อ่านหนังสือสอบครับ คำตอบเดียวเลย ส่วนในเรื่องของการสอบนั้นมีทั้ง วิชาบังคับ และ วิชาเลือก ในส่วนของวิชาบังคับนั้น เป็นวิชาพื้นฐานที่ท่านจะต้องเอามาใช้อยู่แล้ว คือ มันต้องอยู่ในหัวของวิศวกรอยู่แล้ว ถามมา/ตอบได้ ตอบอย่างมีหลักการและเหตุผล ส่วนในส่วนของวิชาเลือก เลือกวิชาที่ท่านถนัดที่สุด หรือ วิชาที่ท่านทำงานอยู่นั่นล่ะครับดีที่สุด ท่านทำงานออกแบบเครื่องจักร แต่ท่านไปเลือกลงวิชา แอร์/เครื่องทำความเย็น แบบนี้ก็อาจจะหนักหน่อย ว่าอย่างนั้น หรือ ท่านทำงานเกี่ยวกับระบบแอร์/ทำความเย็น แต่ท่านไปลงวิชา Boiler/Pressure vessel แบบนี้ก็หนักเหมือนกันครับ คำแนะนำคือ ท่านทำงานสายไหน ให้สอบสายนั้นครับ
ส่วนเกณฑ์การพิจารณาในส่วนของการสอบข้อเขียนนั้น บางท่านบอกยาก บางท่านบอกง่าย ก็สุดแล้วแต่ครับ....แต่หลักเกณฑ์ที่ทางสภาวิศวกรท่านกำหนดขึ้นมาคือ 60คะแนน จาก 100คะแนน ท่านสอบผ่าน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ก็ตรงๆตัวเลย คือ 60% ผ่านนะครับ.....ซึ่งทางสภาวิศวกร เค้ากำหนดมาว่า คนที่ผ่านนั้นต้องได้ 85คะแนน จาก100คะแนน ถึงจะผ่าน ผมก็ไม่เถียงเลยครับ ว่ายากจริงๆ แต่นี่ 60 จาก 100 นะครับ เกินครึ่งมา 10 คะแนน พิจารณาดูครับ
Q. สอบสัมภาษณ์ กรรมการถามอะไร
A. หากท่านมาถึงจุดนี้แล้ว สอบข้อเขียนผ่านแล้ว ขอแสดงความยินดีกับว่าที่ สามัญวิศวกร คนใหม่ครับ แต่.....ต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ก่อนครับ อย่าเพิ่งดีใจ เพราะเคยมีท่านที่สอบสัมภาษณ์ไม่ผ่านนะครับ (ผมไม่ทราบด้วยเหตุผลอะไร) ส่วนการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์นั้น ทางกรรมการที่ถามท่านจะมีผลงานที่ท่านยื่นนั้นล่ะครับ สอบถามท่านเอง กรรมการจะเปิดดูผลงานที่ท่านทำมา แล้วอาจจะให้ท่านอธิบายในเชิงหลักการทางวิศวกรรม ว่าท่านได้ใช้หลักการในเชิงวิศวกรรมอะไร ในงานนั้นๆ เป็นต้นครับ ส่วนเรื่องอื่น ก็ แล้วแต่ทางกรรมการครับ จะเห็นว่า ผลงานที่ท่านยื่นนั้น สำคัญนะครับ ตั้งแต่เริ่มต้นเลย
A. หากท่านมาถึงจุดนี้แล้ว สอบข้อเขียนผ่านแล้ว ขอแสดงความยินดีกับว่าที่ สามัญวิศวกร คนใหม่ครับ แต่.....ต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ก่อนครับ อย่าเพิ่งดีใจ เพราะเคยมีท่านที่สอบสัมภาษณ์ไม่ผ่านนะครับ (ผมไม่ทราบด้วยเหตุผลอะไร) ส่วนการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์นั้น ทางกรรมการที่ถามท่านจะมีผลงานที่ท่านยื่นนั้นล่ะครับ สอบถามท่านเอง กรรมการจะเปิดดูผลงานที่ท่านทำมา แล้วอาจจะให้ท่านอธิบายในเชิงหลักการทางวิศวกรรม ว่าท่านได้ใช้หลักการในเชิงวิศวกรรมอะไร ในงานนั้นๆ เป็นต้นครับ ส่วนเรื่องอื่น ก็ แล้วแต่ทางกรรมการครับ จะเห็นว่า ผลงานที่ท่านยื่นนั้น สำคัญนะครับ ตั้งแต่เริ่มต้นเลย
สรุประยะเวลา คร่าวๆ นับจากยื่นผลงาน
ยื่นผลงานà(คณะกรรมการพิจารณาผลงาน ประมาณ 2 เดือน)
ผลงานผ่าน à (ยื่นเรื่อง เพื่อทำการสอบ ข้อเขียน à 1ปี เปิดสอบ สามัญ 3 ครั้ง เฉลี่ยรอที่ 3 เดือน)
ประกาศผลสอบข้อเขียน à(หลังการสอบข้อเขียน 1 เดือนโดยประมาณ)
สอบสัมภาษณ์ à (หลังประกาศสอบข้อเขียน 1 เดือนโดยประมาณ)
ประกาศผลสอบสัมภาษณ์ à (หลังสัมภาษณ์ 1 เดือน โดยประมาณ)
ใบอนุญาต สามัญวิศวกร ออกให้ à (หลังสัมภาษณ์ 2 เดือนโดยประมาณ)
โดยเฉลี่ย อยู่ที่ 9-10 เดือนครับ อย่างไวที่สุด นับตั้งแต่ ท่านได้ยื่นผลงานประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เพื่อขอยื่นเลื่อนระดับ ไม่มีเร็วไปกว่านี้แล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้น ผลงานที่ท่านยื่นต้องผ่านภายในครั้งเดียวนะครับ อีกทั้ง...สอบข้อเขียน(ทั้งวิชาบังคับ/ วิชาเลือก สอบผ่านภายใน 1 ครั้งนะครับ) หากสอบไม่ผ่าน ท่านสามารถสะสมวิชาที่สอบไม่ผ่านได้ในครั้งต่อไป แต่ทางสภาวิศวกร กำหนดว่า ไม่เกิน 6 ครั้ง หรือในรอบ 2 ปี ซึ่งหากเกินนี้แล้วนั้น ท่านต้องยื่นผลงานเข้าไปใหม่ รอกันใหม่ หรือ เรียกว่า นับหนึ่งกันใหม่ครับ
ข้อสงสัยอื่นๆ สามารถสอบถามได้ครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการยื่นเลื่อนระดับครับ