เรามักคุ้น ศัพท์นี้จากงานเชื่อม ท่อ หรือ เชื่อม pipe ครับ ซึ่งคำว่า ดีบี หรือ DB ย่อมาจาก Diameter Bore ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางนั่นเอง หากแต่เทียบขนาดแล้วตัวเลขจะไม่ลงตัวนะครับ เช่นท่อขนาด 1นิ้ว OD ไม่ใช่ 1นิ้วเป๊ะๆ หรือ ท่อ 3 นิ้ว ขนาดก็ไม่ใช่ OD 3 นิ้วเป๊ะๆ แต่ที่เราเรียกขนาดท่อกัน นี่คือ Norminal pipe size หรือ NPS นั่นเอง (ลองดู File ที่ใช้กันบ่อยๆครับ ใน KAKA Support) มีให้โหลดตรงนี้อยู่ เกี่ยวกับขนาดท่อ
แล้วเราจะเจอ หรือ เราจะใช้เมื่อไหร่ เจ้าดีบี เนี่ย คำตอบคือ ส่วนใหญ่ เราจะใช้กันในการคิดราคา/เสนอราคางานเชื่อม/ ประมาณราคา/ ประมาณปริมาณงานเชื่อมในโปรเจคนั้นๆครับ ที่เราพบกันส่วนใหญ่เลยนะครับ เช่นโปรเจคนี้ เท่าที่ประมาณดู ไม่ต่ำกว่า 10,000 ดีบี หรือ เช่น ลองนับจำนวน joint ดูตามแบบ แล้ว ผู้รับเหมาคิดออกมาได้ที่ 250 ดีบี เป็นต้น ซึ่งการคิดตรงนี้นั้น เรามักจะทำเป็น Estimate Cost ของราคางานไปครับ เพื่อ Engineering หรือ Contractor หรือ Sub contractor จะได้ เตรีมงานถูก ใช้ช่างเชื่อมกี่คน/ ช่างประกอบกี่คน/ helper กี่คน รถเครนต้องใช้มั้ย รถเฮี้ยบต้องใช้มั้ย Fab ใน shop หรือที่หน้างาน ท่อเป็นอะไร เป็นเหล็ก เป็นสเตนเลส หรือเป็นวัสดุAlloy ต้อง purge แกสมั้ย......bla bla bla……ตรงนั้นต้องนำมาเป็นปัจจัย เพื่อคิด Cost ในงานเชื่อมอีกครั้งหนึ่งครับ
ทีนี้มาถึง วิธี การคิดหา ดีบี ว่าคิดยังไง คำตอบคือ ไม่ต้องไปคิดมากครับ อ้างอิง หรือ เราก็ยึดที่แบบ(Drawing)เป็นหลักเลย หลักที่ว่า ก็ ท่อ 1 นิ้ว หรือ pipe 1 นิ้ว ก็คิดเป็น 1 ดีบี ลักษณะเดียวกัน หากเป็นท่อ 3 นิ้ว หรือ pipe 3 นิ้ว เอามาเชื่อมต่อกันที่ 1 joint ดังนั้น joint นั้น ก็เป็น 3 ดีบี.....เกิด Line นั้น(อ้างอิงจากแบบISO หรือ as built ก็ไม่ผิดกติกา) มี 10 joints เรียงกันล่ะตามแบบน่ะ แน่นอนว่า 10x3นิ้ว ก็เป็น 30 ดีบี ใน Line นั้นๆ หรือในแบบ มีท่อ 2 นิ้วอยู่ 200 joints ท่อ 3 นิ้วอยู่ 150 joints แบบนี้ ก็เป็น (2 x 200) + (3 x 150) = 850 DB เป็นต้นครับ
จะเห็นได้ว่า ดีบี ของงานเชื่อม....การคิดราคา เราก็จะอ้างอิง จาก Volume หรือ ปริมาณงานเป็นหลัก ที่ทางผู้รับเหมา หรือทางเจ้าของงาน อาจจะมีเรทราคางานต่อ ดีบี ไว้ในใจแล้ว ซึ่งรายละเอียดลึกๆตรงนั้นต้องพิจารณา ตัวแปรอย่างอื่นอีกครับ ราคาที่เสนอ อาจจะเป็นล่ำซำ (lump sum) รวมหมดเลยทั้งประกอบ และเชื่อมด้วย หรือ ราคาแยก ประกอบ(Fit up) ราคาหนึ่ง แล้วก็เชื่อม(welding) อีกราคาหนึ่ง เป็นต้นครับ
ก็คือการทำ PT หรือว่า Liquid Penetrant Testing นั่นเองครับ แต่ศัพท์อย่างไม่เป็นทางการ (จะเรียกว่าเป็น Local wording หรือ แบบบ้านๆดีครับ) ก็มักจะฮิต ติดปากกันครับ ว่า Testสี นะ งานนี้ สาเหตุ/ที่มาที่ไป ก็คงจะมาจาก การทำ PT หรือ Penetrant Test มันมีสีตกค้าง ภายหลังการทำ นั่นเองครับ เราเลยมักจะเห็น การเรียกติดปากในลักษณะนี้ว่า Test สี กันครับ
แล้วเอาสีออกได้มั้ย ตอน Test สี เสร็จเรียบร้อยแล้ว.....เคยมีผู้รับเหมา ถามผมอยู่เหมือนกันครับ คำตอบคือ ได้สิครับ ทำไมจะไม่ได้ล่ะครับ ถ้าท่านทำการทดสอบ หรือว่า Test สี เสร็จแล้วเนี่ย ทางผู้ตรวจสอบ หรือทีมงานตรวจสอบ พิจารณาแล้ว Accept กับแนวเชื่อมนั้นๆ ก็ผ่านการทดสอบแล้วครับ จะลบ/จะล้าง/จะเช็ด สีที่ยังคงอยู่ก็สามารถทำได้ครับ ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด เพราะว่าผ่าน หรือ Accept แนวเชื่อมนั้นแล้ว ถูกต้องมั้ยครับ แต่ถ้า ทดสอบ หรือ Test สี แล้ว ไม่ผ่านล่ะ.....แน่นอนว่าต้องทำการซ่อมแซม หรือ Repair ตรงจุดนั้นๆ ที่ไม่ผ่านนั่นเองครับ แต่ส่วนใหญ่ที่เราเห็น มักจะไม่ลบ/ไม่ล้าง/ไม่เช็ด ออกก็เพราะว่า เผื่อลืม/เผื่อหลง ว่าแนวเชื่อม แนวนี้ Test ไปหรือยัง เท่านี้เองครับ
ยิงผีเป็นคำฮิตติดปากเรียกกันครับ ผี คือสิ่งที่ไม่มีตัวตน คือ การถ่ายภาพด้วยรังสี(Radio graphic Testing) หรือ ว่า X-ray แนวเชื่อมที่มันไม่มีตัวตนนั่นเอง นั่นก็คือ ภาพถ่ายแนวเชื่อมนั้นๆที่ปรากฏอยู่บนฟิลม์ ไม่ใช่ภาพถ่ายของ joint นั้นจริงๆ หรือเป็นฟิลม์ ที่มาจากไหนก็ไม่รู้ แต่ mark no. ของฟิลม์ เป็น mark no. ที่ตรงตามแบบนั่นเอง
กรณีที่สามารถเจอได้ ของผี ก็คือ งานไม่ทันแล้ว Inspection ตามเก็บไม่ทัน/ หรืองานติดฟิลม์ยาก ติดฟิลม์ลำบาก เช่น บน pipe rack สูงๆ กว่าจะได้แต่ละ joint มันนานว่างั้น หรือ งานถังน้ำมัน ชั้นบนๆ course 5/ course 6 แบบนั้นเป็นต้น หรือสามารถเกิดได้กรณีงานเยอะๆ แล้วเกิดสลับ Joint no. เช่นงาน pipe line ที่ยาวๆ ต้องมาตามเก็บ films กันทีหลัง ก็สามารถเป็นผีได้เหมือนกันครับ
แล้วจะรู้ได้ไงครับ ผี/ ไม่ผี ตอบยาก......มาก ครับ ต้องมานั่งดูฟิลม์เป็นวิธีเดียวเลย ความเคยชินเป็นหลัก แนวนี้ผ่านตามาแล้ว มีสะเก็ดไฟตรงจุดนี้ มีรอยขีดตรงจุดนี้ ดูไปซัก 20 ฟิลม์ ชักเบลอๆ ยิ่งถ้าเพ่งมากๆ วันหนึ่งซัก 100 ฟิลม์ นี่ต้องออกมาสูดอากาศ บริสุทธิ์กันบ้างครับ จะได้ไม่เบลอ กับอีกวิธีหนึ่ง คือประเมิณงานตรวจสอบในลักษณะนั้นๆได้ เช่น ประเมิณความแรงของต้นกำเนิดรังสีได้ ยกตัวอย่าง 50 คูรี ของ Ir-192 เป็นแหล่งกำเนิด เอาไปถ่ายภาพรังสี เทียบกับ 15 คูรี ของ Ir-192 เหมือนกัน แน่นอนว่า ความแรงรังสี 50 คูรี ย่อมใช้เวลาถ่ายภาพที่เร็วกว่าแน่นอนครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องประเมิณเวลา การจัดเตรียมเทคนิคการถ่ายเอาไว้ด้วย กว่าจะติดฟิลม์ กว่าจะถ่ายภาพ กว่าจะเปลี่ยน Joint ต้องเผื่อเวลาไว้ด้วยครับ Joint นี้ อยู่บน pipe rack หรือ อยู่บน ถังด้านบนๆ(Course บนๆ) กว่าจะปีนขึ้น/ปีนลง ติดฟิลม์/แปะฟิลม์ ฝนตก/ไม่ตก หรือเตรียมงาน บางทีกินเวลามากกว่า เวลาที่ใช้ถ่ายถาพด้วยรังสีเสียอีกครับ ซึ่งตรงนี้หลายปัจจัยที่นำมาประมาณการณ์