หลายท่านในวงการงานเชื่อม อาจจะ หรือมักจะคุ้นเคยเกี่ยวกับเรื่อง Code หรือ Standard หรือบางครั้งเรามักจะเจออีกหลากหลายคำ เช่น Specification, Recommended practice เป็นต้น ซึ่งค่อนข้างจะเป็นที่แน่นอน ว่าหากเรามีความจำเป็นที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับทางด้านงานเชื่อมแล้วล่ะก็ เรามักจะหลีกหนีเรื่องราวของคำเหล่านี้ไม่ได้ ผู้เขียนเองก็เช่นกัน เมื่อเริ่มต้นเข้าทำงานสู่วงการงานเชื่อมใหม่ๆนั้น รู้สึกได้ถึงความสับสนของการเรียกใช้ ในตามแต่ลักษณะงาน ขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น
- งานนี้ผู้รับเหมาใช้มาตรฐานไหน ในการประกอบ ก่อนทำการเชื่อม
- ลวดเชื่อม ที่ช่างเชื่อมเลือกใช้ ใน procedure กำหนดให้ใช้ spec ไหน
- งานนี้ทำการสอบช่างเชื่อมตามมาตรฐานของ ASME section IX
- ตรวจสอบด้วยการทำ RT ใช้ standard ไหนเป็นมาตรฐาน…..ฯลฯ
บางครั้งบางที วันไหนนอนไม่เพียงพอ เกิดอาการที่เรียกว่า เบลอ ได้เช่นกัน ไม่รู้จะเรียก มาตรฐานดี หรือจะเรียก Specดี หรือจะเรียก Standardดี สับสนเหมือนกัน เคยเป็นกันบ้างหรือเปล่าครับ ซึ่งในเรื่องราวแรกๆเลยที่ทางทีมงานแนะนำ เราควรมาทำตามข้อตกลง หรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ กันอย่างถูกต้องเสียก่อนครับ เรียกได้ว่าตั้งแต่ก่อนที่เราจะเขียน WPS งานเชื่อม, งานประกอบ หรือ Fabrication, จนกระทั่งเริ่มทำการเชื่อม เชื่อมเสร็จ, ตรวจสอบ ทำNDT จนกระทั่ง Coating หรือ ทำสี ล้วนแล้วแต่ต้องมีข้อกำหนด หรือข้อตกลงที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งนั้น
Code หมายถึง อะไร…?
Code ในงานเชื่อมหมายถึง เอกสารมาตรฐานในทางวิศวกรรม ที่เรายอมรับกันว่าเป็นกฎหมาย หรือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Code คือสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องทำตาม ถามว่าถ้าไม่ทำตามผิดไหม คำตอบคือผิด คิดอย่างที่เข้าใจแบบง่ายนั่นคือ กฎหมายกำหนดมาแล้ว เราไม่ทำตามกฎหมายนั่นเอง ยกตัวอย่าง กฎหมายกำหนดไม่ให้เราขับรถเร็วเกินกำหนด 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เราขับด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน
ซึ่งวิธีสังเกต หรือข้อสังเกต มักจะพบคำว่า Shall หรือ Will เข้ามาเกี่ยวข้องใน Code นั่นคือหมายถึงว่า ต้องทำ หรือ จำเป็นต้องทำ เลยนะครับ อย่าไปแปลว่า ควรจะนะครับ อย่าลืมว่า
Shall be ในความหมายของ Code คือ คุณจำเป็นจะต้องทำตาม ซึ่งในลักษณะเดียวกัน
Shall not be ในความหมายของ Code คือ ห้ามเลย เด็ดขาด
กรณีเดียวกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในการเชื่อมท่อไอน้ำของ Stream boiler ในโรงกลั่นน้ำมัน อุณหภูมิใช้งานประมาณ 550Celsius (หรือประมาณ1022Fahrenheit) ซึ่งตาม Code ที่ใช้งาน นั่นคือ ASME B31.1 – Power piping กำหนดเอาไว้ว่า
- งานนี้ผู้รับเหมาใช้มาตรฐานไหน ในการประกอบ ก่อนทำการเชื่อม
- ลวดเชื่อม ที่ช่างเชื่อมเลือกใช้ ใน procedure กำหนดให้ใช้ spec ไหน
- งานนี้ทำการสอบช่างเชื่อมตามมาตรฐานของ ASME section IX
- ตรวจสอบด้วยการทำ RT ใช้ standard ไหนเป็นมาตรฐาน…..ฯลฯ
บางครั้งบางที วันไหนนอนไม่เพียงพอ เกิดอาการที่เรียกว่า เบลอ ได้เช่นกัน ไม่รู้จะเรียก มาตรฐานดี หรือจะเรียก Specดี หรือจะเรียก Standardดี สับสนเหมือนกัน เคยเป็นกันบ้างหรือเปล่าครับ ซึ่งในเรื่องราวแรกๆเลยที่ทางทีมงานแนะนำ เราควรมาทำตามข้อตกลง หรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ กันอย่างถูกต้องเสียก่อนครับ เรียกได้ว่าตั้งแต่ก่อนที่เราจะเขียน WPS งานเชื่อม, งานประกอบ หรือ Fabrication, จนกระทั่งเริ่มทำการเชื่อม เชื่อมเสร็จ, ตรวจสอบ ทำNDT จนกระทั่ง Coating หรือ ทำสี ล้วนแล้วแต่ต้องมีข้อกำหนด หรือข้อตกลงที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งนั้น
Code หมายถึง อะไร…?
Code ในงานเชื่อมหมายถึง เอกสารมาตรฐานในทางวิศวกรรม ที่เรายอมรับกันว่าเป็นกฎหมาย หรือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Code คือสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องทำตาม ถามว่าถ้าไม่ทำตามผิดไหม คำตอบคือผิด คิดอย่างที่เข้าใจแบบง่ายนั่นคือ กฎหมายกำหนดมาแล้ว เราไม่ทำตามกฎหมายนั่นเอง ยกตัวอย่าง กฎหมายกำหนดไม่ให้เราขับรถเร็วเกินกำหนด 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เราขับด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน
ซึ่งวิธีสังเกต หรือข้อสังเกต มักจะพบคำว่า Shall หรือ Will เข้ามาเกี่ยวข้องใน Code นั่นคือหมายถึงว่า ต้องทำ หรือ จำเป็นต้องทำ เลยนะครับ อย่าไปแปลว่า ควรจะนะครับ อย่าลืมว่า
Shall be ในความหมายของ Code คือ คุณจำเป็นจะต้องทำตาม ซึ่งในลักษณะเดียวกัน
Shall not be ในความหมายของ Code คือ ห้ามเลย เด็ดขาด
กรณีเดียวกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในการเชื่อมท่อไอน้ำของ Stream boiler ในโรงกลั่นน้ำมัน อุณหภูมิใช้งานประมาณ 550Celsius (หรือประมาณ1022Fahrenheit) ซึ่งตาม Code ที่ใช้งาน นั่นคือ ASME B31.1 – Power piping กำหนดเอาไว้ว่า
Filler metal หรือ ขออนุญาตใช้คำว่าลวดเติม ที่เราใช้นั้น %Carbon ในลวดเติมนั้น ห้ามต่ำกว่า 0.05% สำหรับกรณีการใช้งานที่อุณหภูมิที่สูงเกิน 850 Fahrenheit (ประมาณ 450 Celsius) ซึ่งดังนั้น หากเราพบว่าเราไม่สามารถที่จะเลือกใช้ ลวดเชื่อม E7016 (ซึ่งมี %Carbon ประมาณ 0.08) สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบ SMAW หรือ ER70S-G (ซึ่งมี %Carbon ประมาณ 0.1) สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบ GTAW
ซึ่งหากเราพบว่าเราเลือกใช้งาน หรือผู้รับเหมาเลือกใช้งาน จะเป็นการทำผิดตามCode ซึ่งสามารถที่จะไม่ยอมรับ หรือสามารถ Reject ได้ในงานนั้นๆ เนื่องจาก Code หรือกฎหมายนั้นได้ระบุไว้อย่างชัดเจน จะเห็นได้ว่าข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในลักษณะนี้ทำให้สูญเสียทั้งเงิน ทั้งเวลา อย่างมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น เป็นต้น
ตัวอย่าง Code ของเพื่อนชาวอเมริกา ที่เรามักจะพบอยู่บ่อยๆ ในวงการงานเชื่อมของประเทศไทยเรา ขอยกตัวอย่าง ทั้ง AWS Codes และ ASME Codes
AWS Codes อาทิ เช่น - AWS D1.1 Structural welding code steel
- AWS D1.5 Structural welding code-Bridge welding code
ASME Codes อาทิ เช่น - ASME Code Section I Rules for construction of Power boilers
- ASME Code Section XIII Rules for construction of Pressure Vessel, Division 1,2 and 3
- ASME Code Section IX Welding and Brazing qualification
- ASME B31.1 Power piping
Standard หมายถึงอะไร…?
Standard คือ เอกสารระบุวิธีปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในระหว่างขั้นตอนการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพของชิ้นส่วนที่ผลิต ไม่ว่าจะเป็นวิธีการปรับแต่งเครื่องมือ วิธีการทดสอบ ขอบเขต สภาพแวดล้อม และตัวแปรอื่นๆ เพื่อให้สิ่งที่เราทำนั้น เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าในบางครั้ง เราไม่จำเป็นต้องทำตาม standard ก็สามารถทำได้ เนื่องจากไม่ผิดกฎหมายใดๆ นั่นเอง
ในบางครั้งนั้น เราจะพบว่า Standard บางตัวจำเป็นที่เราจะต้องปฏิบัติตาม หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า Mandatory ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย หรือ Code นั่นเอง จำเป็นจะต้องทำตาม ไม่ทำตามไม่ได้ และ เช่นเดียวกัน ใน Standard บางตัวไม่มีการบังคับว่าจะต้องทำตาม หรือ Nonmandatory นั่นก็คือ เป็นแนวทางให้ เป็น Guideline ให้เฉยๆ ไม่มีการบังคับ ซึ่งเราสามารถจะปฏิบัติตาม หรือไม่ปฏิบัติตามก็เป็นได้ ซึ่งข้อสังเกตที่มักพบคือ มักจะพบคำว่า should be หรือ could be (ควรจะ…) มาแทนที่คำว่า shall be หรือ will be ซึ่งสามารถพบได้ชัดเจน
ยกตัวอย่าง หากเราจะสร้างถังน้ำมันโดยการเชื่อม ซักใบหนึ่ง Standard ที่เราใช้ในระหว่างขั้นตอนการผลิตถังใบนี้ เราจะทำตาม API 650 (Welded steel tanks for oil storage) หรือ เราจะทำ RT งานเชื่อมเหล็ก โดยที่เราจะเลือกใช้ Standard ของ JIS Z 3104 Method of radiographic test and classification of radiographs for steel welds เป็นต้น
ซึ่งทั้งนี้ และทั้งนั้น Standard สามารถที่จะกล่าวอ้างอิงไปถึง Code ให้เราปฏิบัติตาม Code ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า เมื่อ Standard นั้นๆกล่าวอ้างไปถึง Codeนั้นๆ เราจำเป็นจะต้องปฏิบัติ หรือทำตามที่ Codeนั้นๆ ได้กล่าวเอาไว้
ตัวอย่าง Code ของเพื่อนชาวอเมริกา ที่เรามักจะพบอยู่บ่อยๆ ในวงการงานเชื่อมของประเทศไทยเรา ขอยกตัวอย่าง ทั้ง AWS Codes และ ASME Codes
AWS Codes อาทิ เช่น - AWS D1.1 Structural welding code steel
- AWS D1.5 Structural welding code-Bridge welding code
ASME Codes อาทิ เช่น - ASME Code Section I Rules for construction of Power boilers
- ASME Code Section XIII Rules for construction of Pressure Vessel, Division 1,2 and 3
- ASME Code Section IX Welding and Brazing qualification
- ASME B31.1 Power piping
Standard หมายถึงอะไร…?
Standard คือ เอกสารระบุวิธีปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในระหว่างขั้นตอนการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพของชิ้นส่วนที่ผลิต ไม่ว่าจะเป็นวิธีการปรับแต่งเครื่องมือ วิธีการทดสอบ ขอบเขต สภาพแวดล้อม และตัวแปรอื่นๆ เพื่อให้สิ่งที่เราทำนั้น เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าในบางครั้ง เราไม่จำเป็นต้องทำตาม standard ก็สามารถทำได้ เนื่องจากไม่ผิดกฎหมายใดๆ นั่นเอง
ในบางครั้งนั้น เราจะพบว่า Standard บางตัวจำเป็นที่เราจะต้องปฏิบัติตาม หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า Mandatory ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย หรือ Code นั่นเอง จำเป็นจะต้องทำตาม ไม่ทำตามไม่ได้ และ เช่นเดียวกัน ใน Standard บางตัวไม่มีการบังคับว่าจะต้องทำตาม หรือ Nonmandatory นั่นก็คือ เป็นแนวทางให้ เป็น Guideline ให้เฉยๆ ไม่มีการบังคับ ซึ่งเราสามารถจะปฏิบัติตาม หรือไม่ปฏิบัติตามก็เป็นได้ ซึ่งข้อสังเกตที่มักพบคือ มักจะพบคำว่า should be หรือ could be (ควรจะ…) มาแทนที่คำว่า shall be หรือ will be ซึ่งสามารถพบได้ชัดเจน
ยกตัวอย่าง หากเราจะสร้างถังน้ำมันโดยการเชื่อม ซักใบหนึ่ง Standard ที่เราใช้ในระหว่างขั้นตอนการผลิตถังใบนี้ เราจะทำตาม API 650 (Welded steel tanks for oil storage) หรือ เราจะทำ RT งานเชื่อมเหล็ก โดยที่เราจะเลือกใช้ Standard ของ JIS Z 3104 Method of radiographic test and classification of radiographs for steel welds เป็นต้น
ซึ่งทั้งนี้ และทั้งนั้น Standard สามารถที่จะกล่าวอ้างอิงไปถึง Code ให้เราปฏิบัติตาม Code ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า เมื่อ Standard นั้นๆกล่าวอ้างไปถึง Codeนั้นๆ เราจำเป็นจะต้องปฏิบัติ หรือทำตามที่ Codeนั้นๆ ได้กล่าวเอาไว้
กรณีเดียวกัน ทีมงานขอยกตัวอย่างในการสร้างถังน้ำมันโดยการเชื่อม แน่นอนว่าเราจะทำตาม API 650 (Welded steel tanks for oil storage) กล่าวอ้างอิงไปถึงการตรวจสอบด้วยวิธีภาพถ่ายด้ายรังสี หรือการทำ RT นั้น เทคนิคที่เราใช้ API 650 จะกล่าวอ้างอิงไปยัง ASME Code ตาม Article2, Section V ซึ่งเราก็มีความจำเป็นจะต้องทำตามเทคนิคที่ตาม Article2, Section V ใน ASME Code กำหนด ไม่ทำตามไม่ได้นะครับ เพราะเนื่องจาก กฎหมาย หรือว่า Code ได้เข้ามามีบทบาทตรงส่วนนี้แล้วนั่นเอง
Specification หมายถึงอะไร…?
โดยทั่วไปแล้ว Specification มักจะหมายถึง เอกสารที่แสดงถึงรายละเอียดของชิ้นส่วนในภาพรวม เกี่ยวกับลักษณะ หรือความต้องการโดยเฉพาะ เช่น เงื่อนไข หรือสมบัติเฉพาะตัว เป็นต้น ซึ่ง specificationนั้น จะเป็นเอกสารบังคับเมื่อถูกใช้โดย Code หรืออยู่ในสัญญา
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราพูดถึง ASME Code ในส่วนของ Section IX ใน Article IV-Welding data, QW-430 F-Number ก็จะทำการแบ่ง หรือ ทำการจัดหมวดหมู่ของ Specification ในส่วนของ Grouping of electrodes and welding rods for qualifications ไว้เป็นลำดับเพื่อความสะดวก หากพูดถึง ลวดเชื่อมไฟฟ้า EXX16 หรือ EXX18 ก็ล้วนจัดอยู่ใน Specification ของ SFA-5.1 ตามที่ ASME Code ส่วนของ Section IX กล่าวอ้างถึง
หรือ หากเราจะพูดถึง Specification ของลวดเชื่อมตาม A-5.1 หรือ SFA-5.1 Specification for welding rods, electrode and filler metals (ตาม ASME Code Section II part C) ก็จะกล่าวเอาไว้ว่า หากเป็น ลวดเชื่อมที่กำหนดว่า Specification SFA-5.1 นั้นจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติตามนี้ มี tensile strengthตามนี้ มี Yield strengthตามนี้ แม้แต่ส่วนผสมทางเคมี รวมไปถึงการบรรจุหีบห่อ ก็มีความจำเป็นต้องเป็นไปตามที่ระบุเอาไว้สำหรับ Specification นั้นๆด้วย เนื่องจากกฎหมาย หรือ Code ได้เข้ามาระบุไว้อย่างชัดเจน ซึ่งก็เช่นเดียวกันคือ ห้ามอยู่นอกเหนือข้อกำหนดเด็ดขาดนั่นเอง