ยุคสมัยนี้ การสื่อสารด้วย E mail เท่านั้นครับ ถึงจะว่องไว
Knowledge ฉบับนี้ ผมมีบทความเกี่ยวกับ ASME โดยตรงครับ ที่ได้รับมาเป็นคำถาม เกี่ยวกับ Pressure vessel ในส่วนของ ASME section VIII div 1. ซึ่งเป็น Code ยอดนิยมเลยล่ะครับ เกี่ยวกับ ภาชนะรับแรงดัน ลำดับต้นๆเลยล่ะครับ ที่เจอกันในประเทศไทยของเรา ไม่ว่าจะเป็นถังแรงดัน, ถังลม, Air receiver tank, ถังเก็บสารเคมี, ถังบรรจุก๊าซLPG, หรือว่าถังสารพัดถังที่รับแรงดันและ meeting requirement ในส่วนของ ASME section VIII div 1. ของเรา ซึ่งเป็น E-mail คำถามจากเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งครับ สอบถามเข้ามา ผมเห็นว่าคำถามน่าสนใจมากครับ จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังใน Knowledge ฉบับนี้ครับ
มาทวนคำถามกันเลยครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาครับ จาก Information ที่เราได้รับในเบื้องต้น design pressure 27 PSI ความจุ 740 cubic ft. ซึ่งจะให้ Design ตาม ASME section XIII จากข้อมูลที่ได้รับ
คำตอบคือ ในการที่เราจะตอบว่า Pressure vessel ลูกนี้ จำเป็นต้องมี code “Stamp” หรือไม่/ ดูที่อะไร คำตอบคือ ดูที่ บริษัทผู้ผลิตถัง หรือ โรงงานที่เค้าผลิตถังให้เราครับ ส่วนเราในฐานะผู้ใช้ หรือผู้ซื้อ หรือผู้ไปเอาถังใบนั้นมาใช้งาน จะขายต่อ จะอะไรก็ว่ากันไปนะครับ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเจ้า stamp ตัวนี้เลยครับ เจ้า code stamp เนี่ยมันเป็นหน้าที่ของ บริษัทผู้ผลิตถัง หรือโรง Fabrication ถังนั่นเองครับ
ซึ่งหน้าที่หลักๆของเจ้า stamp ตัวนี้คือ เป็นการบ่งชี้ หรือบ่งบอกว่า ถังใบเนี้ย......สามารถที่จะทวนกลับไปได้ เริ่มตั้งแต่ เหล็กที่เอามาใช้สร้าง หรือวัสดุี่เอามาใช้สร้าง การเชื่อม การออกแบบ รายการคำนวณ การตรวจสอบ ที่สามารถทวนกลับไปได้ทุกเมื่อ โดยที่ follow ตาม ASME นั่นเอง โดยจะต้องมีรายละเอียดที่ว่าเนี่ยครับ อยู่ที่โรงงานผู้ผลิตถังให้เรา โดยที่จะต้องมี หน่วยงานที่สาม หรือหน่วยงานกลางที่เป็น third party ของ ASME เอง ที่เรียกกันว่า Authorize inspector หรือสั้นๆว่า AI มาจัดการแทนเรา(ในฐานะที่เราเป็นผู้ซื้อ) โดยที่ Authorize inspector ก็ต้องมาจาก Authorize Inspection Agency : หรือ AIA ซึ่งก็ต้อง Accredited by ASME นะครับ ไม่ใช่ Inspector จาก สมชาย เอ็นจิเนียริ่ง, ศรีสมร เอ็นจิเนียริ่ง หรือว่า กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง แบบนั้นก็ไม่ใช่ครับ(ตรงนี้ UG-91 ใน ASME section XIII div 1.)
ทีนี้คำถามคือ แล้วมันดียังไง คำตอบคือดีตรงที่มันได้คุณภาพมากกว่านั่นเองครับ ทวนกลับได้ หรือ ในภาษาง่ายๆคือ ได้ มอก.แบบบ้านเราว่างั้นครับ แต่เป็น มอก.ของเพื่อนชาวฝรั่งนั่นเองครับ เป็น Code เป็นกฎ ของเพื่อนชาวฝรั่งนั่นเอง ซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์คือ Value หรือ ราคามันจะได้ราคากว่าชาวบ้านนั่นเองครับ ราคาถังแพงกว่า เพราะเหตุผลที่ได้เจ้า Stamp ตัวนี้นั่นเอง Quality มันก็ตามตัวขึ้นไปนั่นเอง
แล้วทีนี้ที่ผ่านมาล่ะ ถังโรงงานผมที่ใช้งานผ่านมา มันไม่มี Stamp แต่มันออกแบบตาม ASME ผิดหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ผิดครับ ผมออกแบบตาม ASME หรือ Design ตาม ASME ความหนาถัง การเชื่อมต่อ รอยต่อ การทดสอบ ถ้าเราทำตาม ASME code มันก็สามารถทำได้ ทีนี้ประเด็นคือ อ้าว.....แล้วผม ในฐานะคนใช้ถังเนี่ย หรือคนซื้อถังเนี่ย จะรู้ได้อย่างไรว่าท่าน(โรงงานที่ผมจะซื้อถังเนี่ย)ทำตาม ASME code หรือ ที่ท่านบอกว่า ถังของเรา ออกแบบ ทำตาม ASME code นะ ไม่ใช่ สมชาย code ว่าอย่างนั้น
ตรงนี้ล่ะครับ บริษัททำถังที่ได้ U stamp เนี่ย จะต้องมีเอกสารทุกขั้นตอน ให้เราดู ยืนยันจริง มีคนกำกับการทำงาน ซึ่งต้องเป็น third party ซึ่งก็คือคนของ ASME ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เข้ามาตรวจสอบแทนเราจริง เก็บเอกสารจริง มีเอกสาร รายละเอียดให้เราดู คือขั้นตอนมันจะเยอะกว่า สุดท้ายเนี่ย ตอนที่เราซื้อถังมา ได้ถังมา ก็ต้องได้แบบฉบับเอกสารรวมเล่มขั้นตอนที่กล่าวมาข้างข้นนั่นล่ะครับเป็น เป็นข้อมูลการสร้างถังทั้งหมดที่นิยมเรียกกันว่า MDR หรือว่า Manufacturer’s Data Report มาให้ท่านด้วย เช่นกันครับ
2) ถ้าต้องมี “Stamp” ต้องเป็น “U” หรือ “UM” ครับ อะไรคือความแตกต่างครับ
คำตอบคือ U Stamp กับ UM Stamp เนี่ยต่างกันที่อะไร มีสองส่วนที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ U Stamp และ UM Stamp นั่นก็คือ ส่วนแรก UM Stamp เนี่ย ใน U-1(j) เนี่ยจะระบุถึง ขนาด และ design pressure เอาไว้เรียบร้อย ว่าถ้าเข้าข่ายนี้นะ UM Stamp มาแน่นอนล่ะว่างั้น กับเรื่องน่ารู้อีกเรื่องหนึ่งครับนั่นคือ การที่โรงงานผลิตถัง จะผลิตถังที่เป็น UM stamp ออกมาขายได้เนี่ย จำเป็นจะต้องที่ได้ U stamp ก่อนเท่านั้น โรงงานถึงจะทำถัง UM stamp ออกมาได้ แล้วทั้งนี้ และทั้งนั้น U stamp จะต้อง certify โดยท่าน Authorize Inspector หรือ AI หรือ คนของ ASME แต่ UM stamp จะ certify การเก็บหลักฐาน เก็บข้อมูลโดย โรงงานผู้ผลิตถังเอง โดยที่ QC ของโรงงานจะต้องถูก Audit โดยคนของ ASME อีกครั้งหนึ่ง อีกทั้ง UM Stamp เนี่ย เวลาขอต่อ มันต้องขอต่อ ปีต่อปี แต่ของ U Stamp เนี่ย ขอได้ปุ๊บ อยู่ได้สามปี พอครบสามปี ก็ยื่นเรื่องขอ Stamp ต่อายุให้ ASME เข้ามาพิจารณาใหม่ เท่านั้นเอง
จะเห็นได้ว่า มาตรฐานแทบไม่ต่างกัน (ความเห็นส่วนตัวนะครับ) ต่างกันที่ ดีกรีความเคี่ยว ขนาด และ Design pressure เป็นหลักนั่นเองครับ
3) การออก code “Stamp” มีการหมดอายุไหมครับ หรือว่าออก “Stamp” ให้ตั้งแต่ตอนสร้างเสร็จครั้งแรก ก็ใช้ได้ตลอด
อย่างนี้ครับ…..ถังใบนี้ สมมตินะครับ serial no. KAKA120-BUG ได้ผ่านการผลิต จากโรงงาน หรือโรง Fabricationที่ได้รับรองคุณภาพ หรือ ได้ U stamp ว่างั้น เมื่อวันที่ สมมติ 1 มกราคม 2554 หมายถึง เสร็จสิ้นกระบวนการแล้วล่ะ เมื่อวันที่ 1 โรงงานผู้ผลิตถัง ส่งมอบถังให้ท่านแล้วล่ะ ถังท่านมาตรฐานตามนี้ คำตอบคือ มันไม่ได้บ่งชี้ว่ามันจะหมดอายุเมื่อไหร่ครับ อายุของการ ขอ certify หรือว่า อายุการใช้งานของถัง เป็นคนละประเด็นครับ ดังเช่นคำตอบในข้อสอง เกี่ยวกับความแตกต่างของ U และ UM Stamp ตามที่กล่าวไว้แล้ว(ตรงนี้ ใน Mandatory appendix 10 มีรายละเอียดที่เพิ่มเติมครับ) การที่จะบ่งชี้ว่ามันจะหมดอายุเมื่อไหร่ ขึ้นกับ ถังจะสามารถทนแรงดันได้อยู่หรือเปล่านั่นเองครับ ถึงเป็นผลให้มันมีการตรวจสอบถังในลำดับถัดมานั่นเองครับ ไม่ได้เหมือน ปลากระป๋อง มีวันที่ผลิต/ วันหมดอายุนะครับ และก็ไม่ได้เกี่ยวว่า ถัง U stamp จะใช้งานได้ยาวนานกว่า ถังที่ไม่ได้ U stamp ไม่ใช่นะครับ การใช้งาน การบำรุงรักษาก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับที่เราจะพิจารณา พูดในลำดับถัดมา ว่าถังเราเนี่ยจะอยู่ได้นาน อยู่ได้ชั่วลูก ชั่วหลาน เป็นคนละประเด็นครับ
Knowledge ฉบับนี้ ว่ากันด้วยเรื่อง Code ASME section VIII div 1 ที่เกี่ยวกับ U stamp, UM stamp ล้วนๆเลยครับ จริงๆผมอยากเขียนถึง UV stamp อีกซักตัว แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้น ถ้าเพื่อนสมาชิก อยากสอบถามเกี่ยวกับ Code ตัวอื่นที่เกี่ยวพันกับงาน engineering ของเราก็สามารถครับ ทางเราเห็นว่า section VIII มันอยู่ใกล้ตัวเรา จะหยิบ จะจับมันใกล้ตัวว่างั้นครับ เลยมาเล่าสู่กันฟังครับ หรือเพื่อนสมาชิกท่านใด มีประสบการณ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ยินดีมาแชร์กันครับ ทางอีเมลล์ของเราได้ที่ [email protected]