KAKA Engineering, we're driving the future
  • Home
  • Knowledge
  • Inspection
  • Boiler/ Vessel
  • Hydrotest/Safety valve
  • Contact Us
  • ENG version
  • ASME
  • Boiler Room

Hydrostatic Test

7/6/2010

12 Comments

 
          Hydro คือน้ำ Static คืออยู่กับที่/อยู่นิ่ง Test คือการทดสอบ ดังนั้นเรานำมารวมกัน เป็น Hydrostatic Test คือ การทดสอบด้วยแรงดันน้ำ หรือ การอัดน้ำทดสอบนั่นเอง โดยทั่วไปเรามักพบการทดสอบ Hydrostatic Test ใน ถัง ท่อ ภาชนะรับแรงดัน เช่น Boiler/ Pressure vessel/ Piping/ ถังรับแรงดันทั่วไป/ ถังเก็บและ บรรจุก๊าซ/ ถังแอมโมเนีย/ ถังก๊าซLPG/ ถังNGV หรือ ถังรับแรงดันทุกประเภทว่าอย่างนั้น
Picture
ทดสอบที่ความดันเท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่า ทดสอบ Hydrostatic Test

          โดยทั่วไป หากมีกฎ หรือ Code ในลักษณะงานนั้นๆ เราจะยึด กฎ หรือ Code ตัวนี้เป็นหลัก ในเรื่องของความดันทดสอบ เช่น หากทดสอบถังรับแรงดัน โดยที่ถังนั้นออกแบบ และสร้างตาม Code ของเพื่อนชาวอเมริกา ASME section VIII, div 1 เราก็ต้องปฏิบัติงาน การทดสอบที่ตาม Code นั้นกำหนด ซึ่งตรงนี้ ตัว Code จะกำหนดไว้ชัดเจน ว่าเราจะทำการอัดน้ำที่เท่าไหร่ นั่นเอง เช่น 1.3เท่า ของความดันออกแบบ/ หรือ 1.5 เท่าของแรงดันออกแบบ เป็นต้น และหากเป็น Boiler หรือ Pressure Vessel ที่ควบคุม หรือ มีกฎหมายควบคุม เช่น พรบ.โรงงาน กำหนด (อาจสามารถเรียกได้ว่าเป็น กฎหมายลูก ก็ไม่ผิด) เราก็ต้องทำการทดสอบครับ ตรงนี้มีกำหนดไว้ชัดเจน ทดสอบ แล้วรับรองการทดสอบ รับรองไปเพื่อ....ถังใบนี้นะ serial no. นี้นะ ได้ผ่านการทดสอบ การอัดแรงดัน ที่ความดัน XXเท่าของความดันออกแบบ สามารถใช้งานได้ต่อไป ด้วยความปลอดภัย(สรุป เป็นภาษาพูดคือ ถังใช้งานได้ต่อไปว่าอย่างนั้น/ ไม่ต้องห่วงว่าจะรองรับแรงดัน ได้หรือไม่/ ไม่ระเบิด ว่าอย่างนั้น) และในการตรวจสอบ ท่านควรที่จะ ให้ดำเนินการตรวจสอบภาชนะรับแรงดันตามหลักสากลและทำตรวจสอบโดยวิศวกรที่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรครับ

          หากไม่มี Code หรือ กฎหมายกำหนดในงานนั้นๆล่ะ ทำอย่างไร....คำตอบคือ ให้ใช้ Engineering practice คำตอบเดียวเลย คือ หากไม่มี Nameplate ระบุ/ หากไม่มีกฎหมายกำหนด/ ไม่มี Code รองรับ ว่าทำการทดสอบที่ความดันเท่าไหร่ โดยทั่วไปจะยึดกันที่ 1.5 เท่าของความดันออกแบบ เป็นหลัก หากไม่รู้ความดันออกแบบอีก ก็ 1.5 เท่าของความดันใช้งานเป็นกรณีสุดท้ายครับ ส่วนเรื่องของจะ Hold ทิ้งไว้เท่าไหร่ ตั้งทิ้งไว้เท่าไหร่ 1 ชั่วโมง/ ครึ่ง ชั่วโมง/ 1 วัน / 3 วัน........ตรงนี้ก็ต้องอ้างอิง กฎ หรือ Code เป็นหลักนะครับ ไม่ใช่ว่า พอเราขึ้นแรงดันได้ปุ๊บ เดินดูๆ รอยเชื่อม/ หน้าแปลน/ วาลว์/ อุปกรณ์ Fitting เดินดูรอบเดียว พอเห็นไม่รั่ว ไม่ซึม แล้ว ก็ลงแรงดันได้ แบบนี้ไม่ดีแน่ ทางที่ดีที่สุดคือ ทำตามขั้นตอนที่ Code หรือ กฎที่เค้าออกแบบมาแล้วครับ ดีที่สุด ตัวอย่างนะครับ

ASME Pressure Vessel Code ระบุ 30 นาที เป็นอย่างน้อย

ASME/ANSI B31.3 Chemical Plant and Petroleum Refinery Piping ระบุ 10 นาที เป็นอย่างน้อย

ASME/ANSI 31.8 Piping for Gas Transmission ระบุ 2 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย......พอสังเขปนะครับ


ข้อควรระวังในการทำการทดสอบ

          กรณีทำการทดสอบที่แรงดันสูงๆ ทั้งการขึ้นแรงดัน และการลดแรงดัน ควรทำการทดสอบ แบบเป็น step หรือขั้นบันไดในการทดสอบ ไม่ควรขึ้นรวดเดียว ม้วนเดียวจบเลย เช่น ขึ้นที่จากแรงดัน 1 bar รวดเดียวไปที่ 30 bar เลย ภายใน 2 นาที อะไรแบบนี้ครับ......เพราะ มันอันตรายครับ อันตรายกับ ตัวบุคคลที่ทำการทดสอบ บุคคลที่อยู่บริเวณทดสอบ บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง(ไทยมุง) เพราะสามารถมีชิ้นส่วนต่างๆ ที่หลุด/ ปริ/ แตก ออกมาทำความเสียหาย ได้โดยที่เราไม่ทันคาดคิด รวมถึงอันอาจเกิด ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Shock load ในตัววัสดุที่ทำการทดสอบเอง อันสามารถเป็นผลให้สูญเสียความสามารถในทางกลไปได้ในบางส่วนครับ ดังนั้นในการขึ้นแรงดัน/ ลงแรงดัน ให้ทำการทดสอบ เป็นขั้นบันได ได้จะดีที่สุดครับ เช่น จากความดันปกติ—ไต่ระดับไปที่ความดันใช้งานก่อน —จากความดันใช้งาน ทิ้งไว้ซักครู่---ไต่ระดับไปที่ ความดันออกแบบ---จากความดันออกแบบ --- ไต่ระดับไปที่ความดันทดสอบ พอถึงแรงดันทดสอบนี่ล่ะครับ เราถึงทำการจับเวลา/ Hold point เริ่มที่ตรงจุดนี้ + เดินดู เดินตรวจสอบ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อความมั่นใจครับ.............หลังจากที่ทดสอบแล้ว การลดแรงดันลงมา กลับสู่สภาวะปกติ ก็เช่นเดียวกันครับ เป็นลำดับเหมือนกัน ซึ่งหากผ่านการทดสอบแล้ว ผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงาน เจ้าของกิจการ ลูกมือ/พนักงาน ก็ปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจครับ

 

          แบบไหนเรียกแรงดันสูง ลองมาดูกัน ผมจะเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ยึดที่ความดันใช้งานปกติในถัง เป็นหลัก


ความดันบรรยากาศ หรือความดันอากาศที่มนุษย์เราอยู่ปัจจุบัน  14.7 PSI หรือ ประมาณ 0 bar

ความดันที่มือมนุษย์ สามารถกด หรืออุดได้ อยู่ที่ 20-25 PSI หรือ ประมาณ 1.3-1.7 bar

ความดันลมยาง VIGO ประมาณ 40-45 PSI หรือ ประมาณ 2.7-3.1 bar (เคยเห็นอุบติเหตุ จากการที่รถยางระเบิด แล้วเสียหลักพลิกคว่ำ กันนะครับ แล้วลองเทียบดู ความดัน เริ่มอันตรายแล้วนะครับ)

ความดันในถังก๊าซ LPG ทั้งถังบ้าน(ที่เราทอดไข่เจียว)/ ถังรถยนต์ ประมาณ 90-110 PSI หรือ ประมาณ 6.2-7.5 bar

ความดันในถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง ประมาณ 175-180 PSI หรือ ประมาณ 12 bar

ความดันถังแอมโมเนีย ประมาณ 250 PSI หรือ ประมาณ 17.2 bar

ความดันถังไนโตรเจน/สภานะก๊าซ (ที่เราเห็นกันในงานอุตสาหกรรม) ประมาณ 2000 PSI หรือ 137 bar

ความดันในถังก๊าซ NGV ประมาณ 3000 PSI หรือ ประมาณ 206 bar


          ลองพิจารณา ดูถึงความอันตรายนะครับ และแน่นอนว่า ความดันที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อความหนาของภาชนะที่บรรจุความดันเหล่านั้นด้วย เดี๋ยวภาคหน้า ขอมาต่อกันด้วยเรื่อง ของการวัดความหนา ถังรับแรงดัน หรือที่เรา ฮิตเรียกกันติดปากว่าUTM(Ultrasonic Thickness Measurement) นั่นเองครับ
12 Comments
thinmanao
1/12/2010 03:12:37 pm

เป็นความรุ้ที่ดีมาก ครับ

Reply
Aileen Cheng link
26/12/2012 02:32:13 pm

Dear Sir/Madam,

Hi ! I am Aileen from Seasons Gauge in Taiwan.

We notice that you use Hydrostatic Test Gauges, from your website. Welcome to get product price /catologue!

Our gauges are as following,
Appealing genius
1. ISO9001:2000 certificated gauges worldwide for over 20 years.
2. Customize: best R & D team to meet every customer’s special requirements.
3. Customer’s logo printed
4. Samples attainable
5. Preferential price / OEM price
6. After-sales service.

Expecting to hear from you soon and have a nice day :)
.
Yours faithfully,
Aileen Cheng
Seasons Gauge Co., Ltd.
URL: http://www.seasonsgauge.com.tw/
E-mail: [email protected]
Enc.

Reply
PisadaN
3/9/2014 10:19:07 pm

รบกวนแนะนำเรื่อง Hydrostatic Test ด้วยครับ ผมอยากทราบหลักการและไดอะแกรมที่ใช้ในการทดสอบ งานที่ผมต้องการทดสอบเป็น Hight Pressure Ball Valve 2Pcs. Operate @ > 300 Bar. ขนาด 1/4 , 1/2 , 3/4, และ 1 " รบกวนด้วยครับจักเป็นพระคุณยิ่ง

Reply
Thanate
29/10/2014 10:33:48 pm

14.7 psi นี่ประมาณ 1 bar ไม่ใช่เหรอครับ

Reply
Admin KAKA
8/11/2014 10:48:14 pm

ต้องพิจารณา ว่าขณะที่เราสนใจนั้น เป็น Bar(Absolute) หรือ Bar(gauge) น่ะครับผม

Reply
Chaiyut
23/1/2015 03:05:35 pm

ที่บอกว่า ท่องไว้ ให้ขึ้นใจ ASME กำหนด มาอย่างชัดเจน ในการขึ้นแรงดัน อัตรา ในการขึ้นอยู่ที่ ไม่เกิน 3.5 kg/cm2 per minute(ต่อนาที) หรือ ลงในหน่วย psi ก็จะอยู่ที่ ไม่เกิน 50 psi per minute(ต่อนาที) ขอสอบถามว่านำมาจาก ASME section อะไร, Part ไหนหรือครับ ผมอ่านใน Section VIII Div.1 ไม่มีบอกเลย อยากทราบเป็นความรู้รบกวนด้วยครับ

Reply
Siree
25/11/2015 09:06:31 pm

อยากทราบว่ามีหน่วยงานไหนใน ปทท ที่รับ test และสามารถออกหนังสือรับรองให้ได้บ้างคะ

Reply
sivaluck srisuwan
23/1/2019 08:35:47 pm

อยากทราบว่ามีหน่วยงานไหนในปรเทสสามารถออกหนังสือรับรองเป็นผู้ทดสอบให้ได้บ้างคับ

Reply
วิภาพร เพียรขุนทด
24/5/2018 02:13:30 am

ขอใบเสนอราคาการทดสอบการรับความดัน (Hydrostatic test) ถังดับเพลิงที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 5ปี จำนวน 20 ถังค่ะ

Reply
Bobby Chase link
26/12/2020 05:21:50 am

Thanks for sharingg

Reply
Phon
17/6/2021 06:40:44 am

เรียนสอบถามครับ การทดสอบ Hydrostatic Test สำหรับ HRSG โรงไฟฟ้าครับ การเพิ่ม Pressure มีเลทอัตราที่เหมาะสมไหม หรือสามารถเพิ่ม Pressure ด้วยอัตราเท่าไหร่ก็ได้ ขอแค่ถึงเป้าหมายและ Keep ระยะเวลาได้ตามกำหนดครับ ผมไม่แน่ใจว่าอัตราการเพิ่มแรงดัน มีผลต่อท่อไหม โดยเฉพาะท่อฝั่ง Steam ที่ปกติจะรับแรงดันจากไอน้ำ ขอทราบในเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

Reply
Lisa Debora link
16/10/2021 08:30:50 pm

Wow, wonderful blog layout! How long have you been blogging for? you made blogging look easyThe overall look of your web site is excellent, let alone the content!

Reply



Leave a Reply.

    Author

    KAKA

    Archives

    March 2012
    August 2011
    January 2011
    December 2010
    August 2010
    July 2010
    June 2010
    May 2010

    Categories

    All
    ศัพท์ ภาษาอังกฤษ วิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม
    งานบริการ วิเคราะห์การเผาไหม้
    การเลื่อนระดับ วิศวกร
    การเลือกวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย
    Asme U Stamp
    Engineering Society
    Hydrostatic Test
    ศัพท์ Welding ผู้รับเหมา แปลกๆ
    Welding Code นั้นสำคัญไฉน
    Welding Society

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.