ทดสอบที่ความดันเท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่า ทดสอบ Hydrostatic Test
โดยทั่วไป หากมีกฎ หรือ Code ในลักษณะงานนั้นๆ เราจะยึด กฎ หรือ Code ตัวนี้เป็นหลัก ในเรื่องของความดันทดสอบ เช่น หากทดสอบถังรับแรงดัน โดยที่ถังนั้นออกแบบ และสร้างตาม Code ของเพื่อนชาวอเมริกา ASME section VIII, div 1 เราก็ต้องปฏิบัติงาน การทดสอบที่ตาม Code นั้นกำหนด ซึ่งตรงนี้ ตัว Code จะกำหนดไว้ชัดเจน ว่าเราจะทำการอัดน้ำที่เท่าไหร่ นั่นเอง เช่น 1.3เท่า ของความดันออกแบบ/ หรือ 1.5 เท่าของแรงดันออกแบบ เป็นต้น และหากเป็น Boiler หรือ Pressure Vessel ที่ควบคุม หรือ มีกฎหมายควบคุม เช่น พรบ.โรงงาน กำหนด (อาจสามารถเรียกได้ว่าเป็น กฎหมายลูก ก็ไม่ผิด) เราก็ต้องทำการทดสอบครับ ตรงนี้มีกำหนดไว้ชัดเจน ทดสอบ แล้วรับรองการทดสอบ รับรองไปเพื่อ....ถังใบนี้นะ serial no. นี้นะ ได้ผ่านการทดสอบ การอัดแรงดัน ที่ความดัน XXเท่าของความดันออกแบบ สามารถใช้งานได้ต่อไป ด้วยความปลอดภัย(สรุป เป็นภาษาพูดคือ ถังใช้งานได้ต่อไปว่าอย่างนั้น/ ไม่ต้องห่วงว่าจะรองรับแรงดัน ได้หรือไม่/ ไม่ระเบิด ว่าอย่างนั้น) และในการตรวจสอบ ท่านควรที่จะ ให้ดำเนินการตรวจสอบภาชนะรับแรงดันตามหลักสากลและทำตรวจสอบโดยวิศวกรที่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรครับ
หากไม่มี Code หรือ กฎหมายกำหนดในงานนั้นๆล่ะ ทำอย่างไร....คำตอบคือ ให้ใช้ Engineering practice คำตอบเดียวเลย คือ หากไม่มี Nameplate ระบุ/ หากไม่มีกฎหมายกำหนด/ ไม่มี Code รองรับ ว่าทำการทดสอบที่ความดันเท่าไหร่ โดยทั่วไปจะยึดกันที่ 1.5 เท่าของความดันออกแบบ เป็นหลัก หากไม่รู้ความดันออกแบบอีก ก็ 1.5 เท่าของความดันใช้งานเป็นกรณีสุดท้ายครับ ส่วนเรื่องของจะ Hold ทิ้งไว้เท่าไหร่ ตั้งทิ้งไว้เท่าไหร่ 1 ชั่วโมง/ ครึ่ง ชั่วโมง/ 1 วัน / 3 วัน........ตรงนี้ก็ต้องอ้างอิง กฎ หรือ Code เป็นหลักนะครับ ไม่ใช่ว่า พอเราขึ้นแรงดันได้ปุ๊บ เดินดูๆ รอยเชื่อม/ หน้าแปลน/ วาลว์/ อุปกรณ์ Fitting เดินดูรอบเดียว พอเห็นไม่รั่ว ไม่ซึม แล้ว ก็ลงแรงดันได้ แบบนี้ไม่ดีแน่ ทางที่ดีที่สุดคือ ทำตามขั้นตอนที่ Code หรือ กฎที่เค้าออกแบบมาแล้วครับ ดีที่สุด ตัวอย่างนะครับ
ASME Pressure Vessel Code ระบุ 30 นาที เป็นอย่างน้อย
ASME/ANSI B31.3 Chemical Plant and Petroleum Refinery Piping ระบุ 10 นาที เป็นอย่างน้อย
ASME/ANSI 31.8 Piping for Gas Transmission ระบุ 2 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย......พอสังเขปนะครับ
โดยทั่วไป หากมีกฎ หรือ Code ในลักษณะงานนั้นๆ เราจะยึด กฎ หรือ Code ตัวนี้เป็นหลัก ในเรื่องของความดันทดสอบ เช่น หากทดสอบถังรับแรงดัน โดยที่ถังนั้นออกแบบ และสร้างตาม Code ของเพื่อนชาวอเมริกา ASME section VIII, div 1 เราก็ต้องปฏิบัติงาน การทดสอบที่ตาม Code นั้นกำหนด ซึ่งตรงนี้ ตัว Code จะกำหนดไว้ชัดเจน ว่าเราจะทำการอัดน้ำที่เท่าไหร่ นั่นเอง เช่น 1.3เท่า ของความดันออกแบบ/ หรือ 1.5 เท่าของแรงดันออกแบบ เป็นต้น และหากเป็น Boiler หรือ Pressure Vessel ที่ควบคุม หรือ มีกฎหมายควบคุม เช่น พรบ.โรงงาน กำหนด (อาจสามารถเรียกได้ว่าเป็น กฎหมายลูก ก็ไม่ผิด) เราก็ต้องทำการทดสอบครับ ตรงนี้มีกำหนดไว้ชัดเจน ทดสอบ แล้วรับรองการทดสอบ รับรองไปเพื่อ....ถังใบนี้นะ serial no. นี้นะ ได้ผ่านการทดสอบ การอัดแรงดัน ที่ความดัน XXเท่าของความดันออกแบบ สามารถใช้งานได้ต่อไป ด้วยความปลอดภัย(สรุป เป็นภาษาพูดคือ ถังใช้งานได้ต่อไปว่าอย่างนั้น/ ไม่ต้องห่วงว่าจะรองรับแรงดัน ได้หรือไม่/ ไม่ระเบิด ว่าอย่างนั้น) และในการตรวจสอบ ท่านควรที่จะ ให้ดำเนินการตรวจสอบภาชนะรับแรงดันตามหลักสากลและทำตรวจสอบโดยวิศวกรที่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรครับ
หากไม่มี Code หรือ กฎหมายกำหนดในงานนั้นๆล่ะ ทำอย่างไร....คำตอบคือ ให้ใช้ Engineering practice คำตอบเดียวเลย คือ หากไม่มี Nameplate ระบุ/ หากไม่มีกฎหมายกำหนด/ ไม่มี Code รองรับ ว่าทำการทดสอบที่ความดันเท่าไหร่ โดยทั่วไปจะยึดกันที่ 1.5 เท่าของความดันออกแบบ เป็นหลัก หากไม่รู้ความดันออกแบบอีก ก็ 1.5 เท่าของความดันใช้งานเป็นกรณีสุดท้ายครับ ส่วนเรื่องของจะ Hold ทิ้งไว้เท่าไหร่ ตั้งทิ้งไว้เท่าไหร่ 1 ชั่วโมง/ ครึ่ง ชั่วโมง/ 1 วัน / 3 วัน........ตรงนี้ก็ต้องอ้างอิง กฎ หรือ Code เป็นหลักนะครับ ไม่ใช่ว่า พอเราขึ้นแรงดันได้ปุ๊บ เดินดูๆ รอยเชื่อม/ หน้าแปลน/ วาลว์/ อุปกรณ์ Fitting เดินดูรอบเดียว พอเห็นไม่รั่ว ไม่ซึม แล้ว ก็ลงแรงดันได้ แบบนี้ไม่ดีแน่ ทางที่ดีที่สุดคือ ทำตามขั้นตอนที่ Code หรือ กฎที่เค้าออกแบบมาแล้วครับ ดีที่สุด ตัวอย่างนะครับ
ASME Pressure Vessel Code ระบุ 30 นาที เป็นอย่างน้อย
ASME/ANSI B31.3 Chemical Plant and Petroleum Refinery Piping ระบุ 10 นาที เป็นอย่างน้อย
ASME/ANSI 31.8 Piping for Gas Transmission ระบุ 2 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย......พอสังเขปนะครับ
ข้อควรระวังในการทำการทดสอบ
กรณีทำการทดสอบที่แรงดันสูงๆ ทั้งการขึ้นแรงดัน และการลดแรงดัน ควรทำการทดสอบ แบบเป็น step หรือขั้นบันไดในการทดสอบ ไม่ควรขึ้นรวดเดียว ม้วนเดียวจบเลย เช่น ขึ้นที่จากแรงดัน 1 bar รวดเดียวไปที่ 30 bar เลย ภายใน 2 นาที อะไรแบบนี้ครับ......เพราะ มันอันตรายครับ อันตรายกับ ตัวบุคคลที่ทำการทดสอบ บุคคลที่อยู่บริเวณทดสอบ บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง(ไทยมุง) เพราะสามารถมีชิ้นส่วนต่างๆ ที่หลุด/ ปริ/ แตก ออกมาทำความเสียหาย ได้โดยที่เราไม่ทันคาดคิด รวมถึงอันอาจเกิด ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Shock load ในตัววัสดุที่ทำการทดสอบเอง อันสามารถเป็นผลให้สูญเสียความสามารถในทางกลไปได้ในบางส่วนครับ ดังนั้นในการขึ้นแรงดัน/ ลงแรงดัน ให้ทำการทดสอบ เป็นขั้นบันได ได้จะดีที่สุดครับ เช่น จากความดันปกติ—ไต่ระดับไปที่ความดันใช้งานก่อน —จากความดันใช้งาน ทิ้งไว้ซักครู่---ไต่ระดับไปที่ ความดันออกแบบ---จากความดันออกแบบ --- ไต่ระดับไปที่ความดันทดสอบ พอถึงแรงดันทดสอบนี่ล่ะครับ เราถึงทำการจับเวลา/ Hold point เริ่มที่ตรงจุดนี้ + เดินดู เดินตรวจสอบ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อความมั่นใจครับ.............หลังจากที่ทดสอบแล้ว การลดแรงดันลงมา กลับสู่สภาวะปกติ ก็เช่นเดียวกันครับ เป็นลำดับเหมือนกัน ซึ่งหากผ่านการทดสอบแล้ว ผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงาน เจ้าของกิจการ ลูกมือ/พนักงาน ก็ปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจครับ
แบบไหนเรียกแรงดันสูง ลองมาดูกัน ผมจะเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ยึดที่ความดันใช้งานปกติในถัง เป็นหลัก
ความดันบรรยากาศ หรือความดันอากาศที่มนุษย์เราอยู่ปัจจุบัน 14.7 PSI หรือ ประมาณ 0 bar
ความดันที่มือมนุษย์ สามารถกด หรืออุดได้ อยู่ที่ 20-25 PSI หรือ ประมาณ 1.3-1.7 bar
ความดันลมยาง VIGO ประมาณ 40-45 PSI หรือ ประมาณ 2.7-3.1 bar (เคยเห็นอุบติเหตุ จากการที่รถยางระเบิด แล้วเสียหลักพลิกคว่ำ กันนะครับ แล้วลองเทียบดู ความดัน เริ่มอันตรายแล้วนะครับ)
ความดันในถังก๊าซ LPG ทั้งถังบ้าน(ที่เราทอดไข่เจียว)/ ถังรถยนต์ ประมาณ 90-110 PSI หรือ ประมาณ 6.2-7.5 bar
ความดันในถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง ประมาณ 175-180 PSI หรือ ประมาณ 12 bar
ความดันถังแอมโมเนีย ประมาณ 250 PSI หรือ ประมาณ 17.2 bar
ความดันถังไนโตรเจน/สภานะก๊าซ (ที่เราเห็นกันในงานอุตสาหกรรม) ประมาณ 2000 PSI หรือ 137 bar
ความดันในถังก๊าซ NGV ประมาณ 3000 PSI หรือ ประมาณ 206 bar
ลองพิจารณา ดูถึงความอันตรายนะครับ และแน่นอนว่า ความดันที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อความหนาของภาชนะที่บรรจุความดันเหล่านั้นด้วย เดี๋ยวภาคหน้า ขอมาต่อกันด้วยเรื่อง ของการวัดความหนา ถังรับแรงดัน หรือที่เรา ฮิตเรียกกันติดปากว่าUTM(Ultrasonic Thickness Measurement) นั่นเองครับ
กรณีทำการทดสอบที่แรงดันสูงๆ ทั้งการขึ้นแรงดัน และการลดแรงดัน ควรทำการทดสอบ แบบเป็น step หรือขั้นบันไดในการทดสอบ ไม่ควรขึ้นรวดเดียว ม้วนเดียวจบเลย เช่น ขึ้นที่จากแรงดัน 1 bar รวดเดียวไปที่ 30 bar เลย ภายใน 2 นาที อะไรแบบนี้ครับ......เพราะ มันอันตรายครับ อันตรายกับ ตัวบุคคลที่ทำการทดสอบ บุคคลที่อยู่บริเวณทดสอบ บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง(ไทยมุง) เพราะสามารถมีชิ้นส่วนต่างๆ ที่หลุด/ ปริ/ แตก ออกมาทำความเสียหาย ได้โดยที่เราไม่ทันคาดคิด รวมถึงอันอาจเกิด ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Shock load ในตัววัสดุที่ทำการทดสอบเอง อันสามารถเป็นผลให้สูญเสียความสามารถในทางกลไปได้ในบางส่วนครับ ดังนั้นในการขึ้นแรงดัน/ ลงแรงดัน ให้ทำการทดสอบ เป็นขั้นบันได ได้จะดีที่สุดครับ เช่น จากความดันปกติ—ไต่ระดับไปที่ความดันใช้งานก่อน —จากความดันใช้งาน ทิ้งไว้ซักครู่---ไต่ระดับไปที่ ความดันออกแบบ---จากความดันออกแบบ --- ไต่ระดับไปที่ความดันทดสอบ พอถึงแรงดันทดสอบนี่ล่ะครับ เราถึงทำการจับเวลา/ Hold point เริ่มที่ตรงจุดนี้ + เดินดู เดินตรวจสอบ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อความมั่นใจครับ.............หลังจากที่ทดสอบแล้ว การลดแรงดันลงมา กลับสู่สภาวะปกติ ก็เช่นเดียวกันครับ เป็นลำดับเหมือนกัน ซึ่งหากผ่านการทดสอบแล้ว ผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงาน เจ้าของกิจการ ลูกมือ/พนักงาน ก็ปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจครับ
แบบไหนเรียกแรงดันสูง ลองมาดูกัน ผมจะเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ยึดที่ความดันใช้งานปกติในถัง เป็นหลัก
ความดันบรรยากาศ หรือความดันอากาศที่มนุษย์เราอยู่ปัจจุบัน 14.7 PSI หรือ ประมาณ 0 bar
ความดันที่มือมนุษย์ สามารถกด หรืออุดได้ อยู่ที่ 20-25 PSI หรือ ประมาณ 1.3-1.7 bar
ความดันลมยาง VIGO ประมาณ 40-45 PSI หรือ ประมาณ 2.7-3.1 bar (เคยเห็นอุบติเหตุ จากการที่รถยางระเบิด แล้วเสียหลักพลิกคว่ำ กันนะครับ แล้วลองเทียบดู ความดัน เริ่มอันตรายแล้วนะครับ)
ความดันในถังก๊าซ LPG ทั้งถังบ้าน(ที่เราทอดไข่เจียว)/ ถังรถยนต์ ประมาณ 90-110 PSI หรือ ประมาณ 6.2-7.5 bar
ความดันในถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง ประมาณ 175-180 PSI หรือ ประมาณ 12 bar
ความดันถังแอมโมเนีย ประมาณ 250 PSI หรือ ประมาณ 17.2 bar
ความดันถังไนโตรเจน/สภานะก๊าซ (ที่เราเห็นกันในงานอุตสาหกรรม) ประมาณ 2000 PSI หรือ 137 bar
ความดันในถังก๊าซ NGV ประมาณ 3000 PSI หรือ ประมาณ 206 bar
ลองพิจารณา ดูถึงความอันตรายนะครับ และแน่นอนว่า ความดันที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อความหนาของภาชนะที่บรรจุความดันเหล่านั้นด้วย เดี๋ยวภาคหน้า ขอมาต่อกันด้วยเรื่อง ของการวัดความหนา ถังรับแรงดัน หรือที่เรา ฮิตเรียกกันติดปากว่าUTM(Ultrasonic Thickness Measurement) นั่นเองครับ