KAKA Engineering, we're driving the future
  • Home
  • Knowledge
  • Inspection
  • Boiler/ Vessel
  • Hydrotest/Safety valve
  • Contact Us
  • ENG version
  • ASME
  • Boiler Room

งานบริการวัดความหนา

1/7/2010

14 Comments

 
               งานบริการวัดความหนา ด้วยเครื่องวัดความหนา หรือ Ultrasonic Thickness Measurement หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า UTM เป็นส่วนหนึ่งของงานพิจารณาตรวจสอบ เพื่อพิจารณาถึง ความหนาของชิ้นงาน/เนื้องาน ที่เราต้องการตรวจสอบความหนานั้นๆ โดยอาศัยหลักการของคลื่นเสียงความถี่สูง ส่งผ่านไปยังชิ้นงานที่ต้องการตรวจสอบ แล้วจึงอาศัยคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจากอีกฝั่งหนึ่งของผิวชิ้นงาน นำมาคำนวณค่าของความหนาชิ้นงาน เพื่อแสดงผลออกมาให้เราทราบ
 

               วัดความหนาได้เฉพาะเหล็กหรือไม่

               คำตอบคือ
…เราสามารถวัดความหนาของชิ้นงาน ได้ในวัสดุเกือบทุกชนิดที่เราสามารถส่งคลื่นเสียงความถี่สูง ลงไปในชิ้นงานนั้นๆได้ ซึ่งหลักการทำงานตรงนี้ ถูกนำมาใช้ในการตั้งค่า หรือ set ค่า เครื่องวัดความหนาในส่วนใหญ่ (คือ หลักการทำงานของตัวเครื่อง จะใช้หลักการทำงานเดียวกัน) นั่นคือ set ค่าของความเร็วคลื่นเสียง ตามยาว (ในหน่วย เมตร/วินาที) ที่ส่งผ่านเข้าไปในวัสดุนั้นๆ หากเรารู้ว่าวัสดุนั้นๆ เป็นชิ้นงานอะไร เช่น หากเราต้องการนำไปวัดความหนาของ ท่อเหล็ก (Steel) การตั้งค่า เราจะ set ความเร็วของคลื่นที่ถูกส่งผ่าน เครื่องวัดความหนาไปที่ 5,920 m/s หรือ หากเราต้องการนำไปวัดชิ้นงานที่เป็น อลูมิเนียม (Aluminum) การตั้งค่า เราก็เพียงปรับ set ค่าความเร็วของคลื่นที่ถูกส่งผ่าน เครื่องวัดความหนาไปที่ 6,320 m/s เป็นต้น เช่นเดียวกันกับวัสดุอื่นๆครับ ไม่ว่าจะเป็น ทองแดง ทองเหลือง พลาสติก  PVC แก้วหรือ กระจก เราก็ล้วนใช้หลักการเดียวกันทั้งสิ้นครับ
 

               การประยุกต์ใช้งาน หรือ การใช้งานภาคสนาม

               สำหรับงาน Service เกี่ยวกับ งานบริการวัดความหนา ส่วนใหญ่เรานิยมใช้ ควบคู่ไปในงานพิจารณาตรวจสอบต่างๆ เพื่อพิจารณาความหนาที่เราอ่านค่าจริงได้ในขณะนั้นๆ นำไปเปรียบเทียบกับ รายการคำนวณ ตามแบบก่อสร้าง หรือตามข้อกำหนดตามแบบ ของงาน engineering design เพื่อที่จะพิจารณาว่าความหนาชิ้นงานในขณะนั้นๆ(เช่น ชิ้นงานเรานั้น อาจจะเป็นท่อ หรืออาจจะเป็นถัง หรือ container ผ่านการใช้งานมาแล้ว 5 ปี) ความหนาของวัสดุ หรือความหนาของชิ้นงานเรานั้น มีการสึกกร่อน(Corrosion) ลงไป มาก น้อยเพียงใด ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ต่อไปโดยผ่าน ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของทางวิศวกรรมหรือไม่ เช่น ท่อ/ถัง/ภาชนะบรรจุแรงดัน/ถังเก็บน้ำมัน (Storage tank) เสียเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างดังเช่น

-       งานวัดความหนาของท่อไฟใหญ่ ใน Fire tube boiler หรืองานวัดความหนาของ ท่อน้ำ ใน water tube boiler
-       งานวัดความหนาของท่อน้ำมัน ใน hot oil boiler
-       งานวัดความหนาของผนังถัง vessel หรือ ผนังของภาชนะบบรจุแรงดัน/ ผนังถังบรรจุก๊าซคลอรีน(Cl2)/ ผนังถังบรรจุก๊าซแอมโมเนีย(NH3)ผนังถังก๊าซ LPG/NGV
-       งานวัดความหนาถังลม/ ถัง Air compressor
-       งานวัดความหนาผนัง
(Shell)/ วัดความหนาพื้นหลังคา(Roof plate) ถังเก็บน้ำมัน(Storage tank) เป็นต้น

Picture
               ซึ่งค่าที่เราอ่านได้ หรือค่าที่เราวัดได้นี่ล่ะครับ จะถูกนำมาเปรัยบเทียบกับรายการคำนวณในทางวิศวกรรม เพื่อพิจารณาความสามารถในการใช้งาน เช่น หากเป็นถังรับแรงดัน ก็จะนำมาพิจารณาว่า ผนังถังตามความหนาที่เราวัดค่าได้ สามารถใช้งานได้ต่อไป โดยปลอดภัยหรือไม่ ไม่ใช่ว่าใช้งานไปเรื่อยๆ ความหนาก็กร่อนลงเรื่อยๆ(อันสาเหตุมาจาก Corrosion ที่ด้านใน ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้) หากเป็นท่อ ก็เช่นเดียวกัน เพื่อพิจารณาความหนาของเนื้อท่อที่เหลืออยู่ อันสามารถเกิดการกัดกร่อนจากภายในได้ เช่นเดียวกันครับ ซึ่งหากไม่มีรายงานการคำนวณ วิศวกรผู้ทำการตรวจสอบ หรือทดสอบ ก็จำเป็นที่จะต้องจัดทำรายการคำนวณ ตามหลักการทางวิศวกรรมขึ้นมา เพื่อที่จะใช้เปรียบเทียบค่าที่อ่านได้ (ไม่อย่างนั้นเราจะทำการวัดค่า ทำไม จริงหรือไม่ครับ วัดค่า/อ่านค่ามา แต่ไม่รู้จะเอาไปเปรียบเทียบกับอะไร จะผ่าน หรือตก ก็ไม่รู้ เพราะไม่มีตัวเปรียบเทียบ….แล้วจะวัดความหนาไปทำไมครับ ต้องมีหลักการทางวิศวกรรมอ้างอิงครับ) 

ข้อควรระวังเล็กๆน้อยๆครับ ในการใช้งานภาคสนาม

     -  อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ทุกชนิดครับ ไม่เน้นว่าจะต้องเป็นเครื่องวัดความหนา การใช้งานควรให้หลีกห่างจากความชื้นต่างๆ และควรทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้ง ทั้งตัวเครื่อง และหัว probe (ส่งคลื่นเสียง) ให้สะอาดอยู่เสมอ อีกทั้ง หากเราไม่ได้ใช้เครื่องวัดความหนาเป็นเวลานานๆ(ซักประมาณ 1 เดือนนี่ก็ถือว่านานแล้วครับ) ถอดแบตเตอรรี ออกทุกครั้งนะครับ

   - หัวโพรบ
(Probe) จะส่งผ่านคลื่นได้ดีนั้น ผิวชิ้นงาน ณ จุดที่ทำการตรวจสอบ ควรจะทำความสะอาด ให้ชิ้นงานปราศจากสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น/เขม่า/สนิม เป็นต้น อันสามารถเป็นตัวกำจัด ความสามารถในการส่งผ่านของคลื่น อันสามารถทำให้เกิด error ในการวัดค่าได้ และก่อนใช้งานจริง อย่าลืมทำการตั้งค่า หรือ Calibrate ทุกครั้งด้วยนะครับ
  
-   หัวโพรบ(Probe)ความถี่ต่ำ เหมาะสำหรับ ใช้กับชิ้นงานที่มีเกรนหยาบ(เช่น เหล็กหล่อ) สำหรับความถี่สูง เหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีเม็ดเกรนละเอียด ซึ่งจะให้ resolution ที่ดีกว่าครับ โดยความถี่ของหัวโพรบ ส่วนใหญ่ของเครื่องวัดความหนาที่เรานิยมใช้ มักจะอยู่ที่ 1MHz/ 2.5MHz/ 5MHz และ 10 MHz เสียเป็นส่วนใหญ่ครับ

14 Comments
ekkamoln link
16/9/2010 07:20:48 pm

ขอทราบราคาเครื่องทดสอบความหนาของถังก๊าซ NGV/LPG

Reply
Natthapong
5/10/2010 01:00:08 am

เรียน คุณ ekkamoln

ทาง กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ไม่ได้เป็นผู้จัดจำหน่าย เครื่องวัดความหนาครับ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น เราสามารถแนะนำ เกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องมือวัดความหนาในเบื้องต้น เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงานของท่านได้ครับ ยินดีให้คำปรึกษาครับ

Reply
teerawut
28/10/2010 02:03:34 pm

เราจะรู้ความหนาของท่อ มาตรฐาน ของ water tube ได้อย่างไรครับนอกเหนือจากให้ วิศวกร คำนวณ

Reply
Natthapong.ch
28/10/2010 04:51:24 pm

เรียน คุณ teerawut

ความหนาท่อ มาตรฐาน ของ water tube ที่หมายถึงในที่นี้(ที่สอบถามมา) หมายถึงว่า กรณีสร้างมาใหม่เลย Boiler ใหม่ๆมาเลย หรือ ว่า Boiler เราใช้งานมาแล้ว 5-6-7-8 ปี...แล้วเรามาวัดความหนาดู ว่ามันผ่าน ได้มาตรฐานหรือเปล่า ลักษณะนี้หรือเปล่าครับ นอกเหนือจากให้วิศวกรคำนวณดูว่า ความหนาท่อที่วัดออกมาได้นั้น สามารถรับแรงดันได้ที่เท่าไหร่แล้วนั้น

คำตอบคือ Boiler สร้างมา --> แบบ หรือ Drawing --> Tube or pipe dimension(or)detail(or)sch --> รายการคำนวณ หรือ calculation sheet --> ความหนา tube หรือท่อ นำมาเทียบกับการวัดจริงๆ ว่ามันกร่อนไปมาก น้อยอย่างไร <-- ความสามารถในการรับแรงดัน <-- แรงดันออกแบบ <-- แรงดันทดสอบ หรือ Hydrostatic Test เป็นตัว Proove สุดท้าย เราก็จะสามารถบอกได้ว่า ความหนาที่เหลืออยู่นั้น สมควรเปลี่ยน/ไม่สมควรเปลี่ยน อย่างไร สัมพันธ์กันเป็นช่วงๆ หรือเป็น subset ของกันและกันนั่นเองครับ

Reply
Udomsak link
18/3/2012 06:26:39 pm

อยากจะขอนุญาติแนะนำเครื่องมือวัดความหนาของถัง LPG ครับ ว่ามีรุ่นไหนแนะนำบ้างที่ราคาไม่สูงครับ ไม่เกิน 100,000 บาท ครับ

Reply
Natthapong.ch
19/3/2012 10:46:38 am

Kh. Udomsak มีเยอะครับ เครื่องวัดความหนาเนี่ย แต่ผมแปลกใจมากเลยครับ ปกติ ราคาไม่ถึงแสนนี่ครับ เครื่องวัดความหนา บางครั้งเรียกว่า UTM ครับ หลายท่านเรียกสลับกับเครื่อง UT Scan หรือ Ultrasonicc Testing หรือเปล่าครับ ถ้า UT Scan เกินแสนครับ แต่ถ้า UTM หรือ วัดความหนา ต่ำกว่าแสนครับ...พูดแล้วอาจ งง สับสนเล็กน้อย โทรศัพท์มาคุยกันครับ ได้แนะนำให้ถูกครับผม

Reply
UT Level 3
9/9/2014 12:41:40 pm

เดี๋ยวนี้ราคาไม่เท่าไหร่ครับก็อยู่ที่ ว่าจะวัดผ่านสีด้วยไหม แล้ว มีB scan ด้วยหรือเปล่่า

Reply
ภัควรรธน์ จิรสุขประสิทธิ์
13/11/2012 03:12:41 pm

ผมมี heat ex-changer coil ทำด้วย copper และมี steel pipe เป็น manifold ใช้มานานหลายปีแล้ว และต้องการที่จะตรวจสอบความหนาของผนังเพื่อที่จะได้ทราบอายุการใช้งานจึงอยากทราบการใช้บริการของทางท่านกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยว่าท่านจะสามารถช่วยได้หรือไม่ ขอบคุณ ด่วนครับ

Reply
somchat
28/8/2015 06:45:51 pm

ที่บริษัทผมมีถังลมขนาด 2000 ลิตรใช้งานมาสามปีและจะทำการตรวจวัตช้วยเสนอราคาค่าตรวจให้ด้วยครับ 092-8100343

Reply
วินัย
5/7/2016 08:56:47 pm

มี บริการ วัดชิ้นงานไหมครับ ระดับ 0.1-10 micron ประเภท gauge
หรือวัดเกลียว มาตรฐาน วัดความกลม บวกลบ 1 micron ความเรียบผิวที่เรียบ ระดับผิว lapping ความกว้าง ความยาว แบบละเอียด 0.1 micron
พร้อม data การวัด

Reply
Apichaya
5/11/2016 01:30:57 am

จะทำโปรเจ็คเรื่องการวัดความหนาของเปลือกผลไม้ จะใช้เซนเซอร์รุ่นไหนดีอ่าคะ

Reply
พิชัย
13/11/2016 08:25:34 pm

อยากทราบว่าทางkaka มีบริการตรวจวัดและวิเคราะห์ความหนาของท่อน้ำประปาและดับเพลิงหรือไม่?
พร้อมขอชื่อเจ้าหน้าที่และเบอร์ติดต่อด้วย

Reply
นายเอกชัย เสาร์จันทร์ link
1/3/2017 06:32:59 pm

สอบถามเรื่องเครื่องมือวัด
นายเอกชัย เสาร์จันทร์
[email protected]

1.เครื่องตรวจความหนา รุ่น (ดัยโทรนิกส์) AND ( SKF)
2. เครื่องตรวจสอบ UT รุ่น (ดัยโทรนิกส์) AND ( SKF)
3. เครื่องตรวจสอบความเสียหายแบริ่ง รุ่น (ดัยโทรนิกส์) AND ( SKF)

Reply
Korakoch chokchaipaisarn
2/2/2018 06:20:26 pm

Need contractor to do ultrasonic testing for chiller pipe,water pipe,fire pipe in building.please you introduce my phone 0828787078

Reply



Leave a Reply.

    Author

    KAKA

    Archives

    March 2012
    August 2011
    January 2011
    December 2010
    August 2010
    July 2010
    June 2010
    May 2010

    Categories

    All
    ศัพท์ ภาษาอังกฤษ วิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม
    งานบริการ วิเคราะห์การเผาไหม้
    การเลื่อนระดับ วิศวกร
    การเลือกวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย
    Asme U Stamp
    Engineering Society
    Hydrostatic Test
    ศัพท์ Welding ผู้รับเหมา แปลกๆ
    Welding Code นั้นสำคัญไฉน
    Welding Society

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.