A. ค่าทดสอบนั้น เรียนพิจารณาดังนี้ครับ ทุกอย่างต้องเป็นเหตุ เป็นผลกัน การพิจารณาขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลักๆเลยคือ พี่จะทดสอบ safety valve เนี่ย เป็น safety valve ของงานอะไรครับ safety valve ของลม หรือ ว่าถังลม, safety valve ของ NH3 หรือว่า แอมโมเนีย ในระบบทำความเย็น/ระบบปรับอากาศ, safety valve ของระบบ ท่อ ถัง ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือว่า LPG, safety valve ของระบบท่อ ถัง ก๊าซธรรมชาติ หรือว่า Natural Gas, safety valve ของระบบไอน้ำ หรือว่า steam, safety valve –ของถังสารเคมีต่างๆ ถังแอมโมเนียม แอนไฮดรัส, ถังคลอรีน, ถังกวน, ถัง mixing chamber และอีกสารพัดถัง เป็นต้นครับ
ทั้งนี้ ทั้งนั้น เพราะอะไรครับ ก็เพราะว่าการทำงานมันต่างกัน เหตุผลหลักคือ ระบบการทำงาน กลไกการควบคุมการทำงาน รวมถึงแรงดันทำงานที่ต่างกัน, set pressure ที่ต่างกัน, รวมไปถึง Test fluid ที่ต่างกัน ครับ ไม่ใช่ว่า การทดสอบจะเหมือนกันในแต่ละชนิด แต่ละประเภทนะครับ ไม่อย่างนั้น safety valve ที่ทางบริษัทผู้ผลิต ผลิตออกมาจำหน่ายในแต่ละงาน ก็สามารถที่จะใช้ด้วยกันได้ ใช้กลไกการทำงานเดียวกัน วัสดุตัวเดียวกันสิครับ เหตุผลง่ายๆมองในเรื่องวัสดุ ทำไมบางตัวเป็น ทองเหลือง(brass) บางตัวเป็นเหล็กหล่อ(cast iron) บางตัวเป็นเหล็กกล้าไร้สนิม(stainless steel) เหตุผลทางด้านวิศวกรรม มีอยู่ในตัวครับ
เคยมี เพื่อนสมาชิกโทรมาปรึกษาทางกาก้า ว่าทางบริษัทของเพื่อนสมาชิก ทางเค้าไปแนะนำ ทางโรงงาน ผู้ประกอบการให้เปลี่ยน safety valve เสียใหม่ ทั้งหมดในระบบ โดยให้เหตุผลว่า เห็นมันติดตั้งมาหลายปีแล้ว ควรที่จะเปลี่ยนใหม่ โดยที่ถัดมาเพียงไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง ทางผู้ประกอบการ กิจการโรงงาน โทรศัพท์มาสอบถามถึงขั้นตอนการทดสอบกับทางกาก้า และ ทางกาก้า เลยแนะนำครับ เหตุผลที่ว่ามา ไม่ใช่เหตุผล หรือ ตรรกะ ทางหลักการทางวิศวกรรมเลย และอีกทั้งบริษัทที่แนะนำให้กับทางโรงงานผู้ประกอบการในตอนแรก แจ้งว่า ค่าทดสอบ safety valve แต่ละตัว ราคาพอๆกับซื้อ safety valve ของใหม่ ทางกาก้า ได้ยินแบบนั้นจึงแปลกใจครับ ว่าพี่ไปถามที่ไหนมาครับ ค่าทดสอบ safety valve พอๆกับ ซื้อ safety valve ใหม่ ยืนยันตรงจุดนี้ว่าไม่ใช่แล้วล่ะครับ ถ้าค่าทดสอบ safety valve แพง มหาโหดขนาดนั้น เราคงไม่รวมอยู่ใน รายการตรวจสอบ ภาชนะบรรจุแรงดัน รายการตรวจสอบ air receiver tank รับรองความปลอดภัยประจำปี แน่นอนครับ ทางผู้ประกอบกิจการโรงงาน พอฟังดังนั้น เลยยกเลิกสัญญา จ้างงานกับทางบริษัทนั้นเลยครับ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วครับ ทางเราจึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
A. ไม่มีการนำ safety valve ที่ถอดออกมาทดสอบ นำกลับมาทดสอบ หรือนำออกมา test นอกโรงงาน นอกสถานประกอบการ นอกบริเวณท่อ ถัง ภาชนะบรรจุแรงดันที่ตัว safety valve ติดตั้งอยู่ครับ เราทำการทดสอบกันที่หน้างานเลย ทดสอบกันที่ตรงนั้นเลย ทดสอบกันที่บริเวณนั้นๆเลยครับ ผ่านคือผ่าน ตกคือตก เสียคือเสีย ไม่เสียคือไม่เสีย มีอยู่เท่านี้จริงๆ สำหรับการทดสอบ ด้วยผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผ่านคือผ่าน ไม่ผ่านคือไม่ผ่านครับ ไม่มีหรอกครับว่า…มันเกือบจะผ่านนะ มันน่าจะผ่านนะ หรือว่า สภาพมันน่าจะยังดีอยู่นะ สภาพมันน่าจะทำงานได้นะ โดยที่นั่งเทียน ดูด้วยตาเปล่า ไม่มีการถอดออกมาทดสอบ แบบนี้ไม่ใช่ หลักการและเหตุผลทางด้าน วิศวกรรมครับ
อีกทั้ง ทางกาก้า เราเคยเจอครับ ว่ามีผู้ประกอบการโทรมาปรึกษาเรา ว่ามีผู้รับเหมาแจ้งว่า ถ้าจะทดสอบ safety valve จะต้องมีการถอด ออกมา แล้วนำกลับไปทดสอบที่บริษัท หรือที่ office คือ พูดง่ายๆคือ นำกลับออกมานอกโรงงานนั่นล่ะครับ ทางเราเลยแจ้งกลับไปว่า ไม่ใช่แล้วครับ ที่ถอดออกมาแล้วนำออกไปนอกโรงงาน จริงๆเรา test หรือเรา ทดสอบกันที่หน้างาน ที่โรงงานนั่นเลยนะครับ ต่อหน้าเจ้าของงาน ต่อหน้าผู้ประกอบกิจการโรงงานกันเลย ผ่านคือผ่าน ไม่ผ่านคือไม่ผ่าน ตามที่เรียนไว้ข้างต้น ซึ่งเป็นไปไปได้ครับ ว่าผู้รับเหมาที่ทางผู้ประกอบการไปเจอมา เค้าอาจจะถอด safety valve ออกมา แล้วนำมา หรือส่งมา ให้ทางกาก้าทดสอบ ในลักษณะนั้นครับ ซึ่งเคยมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นครับ ทางเราจึงเรียนกันตรงจุดนี้ว่า หากทางเราเป็นผู้ทดสอบนั้น เราทำการทดสอบกันที่หน้างาน ที่โรงงานท่านเลยครับ ไม่มีการแอบอ้าง หรือ ต้องนำออกมาทดสอบกันข้างนอกแต่อย่างใดครับ ซึ่งก็แปลกดี แบบนี้ก็มีด้วยครับ
A. มาตรฐานของ safety valve สิครับ ง่ายๆ สั้นๆ คำตอบสุดท้าย Safety valve สำหรับถังอะไร เราก็ไปใช้ มาตรฐาน สำหรับถังนั้น ยกตัวอย่าง Safety valve ของถัง แอมโมเนีย ในระบบทำความเย็น เราก็ต้องใช้มาตรฐาน ของระบบทำความเย็นสิครับ Safety valve ของถังขนส่งก๊าซ LPG เราก็ต้องไปใช้มาตรฐาน ของถังขนส่งก๊าซ LPG เข้ามามีส่วนร่วมในการทดสอบ หรือ พูดง่ายๆ คือ Accept หรือว่า Reject นั่นเองครับ ไม่ใช่ว่า อยู่ดีๆ ทางกาก้า นำ safety valve ของท่านมาทดสอบ แล้วบอกว่า เราใช้มาตรฐาน กาก้า ในการทดสอบ แบบนี้ก็ไม่ถูกต้องตามหลักการทางวิศวกรรมครับ ไม่มีแน่นอนครับ เพื่อนสมาชิกสอบถามกันก่อนครับ ก่อนทดสอบ
A. ทางเรา ไม่ได้จำหน่ายครับ หรือว่าไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่าย safety valve ครับ ประเด็นหลักๆของเรา คือ หน้าที่ของผู้ทดสอบ และผู้ตรวจสอบ แต่สามารถให้คำแนะนำได้ว่า safety valve ยี่ห้อไหนดี ยี่ห้อไหนไม่ดี สำหรับงานนี้ งานนี้นะ จากประสบการณ์หน้างาน การทำงานจริง การทดสอบจริง กว่า 10 ปีการทำงาน ของวิศวกรทดสอบของเรา สามารถที่จะตอบคำถามท่านได้ครับ งานถังลม เราแนะนำยี่ห้อนี้ดี ซื้อได้ที่นี่ ที่นี่ขายแพง ที่นี่นำของเก่ามาซ่อมใหม่ มาย้อมแมวขาย, งานถังแอมโมเนีย ต้องยี่ห้อนี้ดี ยี่ห้อนี้ทน ยี่ห้อนี้ทำเอง จ้างโรงกลึงที่นี่ทำ แต่ไม่มีการทดสอบ ทำงานได้จริงหรือเปล่า หรือว่างานถัง LPG ยี่ห้อนี้ดี คุณภาพสมราคา นำเข้าจากประเทศนี้นะ บริษัทที่นำเข้ามาชื่อบริษัทนี้นะ ขายปลีกจะอยู่ที่ตัวละ เท่านี้บาท ขายส่งจะอยู่ที่เท่านี้บาท ติดต่อได้ที่นี้นะ office เค้าอยู่ตรงนี้นะ แต่โกดังอยู่ตรงนี้นะ ………. bla bla bla ลักษณะนี้ เป็นต้นครับ
ก็รู้ซะอย่างนี้ เล่นมาขนาดนี้ ทำไมไม่ขายเองล่ะครับ…..ครับ เรายังยืนยัน จุดยืนเดิมของเรา คงซึ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบหลัก จรรยาบรรณทางวิศวกรรม ทำหน้าที่ ทดสอบ ของเราให้ดีที่สุด scope ส่วนที่เหลือ กาก้า ขอเป็นผู้ให้คำแนะนำครับ เราไม่มีนโยบายที่จะทำการทดสอบเอง และขายของเอง ไม่ว่าใน brand ของทางบริษัทเอง หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย ของ product ที่เราทดสอบครับ