พลังงานที่เข้าระบบ (E) คือ พลังงานที่วิ่งเข้ามาจากเชื้อเพลิง หรือ ค่าความร้อนที่มาจากเชื้อเพลิง (ในหน่วยเวลา)
L1 พลังงานที่ออกไปในรูปแบบของไอเสียแห้ง (Dry flue gas) ล่องลอยออกไปทางปล่องไอเสีย
L2 พลังงานที่สูญเสียจากความร้อนแฝงของ Hydrogen ในเชื้อเพลิง
L3 พลังงานที่ทำให้ความชื้นของเชื้อเพลิง กลายเป็นไอ (moisture in fuel/ H2O ใน fuel)
L4 พลังงานที่ทำให้ความชื้นในอากาศที่เข้าห้องเผาไหม้ กลายเป็นไอ (moisture in air/ H2O ใน air)
L5 พลังงานที่สูญเสียในรูปแบบของการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ หรือ incomplete combustion
L6 พลังงานที่สูญเสียออกไปในรูปแบบการถ่ายเทความร้อนที่ตัวพื้นผิวหม้อไอน้ำ
L7*** พลังงานที่สูญเสียในรูปแบบของ Unburned Carbon ในเถ้าลอย หรือ fly ash
L8*** พลังงานที่สูญเสียในรูปแบบของ Unburned Carbon ในเถ้าหนัก หรือ bottom ash
หมายเหตุ*** L7 และ L8 มาจากเชื้อเพลิงแข็ง หรือ Solid fuel
สิ่งที่เราได้จาก สมดุลความร้อน หรือ Heat loss method คือ
Boiler efficiency = 100 – (L1+L2+L3+L4+L5+L6+L7+L8)
- Flue gas analyzer ครับ...สำหรับ %CO2, CO และ O2 อันเป็นตัวตั้งต้นในการทำงานของเรา
- เครื่องมือวัดอุณหภูมิ(ทั้ง dry bulb และ wet bulb)….ไม่ว่าจะเป็น thermometer, thermocouple หรือว่า Infrared thermometer สำหรับอุณหภูมิขณะนั้นๆ เพื่อนำมาคำนวณค่า
- Flow meter ต่างๆ เพื่อใช้ในการวัด หรืออ่านค่าอัตราการไหลในขณะนั้นๆ เช่น อัตราการไหลไอน้ำ/ อัตราการไหลก๊าซเชื้อเพลิง/ อัตราการไหลน้ำป้อน เป็นต้น
- Sample หรือ ตัวอย่างของเชื้อเพลิง ในขณะที่ทำการทดสอบนั้นๆ เพื่อนำส่ง ห้องทดลอง(Laboratory)สำหรับค่าของความร้อน หรือ ค่าพลังงานในสภาวะที่ใกล้เคียงการทำงานจริงที่สุด
- Sample ของ Unburned carbon ในขณะที่ทำการทดสอบนั้นๆ ส่งห้องทดลอง เช่นเดียวกันกับข้อ4.
- ข้อมูลของน้ำ หรือ คุณภาพน้ำในขณะนั้นๆ เพื่อเก็บมาเป็นฐานข้อมูลในต่อไป เช่น Feed/ Blow down TDS หรือ pH เป็นต้น
ส่วนโอกาสหน้า เราจะมาวิเคราะห์ ปัจจัยหลักเกี่ยวกับผลของประสิทธิภาพ Boiler ที่มีผลโดยตรงไปยัง A/F ratio และ อากาศส่วนเกิน (excess air) ถึงความสัมพันธ์ กับการวัดค่าประสิทธิภาพ รวมถึงเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ในการวิเคราะห์ ค่าที่ได้จากการเผาไหม้ อันเป็นปัจจัยหลักโดยตรงกันครับ
ตารางบันทึกผลข้อมูล ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ |
ตารางบันทึกผลข้อมูล ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ(ต่อ) |