งาน Hydro test ถังลม ขนาดใหญ่
ถังลม หรือว่า Air receiver tank เป็นภาชนะบรรจุแรงดัน (pressure vessel) ประเภทหนึ่ง ที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งานที่สูง ตัวถังต้องสามารถที่จะทนแรงดัน ได้ไม่น้อยกว่าตามที่ถูกออกแบบมา (Design pressure) สัมพันธ์ไปถึง ความหนาของถัง ทั้งตัวถัง (Shell thickness) และหัวถัง (Head thickness) ที่ต้องมีการถูกตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และในสุดท้ายแล้ว จะ Proof หรือ Guarantee ในขั้นสุดท้าย ด้วยการทดสอบ ความสามารถในการทนแรงดัน ด้วยการทดสอบ Hydrostatic Test นั่นเอง ไม่ว่าจะถังใหญ่ ถังกลาง ถังเล็ก ขั้นตอนเหมือนกันครับ ในการที่จะอัดถัง หรือนิยมเรียกกันสั้นๆว่า Hydro Test นั่นเอง แล้วถังผม หรือว่าถังของโรงงานผม ที่ติดตั้งมาแล้ว นี่ถ้าจะอัด Hydro Test เพื่อที่จะทดสอบ ความสามารถในการรับแรงดัน สามารถทำได้หรือเปล่าครับช่าง…..คำตอบคือ ทำได้สิครับ ทำไมจะทำไม่ได้ ถังถูกออกแบบมาให้รับแรงดัน ทั้งแรงดันใช้งาน (Working pressure) และ แรงดันทดสอบ (Test pressure) หรือหากจะว่าความกันในภาษาอังกฤษ กล่าวคือ มันต้อง subjected to pressure อยู่แล้ว ดังนั้นเวลาเราจะทำการทดสอบ เราก็ตัดระบบเลยครับ Joint แรกที่ออกมาจากตัวถังรับแรงดัน ไม่ว่าจะเป็น Valve ตัวแรก หรือ หน้าแปลนตัวแรกที่ออกมาจากถัง รูเปิด (Nozzle หรือ Opening) ก็ปิดมันเสีย เพื่อที่จะเรียกง่ายๆว่า ตัดระบบ ให้เหลืออยู่แค่ตัวถังนั่นเอง จะถังเล็ก ถังใหญ่ 500ลิตร 1,000ลิตร 1,500ลิตร 4,000ลิตร ก็แบบเดียวกันหมด ต่างกันที่ขนาดเท่านั้นเองครับ หากเปรียบเทียบ ที่ถังรับแรงดันทดสอบ ที่แรงดันเดียวกัน ถังที่มี Volume หรือ size ที่ใหญ่กว่า ก็จะต้องมีความจุ หรือใช้ปริมาตรของน้ำที่มากกว่า ทั้งในส่วนของการเติมเข้าถัง และในส่วนของ Volume ที่ใช้ในการทดสอบ เท่านั้นเอง |
.
ตัวอย่างงาน Hydrostatic Test ของถังลม ขนาด
4,000 ลิตร ติดตั้งมาแล้ว กว่า 3 ปี ซึ่งต้องการ ทดสอบ ที่นำมาเป็น KAKA Talk ฉบับนี้ครับ |
และนี่เป็นอีกหนึ่งงานตัวอย่าง ที่ทางเราดำเนินการทดสอบอย่างเสมอมา เป็น Air receiver tank ขนาดใหญ่ ขนาดความจุ 4,000 ลิตร (ตาม Specification ที่ระบุ บน Name plate) ของถัง ใหญ่ ไม่ใหญ่ก็ลองเปรียบเทียบกันกับขนาดของ วิศวกรควบคุมงานทดสอบ ของทางกาก้า ที่กำลังทำงานในภาพครับ กับ size ของถังที่สูงถึง 3 เมตรกว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1.33 เมตร โดยประมาณ กับ Volume ของน้ำที่ถูกใส่เข้าไปในถัง 1ลิตร ต่อ 1 กิโลกรัม(ตาม Density ของน้ำ) ซึ่งเป็นที่แน่นอนครับ ว่าก่อนทำการอัด Hydro Test ทดสอบ จะต้องมีการ ทำการตรวจสภาพ หรือว่าตรวจเช็ค ความปลอดภัย ในความสามารถในการรับน้ำหนักของตัวถังนั่นเอง พิจารณากรณีนี้ 4,000 ลิตร เท่ากับ น้ำหนักของน้ำ ขั้นต่ำ 4,000 กิโลกรัม (หรือ โตโยต้า วิออส เรียงกันเป็นชั้น 4 คันในแนวดิ่ง) นี่ยังไม่รวมน้ำหนักจากตัวของ Vessel เอง ( อีกประมาณ 1,100 กิโลกรัม-ตาม Name plate ระบุ) สรุปรวมเท่ากับความสามารถในการรับน้ำหนักของ saddle หรือว่า ขาถังรองรับ ต้องรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 5 ตัน ในแนวดิ่ง หรือว่า รถยนต์โตโยต้า วิออส เรียงกันในแนวดิ่งห้าคัน นั่นเอง ซึ่งถ้าถังเล็กๆ 500 ลิตร หรือว่า 1,000 ลิตร ไม่เท่าไหร่ครับ แต่นี่ ถังใหญ่ ถึงใหญ่มาก ไม่ใช่ว่าแค่จะอัดๆถังก็จบนะครับ ฐานราก Saddle เสาเข็ม ความมั่นคงของโครงสร้างที่วางถัง ส่วนประกอบที่ต้องมาพร้อมๆกับการทดสอบ ซึ่งงานทดสอบ กับเรื่อง Safety เป็นสิ่งที่คู่กันมา แต่ไหนแต่ไร จึงจำเป็นจะต้องมีวิศวกรควบคุมงานทดสอบ หรือว่าวิศวกรหน้างานนั่นเองครับ อันเป็นมาตรฐานการทำงานของกาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ในทุกงานของการทำ Hydrostatic test ไปเรียบร้อยแล้วครับ จำเป็น จะต้องมีวิศวกรที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ควบคุมงานทดสอบในทุกครั้ง ยิ่งเกี่ยวกับแรงดันด้วย อุณหภูมิด้วย งานหลักของเราครับ Pressure Test
.
ตัดระบบ หน้าแปลน แยกออก เพื่อทำการใส่ Blind Flange ก่อนทำการอัด HydroTest
|
มาว่ากันถึง ขั้นตอนสำคัญล่ะครับ อัดกันที่ความดันเท่าไหร่ บ้างก็ว่า 1.3 เท่าบ้าง บางท่านบอกมันจะ 1.3 เท่าได้อย่างไร มันต้อง 1.5 เท่า ถึงจะถูก…เอาล่ะครับ หลักการที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ที่ถูกต้องจริงๆเลย ต้องร่ายยาวไปถึงข้อมูลของการออกแบบถัง Following กันที่ตัว Code ออกแบบถังโน่นเลย ที่นี้ว่ากันสั้นๆ ณ ตรงนี้ เราจะตรวจสอบความสามารถในการรับแรงดัน ด้วยการอัดที่เท่าไหร่ สั้นๆเลย คือ พิจารณาดูที่ Nameplate ถังคำตอบสุดท้าย จะ 1.3 หรือว่า 1.5 ตรงนี้มีคำตอบ หรือหาก งานเราต้องอ้างอิง Code ที่ออกแบบถัง ก็ต้องมาพิจารณาครับ เพราะก่อนที่ถังจะถูกส่งมอบมายังโรงงานเราๆท่านๆ เค้าต้องตรวจสอบกันมารอบหนึ่งก่อนแล้ว ทีนี้ถ้าเรานึกครึ้มๆ วันดีคืนดี อยากจะทดสอบ อัดแรงดันดูสิ ว่ามันยังสามารถทนได้หรือไม่ ตรงนี้ก็ต้องมาดูกันว่ามันเคยอัดทดสอบ หรือเคยอัดกันมาก่อนเท่าไหร่ ไม่ใช่ว่าเคยอัดมาแล้ว 1.3 เท่า แต่ท่านไปนึกสนุก อัดมัน 1.5 เท่า แบบนี้ก็ไม่ถูกกต้องตามหลักวิศวกรรมเสียเท่าไหร่ครับ ข้อสังเกตก็มีนิดเดียว เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะยกตัวอย่างใน ASME code เป็นหลักเนื่องจากเราๆท่านๆ คุ้นเคยกัน ส่วนของ Hydrostatic test (UG-99) เล่าสู่กันฟัง - ถ้าถังถูก Apply ถูกสร้าง ถูกออกแบบ ตาม drawing หรือ รายการคำนวณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ Follow ตัว ASME section VIII, div1 ต่ำกว่า ปี 1999 ลงไป เราอัดมันที่ 1.5 เท่าของ ความดันออกแบบ(ในบางครั้ง จะพบ ความดันออกแบบ ถูกกำหนดเป็น MAWP) - ปี 2001 ขึ้นมา ตามรายการด้านบน อัดที่ 1.3 เท่าของความดันออกแบบ สาเหตุหลักเนื่องจาก เทคโนโลยี ทางด้านวัสดุศาสตร์ เป็นหลักครับ - แต่ถ้าเราไม่รู้ ว่า ถังที่เราจะอัด Follow ตาม ASME หรือเปล่า ก็ Nameplate ครับ ต้องมีระบุ อย่างแน่ชัด ให้ ทำตามครับ make sure ที่สุด |
Pressure Gauge หรือ เกจจ์วัดแรงดัน เกจจ์ที่เราใช้เพื่อที่จะดูนี่ล่ะครับ ว่าตอนนี้ความดันเท่าไหร่แล้วนี่ก็สำคัญ สำคัญอย่างไร ก็อย่าลืมสอบเทียบ หรือ Calibration มาก่อนไม่เกิน 1 ปี จะดีที่สุดครับ เพื่อกันความเพี้ยน หรือว่า error ในการอ่านค่า รวมไปถึงสเกลของมันก็สำคัญ ASME code กำหนด ให้ Range อยู่ในช่วง 1.5 ถึง 4 เท่าของ ความดันทดสอบ เพื่ออะไร เพื่อที่จะให้การอ่านค่า เป็นไปอย่างชัดเจนและแม่นยำนั่นเองครับ ยกตัวอย่าง สมมติจะทดสอบที่แรงดัน 15 bar ดังนั้น scale minimum ของ pressure gauge ควรอยู่ที่ 22.5 bar ในส่วนของ full scale หรือว่า scale max ควรจะอยู่ที่ 60 bar ในส่วน full scale ซึ่งท่านจะไปใช้ Gauge ที่มี scale max (Full) ที่ 100 bar มาใช้ ทดสอบที่แรงดัน 15 bar แบบนี้ก็ไม่ค่อยจะถูกหลักการทางวิศวกรรมเสียเท่าไหร่ครับ ถ่ายรูปออกมาก็ไม่สวยครับ ไม่ make sense เท่าไหร่
รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แบบนี้ล่ะครับ เป็นงานที่เราใส่ใจ มาโดยตลอด ถูกต้องตามหลักสากล ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ส่วนสำคัญ Equipment ตัวไหนที่พิจารณาแล้ว มีปัจจัยเสี่ยงต่อการ leakage การรั่วไหล การทนแรงดันทดสอบไม่ได้ก็ต้องถอดออกมาครับ รวมไปถึงการทดสอบ Safety valve ด้วยครับ ซึ่งเป็นมาตรฐานการทดสอบ ถังแรงดันของเราไปเรียบร้อยแล้ว ทดสอบ Hydrostatic Test ส่วนของ Vessel เราก็ต้องทดสอบ Safety valve เพื่อดู Function การทำงานของมันไปด้วย ถือเสียว่า เป็น Full option มั่นใจหลังจากการตรวจสอบเสร็จสิ้น หมดปัญหาความกังวลเรื่องถังรับแรงดัน จะมีปัญหา แตก ปริ บวม รั่ว ซึมครับ งานทดสอบทางด้าน แรงดันและอุณหภูมิ เป็นงานหลักของเรามาโดยตลอดครับ ตัวอย่าง รายงาน การตรวจสอบ เอกสารรับรองความปลอดภัย ถังแรงดัน |
Scale ของ Pressure Gauge รายละเอียด เล็กๆ
น้อยๆ ที่เราไม่มองข้าม ในการทำงานของ KAKA |