งานบริการวัดความหนา ถังแรงดันขนาดใหญ่จะถังใหญ่แค่ไหน หรือไม่ว่าจะถังเล็กแค่ไหน ถังเก่าแค่ไหน ถ้าเป็นถังแรงดัน นึกถึงเราครับ งานแปลกๆ งานที่ชาวบ้านไม่ทำกัน งานอันตราย งานเสี่ยง เราทำครับ ที่นี่เราทำงานกันอย่างมีระบบ มีหลักการทุกอย่าง ทั้ง Safetyทั้ง Engineering มาตรฐานการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน เป็นไปอย่าง step by step เฉกเช่นเดียวกัน กับงานบริการวัดความหนา ที่ขอนำเสนออีกซักหนึ่งตัวอย่าง ที่น่าสนใจ เป็น case พิเศษครับ หรับงานเซอร์วิส ของทาง กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ถังอะไร ที่วัดความหนา ที่ทางกาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ให้บริการบ้างครับ…คำตอบคือ ถังที่เกี่ยวข้องกับงาน ทางด้านวิศวกรรม ทุกประเภท(ทุกวัสดุครับ เช่น เหล็ก, สเตนเลส, พวกโพลิเมอร์, วัสดุ PE, อลูมิเนียม) ถังไซโล, ถังไซโคลน, ถังคลอรีน, ถังแอมโมเนีย, ถัง LPG ขนาดใหญ่, ถังเก็บสารเคมี และอีกสารพัดถังต่างๆ เป็นต้นครับ กว่า 10 ปี ของประสบการณ์ ภาคสนาม วิศวกรตรวจสอบของเรา ผ่านมาครบ 76 จังหวัด และสารพัดถังว่าอย่างนั้น และ นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างครับ |
[บนซ้าย] แสดง location ของถัง การติดตั้งใต้ดิน และสเกลเปรัยบเทียบครับ ซึ่งจมน้ำ อยู่กว่า สามเดือน จากภาวะน้ำท่วมใหญ่ 2554
[บนขวา] ระดับน้ำที่ท่วม ท่วมแค่ไหน ท่วมมิดถังกว่า สองเมตรครับ พืจารณาร่องรอยจาก ป้ายที่อยู่ด้านบนครับ โอ้โห...ไม่คาดคิดครับ ว่าจะหนักขนาดนี้ |
คำถาม แล้วถังมันก็ตั้งอยู่ดีๆ จะไปหาเรื่องวัดความหนาถัง มันทำไมล่ะครับนายช่าง…คำตอบ ถ้ามันอยู่เฉยๆ ก็ไม่มีอะไรหรอกครับ แต่ถังตัวที่จะพาไปชมนี้ มันถูกน้ำท่วมมา ท่วมขนาดไหน ลองชมเองครับ ภายหลังภาวะ น้ำท่วมใหญ่ปี พศ.2554 แน่นอนครับ ท่วมขนาดไหน ไม่ต้องพูดถึง ถังใบที่เราจะนำท่านไปชมครับ เป็นถังเก็บสารเคมี ชนิด Bullet tank หรือ เรียกกันว่าแบบ แคปซูล นั่นเอง สำหรับประเด็นที่สำคัญ คือ ถังมันฝังดินเอาไว้ หรือว่าถังใต้ดิน แล้วน้ำท่วมใหญ่ ก็ท่วมสูงกว่าถังอีก 2-2.5เมตร ยิ่งไปกันใหญ่น่ะสิครับงานนี้ ผู้ประกอบการ เป็นโรงงานของ Japanese แจ้งมาว่า ไม่ไหวแน่ๆ ประกอบกับอายุของถัง นับจนถึงน้ำท่วม อายุอานาม รับใช้โรงงานมา 11 ปีเต็มๆ แถมมาเจอแบบนี้อีก แช่น้ำอยู่ 3 เดือนเต็มๆครับ จากการสอบถามทางโรงงาน งานนี้ Engineer ญี่ปุ่น บินตรงมาจากบริษัทแม่เลย มิสเตอร์.ยามาโมโต้ แจ้งว่า ต้องการ กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง เข้ามาเป็นที่ปรึกษา และวัดความหนาของเจ้าถัง ต้นกำลังของโรงงานใบนี้โดยด่วนเลยครับ และแน่นอนครับ ทางเราถูกเลือกจากทาง มิสเตอร์ ยามาโมโต้ซัง ด้วยเหตุผลที่ว่า
1.ลักษณะงาน เป็นงาน engineering โดยตรง เกี่ยวเนื่องกับ ท่อ ถัง/ หน้างาน มีวิศวกรควบคุม เป็น engineer ที่มี license เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
2.ลักษณะงาน เป็นงานตรวจสอบ พิจารณาจาก Qualify ทีมงานที่ผ่านงาน รวมถึงประสบการณ์ตรง สำหรับงานตรวจสอบความหนา (ตรงนี้ ยามาโมโต้ซัง เน้นมากครับ)
3.เครื่องมือ พร้อมทำงานอย่างเร็วที่สุด อุปกรณ์ safety การเข้าที่อับอากาศ/Confine space (กรณี จำเป็นต้องเข้าข้างในถัง) รวมถึง Certificate เครื่องมือ (มีการสอบเทียบ ทุกชิ้น), ชุดทำงาน Uniform ฯลฯ
2.ลักษณะงาน เป็นงานตรวจสอบ พิจารณาจาก Qualify ทีมงานที่ผ่านงาน รวมถึงประสบการณ์ตรง สำหรับงานตรวจสอบความหนา (ตรงนี้ ยามาโมโต้ซัง เน้นมากครับ)
3.เครื่องมือ พร้อมทำงานอย่างเร็วที่สุด อุปกรณ์ safety การเข้าที่อับอากาศ/Confine space (กรณี จำเป็นต้องเข้าข้างในถัง) รวมถึง Certificate เครื่องมือ (มีการสอบเทียบ ทุกชิ้น), ชุดทำงาน Uniform ฯลฯ
[บนซ้าย] Nameplate ถัง ระบุข้อมูล สิ่งเดียวที่หลงเหลือ หลังน้ำท่วมใหญ่ พัดพาทุกสิ่งทุกอย่างออกไปหมดครับ
[บนขวา] ยามาโมโต้ซัง ลงกำกับงาน พร้อมกับทาง วิศวกรตรวจสอบของทาง กาก้า เอ็นจิเนียริ่งครับ |
[บนซ้าย] วิศวกรของเรา กำลังหาจุดที่ต่ำที่สุด ของถัง
[บนขวา] คอ manhole ลงถัง รับแรงดันเหมือนกัน ถูกน้ำท่วมมาเหมือนกัน ดังนั้น ต้องพิจารณาหรือไม่ครับ...ต้องพิจารณาเช่นกันครับ |
มาถึงขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนการวัดความหนา หลังจากปรึกษากับทางทีมงานแล้ว จำนวนหรือจุดที่จะทำการตรวจสอบ เราจะแบ่งกันไปตาม Sectionหรือตามแต่ละแผ่นของเหล็กที่นำมาเชื่อมติดกันเป็นตัวถัง(Shell plate) เป็นวิธีที่ดีที่สุด นั่นคือ ถังต่อกันกี่ท่อน เราก็คิดเป็น section ไป โดยที่แต่ละ section ก็ทำการวัดความหนารอบเลย 8ทิศ 8จุด เพื่อมาหาจุดที่ต่ำที่สุดที่ถูกกัดกร่อนลงไป หากถังมี 5 section หรือว่าแบ่งเป็น 6 แนวเชื่อมตามแนวเส้นรอบวง(Circumferential)/ นับรวมแนวเส้นรอบวง หัวถัง/ท้ายถัง ก็ตัดแบ่งไปครับ5x8 = 40 จุด หลังจากนั้นจึงมาทำการวัด ในส่วนของความหนาของหัวถัง (Head)เป็นวิธีการที่ดีที่สุดครับ เนื่องจากหากพิจารณาถึงกรรมวิธีสร้างถังแล้ว โอกาสที่ความหนาต่างแผ่นเหล็กที่นำมาม้วนเข้าหากัน แล้วนำมาเชื่อมติดกัน เป็นตัวถัง สามารถที่จะเป็นได้ว่า ความหนาที่ต่างกัน หรือสองความหนา สามารถเป็นได้ แล้วจึงมาพิจารณาในส่วนของความหนาหัวถังอีกครั้ง ซึ่งก็สามารถเป็นไปได้อีก ว่าเป็นเหล็กแผ่น ที่มีความหนาเดียวกันกับตัวถัง ในการผลิต ไม่มีวิธีไหน prove ได้ครับ นาทีนี้เราใช้วิธีวัดความหนาอย่างเดียวครับ
ญี่ปุ่นมี Tsunami แต่บ้านเรา มีน้ำท่วมใหญ่...สองวิศวกร ญี่ปุ่น/ไทย ร่วมมือกัน เพื่อจะฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ เป็นส่วนหนึ่ง งานภาคสนาม ของงานวิศวกรรมตรวจสอบ
|
เมื่อพิจารณาส่วนหลัก นั่นคือ Head และ Shell plate เรียบร้อยแล้ว ก็กลับมาจัดการในส่วนของ Manhole หรือว่าช่องคนลอด ซึ่งเป็น opening ในส่วนที่รับแรงดันเช่นกันครับ ยามาโมโต้บอกกับเราว่า วัดทำไม ทำไมต้องวัดด้วย…อ้าว ก็ส่วนที่รับแรงดัน ไม่ใช่เฉพาะ มีส่วนของตัวถัง และหัวถังนี่ครับ ส่วนของคอถัง ที่โผล่ขึ้นมานี่ก็รับแรงดันเหมือนกัน จริงหรือไม่ครับ ในเมื่อมันเป็นส่วนที่รับแรงดันแล้ว เราจะไม่ทำการตรวจสอบความหนาของมันหรือ? มิสเตอร์ยามาโมโต้ โค้งตอบ ในแบบฉบับของญี่ปุ่น นี่แหละครับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ในแต่ละงานของเรา บางครั้ง ประสบการณ์การทำงานที่สั่งสมกันมา จะถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อเสร็จสิ้นงานภาคสนามเรียบร้อย ก็ดำเนินการ จัดส่งรายงาน เพื่อให้ทาง บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น พิจารณากันต่อไปครับEngineerญี่ปุ่น กับ Engineer ไทย ช่วยกันครับ ร่วมมือกัน เพื่อเราจะฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ
|