Safety work with Industrial Radiography
Industrial Radiography คือ การถ่ายภาพรังสีทางอุตสาหกรรม (ท่อ ถัง แนวเชื่อม เหล็กหล่อ mold เสาปูน แผงบอร์ดอิเลคทรอนิคส์ เครน ท่อส่งน้ำมัน boiler อะไรประมาณนี้ เป็นต้น) ดังนั้น หัวข้อนี้จะไม่เกี่ยวข้องอะไร กับงานรังสีทางการแพทย์ ท่านข้ามไปได้เลย บทความนี้ engineer เขียน ดังนั้นจะเป็นเกี่ยวกับงานรังสี ทางด้านอุตสาหกรรม เท่านั้น เนื้อๆเน้นๆ ที่มักพบบ่อย ถึงบ่อยมากในวงการ engineering อันได้แก่ X-ray, Gamma ray ที่พวกเราค่อนข้างคุ้นเคยนะครับ ทางทฤษฎีไม่ขอเน้นมากนะครับบทความนี้ จะไปเน้นให้พวกเราเข้าใจภาคการทำงานจริงมากกว่า สิ่งที่พวกเราต้องการศึกษา มากมายหลายคำถาม X-ray เหล็กหนา 12.7 มม. ใช้เวลากี่นาที? หรืออย่าง เวลาที่มีทีมงานมาถ่ายภาพรังสีแนวเชื่อมท่อ พวกเราต้องอยู่ห่างจากจุดที่ทำงานของรังสีกี่เมตร? ถึงจะปลอดภัย? อันนี้น่าสนใจกว่า
รังสีคืออะไร มันต้องอยู่บทที่ 1 เกี่ยวกับการเรียนด้านรังสี ไม่ว่าท่านจะไปเรียน ไปอบรม ไปสอบ อะไรก็ตามแต่ ที่มันเกี่ยวข้องกับรังสี ท่านก็ต้องเริ่มจากตรงนี้ก่อน definition ของมัน เอาพอเป็นพิธีพอ พวกเราทำงาน engineering ควรจะรู้จักกันไว้สักหน่อย ถ้าจะเอาลึกๆ ท่านไปเปิดตำรา ทั้งไทย ทั้งของเพื่อนต่างชาติ เพื่อศึกษาลึกๆ ได้ทันที
รังสี คือ พลังงานในรูปแบบหนึ่ง ที่มันแผ่ออกมาจากต้นกำเนิด(รังสี) และสามารถเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้ โดยที่รังสีนั้นสามารถอยู่ในรูปแบบของ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ก็ได้(เช่น Microwave, Infrared, X-ray, Gamma ray) หรืออยู่ในรูปแบบของอนุภาค(ที่มีพลังงานสะสม เช่น รังสีแอลฟา รังสีเบต้า) ได้ก็เช่นกัน
และก็เช่นเดียวกัน รังสี สามารถจัดประเภท ออกมาได้ 2 ประเภท คือ Non ionizing radiation(รังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัว) และ Ionization radiation(รังสีที่ทำให้เกิดการแตกตัว) นี่คือ เบสิค ที่เราจะได้เรียนกันในบทแรก หากเราศึกษาเกี่ยวกับรังสี เอาเท่านี้พอ ถ้าพวกเราจะอ่านไปสอบ อันนั้นอีกเรื่องหนึ่งครับ เอาเป็นเข้าใจที่มาที่ไปก่อน ไม่ต้องไปจำมาก ส่วนที่พวกเรา(ที่ทำงาน engineering) ที่ต้องจำ จะเริ่มต่อจากย่อหน้าถัดไปนี้
Absorbed dose หรือ ปริมาณรังสีดูดกลืน definition ภาษาอังกฤษ เขียนไว้ว่า absorbed dose คือ how the radiation effects the absorbing material หรือ กล่าวคือ ปริมาณของพลังงาน (เพราะรังสี มันคือพลังงาน) ซึ่งถูกดูดกลืนต่อหน่วยของมวล
โดยหน่วยของปริมาณรังสีที่ดูดกลืน(เมื่อเราพูดถึง โดยทั่วไป) นั่นคือ absorbed dose จะคุยกันในหน่วยของ Gray หรือ Rad
และในทางเดียวกัน หน่วยของปริมาณรังสีที่ดูดกลืน เมื่อเราใช้กับมนุษย์ (หรือ พูดให้ฟังง่าย คือ เมื่อมนุษย์ ต้องโดนรังสี/ตรงนี้ เพื่อนชาวต่างชาติ จะเรียกว่า Dose equivalent หรือ ปริมาณรังสีสมมูล) เราจะพูดกันในหน่วย Sv หรือ rem
*** ไม่งง นะครับ ตรงนี้ต้องจำเลย เมื่อพูดถึง absorbed dose ถ้าพูดถึงวัตถุ(เช่น กำแพงโดนรังสีเท่านี้นะ, เหล็กโดนรังสีเท่านี้นะ) ตรงนี้จะคุยกันในหน่วย Gray หรือ Rad แต่เมื่อไหร่ก็ตามแต่ พูดถึง คน (เช่น สมชาย โดนรังสีเท่าไหร่, Mr.Robert ได้รับรังสีเท่านี้นะ) ตรงนี้จะคุยกันในหน่วย Sv(ชื่อเต็ม คือ Sievert) หรือ rem(ชื่อเต็ม คือ Roentgen Equivalent Man) เท่านั้น ดังนั้น อุปกรณ์ที่พวกเราใช้ วัดปริมาณรังสี เวลาที่พวกเราทำงาน/ปฏิบัติงานทางด้าน industrial radiation จึงมักจะเจอกัน ในหน่วยของ Sv หรือ rem นั่นเอง และนี่คือ ที่มา ที่น่าสนใจในหัวข้อนี้
โดยที่ 1 Gray = 100 Rad
และ 1 Sievert = 100 rem
โดย ปริมาณรังสีที่ยอมรับได้ สูงสุด ตามสากล ICRP-International Commission on Radiological Protection สรุปให้เลยนะ(ท่านไม่ต้องไปอ่านหลายตำรา ประเดี๋ยวจะ งง) กล่าวคือ กรณีที่มนุษย์จะได้รับรังสี สามารถโดนรังสีได้ แต่ต้องไม่เกิน ปริมาณรังสีที่ยอมรับได้สูงสุดนั่น หรือ dose limit จะแบ่งเป็น 2 กรณี นั่นคือ
สำหรับผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี-Radiation worker: นักรังสี/ ช่าง X-ray/ ช่างเทคนิครังสี/ engineer ที่ทำงานกับรังสี พวกนี้ที่กล่าวมา ต้องไม่เกิน 20 mSv หรือ 2 rem ต่อปี โดยเฉลี่ยในระยะเวลาต่อเนื่อง 5 ปี และ ค่าสูงสุดที่รับได้ในปีใดปีหนึ่ง ต้องห้ามเกิน 50 mSv หรือ 5 rem
สำหรับคนทั่วไป-General public: พนักงานฝ่ายผลิต/ บัญชี/ รปภ./ ตำรวจ, ทหาร/มนุษย์เดินดิน กินข้าวราดแกง คนทั่วไปที่ไม่ไม่เกี่ยวข้องกับรังสี ต้องไม่เกิน 1 mSv หรือ 0.1 rem/ปี
ที่ ICRP เขาจัด group ย่อย เพื่อให้เราเข้าใจง่ายๆ ว่า dose limit ทำไมต้องแบ่งเป็น 2 case คือ ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี กับ คนทั่วไป เพราะเหตุผลคือ ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี มีโอกาส หรือ มี% โดนรังสี มากกว่าคนทั่วไป คือ มีความเสี่ยงสูงนั่นเองครับ เพราะต้องทำงานกับรังสีค่อนข้างบ่อย
ดังนั้นท่านจะเห็นว่า อัตราส่วน หรือ ratio ระหว่าง คนทั่วไป กับ ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี dose limit ค่อนข้างห่างพอสมควร 1:20 เท่าที่พิจารณา ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี จึงสามารถ หรือ อนุญาตให้ได้รับรังสี dose limit อยู่ที่ ไม่เกิน 20 mSv ต่อปี ในขณะที่คนธรรมดา 1 mSv ต่อปี และจากเหตุผลที่ว่า ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี มีโอกาสที่ได้รับรังสีสูงกว่าชาวบ้าน ชาวช่องแล้วนั้น จึงทำให้ต้องมีการติดตั้ง อุปกรณ์ตรวจวัดรังสีประจำตัวบุคคล(Personal monitoring) อยู่ที่ตัวผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี ตลอดเวลาที่ทำงาน(ย้ำ ว่าต้องตลอดเวลา ที่ปฏิบัติงานนะครับ) เพื่อที่จะนำมาตรวจดูปริมาณรังสีที่โดนมาแล้ว เก็บเป็น record เก็บเป็นประวัติ เพื่อนำไปส่งตรวจ(อย่างของประเทศไทย นี่ก็นำส่งกรมวิทยาศาสตร์บริการ-สำหรับอุปกรณ์ตรวจวัดรังสีประจำตัวบุคคล) ว่าได้รับรังสีไปแล้ว เท่าไหร่ ต่อเดือน/ต่อปี/เฉลี่ยห้าปี ปริมาณรังสีที่ได้รับ เกินหรือไม่ ต่อเดือน/ต่อปี/เฉลี่ยห้าปี ถ้าไม่เกิน…ท่านปฏิบัติงานได้ แต่ถ้าเกิน…ท่านโดนพักงานทันที ตรงนี้ห้ามล้อเล่น ห้ามแกล้งเพื่อนเด็ดขาด สำหรับอุปกรณ์ตรวจวัดรังสีประจำตัวบุคคลนี้ เพราะมันเป็นสากล ทุกที่ทั่วโลก ยอมรับใน dose limit นี้กันหมด ถ้ารับปริมาณ รังสี ไม่เกินนี้ ท่านไม่เป็นอันตรายแน่นอน ไม่มีผล ไม่มีนัยยะสำคัญก็กล่าวได้ |
หน่วยการอ่านค่า จะเป็น R และ/หรือ Sv ต่อเวลา
|
กลับมาที่กรณีของ คนทั่วไป 1 mSv หรือ 0.1 rem/ปี คือ dose limit ที่พวกเราต้องท่องให้ขึ้นใจ และเป็นหัวใจของบทความนี้
- คำถาม…แล้วผมจะรู้ได้อย่างไรครับ/คะ นายช่าง? ว่าเราโดนรังสี เป็นปริมาณเท่าไหร่ ? เพราะเราเป็น case ของคนธรรมดา ไม่มี อุปกรณ์ตรวจวัดรังสีประจำตัวบุคคล(Personal monitoring)
- คำถาม…หรือ ผมจะทราบได้อย่างไร ว่าในขณะที่ทีม NDT เข้ามาทำ X-ray ท่อ พวกเราที่นั่งทำงานอยู่ใน office พวกเราจะโดนรังสีเป็นปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะไม่เกิน dose limit 0.1 rem/ปี ตามที่นายช่างบอก?
- คำถาม…หรือ พวกเรา ต้องอยู่ห่างรังสี แค่ไหน ระยะทางแค่ไหน ในขณะที่มีการ X-ray ถึงปลอดภัยครับนายช่าง? หรือในขณะที่ทีมงานนายช่างกำลังทำงาน พวกเราต้องไปหลบไกลๆ ประเดี๋ยวจะโดนรังสี ไปแอบอยู่ที่หน้าปากซอยเลย พอไหมครับ ? น่าสนใจครับ คำถามแบบนี้ เป็นสิ่งที่ควรจะเผยแพร่ออกไปนะ เพราะพวกเราเป็น case ของคนทั่วไปนั่นเอง
Survey meter เราจัดว่าเป็น เครื่องมือวัด ประเภทหนึ่ง ทางด้านงาน engineering นั่นหมายความว่า การสอบเทียบ หรือ calibration สำคัญมากนะครับพวกเรา อย่าลืม ดูดกันด้วย calibration date เมื่อไหร่ ? ก่อนนำมาใช้งาน
|
คำตอบ…0.1 rem/ปี คือ dose limit ที่พวกเรารับได้ ดังนั้น สิ่งเดียวที่พวกเราสามารถ รับรู้ได้ ในกรณีนั้นๆ ว่า ปัจจุบัน ท่านโดนรังสีเป็นปริมาณเท่าไหร่ จึงจำเป็นต้องมี เครื่องมือที่ใช้วัดรังสีนั่นเอง โดยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ตรวจวัดรังสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงาน industrial radiography ที่พวกเราคุ้นเคยกัน หลายๆท่านรู้จักกัน ในชื่อของ Survey meter หรือ นิยมเรียกสั้นๆกันว่า เซอร์เวย์ๆ(ทับศัพท์ไปนั่นเอง-จริงๆควรเรียกชื่อเต็มๆนะ เซอร์เวย์ มิเตอร์) ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ปฏิบัติงานภาคสนาม อยู่ใน field หรืออยู่ในห้อง laboratory จำเป็นทุกครั้ง (ย้ำว่าทุกครั้ง) เมื่อมีการทำงานกับรังสี ต้องมีทุกครั้ง เรียกได้ว่า ของมันต้องมี ก็สามารถกล่าวได้ หากพวกเราพบเจอ ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี ที่ไหน/เมื่อไหร่ พวกเราสามารถสอบถามได้ ถึง survey meter นั่นเองครับ
หลักการทำงานของ Survey meter ทำงานอย่างไร ถ้าพวกเราต้องไปอบรม/ไปสอบ อันนี้จำเป็นต้องรู้ ว่ามันทำงานอย่างไร แต่ในที่นี้ ผู้เขียนขอข้าม part หลักการทำงานไปก่อน เอาคร่าวๆพอนะครับ(ท่านไม่ต้องไปรู้ลึกมากครับ) เบื้องต้นคือ มีตัวจับประจุ เป็น ionization chamber อยู่ด้านในที่พวกเราเห็น ในหลอด ใน tube เมื่อพบเจอรังสีแตกตัวได้ ก็จะแตกประจุออกมา ดัง paragraph แรกๆที่กล่าวไว้ข้างต้น หลังจากนั้นจะมีตัวจับประจุที่แตกออกมา ว่า เยอะ หรือ ไม่เยอะ นั่นคือ โดนรังสี มาก หรือ น้อย แปลงร่างออกมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วจึงแปลงอีกทีเป็นความต้านทาน มาแสดงผล ทั้งในรูปแบบ analog และ digital บนจอแสดงผล เพื่อให้พวกเรา ง่ายต่อการนำค่าไปใช้งาน นั่นเองครับ โดยหน่วยของการแสดงผล อัตราการโดนรังสี ณ ตอนนั้น ที่พวกเราพบเห็นในงานอุตสาหกรรม ที่นิยม ทั่วไป จะอยู่ในรูปแบบของหน่วยแสดงผล คือ mR/Hr หรือ µSv/Hr จะหน่วยใดหน่วยหนึ่งก็ได้ หรืออย่าง survey meter บางตัว ก็มีสองหน่วย ก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด ทีนี้กลับมาดูต่อ ว่าแล้วมันจะใช้งานอย่างไรล่ะนายช่าง ทำไมต้องแสดงผลเป็น mR/Hr หรือ µSv/Hr วัตถุประสงค์หลัก ตอนนี้เราคือ 1 mSv หรือ 0.1 rem ต่อปี ถูกต้องหรือไม่ พวกเรา |
ICRP กำหนด 1 mSv ต่อ ปี หรือ 0.1 R ต่อ ปี โดยที่ 1 ปี พิจารณาให้มี 50 สัปดาห์
จะได้ 0.02 mSv ต่อ สัปดาห์ หรือ 0.002 R ต่อ สัปดาห์ และ 1 สัปดาห์ ให้คิดวันทำงาน 5 วัน
0.004 mSv ต่อ วัน หรือ 0.0004 R ต่อ วัน ที่ 1 วัน ให้คิด ชั่วโมงทำงาน 8 ชั่วโมง
นั่นคือ 0.0005 mSv/Hr หรือ 0.00005 R/Hr
ดังนั้น 0.5 µSv/Hr หรือ 0.05 mR/Hr เป็นคำตอบสุดท้าย ของ dose limit ที่รังสี ไม่สามารถ ทำอะไรพวกเราได้นั่นเองครับ(สำหรับพวกเรา พี่ น้อง ประชาชนทั่วไปนั่นเอง) นั่นคือ เมื่อมีการถ่ายภาพด้วยรังสี พวกเราเปิด survey meter อ่านค่าที่แสดงผล ณ ตำแหน่งนั้นๆ ที่พวกเรา ยืน/เดิน/นั่ง/นอน อยู่นั้น ถ้าค่าที่อ่านได้ survey meter แสดงผลออกมา ไม่เกิน 0.5µSv/Hr หรือ 0.05 mR/Hr ท่านสามารถ ยืนอย่างสง่าผ่าเผย ยิ้มรับวันใหม่ได้เลย รังสีไม่สามารถมีผลต่อตัวท่านได้ในขณะนั้นอย่างแน่นอน พวกเรา งง หรือไม่ครับ
ที่นี้พวกเรา เห็นแล้วว่า ถ้าเป็นกรณีสำหรับ คนทั่วไป เรารู้แล้วว่า จะต้องยืนอยู่ที่จุดไหน หรือ ตำแหน่งไหน ที่ survey meter อ่านค่าได้ ไม่เกิน 0.5µSv/Hr หรือ 0.05 mR/Hr และในทางเดียวกัน สำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสี คิดเหมือนกัน สำหรับวิธีคิด พวกเราช่วยนายช่างจิ้มเครื่องคิดเลขหน่อยครับ ว่าสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีแล้วนั้น ค่าที่อ่านได้จาก survey meter ต้องไม่เกินเท่าไหร่ ถึงจะปลอดภัย หลักการคิดเหมือนกรณีคนทั่วไปครับพวกเรา
[เฉลย: 10µSv/Hr หรือ 1 mR/Hr]
ที่นี้พวกเรา เห็นแล้วว่า ถ้าเป็นกรณีสำหรับ คนทั่วไป เรารู้แล้วว่า จะต้องยืนอยู่ที่จุดไหน หรือ ตำแหน่งไหน ที่ survey meter อ่านค่าได้ ไม่เกิน 0.5µSv/Hr หรือ 0.05 mR/Hr และในทางเดียวกัน สำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสี คิดเหมือนกัน สำหรับวิธีคิด พวกเราช่วยนายช่างจิ้มเครื่องคิดเลขหน่อยครับ ว่าสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีแล้วนั้น ค่าที่อ่านได้จาก survey meter ต้องไม่เกินเท่าไหร่ ถึงจะปลอดภัย หลักการคิดเหมือนกรณีคนทั่วไปครับพวกเรา
[เฉลย: 10µSv/Hr หรือ 1 mR/Hr]
ยังไม่จบเท่านี้นะพวกเรากลับมาดู การใช้งาน survey meter กันต่อ ไหนๆก็ไหนๆแล้ว พวกเราต้องใช้ให้เป็นเลย อ่านจบปุ๊บ ต้องรู้เรื่องปั๊บ จิ้มเครื่องคิดเลขได้ เอา survey meter มาเล่นกันได้ ไม่อย่างนั้น ไม่เกิดประโยชน์อะไรในบทความนี้ จริงหรือไม่ อย่างไร
ย้อนกลับมาดูที่ หน้าตาของ survey meter ที่มีอยู่(มีใช้) ในประเทศไทย หากเราพิจารณาหน้าตา รูปร่าง ที่นิยมใช้งานกัน พวกเราจะพบเห็น ปุ่มบิดๆ นั่นคือ selected switch หรือ switch สำหรับเลือกการใช้งาน/การเตรียมความพร้อมการใช้งาน ของ survey meter นั่นเองครับ ร้อยละ 90 ของ portable survey meter จะมีอยู่ 4-5 selected mode(จะ 4 ก็ได้ จะ 5 ก็ได้ ไม่ผิดกติกา) อธิบายโดยสังเขป เวลาจำกัด
ย้อนกลับมาดูที่ หน้าตาของ survey meter ที่มีอยู่(มีใช้) ในประเทศไทย หากเราพิจารณาหน้าตา รูปร่าง ที่นิยมใช้งานกัน พวกเราจะพบเห็น ปุ่มบิดๆ นั่นคือ selected switch หรือ switch สำหรับเลือกการใช้งาน/การเตรียมความพร้อมการใช้งาน ของ survey meter นั่นเองครับ ร้อยละ 90 ของ portable survey meter จะมีอยู่ 4-5 selected mode(จะ 4 ก็ได้ จะ 5 ก็ได้ ไม่ผิดกติกา) อธิบายโดยสังเขป เวลาจำกัด
ถ้าเราบิด switch ไปที่ OFF คือ ปิดเครื่อง ตามชื่อปุ่ม ตัดไฟเลี้ยงเข้าระบบ ถ้าเราบิด switch ไปที่ BATT คือ เป็นการตรวจสอบภาคไฟเลี้ยง ว่าวงจรพร้อมทำงานหรือไม่ หากเป็น analog แบบ survey meter ตัวในรูป/หรือ ตัวอื่นๆ ที่เป็น analog หรือเป็นเข็ม พวกเราจะต้องสังเกตเห็น เข็มของหน้าจอแสดงผล วิ่งไปที่ range หรือช่วง บนจอแสดงว่า batt นั่นคือ พร้อมใช้งาน ถ้าไม่อยู่ในช่วงนี้ คือ ไม่พร้อมใช้งาน ห้ามใช้นะ รังสีไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ถ้าเราบิด switch ไปที่ x1 นั่นคือ การแสดงผล เป็น Full scale range ที่เราอ่านค่าได้ตามหน้าจอ (ในกรณีนี้ คือ 0-10 mR/Hr หรือ 0-100 µSv/Hr) ถ้าเราบิด switch ไปที่ x10 นั่นคือ การแสดงผล เป็น Full scale range x 10 เข้าไป ที่เราอ่านค่าได้ตามหน้าจอ (ในกรณีนี้ เต็มจอ คือ 0-100 mR/Hr หรือ 0-1,000 µSv/Hr) และในทางเดียวกัน ถ้าเราบิด switch ไปที่ x100 นั่นคือ การแสดงผล เป็น Full scale range x 100 เข้าไป ที่เราอ่านค่าได้ตามหน้าจอ (ในกรณีนี้ เต็มจอ คือ 0-1,000 mR/Hr หรือ 0-10,000 µSv/Hr) |
click ที่ภาพ เพื่อขยาย
ปรับอย่างไร x1 หรือ x10 หรือ x100 ใช้ให้ถูกต้องนะครับ
|
***เพิ่มเติม ส่วนตัวผู้เขียน : ทีนี้ พวกเราใช้เป็นกันแล้วหรือยังครับ บิดลูกบิด บิดปุ่ม survey meter กันเป็นแล้วนะครับ โดยส่วนตัว ผู้เขียนมองว่า การเรียงลำดับ ของ selected switch ที่ดี ควรเป็นลักษณะการเรียงดังกล่าวข้างต้น คือ ไล่เรียงจาก OFF – BATT – x100 – x10 – x1 เพราะอะไร? เพราะก่อนท่านเปิดเครื่องใช้งาน แน่นอนว่าท่านต้องเช็คความพร้อมมันก่อน มันพร้อมทำงานไหม นั่นคือ Battery หรือ ภาคไฟเลี้ยงนั่นเอง ถ้าไม่พร้อมก็จบเลย ถ้าพร้อมก็ไปต่อ
ทีนี้พอไปต่อ ท่านบิดมาที่ x100 หรือ สเกลมากก่อน ถูกต้องหรือไม่ครับ ถ้าท่านบิดมาที่ x100 แล้วเข็มมันพุ่งมาที่ ครึ่งหนึ่งของหน้าจอ(สมมติเลข 5 แล้วกัน) ยกตัวอย่างกรณีนี้ นั่นหมายถึง ท่านอ่านค่ามันได้ 500 mR/Hr กันเลยทีเดียว นั่นแปลว่า วิ่งให้ไว เลยนะครับ ปริมาณรังสีที่ท่านยืนตรงจุดนั้น มันมหาศาลเลยทีเดียว 500 mR/Hr หรือ 5,000µSv/Hr แรงกว่า นิวเคลียร์ที่ฟุกุชิม่าในปัจจุบัน(ปี 2016 รายงาน จุด max สุด ของฟุกุชิม่า อยู่ที่ไม่เกิน 100 µSv/Hr) มี effect แน่นอน พวกเรารีบวิ่งให้ไวนะครับ
แต่ถ้าท่าน บิดมาที่ x100 แล้วเข็มมันยังไม่ขึ้น เข็มมันกระดิก สั่นเล็กน้อย ก็เอาล่ะ OK ท่านมั่นใจได้ว่า ปริมาณรังสี ณ ตำแหน่งนั้น ท่านน้อยกว่า 100 mR/Hr แน่นอน ทีนี้ก็ปรับ switch ไปที่ สเกล ลำดับถัดไป คือ x10 (นั่นคือ full scale ท่านคือ 100 mR/Hr) และ ในทางเดียวกัน ถ้าเข็มของ survey meter มันยังไม่ขึ้นอีก ท่านก็ปรับ selected switch ไปที่ x1 นั่นคือ ตำแหน่งของ scale ที่น้อยที่สุดแล้ว full scale คือ 10 mR/Hr ทีนี้ ท่านพร้อมที่จะ ปฏิบัติงานกับรังสี ได้แล้วครับ ไม่ งง นะครับพวกเรา เข้าใจการเรียงลำดับของปุ่ม ของ selected switch ของการทำงานแล้วนะครับ
ทีนี้พอไปต่อ ท่านบิดมาที่ x100 หรือ สเกลมากก่อน ถูกต้องหรือไม่ครับ ถ้าท่านบิดมาที่ x100 แล้วเข็มมันพุ่งมาที่ ครึ่งหนึ่งของหน้าจอ(สมมติเลข 5 แล้วกัน) ยกตัวอย่างกรณีนี้ นั่นหมายถึง ท่านอ่านค่ามันได้ 500 mR/Hr กันเลยทีเดียว นั่นแปลว่า วิ่งให้ไว เลยนะครับ ปริมาณรังสีที่ท่านยืนตรงจุดนั้น มันมหาศาลเลยทีเดียว 500 mR/Hr หรือ 5,000µSv/Hr แรงกว่า นิวเคลียร์ที่ฟุกุชิม่าในปัจจุบัน(ปี 2016 รายงาน จุด max สุด ของฟุกุชิม่า อยู่ที่ไม่เกิน 100 µSv/Hr) มี effect แน่นอน พวกเรารีบวิ่งให้ไวนะครับ
แต่ถ้าท่าน บิดมาที่ x100 แล้วเข็มมันยังไม่ขึ้น เข็มมันกระดิก สั่นเล็กน้อย ก็เอาล่ะ OK ท่านมั่นใจได้ว่า ปริมาณรังสี ณ ตำแหน่งนั้น ท่านน้อยกว่า 100 mR/Hr แน่นอน ทีนี้ก็ปรับ switch ไปที่ สเกล ลำดับถัดไป คือ x10 (นั่นคือ full scale ท่านคือ 100 mR/Hr) และ ในทางเดียวกัน ถ้าเข็มของ survey meter มันยังไม่ขึ้นอีก ท่านก็ปรับ selected switch ไปที่ x1 นั่นคือ ตำแหน่งของ scale ที่น้อยที่สุดแล้ว full scale คือ 10 mR/Hr ทีนี้ ท่านพร้อมที่จะ ปฏิบัติงานกับรังสี ได้แล้วครับ ไม่ งง นะครับพวกเรา เข้าใจการเรียงลำดับของปุ่ม ของ selected switch ของการทำงานแล้วนะครับ
มาดูของจริงกัน 1 ตัวอย่าง
นายช่างมาทำการ ถ่ายภาพด้วยรังสี หรือ radiographic testing ครับพวกเรา ที่เห็นอยู่ในมือผมตอนนี้ คือ Survey meter ขณะปฏิบัติงาน ณ ตำแหน่งนี้ ที่พวกเราเห็นในภาพ survey meter อ่านค่าได้ 2 mR/Hr ที่ระยะทางจากต้นกำเนิดรังสี เป็น Ir 192 ประมาณ 15 เมตร คำถาม: 1.นายช่าง ปลอดภัยหรือไม่ ณ ตำแหน่งนี้? 2.ถ้าปลอดภัย ผมสามารถ อยู่ที่ตำแหน่งนี้ ได้เป็นเวลาเท่าไหร่ กี่ ชม. หรือ กี่นาที? 3.ถ้าไม่ปลอดภัย ผมต้องเดินห่างจากจุดนี้ ออกมากี่เมตร? |
เฉลย:
1.ไม่ปลอดภัย เพราะ dose rate ตอนนี้ อยู่ที่ 2 mR/Hr ในขณะที่ ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี dose rate < 1 mR/Hr
2.ไม่ควรอยู่ที่ ตำแหน่งนี้เกินครึ่งชั่วโมง เพราะ survey meter อ่านได้ 2 mR/Hr นั่นคือ dose rate ท่านโดนรังสีเต็มๆ 1 ชั่วโมง อัดไปเต็มๆ 2 mR คิดเทียบบัญญัตติไตรยางค์ ที่ครึ่งชั่วโมง ท่านอัดไปเต็มๆ 1 mR ห้ามอยู่เกิน ครึ่งชั่วโมงเด็ดขาด ถ้าไม่มีความจำเป็น
3.จาก Inverse square law(สูตรนี้ ท่านต้องจำ) กล่าวคือ I1D1^(2) = I2D2^(2)
ท่านจะได้ 2(mR/Hr)x15^2(m) = 1(mR/Hr)xD2^2
D2^2 = 450 m. หรือ D2 = 21.21 m.
1.ไม่ปลอดภัย เพราะ dose rate ตอนนี้ อยู่ที่ 2 mR/Hr ในขณะที่ ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี dose rate < 1 mR/Hr
2.ไม่ควรอยู่ที่ ตำแหน่งนี้เกินครึ่งชั่วโมง เพราะ survey meter อ่านได้ 2 mR/Hr นั่นคือ dose rate ท่านโดนรังสีเต็มๆ 1 ชั่วโมง อัดไปเต็มๆ 2 mR คิดเทียบบัญญัตติไตรยางค์ ที่ครึ่งชั่วโมง ท่านอัดไปเต็มๆ 1 mR ห้ามอยู่เกิน ครึ่งชั่วโมงเด็ดขาด ถ้าไม่มีความจำเป็น
3.จาก Inverse square law(สูตรนี้ ท่านต้องจำ) กล่าวคือ I1D1^(2) = I2D2^(2)
ท่านจะได้ 2(mR/Hr)x15^2(m) = 1(mR/Hr)xD2^2
D2^2 = 450 m. หรือ D2 = 21.21 m.
นั่นหมายความว่า นายช่างต้องเดิน ถอยห่างจากจุดที่ยืน action ถ่ายรูปจุดนี้ ออกมา = (21.21-15) เท่ากับ 6 เมตร โดยประมาณนั่นเอง อัตราการรับรังสีได้ไม่เกินแน่นอน ดังนั้น อย่าลืม เรียกหา survey meter ทุกครั้ง ที่มีการทำงานกับรังสี เรียกหาจากไหนล่ะนายช่าง…ก็เรียกหา จาก ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี ที่เข้ามาทำงานให้พวกเรา นั่นล่ะครับผม
ทีนี้พวกเรา ใช้ survey meter กันเป็นแล้วนะครับ!!! |
ณัฐพงศ์ ไชยสิทธิ์ วุฒิวิศวกรเครื่องกล วก.958 |