รายการคำนวณความหนา ที่ต่ำที่สุด ที่ภาชนะรับแรงดัน สามารถใช้งานได้ต่อไป
เพื่อนสมาชิก หลายต่อหลายท่าน ในแวดวง ในวงการอุตสาหกรรมต่างๆ สอบถามกันเข้ามามาก ถึงประเด็นนี้ครับ ทางกาก้าเราเลยขอหยิบยกมาพูดถึงในอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้เห็นภาพ ได้เข้าใจกันอีกสักครั้งครับ หวังว่าคงจะไม่เบื่อกันไปก่อนครับ กับประเด็นที่ว่า เราวัดความหนาไปทำไม วัดไปเพื่ออะไร วัดแล้วได้อะไร เห็นบางที่ บางคน บางบริษัท เข้ามาทำงาน วัดความหนา เพื่อมาตรวจสอบ แล้วออกรายงาน ว่าถังสภาพปลอดภัย ถังโอเค ปีโน้นก็โอเค ปีนี้ก็โอเค ปีที่แล้วก็โอเค แล้วมันเมื่อไหร่มันจะถึงไม่โอเค แล้ววัดไป คุณไปเอาอะไรมาตัดสิน ว่ามันโอเค ไม่โอเค จะใช้งานต่อไปได้อย่างปลอดภัย หรือไม่ควรใช้งานต่อไปดี รู้ได้อย่างไร เอาตรงจุดไหนมาตัดสิน ?
ครับ แน่นอนว่า งานตรวจสอบความปลอดภัย ภาชนะรับแรงดันนั้น ไม่ว่าจะเป็นถังลม ถังแกส ถังแอมโมเนีย ถังคลอรีน หรือ ถังต่างๆที่มีแรงดัน งานวัดความหนาถังเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะอะไร ก็เพราะว่า ค่าความหนาที่เราทำการวัดจริงในขณะนั้นน่ะครับ เมื่อถังผ่านการใช้งานมาสิบปีแล้วเนี่ย แน่นอนค่าความหนามันไม่เท่าเดิมแน่ ดังนั้นเมื่อมันกร่อนไป ทำให้เกิดอะไรขึ้นครับ ทำให้ความสามารถในการรับแรงดัน มันมีน้อยลงนั่นเอง แล้วถามต่อไปอีกว่า แล้วเมื่อไหร่มันถึงจะไม่สมควรใช้ต่อไป หรือว่าใช้ไม่ได้แล้ว ไม่ปลอดภัยแล้ว หรือว่า ควรจะ reject นั่นเอง คำตอบคือ เมื่อความหนาที่ท่านวัดได้นั้น ท่านนำมาเทียบกับรายการคำนวณความสามารถในการรับแรงดันของถัง แล้วปรากฏว่า มันไม่สามารถรองรับความดันนั้นๆ ได้อยู่นั่นเองครับ เป็นคำตอบสุดท้าย ไม่งงนะครับ
ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าท่านวัดความหนาไป แล้วท่านไม่มีรายการคำนวณความหนาต่ำสุดที่สามารถรองรับแรงดันใช้งานนั้นได้ แล้วท่านจะวัดไปเพื่ออะไร จริงหรือไม่ครับ ทางกาก้า พูดคุยกับผู้ประกอบการหลายที่มากครับ ทางผู้ประกอบการก็แจ้งว่า มีวิศวกรมารับรองถัง มีการวัดความหนาเหมือนกันนี่ล่ะครับ แล้วทางผู้จัดการโรงงาน ลองถามไปดูว่า เห็นคุณเข้ามาวัด เข้ามาทำการรับรองถัง รับรองความปลอดภัยเนี่ย วัดไปแล้วเอาไปเทียบกับอะไร เทียบกับตรงไหน เพื่อจะดูว่าผ่าน/ไม่ผ่าน คำตอบจาก วิศวกรที่เข้ามาวัดคือ เราวัดความหนา เอาไปลงในรายงานเฉยๆครับ |
|
นายช่างได้ยินคำตอบแบบนี้แล้ว ส่ายหัวเลยครับ มีจริงๆนะครับ ทางกาก้าพบเจอมาแล้ว ไม่ได้พูดเล่น สนทนาเป็นเรื่องโจ๊กแต่อย่างใด หรือ หนักกว่านี้ครับ ผู้ประกอบการบางท่านเล่าให้เราฟังว่า มีวิศวกรเข้ามาตรวจ จะรับรองเนี่ยล่ะครับ แล้วก็ถามคำถามแบบเดียวกัน คำตอบที่ได้คือ เอ๊ะ…ผมว่ามันน่าจะใช้ได้นะ เอ๊ะ…ผมว่ามันน่าจะยังรับแรงดันไหวนะ เอ๊ะ…ผมดูสภาพแล้วมันยังดีนะ ทางนายช่างกาก้า ได้ยินคำตอบแบบนี้แล้วปวดหัวใจจริงๆครับ
รายการคำนวณ ความหนาที่ต่ำที่สุด ที่ถังจะสามารถรองรับแรงดัน ในแต่ละใบนั้นๆได้ จะถูกแนบในรายงานการวัดความหนา เสมอ เพื่อเปรียบเทียบว่า ถังของท่าน ยังสามารถใช้งานได้ต่อไป/ หรือ ไม่ปลอดภัยแล้วนะ ไม่ใช่ว่า ปีนี้ก็วัด ปีหน้าก็วัด ปีโน้นก็วัด แล้วก็มาลงรายงานเฉยๆ แบบนั้นจะวัดความหนาไปเพื่ออะไร จริงหรือไม่ครับ
|
ดังนั้น ถ้าท่านจะเลือกวิศวกร เลือกหน่วยงาน ทีมงานเข้ามาตรวจสอบรับรองความปลอดภัยถังแรงดันเนี่ย คนที่เข้ามาตรวจวัดความหนา เค้าต้องมีรายงาน มีรายการคำนวณให้ท่านนะครับ ว่าถังมันจะรับแรงดันที่เท่านี้ ได้ที่ความหนาถังเท่านี่นะ ขนาดถังเท่านี้นะ รับแรงดันได้เท่านี้ ถ้าความหนาต่ำกว่านี้น่ะ ถังจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ต้องมีรายการคำนวณทางวิศวกรรม อ้างอิงเป็น calculation sheet ออกมาแนบกับ รายงานวัดความหนาครับ ไม่ใช่ รายงานแต่วัดความหนาอย่างเดียว แล้วมานั่งเทียนเอาเอง ว่าปลอดภัย เอ๊ะ…ผมว่ามันน่าจะใช้ได้นะ เอ๊ะ…ผมว่ามันน่าจะยังรับแรงดันไหวนะ ถึงจะเป็นงานวิศวกรรม งาน engineering ที่ถูกต้องครับ ทีนี้ท่านผู้อ่าน มองเห็นภาพกันแล้วนะครับ ว่า เราวัดความหนาไปแล้ว เราเอาไปเทียบกับอะไร ให้วิศวกรคำนวณกันที่หน้างานให้ดูเลยครับ ว่าถังขนาดนี้ รับแรงดันได้เท่านี้ๆ ถึงจะปลอดภัย ไม่ใช่ว่าวัดความหนาไป ปีนี้ก็วัด ปีโน้นก็วัด ปีหน้าก็วัดอีก แล้วก็ออกรายงาน บอกว่าปลอดภัยๆๆ โดยไม่มีอะไรมาอ้างอิง (เห็นท่าว่าวิศวกรท่านนั้น คงจะถนัดนั่งเทียน อ้างอิงล่ะครับ) ยิ่งไม่มีรายการคำนวณ หรือ Calculation sheet ของความหนา มาแนบกับ รายงานวัดความหนาด้วยแล้ว ไม่แนะนำครับ สอบถามก่อนใช้บริการดีที่สุดครับ
|
ไหนๆก็พูดถึงเรื่อง งานวัดความหนาแล้ว ขอต่ออีกซักนิดในหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกันครับ ว่าสาเหตุ ที่ทำไม ทางกาก้า ถึงได้รับความไว้วางใจ ในงานบริการตรวจสอบ ตรวจรับรองความปลอดภัย ภาชนะรับแรงดัน ในอุตสาหกรรม ประเภท อุตสาหกรรมอาหารและยา ในสัดส่วนการตลาดที่เยอะมากครับ ขอเกริ่นไปที่ อุตสาหกรรมอาหารและยาก่อน เป็นอุตสาหกรรมที่มีความละเอียดอ่อน ความสะอาดสูง ภาชนะรับแรงดันต้อง Clean ต้องสะอาด ส่วนใหญ่ร้อยละร้อย จะเป็น vessel
ที่ทำมาจาก Stainless steel อยู่ใน clean room ภาวะแปดเปื้อน ภาวะปนเปื้อนต้องไม่มี บุคลากรที่เข้าทำงาน ต้องแต่งตัวมิดชิด รัดกุม มีการฆ่าเชื้อโรคอย่างดี รวมไปถึง อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ทุกอย่างห้ามแปดเปื้อน หรือปนเปื้อน ลงในระบบการผลิตอันเป็นหัวใจหลักสำคัญ
ที่ทำมาจาก Stainless steel อยู่ใน clean room ภาวะแปดเปื้อน ภาวะปนเปื้อนต้องไม่มี บุคลากรที่เข้าทำงาน ต้องแต่งตัวมิดชิด รัดกุม มีการฆ่าเชื้อโรคอย่างดี รวมไปถึง อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ทุกอย่างห้ามแปดเปื้อน หรือปนเปื้อน ลงในระบบการผลิตอันเป็นหัวใจหลักสำคัญ
แน่นอนครับ เรากำลังจะพูดต่อไปถึง อุปกรณ์ที่เรานำมาใช้ ในงานวัดความหนา อันเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจรับรอง ภาชนะรับแรงดันในอุตสาหกรรมอาหารและยา นั่นคือ จารบีที่เรานำมาใช้ในงานวัดความหนานั่นเอง หัวใจในการส่งคลื่นเสียงอัลตราโซนิค จากเครื่องวัดความหนา วิ่งลงไปในชิ้นงานที่ทำการตรวจวัด ต้องผ่านสสารตัวกลางที่นำคลื่นวิ่งลงไป หรือที่เราเรียกกันว่า Couplant หรือว่าสารตัวนำคลื่น นั่นเอง ซึ่งสารตัวนำคลื่นนี้ ที่นิยมใช้กันมากนั้น ต้องมีคุณสมบัติคือ นำคลื่นได้ดี มีความหนืดเล็กน้อย เกาะติดกับวัสดุหรือพื้นผิวที่เราจะทำการตรวจสอบความหนาได้ดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็คงจะไม่พ้นคุณสมบัติของ จารบีนั่นเอง ที่เราพบเห็นเป็นส่วนใหญ่
ทีนี้ประเด็นก็คือ ถ้าเป็นงานตรวจวัดความหนาภาชนะแรงดัน ในโรงเหล็ก โรงงานอุตสาหกรรมหนักทั่วไป ก็ไม่มีอะไรน่าขบคิด ไม่มีอะไรพิสดาร แต่ที่นี้…ถ้าเป็นอุตสาหกรรม อาหารและยา คำถามคือ จะเอา จารบีไปแปดเปื้อนไปปนเปื้อนได้หรือไม่ครับ คำตอบแบบ 100% เลยคือไม่ได้ครับ งานประเภทนี้เป็นงานจำเภทเฉพาะเจาะจง แน่นอนว่าจารบีที่ทาง กาก้า เลือกใช้งาน ต้องเป็นจารบีที่ใช้กับอุตสาหกรรมอาหารเท่านั้น หรือ จารบี Food grade เท่านั้นครับ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและยา(แน่นอนครับ ว่าเฉพาะ ราคาจารบี ที่เรานำมาใช้ นั่งนับนิ้วก็ เลขสี่หลัก/งานครับ เฉพาะจารบีนะครับ ไม่นับวัสดุสิ้นเปลืองอื่น ทั้งนี้ ทั้งนั้น เป็น จารบี food grade เท่านั้น)ไม่ใช่ว่า อยู่ดีๆ ท่านจะเอา จารบี ตราจระเข้ เข้ามาทำงาน หรือ ว่าจารบี รุ่นใหม่ล่าสุด ของ Trane เข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมประเภทนี้ แบบนั้นไม่ใช่นะครับ ผิดประเภทครับ เครื่องจักรเป็นร้อยล้าน clean room ลงทุนกันเป็นเท่าไหร่ ลองหลุดเข้าไปนิดเดียว กับชื่อเสียงของโรงงาน ไม่คุ้มกันเลยครับ ก่อนจ้างงาน ตรวจสอบ พิจารณา สอบถามกันก่อนครับ วิศวกร หรือทีมงานที่เข้ามา มีความรู้ ความเข้าใจในงานตรวจสอบนั้นๆ ขนาดไหน
|
(บน) เปรียบเทียบ และดูกันชัดๆครับ บนซ้าย-งานอุตสาหกรรม อาหารและยา จารบีที่เราใช้ทำงาน ต้องเป็น Food grade เท่านั้น Certificate จารบี ต้องมี อีกทั้ง MSDS มีพร้อม กาก้า ยอมลงทุนสำหรับงาน เรารู้ดีว่าโรงงานเป็นร้อยล้าน จะมาเสีย เพราะงานแบบนี้ไม่ได้ครับ เปรียบเทียบ บนขวา-จารบี ตราจรเข้ ซื้อ 1 กระปุก แถมเสื้อ 1 ตัว จารบีแบบนี้ สำหรับ งาน site วัดความหนา outdoor ครับ
|
แต่ไม่ได้หมายความว่า จารบี Food grade นี้…ทานได้ หยิบเข้าปากทานได้นะครับ ไม่ใช่แบบนั้น ความหมายของ จารบี food grade คือ ยอมอนุญาต หรือ ยอมให้สามารถ ปนเปื้อนได้ในปริมาณ ที่ยอมรับได้ นั่งเองครับ และแน่นอนครับ ว่าเรื่องแบบนี้ เราไม่เคยมองข้าม และตลอดเวลาที่เราจะให้คำแนะนำ โรงงานผู้ประกอบการครับ งานตรวจสอบ รับรองภาชนะรับแรงดัน ถ้ามีงานวัดความหนา ในอุตสาหกรรมอาหารและยาเมื่อไหร่
- อุปกรณ์ วัสดุที่ทาง กาก้า ใช้ เกี่ยวเนื่องโดยตรงครับ อย่างที่เรียนไว้ เล็กๆน้อยๆ เราไม่เคยมองข้าม อุตสาหกรรมอาหารและยา ต้อง Food grade จารบีเท่านั้น ไม่มีจารบี ตราจระเข้เด็ดขาด
- รายการคำนวณ เพื่อเปรียบเทียบความหนา มีแนบกับรายงานวัดความหนา เพื่อตรวจสอบผลความหนา ไม่ใช่ รายงานวัดความหนาอย่างเดียว
- บุคลากร ทางกาก้า ที่เข้าทำงานที่หน้างาน สามารถอธิบายลักษณะงาน ได้ชัดเจน การแปรผล วิเคราะห์ผล
- เครื่องมือวัดความหนา ของกาก้า สอบเทียบ หรือ Calibrateจากหน่วยงานของรัฐ ที่ได้ ISO 17025 ทุกๆ 6 เดือนครับ สำคัญเลยครับ ใบ certificate หรือ ใบสอบเทียบ ใบ calibrate เราแนบติดกับตัวเครื่องตลอด ท่านสามารถเรียกดูได้ทันที
ประสบการณ์งานภาคสนาม ส่วนที่หนึ่ง+องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรม ส่วนที่สอง+Service mind ส่วนที่สาม เท่านี้ คงเพียงพอ ที่จะเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญ เพื่อช่วยให้โรงงานของท่าน มีมาตรฐานการผลิต และที่สำคัญ มีความปลอดภัย อันเป็นหัวใจของการทำงานครับ เพราะที่ กาก้า เราไม่เคยหยุดนิ่งWe’re driving the future ตามสโลแกน ของเรา KAKA ENGINEERING.
- อุปกรณ์ วัสดุที่ทาง กาก้า ใช้ เกี่ยวเนื่องโดยตรงครับ อย่างที่เรียนไว้ เล็กๆน้อยๆ เราไม่เคยมองข้าม อุตสาหกรรมอาหารและยา ต้อง Food grade จารบีเท่านั้น ไม่มีจารบี ตราจระเข้เด็ดขาด
- รายการคำนวณ เพื่อเปรียบเทียบความหนา มีแนบกับรายงานวัดความหนา เพื่อตรวจสอบผลความหนา ไม่ใช่ รายงานวัดความหนาอย่างเดียว
- บุคลากร ทางกาก้า ที่เข้าทำงานที่หน้างาน สามารถอธิบายลักษณะงาน ได้ชัดเจน การแปรผล วิเคราะห์ผล
- เครื่องมือวัดความหนา ของกาก้า สอบเทียบ หรือ Calibrateจากหน่วยงานของรัฐ ที่ได้ ISO 17025 ทุกๆ 6 เดือนครับ สำคัญเลยครับ ใบ certificate หรือ ใบสอบเทียบ ใบ calibrate เราแนบติดกับตัวเครื่องตลอด ท่านสามารถเรียกดูได้ทันที
ประสบการณ์งานภาคสนาม ส่วนที่หนึ่ง+องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรม ส่วนที่สอง+Service mind ส่วนที่สาม เท่านี้ คงเพียงพอ ที่จะเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญ เพื่อช่วยให้โรงงานของท่าน มีมาตรฐานการผลิต และที่สำคัญ มีความปลอดภัย อันเป็นหัวใจของการทำงานครับ เพราะที่ กาก้า เราไม่เคยหยุดนิ่งWe’re driving the future ตามสโลแกน ของเรา KAKA ENGINEERING.