ภาคทฤษฎี ของ Safety valve ฉบับ Air receiver tank
หลังจากที่ตอนที่แล้ว (Safety valve ภาค 1) เราได้ทำความรู้จัก กับลักษณะ รูปร่างหน้าตา และหลักการทำงานเบื้องต้น ของเจ้ากลอุปกรณ์นิรภัยแบบระบาย หรือว่าเจ้า Safety valve กันไปแล้วนั้น มาฉบับนี้เราก็มาลงลึกกันอีกซักนิดหนึ่ง ถึงรายละเอียด หรือว่า Detail ของมัน ซึ่งทางเราได้รวบรวมคำถามต่างๆที่ทางกาก้า พบเจอที่หน้างานบ่อยๆ เวลาที่เราออกไปทำการทดสอบ Safety valve หรือว่าเวลาออกไปทดสอบถังแรงดัน, ถังลม, air receiver tank ให้กับทางลูกค้า หรือว่า ผู้ประกอบการต่างๆ เราพบกับคำถามต่างๆมากมายครับ จะเรียกได้ว่าเป็น FAQ หรือว่า เป็นคำถาม ที่ถามกันบ่อยๆ(Frequency Ask Question) ออกมา ทางกาก้า เราจึงรวบรวมออกมาเป็น knowledge เล่าสู่กันฟังในฉบับนี้นั่นเองครับ
Safety valve ก็มี Code มีมาตรฐานสากล รับรองครับ
เช่น เดียวกับ Pressure part ในส่วนอื่นๆ |
Question ถังของผมมีขนาดความจุ XXX ลิตร, หรือว่าจุ เท่านี้ลิตร Safety valve ผมใช้ขนาด size นี้ได้หรือไม่ครับช่าง? Answer การพิจารณาคร่าวๆ ว่าถังแรงดันของท่าน ขนาดเท่านี้ จะใช้ safety valve ขนาดเท่าไหน หลักการสำคัญ ในการพิจารณาเลยคือ Code ครับ เพราะ Code จะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่ง ทุกอย่าง เป็นระเบียบแบบแผนการปฏิบัติ เช่น หากถังแรงดัน ของท่าน ออกแบบตาม ASME section VIII, Div 1. ท่านก็ต้องไปพิจารณาตาม Appendix 11, Capacity Conversions for Safety Valves เช่น ถังลม, ถัง LPG, ถังก๊าซทอดไข่เจียว เป็นต้น หรือว่าหากว่าระบบของท่าน เป็นระบบทำความเย็น Safety valve ของท่าน ก็ต้องไป meeting requirement ในส่วนของ ASHRAE 15, Appendix H เป็นต้น เพราะในตัว Code จะระบุ ไว้อยู่แล้วถึงวิธีการในการที่จะคำนวณหา Orifice หรือ พูดง่ายๆคือ sizing พร้อมกับ อัตราการระบายความดันในแต่ละ fluid medium แต่ละความดันทำงาน แต่ละพื้นที่รับแรงดัน แต่ละวัสดุ ท่านจะไป Assume หรือ นั่งเทียนเองไม่ได้นะครับ ว่าอ้าวช่าง Safety valve ถังลม ผมขนาด 1 นิ้ว ผมเอา Safety valve ของถัง LPG ขนาด 1 นิ้ว หรือว่าขนาดเดียวกันมาใช้แทนไม่ได้เหรอครับ….ไม่ใช่นะครับ วิศวกร ต้องคำนวณออกมาเป็นรายการคำนวณ เพื่อแสดงให้เห็นได้ว่า สารตัวกลางต่างกัน ความสามารถในการระบายต่างกัน ไม่ใช่ว่าความดันใกล้เคียงกัน เอามาใช้งานแทนกันได้เลย เห็น sizing มันเท่ากัน ไม่ถูกนะครับ ยกหูโทรศัพท์มาคุย มาปรึกษา กับเราดีกว่าครับ รายการคำนวณ พร้อมที่จะส่งให้ท่านทันทีครับ พร้อมคำอธิบาย |
Question เราดูจากสภาพภายนอก ได้หรือไม่ครับช่าง ว่า safety valve เราสามารถใช้งานได้ต่อไป?
Answer คำตอบคือ ไม่ได้ครับพี่ พี่จะไปดูยังไงครับ ดูจากภายนอกแล้วตอบว่า ช่างครับ….ผมดูสภาพแล้ว safety valve มันยังใหม่อยู่ ไม่ต้องทำการทดสอบหรอกครับ….อ้าว แล้วแบบนี้ พี่รู้ได้อย่างไรครับว่ามันทำงานได้ตามปกติ เพราะหลักการทำงานของ Safety valve เบื้องต้น เป็น ระบบแมคคานิค พี่ไม่ได้ทำให้ กลไกของระบบแมคคานิค ทำงาน แล้วจะทราบได้อย่างไรครับ จริงหรือไม่
ถอดครับ ถอดมาTest ถอดมาทดสอบ คำตอบสุดท้าย…ให้เห็นกันครับ ให้ผู้ประกอบการเห็น การทดสอบ Safety valve ของท่าน ทำงานจริงๆ ทำงานตามที่ Nameplate กำหนด หรือ ระบุจริงๆ ทำงานที่ความดันเท่านี้จริงๆ หยุดการทำงานที่ความดันเท่านี้จริงๆ เสียคือเสีย ผ่านคือผ่าน รั่วคือรั่ว ครับ…..เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการทำงานของ กาก้า ไปเรียบร้อยแล้ว ถ้ามีการทดสอบ การรับรองถังแรงดัน ต้องมีการถอดออกมาทดสอบ safety valve ทุกครั้งครับ
Question ตอน Test safety valve เนี่ย มันควรที่จะรั่วออกมาก่อน หรือว่าควรที่จะ leak ก่อน, หรือว่ามันต้องไม่รั่ว มัน popping ไปเลยครับช่าง? Answer จะ pop หรือ จะ leak ก่อน อันไหนก็ไม่สำคัญ เท่ากับ อัตราการระบาย ณ ความดัน ที่ Safety valve ทำงานครับ อันนี้สำคัญที่สุด เพราะจะเป็นตัวที่บอกเราได้ว่า มันสามารถที่จะทำงานต่อไปได้โดยที่ความสามารถในการระบาย เป็นไปตาม Function การทำงานของมัน ถึงจุดทำงาน(Open action) ต้องทำงาน ถึงจุดปิดการทำงาน(Close action) ต้องปิดการทำงาน เป็นหลักการทางวิศวกรรม ของกลอุปกรณ์นิรภัยแบบระบาย หรือว่า safety valve นี่ล่ะครับ หรือหากเราจะย้อนไปที่บทความเกี่ยวกับ Safety valve ในฉบับที่แล้ว ก็จะพบกับ Definition ของเพื่อนชาวอเมริกันครับ ถ้าจะ pop ก็เป็นหลักการของ Safety valve หรือถ้า จะ leak ก่อนก็จะเป็นหลักการทำงานของ Relief valve หรือว่าจะ leak ก่อน แล้วพอถึงระดับ ถึงจุดหนึ่งที่หน้าลิ้น หน้า Disk ยกตัวเต็มที่ ก็จะ pop action ซึ่งก็เป็นหลักการทำงานของ safety relief valve นั่นเองครับ อันไหนก็ไม่สำคัญ เท่ากับความสามารถในการระบายแรงดัน ส่วนเกิน ของแรงดันนั้นๆนั่นเองครับ |
ถอดออกมาทดสอบครับ ถึงจะบอกได้ ว่า Safety valve ของท่าน ผ่านหรือตก ทำงานหรือไม่ทำงาน มาตรฐานการทำงานของเรา ไม่มีการดูจากสภาพภายนอกอย่างเดียว
|
Question ทำไมบางครั้ง ใน line การผลิต ไม่ได้ใช้ลม แต่ air compressor ผมทำงานบ่อยเหลือเกินครับช่าง ระบบท่อผมก็ตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ไม่พบจุดรั่ว ซึมครับ แสดงว่า air compressor ผมผิดปกติหรือเปล่าครับ?
Answer ถ้าระบบท่อ(piping system) ของท่านมั่นใจว่าไม่มีจุดรั่วซึม ลองพิจารณาดูที่ระบบถังครับ(Air receiver tank) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ตัว Safety valve ครับ หากมีการรั่วซึม ลิ้นสัมผัส บ่า หน้าสัมผัส มีการปิดไม่สนิท มีเศษปะเก็น เศษเทปพันเกลียว เศษสนิม ฯลฯ ค้างอยู่ หรือติดอยู่ ก็เป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดอาการรั่วซึมได้ครับ ทีนี้พอเราไม่ได้ใช้งาน มีการรั่วซึม Air compressor ก็ทำงานมากกว่าปกติ ค่าไฟท่านก็มากกว่าปกติ ทำงานหนักกว่าปกติ และอีกหลายผิดปกติจะตามมาครับ สาเหตุจากอาการรั่วซึม ที่ตัว safety valve นี่ล่ะครับ หลายโรงงาน ตกม้า ตายกันมามากแล้วครับ เพราะเหตุผลที่มันรั่ว หรือมัน leakage ที่หน้าลิ้นสัมผัสนั่นเองครับ
Question ถ้าผมไม่ Test ถังลม แต่ผมให้ช่าง มา ทดสอบเฉพาะ Safety valve อย่างเดียวได้หรือเปล่า?
Answer ได้สิครับ ทำไมไม่ได้ ทดสอบเพื่อความปลอดภัย งานของเราอยู่แล้วครับ Code ไม่ได้ระบุ หรือกำหนดไว้นี่ครับ ว่าทำไม่ได้ จริงหรือไม่ครับ
ชุดทดสอบ ของเรา พร้อมบริการ ทดสอบท่าน ที่หน้างาน ไม่ว่าจะเป็น Safety valve ของ Vessel ถังลม, แอมโมเนีย, คลอรีน, Refrigeration system ...etc.
Question ที่โรงงานผมนอกจากถังลม แล้วยังมี ถังแอมโมเนีย ในระบบทำความเย็น เห็นว่ามันมี Safety valve อยู่ ผมอยากให้ทางกาก้า ทดสอบ รับทดสอบด้วยหรือไม่ เพราะทางเราอยากรู้ว่ามันยังทำงานได้อยู่จริงหรือไม่ หรือ รับเทสต์เฉพาะ Safety valve ถังลมอย่างเดียว?
Answer ถ้าเป็น Safety valve เรารับทดสอบแน่นอนครับ ไม่ว่าจะเป็น Safety valve ของถังลม, ถังแอมโมเนีย, ถัง LPG, ถังแอมโมเนียม แอนไฮดรัส, ถังคลอรีน หรือว่า Safety valve ที่ติดตั้งในระบบท่อ(piping system) และอีกสารพัดรูปแบบของ Safety valve ที่ท่านอยากทดสอบ โดยอ้างอิงหลักการทางวิศวกรรม พร้อมทดสอบที่หน้างาน หน้าsite หน้าโรงงานของท่านครับ ไม่มีการถอดออก แล้วนำกลับ หรือ นำออกจากโรงงานมาทดสอบครับ เราทดสอบกันที่หน้างานเลย มีวิศวกรควบคุมการทดสอบทุกครั้งครับ
และอีก สารพัดคำถามที่น่าสนใจครับ แต่ด้านบนดังกล่าวมาแล้ว เป็นคำถามยอดฮิต สำหรับการไปที่หน้างานของทาง กาก้าเราครับ เอาเป็นว่า เพื่อนสมาชิกที่ติดตาม มาถึงตรงนี้ แล้วมีคำถามเพิ่มเติม สงสัย อยากจะถามต่อไป หรือว่าค้างคาใจมานานแล้วล่ะ อย่าเขิน อายที่จะถาม…..อายครู ไม่รู้วิชา อายภรรยา ไม่มีบุตร……ยกหูโทรศัพท์ มาคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ สายตรงที่ฝ่ายวิศวกรรม ได้โดยตรง 087 7000 121 หรือทาง E-mail บริษัท ได้โดยตรง [email protected] ทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคสนาม เราพร้อมให้บริการท่าน