งานทดสอบ Safety valve ประเภทอื่นๆ
ว่างเป็นไม่ได้ครับ ว่างเป็นเมื่อไหร่ เจ้านายสั่งให้ต้องมาเขียนบทความ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนประสบการทำงาน ให้เพื่อนสมาชิกอ่านกัน สนุกสนาน พักผ่อน และผ่อนคลาย ยามว่าง เข้ามาหาความรู้กัน ทางด้านแรงดันนั่นเองครับ ตามสไตล์ บริษัท กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ของพวกเราครับ ไม่เน้นศัพท์เชิงวิศวกรรมมากเกินไป หรือน้อยเกินไป สอดแทรกความรู้ และสาระ ในตัวบทความ เน้นเผยแพร่ ความรู้ทางด้านวิศวกรรม ในงานที่เราถนัดครับ หลังจากที่เดินหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ตลอดมาในวงการทดสอบ ทางด้านแรงดัน ที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ เราค่อนข้างดีใจครับ ที่หลายๆที่ มีเพื่อนสมาชิกโทรศัพท์มาสอบถามพูดคุยกับเรา เกี่ยวกับงานทดสอบมากขึ้น ซึ่งก็ตรงกับวัตถุประสงค์ นั่นเองครับท่านมาที่นี่ ท่านต้องได้ความรู้กลับไปนั่นเองครับ ในโลกออนไลน์ การสื่อสาร เป็นไปได้อย่างรวดเร็วแบบนี้ เพื่อนสมาชิกหลายท่านแจ้งเข้ามาครับ ว่าบทความของทางกาก้า มีเพื่อนสมาชิก Copy นำไปเผยแพร่ที่อื่นด้วย รวมถึง รูปภาพ รูปงานต่างๆ ที่อยู่ในเวบไซท์กาก้า มีการ Copy ไปลงที่อื่น บริษัทอื่น Copy รูปไปบ้าง แล้วไปอธิบายเอาเอง หรือบางที่ Copy บทความ คำพูด แบบยกทั้งย่อหน้าไปเลย….ทางบริษัท กาก้า ไม่ว่าอะไรหรือครับ….ครับ เรียนกันตามตรง ว่าทางเรา ยินดีครับ ที่จะให้นำไปเผยแพร่ ไม่ได้หวง ไม่ได้สงวนลิขสิทธิ์ใดๆครับ ท่านสามารถ Copy ทั้งบทความทั้ง ภาพถ่าย รูปถ่ายไปได้เลยครับ ทางเจ้านายอนุญาต อย่างเต็มที่ครับผม ความรู้ที่ดี เราจะหวงไว้ทำไม จะเก็บ จะกั๊กเอาไว้ทำไม จริงหรือไม่ครับ
นอกเรื่องกันมานาน เข้าเรื่องราวของบทความในวันนี้ครับ เพื่อนสมาชิก เวลาที่ทางทีมงานภาคสนามของเราออกไปทำงาน หลายต่อหลายท่าน สอบถามกันมามากมายครับ เกี่ยวกับงานทดสอบ Safety valve ว่าทางกาก้า ทดสอบ Safety valve เนี่ย…รับทดสอบ หรือ สามารถทำการทดสอบ Safety valve แบบอื่นๆ หรือ ถังแรงดันอื่นๆ หรือ Safety valve ประเภทอื่นๆ ได้หรือไม่/ด้วยหรือไม่ เห็นในบางที่ รับเฉพาะ ทดสอบถังลม หรือว่า Air receiver tank มีวิศวกรมายืนถ่ายรูปอย่างเดียว Safety valve ก็ไม่ทดสอบ แล้วรู้ได้อย่างไรว่า ทำงาน/ไม่ทำงาน ก็แปลกดีครับ หรือบางที่ เพื่อนสมาชิกแจ้งไป เป็นถังแรงดันประเภทอื่นนะ ไม่ใช่ถังลมนะ เป็น Safety valve ของระบบแรงดันอื่น ถังอื่น สามารถที่จะทดสอบได้หรือไม่…หลายที่กลับหนี ไม่รับ หรือ ทดสอบไม่ได้นั่นเองครับ ซึ่งทางกาก้า เราก็แปลกใจครับ ว่าทำไมทดสอบไม่ได้ล่ะครับ บทความเรากระจ่าง และชัดเจน ตั้งแต่ทฤษฎี หลักการทำงานของ Safety valve หลักการทางด้านแรงดัน แต่หลายที่กลับไม่รับ เพราะทำไม่ได้นั่นเอง…ดังนั้น ทางเรา จึงขอนำตัวอย่างคร่าวๆ ของงานที่เราทดสอบมา คือ ทดสอบเจ้า Safety valve ที่ผ่านมา แค่ส่วนหนึ่ง มาให้ชมกันนั่นเองครับ ว่านอกจาก Safety valve ของเจ้าถังลม หรือว่า Air receiver tank แล้วนั้น ยังมีแบบอื่น ประเภทอื่นอีกมากครับ เราเจองานมาเยอะครับ ไปชมกันเลยครับ |
Safety valve ของ Autoclave/ภาชนะรับแรงดัน จากไอน้ำ Safety valve ของถังอบ หรือ ภาชนะรับแรงดัน จากไอน้ำ หรือบางที่ เรียกว่า Autoclave ครับ…เป็นประเภทแรก และอีกหนึ่งประเภทที่ ไม่ใช่ถังลมที่เราคุ้นเคย 15 Bar(g) หรือ 220 PSI โดยประมาณ/ ลองขึ้นขื่อว่าเป็นภาชนะรับแรงดัน แน่นอนว่า Safety valve ทดสอบแน่นอน โดย Autoclave ก็เป็นอีกหนึ่งครับ
ทดสอบอย่างไร ถอดออกมาทดสอบครับ คำตอบสุดท้าย ไม่มีการพินิจด้วยตาเปล่า หรือ Visual ด้วยตาเปล่า ดูสภาพภายนอก แล้วมานั่งเทียนบอกนะครับ ว่า Safety valve สภาพดีอยู่ แบบนั้นไม่ดีแน่ๆครับ ผู้ประกอบการเอง ต้องกำกับการ ดูแลการทดสอบด้วยนะครับ Autoclave แบบนี้ เราถือว่าเป็น ภาชนะที่รับแรงดัน จากไอน้ำ และทุกครั้ง ทุกปี ที่ทำการทดสอบ แน่นอนว่า Safety valve เราถอดออกมา ทดสอบให้ท่านทุกครั้งครับ |
Safety valve ของ LPG Storage tank
[บนซ้าย] ขนาดถัง บรรจุคร่าวๆโดยรวมครับ 2 ใบรวมกัน มากกว่า แสนสองหมื่นลิตร แน่นอนว่า ข้างใน vessel คือ lpg ล้วนๆ
[บนขวา] การออกแบบ Safety valve เป็นลักษณะเฉพาะ ใช้กับ lpg |
[บนซ้าย] งดอุปกรณ์ อิเลคทรอนิคส์ ทุกประเภท ขณะทำงานกับ lpg ถึงเป็นที่มาหลายท่านสงสัย ใช้เกจ แรงดันแบบเข็ม แทนที่ ดิจิตอล อันมีแหล่ง สามารถเกิดประกายไฟ จากวงจร และตัวแบตเตอรี นั่นเองครับ
|
Safety valve ของถังบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือว่า LPG แบบนี้ เราก็ทดสอบครับ 19 Bar(g) หรือ 275 PSI โดยประมาณ หลายท่านสอบถาม ได้ด้วยเหรอครับ ทดสอบได้ด้วย…ครับ ทดสอบได้สิครับ จะขนาดใหญ่ จะขนาดเล็ก ขอให้เป็น Safety valve ขอให้บอกเราสิครับ งานถนัดของเรา ซึ่งความพิเศษ ของเจ้า Safety valve ที่ใช้สำหรับถัง LPG แบบนี้ นอกเสียจาก จะมีแรงดันแล้ว ในการทดสอบ ยังต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบ ที่สามารถทำให้ไฟติด หรือติดไฟได้ด้วยนั่นเอง อันตรายมั้ย…อันตรายแน่นอนครับ ส่วนจะทดสอบอย่างไร แบบไหน ท่านปล่อยให้เป็นหน้าที่กาก้า นั่นเองครับจะถัง LPG ถังเล็ก ถังใหญ่ ไม่ใช่ปัญหาในการทดสอบครับ เราค่อยๆ เขยิบแรงดันขึ้นมาเรื่อยๆนะครับ
Safety valve ของระบบทำความเย็นด้วย แอมโมเนีย
Safety valve ของ Petroleum Production
Safety valve ของระบบการผลิตปิโตรเลียม หรือว่า Petroleum Production นั่นเองครับ เป็นลำดับถัดมา ถือว่าเป็น Highlight เลยก็ว่าได้ ทำไมถึงกล่าวเช่นนั้น…เนื่องจากในระบบ ในกระบวนการผลิตปิโตรเลียม มีส่วนของความดันหลายขั้นตอน ไล่กันตั้งแต่ระบบ piping ไปจนกระทั่งหอกลั่น ตามลำดับ มากบ้าง น้อยบ้างตามลำดับ ยกตัวอย่างอย่างที่เรานำมาให้ชม ว่าทางกาก้า เราทดสอบกัน ตั้งแต่ 30 Bar(g) หรือว่า 435 PSI โดยประมาณ…ไล่ ตามลำดับ ยาวกันไปจนกระทั่ง แรงดันทดสอบ แรงดันสูง ที่ระดับ 92 Bar(g) หรือว่า 1,334 PSI นั่นเองครับ !!!
[บนซ้าย] Nameplate set pressure 38.5 bar(g) หรือ 560 PSI โดยประมาณ Blow down 10% SP
[บนขวา] พระเอกของงาน 92 bar(g) หรือ 1,344 PSI โดยประมาณ งานค่อนข้างอันตราย ถึง อันตรายมาก สำหรับแรงดันขนาดนี้ ทุกอย่างต้องรัดกุม ในทุกขั้นตอนการ ทดสอบครับ |
ขึ้นหลัก พัน PSI เลยเหรอครับ, ทำไม ไปทดสอบอะไร แรงดันสูงขนาดนั้น, ทดสอบได้ด้วยเหรอครับ แรงดันระดับนั้น หรือว่า ใช้อะไร ทดสอบครับนายช่าง, Safety valve อะไรกัน ทำไมแรงดันมันมากมายตั้ง 90กว่าบาร์ หรือว่า ทำไม เล่นกับแรงดันสูงขนาดนั้นนายช่าง ฯลฯ มากมายหลายคำถามครับ ที่เพื่อนสมาชิกถามเรามา เวลาได้ยินมาว่า ทางทีมงานภาคสนามเรา ทำงานทดสอบ Safety valve ที่แรงดันสูงขนาดนี้ อันตรายขนาดไหน คงไม่ต้องพูดถึงมากครับ ทุกอย่าง อุปกรณ์ ชุดทดสอบ ต้องรัดกุม และ เซฟตี้หมด ที่สำคัญ เราทำงานกันใน field หรือ ภาคสนามแบบนี้ พึงระลึกเสมอ ว่ากำลังทำงานกับแรงดันสูง ต้องไม่ประมาทครับ 130 PSI เราว่าเยอะแล้ว เราว่าอันตรายแล้ว นี่เราทดสอบกันหลัก สิบเท่า หรือว่า 1,300 PSI นั่นเองครับ ทางเจ้าของงานกระซิบ แจ้งกับเราด้วยครับ เคยติดต่อไปบางที่ ไม่รับงานครับ ด้วยเหตุผลที่ว่าแรงดันสูงจัดนั่นเองครับ จะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ ทางเรายังมองว่าฟังไม่ขึ้นนั่นเองครับ เรื่องงานทดสอบ Safety valve ท่านสบายใจได้ และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเราครับ
|
แต่สำหรับที่กาก้า ของพวกเรา ไม่ใช่ปัญหาครับ งาน engineering ถูกออกแบบมาตาม มาตรฐาน ตาม code ในแต่ละงานนั้นๆ การทดสอบเราก็ทำตามมาตรฐาน ตาม code นั้นๆ พิจารณา มีการปรับตั้งหรือไม่ Name plate มี set pressure เท่าไหร่ หรือแม้แต่ Blow down เท่าไหร่ ทำตามขั้นตอน ทำตามมาตรฐาน ภายใต้การควบคุมงาน มีวิศวกรควบคุมงานอยู่หน้างาน ที่สำคัญ Pressure gauge ที่นำมาใช้ เรามีทั้งแบบเข็ม หรือว่า analog เทียบเคียง ควบคูกไปด้วยแบบ Digital เพื่อการ set pressure ให้แม่นยำถูกต้อง ตาม set pressure และตาม Blow down นั่นเองครับ…. แอบกระซิบ กันนิดครับ หลายท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ ทางทีมงานภาคสนามเรา เคยมีเพื่อนสมาชิกมาแอบถาม เลียบๆเคียงๆถามครับ ว่าไปซื้อ digital pressure gauge มาจากไหน ไม่เห็นมีขายที่คลองถมเลย ลักษณะอยากทำบ้าง อยากทำการทดสอบแบบกาก้า บ้างนั่นเองครับ เพราะ pressure gauge ที่เราทดสอบ งานในระดับทดสอบ Safety valve แบบนี้ เราทดสอบ ปรับกันระดับจุดทศนิยมครับ อย่าง Nameplate เขียน Blow down 9.2 Bar(g) ท่านจะอ่านค่าละเอียดได้อย่างไร จริงหรือไม่ครับ บางครั้งจึงไม่แปลกใจที่ทางเรา เจอเพื่อนสมาชิก แอบมาเลียบๆเคียงๆถามความรู้ทางด้านการทดสอบครับ เรียนกันตรงๆ ไม่ต้องเขินอายครับ เรายินดีให้ยืมครับ อุปกรณ์ เครื่องไม้ เครื่องมือต่างๆ ทางเราไม่หวงนั่นเองครับ มาหยิบยืม ได้เลย สำหรับเพื่อนสมาชิกที่ อยากทำการทดสอบแบบเรา นั่นเองครับ อย่าง Digital pressure gauge ของเรา ที่ใช้ เป็น digital ที่ใช้สำหรับ test โดยเฉพาะนั่นเองครับ ที่สำคัญ เรามีทุกย่านความถี่ ในการทดสอบ ตั้งแต่ 0 – 10,000 PSI ครับ ทั้ง analog ทั้ง digital เราสอบเทียบหมดทุกๆ 1 ปี เพื่อมาตรฐานงานในการทดสอบสูงสุดนั่นเองครับ |
ก่อน Commissioning ทุกอย่างพร้อม Safety valve เตรียมตัวทดสอบ ก่อนการนำไปติดตั้ง ผ่านคือผ่าน ไม่ผ่านคือไม่ผ่านครับ
[บนซ้าย] กลายเป็นมาตรฐาน ในการทำงาน ไปแล้ว สำหรับ การทดสอบ Safety valve ของกาก้า Analog คู่ Digital pressure gauge ที่สำคัญ เรามีทุกย่านความดัน แรงดันทดสอบ
[บนขวา] เราพร้อมเดินทาง ทดสอบ ทั่วประเทศไทย เพื่อผืนแผ่นดินไทย โดยวิศวกรชาวไทยครับ |
ครับ บทสรุปเนื้อหา ฉบับนี้ ท่านได้พบ ได้เห็นตัวอย่างแปลกๆ หรือ งานแปลกๆ ของการทดสอบ Safety valve ประเภทของระบบ ท่อ ถัง แรงดันอื่นๆนอกจาก ระบบของ ถังลม หรือ ว่า Air receiver tank ที่ทางกาก้าเรา เป็นผู้นำแรกๆ ในการทดสอบจริง นั่นเองครับ และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการทดสอบครับ เรายกมาให้ท่านเห็น แบบลักษณะแปลกๆ ว่าทดสอบได้นะ ควรจะทดสอบนะ เพื่อความปลอดภัย ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่กาก้าปลอดภัยนะครับ แต่เพื่อโรงงานท่าน สถานประกอบการท่าน ปลอดภัยนั่นเอง ที่ยกมาให้ดู 3-4ตัวอย่าง เป็นงานทดสอบแบบแปลกๆ ไม่ค่อยได้เห็นกัน หรือเรียกว่า High light นั่นเองครับ ยังมีอีกมากมายหลายประเภท คุยกับสามวัน สามคืนไม่จบแน่ครับ สายตรง ออฟฟิสเราครับ ทีมงานภาคสนาม เราพร้อมออกเดินทางทดสอบ ทั่วประเทศไทยครับ