KAKA Engineering, we're driving the future
  • Home
  • Knowledge
  • Inspection
  • Boiler/ Vessel
  • Hydrotest/Safety valve
  • Contact Us
  • ENG version
  • ASME
  • Boiler Room

งานตรวจสอบ ภาชนะรับแรงดัน คืองานของเรา


                    งานแปลกๆ งานยากๆ งานพิสดาร มาที่เราเยอะครับ ที่นี่เราทำแต่งานยาก   งานที่ชาวบ้านไม่ทำกัน และนี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง   ที่อยากจะนำเสนอเกี่ยวกับลักษณะงาน ประเภท ตรวจสอบภาชนะรับแรงดัน(Pressure vessel inspection) ซึ่งต่อไปนี้ เราขอเรียกสั้นๆ ว่า vessel  เพื่อความกระชับของบทความ แล้วจะไปตรวจสอบมันทำไมล่ะนายช่าง vessel มันก็อยู่ของมันดีๆ จะไปตรวจสอบมันทำไม…คำตอบคือ ถูกครับ ถ้ามันอยู่นิ่งๆ แต่ทีนี้ ประเด็นคือ เจ้า vessel ที่เราจะพาท่านไปชมนี้ มันอยู่ไม่นิ่งนี่ล่ะครับ  ถึงเป็นประเด็นที่เราจะต้องทำการตรวจสอบขึ้นมา เพราะสาเหตุหลัก มาจากการที่  เกิดอุบัติเหตุ ระหว่างขนส่ง ขนย้าย จากโรงงานผู้ผลิต มาติดตั้งยังหน้างาน  สภาพเบื้องต้นมีการซ่อมแซมในส่วนของ ท่อ drain หลักเรียบร้อยแล้ว(ตัด/เปลี่ยน/เชื่อม) ทีนี้ทางเจ้าของถัง ชักจะไม่มั่นใจครับ ว่าความปลอดภัย   ก่อนการใช้งานจริง มั่นใจได้อย่างไร เราอยากให้มีการตรวจสอบอีกครั้ง   มีวิศวกรเครื่องกล รับรองความปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง Test จริงนะ ทดสอบจริงนะ ไม่เอาเซ็นต์รับรองอย่างเดียว เพราะต้องการทดสอบจริง  เราเน้นถึงการทำงานจริงๆ  ก่อนวิศวกรจะลงลายเซ็นกำกับว่าอย่างนั้น
Picture
Picture
ซ้าย: vessel ที่เราจะทำการทดสอบในวันนี้ เป็นแบบ Horizontal ครับ
ขวา: เมื่อเปิด cover head ออก
Picture
Picture
ซ้าย: Nameplate ระบุ condition สำคัญมาก ก่อนการทดสอบครับ
ขวา: มี pressure vessel ที่ไหน ต้องมี safety valve ที่นั่น
                    
                            เกริ่นกันมาพอสมควร มาดูกันเลยครับว่า vessel  ของเราเป็นประเภทอะไร แตกต่างจากงานนำเสนอ ครั้งอื่นๆอย่างไรครับ เหมือน  vesselลม หรือว่า air receiver tank  หรือไม่/ คำตอบคือ ไม่เหมือนแน่นอนครับ โดยในเบื้องต้น fluid  หรือสารตัวกลาง ของไหลตัวกลางที่บรรจุใน vessel  ตัวนี้เป็น น้ำร้อน จากกระบวนการผลิต ที่นำมาหมุนวน(circulating) ในเจ้า vesselตัวนี้ระหว่างกระบวนการผลิต โดยที่มีแรงดันเกิดขี้น ซึ่งจาก Nameplate บริษัทผู้ผลิตถัง ระบุชัดเจน Body  max working pressure เท่ากับ 4   kg/cm2  หรือ ว่า 4 bar โดยประมาณ และ Body max working  temperature เท่ากับ 140  oC ร้อนมั้ย…ร้อนครับ มีแรงดันมั้ย…มีครับ ดังนั้น (ความร้อน+ แรงดัน) คำตอบที่ได้คือ อันตราย สิครับงานนี้ แล้วยังไม่แน่นอนว่า  ถังถูกกระทบกระเทือนมาหรือเปล่า หากไม่มีการทดสอบก่อน จะมั่นใจได้อย่างไร หากเริ่ม  start up เครื่องครั้งแรก ปริ บวม แตก หรือรั่ว จะเกิดอะไรขึ้น…ความเสียหายตามมาแน่นอนครับ ทรัพย์สินไม่เป็นไร แต่ชีวิต  เราไม่อยากให้เกิดขึ้นครับ 4 bar  กับ 140 oC เท่านี้ก็เพียงพอ ที่จะทำให้ยางรถยนต์ โตโยต้า วีโก้  ระเบิดแตกพลิกคว่ำได้ครับ และที่อุณหภูมิ มากกว่า จุดที่น้ำเดือด(100 oC) ปลอดภัย/ไม่ปลอดภัย ไม่มีใครตอบได้ครับ บริษัทประกันภัยก็ตอบไม่ได้ ท่านต้องทดสอบ  สถานเดียวครับ
Picture
Picture
ซ้าย: Safety valve ถูกถอดออก เพื่อเตรียมทำ Hydrostatic test
ขวา: Pressure gauge(คู่) ถูกติดตั้ง เพื่อเตรียมทำ Hydrostatic test
Picture
Picture
ซ้าย: เริ่มอัดแล้วครับ ไปที่ 4.0 bar(g) ก่อน(max working pressure) แล้วพักไว้
ขวา: หลังจากนั้น ขึ้นแรงดัน ช่วง step ที่ 2 ไปที่ 6.0 bar(g) แล้วคงแรงดันเอาไว้ holding times 30 นาที เพื่อพิจารณา จุดรั่ว ซึม ปริ บวม การรับแรงของถัง
OWNER: ทางเราอยากจะอัดน้ำทดสอบ หรือว่า ทำ Hydrotest ครับนายช่าง นายช่างจัดการให้ได้หรือเปล่า

 KAKA: นั่นเป็นประเด็นหลัก ที่เราจะต้องทำการทดสอบในวันนี้เลยครับ  สาเหตุหลักเรามองไปในทางเดียวกัน คือ ถังผ่านอุบัติเหตุมา  เราไม่มั่นใจว่าความสามารถในการรับแรงดัน ไหว/ไม่ไหว หรือไม่ อย่างไร จึงต้องทำการอัดครับ

 OWNER: นายช่างจะอัดเท่าไหร่ครับ ผมอยากได้ที่ 4.0  bar ครับ ตาม เนมเพลททระบุข้างตัวถัง max working pressure เลยนะครับ

KAKA: ผมจะอัดให้ที่ 6.0 bar  ครับ

OWNER: ไหวเหรอนายช่าง…..น้องๆ steam boiler เลยนะครับ

KAKA: ประเด็นหลักตอนนี้ คือมันเป็นถังใหม่เลยครับ แต่ condition คือ ความสามารถในการรับแรงดัน max  working pressure เนี่ย มันถูก design มาที่ 4.0 bar จริงครับที่ body หรือว่า shell มันออกแบบมา ดังนั้น แน่นอนว่า เราจะอัดมันที่ 1.5 เท่า ของเจ้า4.0 bar นั่นคือ 6.0 bar ที่มาที่ไป ตามมาตรฐานสากลครับผม

OWNER: เข้าใจแล้วครับ นายช่างผมเห็นด้วยครับ ได้รู้กันไปเลยครับ หน้าแปลน จุดต่อต่างๆ  จะได้มั่นใจเสียทีว่าปลอดภัยจริงๆ

KAKA: ถูกต้องครับ จะปริ บวม รั่ว ซึม แตก ก็ให้มันเกิดขึ้นตอนทดสอบ นี่เลยครับ
  อย่าให้มันเกิดความผิดพลาดขณะทำงานจริงครับ มันไม่คุ้มกัน

OWNER: ขอบคุณครับนายช่าง จัดการได้เลยครับ

                            หลังจากบทสนทนาข้างต้น ก็ได้เวลาการทำงานของเราแล้วครับ หน้าแปลน จุดบอด  ทางเข้า  ทางออก ดำเนินการปิดมันเสีย จะ block จะ blind อะไรก็สุดแล้วแต่สภาวะหน้างาน สภาวะการทำงาน สภาวะ equipment แต่ละตัว  อุปกรณ์ในส่วนที่รับแรงดันไม่ถึง  6.0  barจะถูกถอดออก และนำกลับไปติดตั้งใหม่ หลังการทดสอบ hydrostatic test เสร็จสิ้น  ให้อยู่ในสภาพเดิม สำหรับ Safety  valve จะถูกถอดออก เพื่อนำไปทดสอบการทำงาน  ว่าทำงานได้หรือไม่ ทำงานจริงหรือไม่  ทั้งนี้และทั้งนั้นเป็นเหตุและผล ทางวิศวกรรม  ถ้าท่านทดสอบแล้ว ถังทนแรงดันได้ แต่  Safety valve เอาไปทดสอบแล้ว  ไม่ทำงาน  แบบนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะมันต้องทำงาน   เพื่อระบายแรงดันในถัง  ก่อนที่ถังจะเกิดความเสียหาย มันต้องระบายออกที่เจ้า  safety valve ตัวนี้ก่อน  ถูกต้องหรือไม่ครับ ขึ้นชื่อว่า pressure  vessel ทุกประเภทครับ 
                         เราทำการทดสอบให้ทั้งระบบ  เพราะหากไม่เอาออกมาทดสอบไม่รู้ครับ  ทำงานได้จริง/ไม่ทำงาน หากทดสอบแล้ว safety  valve ไม่ทำงาน ท่านจัดการ เคลมประกัน  เคลมเจ้าของถัง เจ้าของ safety valve เลยครับ ไม่เกิดประโยชน์อะไรที่จะติดตั้ง  ของที่เสียไว้  เพื่อรอความเสียหาย ที่มากกว่าจะเกิดขึ้นได้ครับ
Picture
Picture
บน: Safety valve ประจำ vessel ถูกถอด ออกมาเพื่อทำการทดสอบ function การทำงาน ว่าทำงานได้จริงหรือไม่ ไม่มีวิธีอื่นทราบได้ นอกจากถอดออกมาทดสอบครับ
                          
                        หลังจากการทดสอบเสร็จสิ้น 6.0 bar  เรียบร้อย holding time 30  นาที ผลที่ออกมายอมรับได้ครับ ถังทนแรงดันได้ครับ หน้าแปลน(Flanges)/ปะเก็น(Gasket)/รูเกลียว(Nozzle  thread)/ช่องเปิด(Opening) ทนแรงดันได้ ทุกฝ่าย happy  ไม่พบการรั่ว ซึม ปริ บวม หรือแตกใดๆ ทีนี้ทางเจ้าของงาน  ที่ยืนสังเกตการทำงานของพวกเรามาโดยตลอดยิ้มออกเลยครับ มั่นใจได้เสียที  ปลอดภัยแน่นอน 100% วิศวกรของทางกาก้า ที่เซ็นต์รับรอง ก็มั่นใจ 100%ความปลอดภัยเช่นเดียวกัน อีกทั้ง Safety valve ที่ถูกนำออกมาทดสอบ ก็สามารถทำงานได้จริง ทำการระบายความดันตาม  nameplateระบุ ยิ่งเป็นการเสริมความมั่นใจให้อีกครั้งครับ ทุกคน happy ครับงานนี้
                        
                        นี่ล่ะครับ คือประเด็นหลักๆที่เรานำเสนอ ในส่วนของ งานบริการของทางเรา  งานแปลกๆ งานยากๆ มาบ่อยครับ ในครั้งหน้าขออุบเอาไว้ก่อนครับ  จะนำเสนองานในเชิงวิศวกรรม ที่มีความซับซ้อนมากกว่านี้  แต่จะไม่เน้นวิชาการมากเกินไป จะนำเสนอในลักษณะที่พวกเราได้อ่าน และเข้าใจ  มองเห็นภาพ เป็นไปตามหลักการทางทฤษฎี แต่ประเด็นหลักยังคงเกี่ยวเนื่องกับ Boiler และ Pressure vessel ที่เราทำกันต่อเนื่อง ของประสบการณ์กว่า 10ปี ในงานภาคสนามครับ สายตรงที่วิศวกรทดสอบของเราได้เลยครับ 087-7000-121อย่าลังเล หรือกังวลใจที่จะถาม หรือปรึกษาเรา ไม่คิดค่าถาม  ไม่คิดค่าปรึกษา ท่านเสียแต่ค่าโทรศัพท์ครับ
Picture
Picture
ซ้าย และ ขวา: บรรยากาศ สบายๆ วิศวกรภาคสนามของกาก้า กับการทดสอบ safety valve ที่ทาง owner ให้ความสนใจครับ เพราะ vessel ตัวอื่นๆที่ผ่านมา ติดตั้งมา ไม่เคยทดสอบเลยครับ ไม่รู้ว่าทำงานได้จริงหรือไม่
Picture
Picture
ซ้าย และ ขวา: Thickness measurement หรือ ความหนา เป็นส่วนที่ถูกเก็บข้อมูล ของถัง เพื่อลงใน รายงานผลการทดสอบครับ ไม่อย่างนั้น จะวัดไปเพื่ออะไร จริงหรือไม่ครับ
Powered by Create your own unique website with customizable templates.