งาน Hydrostatic test ถังแรงดัน ประเภท Cylinder
ถังเก่า cylinder เก่า เอามาโมดิฟายใหม่ เราจะรู้ได้อย่างไร มันไหว/ไม่ไหว คำว่า…ไหว/ไม่ไหว คือ…มันสามารถรับแรงดันที่เราจะใส่เข้าไปได้หรือไม่ เพราะดูจากสภาพถังแล้ว เก่าเก็บ เก่าจริงๆ บางท่านบอกอย่าดีกว่า บางท่านบอกไหวสิ มันต้องไหว บางท่านบอกว่ามันก็แค่เก่าจากสภาพ ภายในมันยังดีอยู่ และอีกหลายต่อหลายเสียงในที่ประชุม discuss กัน จนกระทั่งมาสรุปกันที่…นำมันมาทดสอบ โดย third party ที่มี qualify หรือ ที่ทำงานทางด้านนี้โดยตรง ให้จัดการให้หน่อยสิ ว่าเจ้าถังที่กองอยู่ตรงหน้าท่านเนี่ย มันไหว/ไม่ไหว ทนแรงดันได้มั้ย หากจะเอากลับมา reused ให้มันรับแรงดันใหม่อีกครั้ง หรือว่า ผมจะเอามันไป modify เพื่อการรับแรงดันใหม่อีกครั้ง
โจทย์แรกที่เราได้รับมาคือ คุณเอาไปทำ Hydrotest ได้มั้ย ทางเราอยากรู้….คำตอบคือ ได้สิครับ ไม่ว่าจะเป็น ท่อ/ ถัง/ ภาชนะบรรจุแรงดัน/ Boiler/ cylinder ต่างๆ ที่มันรับแรงดัน หรือขึ้นชื่อว่า มันมีแรงดันนั่นล่ะครับ งานของเราโดยตรงเลย ที่ไหนมีแรงดัน ที่นั่นเราชอบครับ…คำถามถัดมา 450 psi นะ ที่อยากอัดลงไปในถัง หากเป็นหน่วย bar เทียบเคียงก็ประมาณ 31 bar เลยนะ โดยประมาณ หากเทียบกับแรงดันของถังลม(air receiver tank) ที่เราใช้งานกันตามโรงงาน ลมก็เซทกันที่ 6-7 bar โดยประมาณ มากกว่า 4-5 เท่า แบบเทียบบัญญัติไตรยางศ์ อันตรายมั้ย…อันตรายสิครับ ตูมตามขึ้นมา ใครจะรับผิดชอบ นี่มันงาน engineering ชัดๆ
คำตอบคือ อย่าว่าแต่450 psi เลยครับ 4,500 psi(310 bar) เราก็ทำการทดสอบ การอัดน้ำ หรือว่า Hydrostatic test กันมาแล้ว 6,000 psi(413 bar) เราก็เล่นกันมาแล้ว หรือว่า 10,000 psi(690 bar) เราก็ทำกันมาแล้วครับ ถามว่าอันตรายมั้ย อันตรายมาก และมากที่สุด อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ให้เคลียร์ห่างออกจากพื้นที่ให้มากที่สุด ก่อนที่คุณจะทำการทดสอบ หรือว่าไปเล่น ที่ความดันระดับนั้นครับ ทุกชิ้นส่วน ทุกแนวเชื่อม วาลว์ทุกตัว equipment ทุกตัว pressure gauge ทุกตัว จะต้องถูกตรวจสอบ ก่อนทำการทดสอบมาเป็นอย่างดี ไม่ใช่นึกจะอัด Hydrotest เล่นๆก็ทำกันนะครับ ไม่ใช่ของสนุก งานอันตรายทั้งนั้น |
สภาพถัง ที่ทางเจ้าของงาน อยากทราบครับ ว่ามันจะไหว/ไม่ไหว เริ่มแรก ที่ถูกส่งมาให้เราจัดการทำการทดสอบ และรับรองครับ (สภาพดูไม่จืดครับ เริ่มแรก)
|
ถ้าท่านนึกอยากจะอัดน้ำทดสอบเอง อยากจะลองเล่นเอง ยกหูโทรศัพท์มาคุยกับเราครับ ก่อนอันดับแรกเลย ไม่คิดค่าถาม ไม่คิดค่าปรึกษาครับ ท่านเสียสตางค์ค่าโทรศัพท์อย่างเดียว ที่นี่เราไม่หวงความรู้ เราไม่หวงวิชา แต่เราห่วงเรื่องความปลอดภัยครับ โทรมาคุยกันดีกว่า สายตรงกับวิศวกรทดสอบโดยตรง ผมอยากจะอัด hydrotest/ ผมจะอัดอย่างไร/ผมต้องเตรียมอะไรบ้าง/ต้องดูตรงไหนเป็นพิเศษมั้ย/ ผมจะใช้ปั้มอะไรอัดดีครับ/ ผมไปซื้อของ ไปซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่ไหนบ้าง/ อัดที่ความดันเท่านี้ ถังจะรับไหวมั้ย และอีกสารพัด ฯลฯ คำถาม…ไม่ต้องเกร็งว่าจะใช้ภาษาที่คุยไม่รู้เรื่องครับ ที่นี่เราสนทนากันแบบบ้านๆ เป็นกันเอง ภาษาช่าง ไม่ต้องถึงกับภาษาในงานวิจัยครับ ไม่ต้องเกรงใจครับผม มีน้องๆหลายท่านที่ทำงานทางด้านนี้ โทรศัพท์มาปรึกษาเราประจำครับ เครื่องมือไม่มี มาหยิบ มายืมกันได้ครับ ไม่คิดค่าเช่า ที่ กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง เราฝึกพนักงานทุกคน ให้มีความมีน้ำใจ เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ ที่สำคัญการทำงานทุกขั้นตอนกับแรงดัน เราเน้น Safety ภายใต้หลักการทางวิศวกรรม ที่ได้ร่ำเรียนมาครับ
ต้องมั่นใจจริงๆครับ ว่าไม่มีแรงดันในถังแล้ว ก่อนทำการทดสอบ
วิศวกร ทำการตรวจสอบความหนา ของภาชนะรับแรงดัน ก่อนทุกครั้ง ที่จะทำการ Hydro test เพราะต้องนำค่าความหนาต่ำที่สุด กลับไปคำนวณ ว่ามีค่าในความสามารถ ที่จะรับแรงดัน เกินกว่าแรงดันทดสอบหรือไม่ ทุกถัง และ ทุกครั้งครับ
|
มาตรฐานการทำงาน Hydro Test ของเราครับ ต้องมั่นใจทุกครั้ง ว่าไม่มีแรงดันหลงเหลืออยู่ ภายในถังแรงดัน ที่เราจะทำการทดสอบ ไม่ว่าจะถังอะไรก็ตามแต่ เราย้ำอยู่เสมอ งานที่เราทำ เป็นงานอันตราย อุบัติเหตุในการทำงานของเราต้องเป็นศูนย์ หรือ Zero accident ไม่ว่าในกรณีใดใด ก็ตามแต่ครับ เมื่อมั่นใจว่าไม่มีแถึงจะแรงดันแล้ว ทุกอย่างถึงจะต้องดำเนินการต่อไป เรายอมเสียเวลา ดีกว่าต้องมานั่งกังวล เรื่องอันตราย จากแรงดันครับ
หลังจากนั้น เมื่อไม่มีแรงดันหลงเหลือแล้ว ไม่ใช่ว่า จะอัดได้เลยนะครับ ผิดหลักการทางวิศวกรรมอย่างมากครับ สำหรับท่านที่คิดแบบนี้ บางท่านอาจจะบอกว่า อ้าวก็มันไม่มีแรงดันแล้วนี่นานายช่าง ท่านจะรอเปลี่ยนรัฐบาลก่อนหรืออย่างไรครับ ถึงจะทำ Hydro Test น่ะครับนายช่าง คำตอบที่ได้คือ ไม่ต้องรอเปลี่ยนรัฐบาลครับ แต่ต้องรอให้วิศวกร คำนวณความสามารถในการรับแรงของถังเบื้องต้นก่อน ว่าเจ้าแรงดันที่เราจะทำการอัดลงไปเนี่ย มันมีค่าเกินกว่าแรงดันที่ถังมันสามารถรับได้อยู่ตอนนี้หรือไม่ โดยการ re calculation ความสามารถในการรับแรงดัน จากการวัดความหนาของเจ้าถังแรงดันนี่เสียก่อนครับ ถึงจะตอบได้ว่า สมควรที่จะอัด หรือไม่อัดครับ ไม่ใช่อยู่ดีๆ เอาถังมา ใส่น้ำ อัดHydrotest กันเลย แบบนั้นไม่ใช่ครับผม หลังจากวัดความหนาได้ค่าที่ต่ำสุดมา นำมาคิด คำนวณทางวิศวกรรม ผลที่ได้ในความสามารถรับแรงดัน หากมีค่าเกินกว่า yield strength ของวัสดุ ถึงจะสามารถดำเนินการทดสอบได้ครับ หากต่ำกว่า หรือใกล้เคียง นั่นหมายความว่า ท่านไม่ต้องไปอัด Hydrotest หรอกครับ ถังท่านแตกแน่ๆ มันจะกลายเป็น Burst test หรือทดสอบแบบทำลายไป ซึ่งไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการทำ Hydro Test ครับ หรือ หากคำนวณออกมาแล้ว ใกล้เคียง yield นั่นก็แปลว่า ถ้าท่านจะอัดนะ ยังยืนยันที่จะอัดอยู่ ถังท่านจะ deformation แน่ๆ บวมแน่ๆ เป็นลูกบอลลูนแน่ๆครับ แตกไม่แตกว่ากันอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องสนุกครับ Hydro Test เนี่ย |
หลังจากที่ วิศวกรได้คำนวณออกมาแล้ว ผลคือ ถังยังสามารถทนแรงดันที่เราจะทำการทำสอบได้อยู่ ขั้นต่อมา คือการเตรียมงานทดสอบครับ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ นึกจะอัดพรวดๆ ขึ้นแรงดันกันตูมๆๆ ให้ถึงแรงดันทดสอบนะครับ แบบนั้นไม่ใช่ การขึ้นแรงดันที่ถูกต้อง ท่านต้องขึ้นอย่างเป็นสเตป มีมาตรฐานกำหนดไว้อยู่ครับ ผมเคยเขียนไว้ในภาคแรกๆ ของงานบริการ Hydrostatic Test ครับ ถึงเหตุผลในการทำงาน อีกทั้ง อุปกรณ์ทุกตัวท่านต้องมั่นใจ นะครับ ว่ารับแรงดันที่จะทำการทดสอบได้ เกลียว ข้อต่อ fitting ต่างๆ ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับการรับแรงดันโดยเฉพาะ อุปกรณ์การอ่านค่าแรงดัน ต้องมีการ calibrate ทุกครั้ง หรือ มีการสอบเทียบ มาแล้วก่อนที่จะนำมาใช้งาน แต่ไม่ใช่ว่า สอบเทียบมาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว แล้วนำมาใช้งานนะครับ แบบนั้นผิดหลักการทางงานวิศวกรรมครับ สเตปการขึ้นแรงดัน/ การ Hold pressure เพื่อดูความสามารถในการรับแรงดัน/ การลง pressure ทุกอย่าง ทุกขั้นตอน มีความอันตราย พอๆกันครับ ต้องมั่นใจว่าปลอดภัยทุกครั้ง จึงจะเริ่มทำการทดสอบครับ ทุกครั้งไม่ว่าจะทำการทดสอบที่ บริษัท(ยกถังของท่าน กลับมาทดสอบที่เรา/ หรือว่าให้ทางเรา ออกภาคสนาม ไปทดสอบที่หน้างาน เช่นเดียวกัน)
|
บน/ซ้าย pressure gauge ของทาง กาก้า เอ็นจิเนียริ่งทุกตัว ทุกย่านแรงดัน
ทำการส่งสอบเทียบทุกๆ 6 เดือนครับ ตัวไหนเพี้ยน ทิ้งเลยครับ ไม่มีการเก็บ การซ่อม บน/ขวา ทั้งก่อน และหลังการทำการอัดน้ำ Bore scope จะถูกนำมาเก็บภาพ ภายในถัง เพื่อเปรียบเทียบ สภาพด้านในถัง สนิม/ แนวเชื่อม/ ความชื้น |
เมื่อขึ้นแรงดันทดสอบ คงแรงดันสอบ และ ลงแรงดันทดสอบเรียบร้อยแล้ว หากถังอยู่ในสภาพที่ไม่มีร่องรอย การปริ บวม แตก หรือรั่วซึมใดใด เป็นอันว่า สามารถทนแรงดันทดสอบได้ครับ ผ่านการทดสอบ เตรียมตัวนำถังไปทำให้แห้ง ให้เหมือนสถาพเดิมก่อนทำการทดสอบ Bore scope นำมาส่องอีกครั้ง(ก่อนทำการเติมน้ำ เพื่อขึ้นแรงดันทดสอบ เราก็จัดการ ตรวจสอบสภาพภายในก่อน เพื่อที่จะดูสภาพสนิม หรือการกัดกร่อนด้านใน ก่อนการทำ Hydro test ครับ) และเมื่อเสร็จสิ้น หลังจากนำถังไปทำให้แห้งแล้ว หากยังไม่แห้ง เมื่อส่องด้วย bore scope แล้ว ยังพบคราบน้ำ หรือความชิ้นด้านใน เราก็ยังไม่ส่งถังคืนกลับให้ลูกค้าแน่นอนครับ ถังมาสภาพไหน ต้องไปสภาพนั้น ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ นึกจะ Hydrotest ถัง เพื่ออยากรู้ว่ามันทดแรงดันได้ที่เท่านี้ เท่านั้น หรือเปล่า ก็ยกถังมาอัดกัน อย่างที่เรียนให้ทราบข้างต้นครับ หลายขั้นตอนครับ นี่แค่ความดัน 450 psi ยังวุ่นวายขนาดนี้ครับ โอกาสหน้า มีเวลา จะขอนำเสนอ งาน Hydrostatic Test หลักพัน ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือว่าประเภท 4,000-5,000-6,000 psi แบบนั้นขึ้นไปครับ ยุ่งยาก พอสมควรครับ หากท่านอยากลองทำเอง อย่าลืมโทรมาปรึกษาเราก่อนครับ หากอยากลดความยุ่งยากลง ให้เราจัดการทำให้ ก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใดครับ งานแรงดัน เป็นงานที่เราถนัดครับ