KAKA Engineering, we're driving the future
  • Home
  • Knowledge
  • Inspection
  • Boiler/ Vessel
  • Hydrotest/Safety valve
  • Contact Us
  • ENG version
  • ASME
  • Boiler Room

อีกสักครั้งกับถังลม หรือ air receiver tank

                
                มาทำความรู้จักกันอีกครับ จะเรียกถังลม จะเรียก Pressure vessel หรือจะเรียก ภาชนะรับแรงดัน หรือจะเรียก Air receiver tank ก็สุดแล้วแต่ เราๆท่านๆจะเรียกตามโรงงานนั้นๆ ไม่ต้องไป กำหนดตายตัว ให้มากมาย เพราะฟังก์ชันการทำงานเดียวกัน การออกแบบ มาตรฐาน ความปลอดภัย หลักการเซฟตี้ เหมือนๆกัน เป็นงานทดสอบของเราอยู่แล้วครับ เราเติบโตมากับ ภาชนะรับแรงดัน บอยเลอร์ pressure vessel เป็นงานที่เราถนัด ซึ่งหากจะพิจารณาตาม  พรบ.หม้อไอน้ำปี 2549 ก็จะเห็น definition ได้ว่า “ภาชนะรับแรงดัน(Pressure vessel)” หมายความว่า (1) ภาชนะปิด ที่มีความกดดันภายในภายในภาชนะและภายนอกภาชนะ แตกต่างกันมากกว่า 1.5 เท่า ของความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 103 มิลลิเมตร หรือ (2) ถังปฏิกิริยา
Picture
Picture
ซ้าย    ถังลม รถฟอร์คลิฟท์ แบบนี้ก็เป็น Air reciever tank ที่เราตรวจสอบ
ขวา    จะปั้มลม พูม่า สวอน ฟูเช็ง เข้าข่าย Air reciever tank แน่นอนครับ
                จาก definition ผ่านไป ไม่ต้องตีความให้ยุ่งยากครับ ถ้าความดันมากกว่า 1.5 bar(g)  ในถังเมื่อไหร่ เป็นภาชนะรับแรงดันทันที ทั้งระดับน้ำทะเล ทั้งบนดอยอินทนนท์(ยิ่งสูง ความดันยิ่งต่ำ ยิ่งไปกันใหญ่ ไม่ต้องคิดมากอะไรเลย) อีกทั้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง(ไม่ต้องพิจารณา ภายใน ภายนอก) มากกว่า 103 มิลลิเมตร เป็นอันเข้าข่ายหมดครับ มาวันนี้ เรามาสนใจส่วนประกอบกันดีกว่าครับ เป็นประเด็นมากกว่า

เกจวัดความดัน

Picture
เกจวัดความดัน หรือ Pressure gauge จะไซส์ไหน ไซส์ใหญ่ ไซส์เล็ก ไม่ใช่ประเด็น แต่ท่านต้องมีประจำถัง ถังใครถังมันครับ มีและต้องใช้งานได้จริงด้วย อ่านค่าได้ จะหน่วยไหน หน่วย bar, kg/cm2, PSI, MPa หรือสุดแล้วแต่ ความถนัดตามแต่โรงงานนั้นๆ ตามเครื่องจักรที่เราใช้งาน ต้องใช้งานได้จริง เพื่อที่จะดู ตรวจสอบ หรือพิจารณานั่นเอง หากไม่มี หรือมีแล้วเสีย จบเลยครับ ไม่แนะนำ วันนี้ลองพิจารณา เดินดูซักรอบ ตรวจสอบกันดูครับ มีอะไรผิดปกติกับ เกจจ์วัดแรงดันของเราหรือไม่ ราคาหลักร้อย หาซื้อได้ทั่วไป เห็นสมควรมี อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่าห้าปี ลองพิจารณาครับ scale การใช้งานของ pressure gauge ก็มีส่วนนะครับ สมมติการใช้งานปกติ ท่านใช้งาน 8 bar(g) แต่ full scale ของ pressure gauge จัดเต็มมาที่ 30 bar(g) หรือว่า ให้ลูกน้องไปซื้อ บอกว่าใช้งาน 8 bar(g) ลูกน้องก็ตามลูกพี่ ซื้อแบบ full scale มาเลย ที่ 8 bar(g) แบบนี้มีมาแล้วครับ ลองถามทางทีมช่างของทางบริษัทเราที่ออกไป ทดสอบถังลม ที่โรงงานท่านดูครับ เป็นเรื่องจริงครับ

Nameplate

Picture
                Nameplate หรือ ข้อมูลประจำถัง ถังที่ดี ถังที่ได้มาตรฐาน จะต้องมีตรงนี้ระบุเอาไว้ เพื่อข้อมูลเบื้องต้น สำหรับการพิจารณาตรวจสอบ ความปลอดภัยในการใช้งาน ข้อมูลหลักๆจะประกอบด้วย โรงงานผู้ผลิต ผลิตที่ไหน ผลิตเมื่อไหร่ serial no. อะไร น้ำหนักถัง และที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้เลย คือ working pressure และ Test pressure โดยที่ working pressure หรือในบางครั้งจะพบเป็น MAWP(Maximum Alowable Working Pressure) คือความดันที่ถังท่านจะใช้งานนั่นเอง ในถังจะต้องอยู่ในความดันเท่านี้นะ ถึงจะปลอดภัยต่อการใช้งานตามหลักวิศวกรรม ส่วน Test pressure ก็จะมีไว้สำหรับตอนที่เรา ทำการตรวจสอบ ทำการอัดน้ำ หรือว่า Hydrostatic Test นั่นเอง ไม่ใช่ว่าถังถูกออกแบบมา 5 bar(g) ยกตัวอย่าง ท่านจะมานึกสนุกบอกว่า ไหนกาก้า ลองอัด Hydro test ที่ 15 bar(g) สิครับ อัดแรงดันให้มันเกินไว้ก่อน ไม่เป็นไรหรอกครับ ถังมันทนได้…ผิดหลัก วิศวกรรม อย่างมากมายครับ ตรงนี้ มีผลโดยตรงกับโครงสร้างของถัง เนื้อวัสดุ fatigue และ stress concentration อย่างแรงครับ แบบนี้เราไม่ทำครับ งานทำ Hydro test ที่ถูกต้อง ต้องมี information ข้อมูลที่ถูกต้อง Code ที่ระบุ ในการตรวจสอบ ที่มาและที่ไป เป็นเหตุเป็นผลกันครับ

Safety valve

Picture
                Safety valve หรือ วาลว์นิรภัย ลิ้นนิรภัย หรือ กลอุปกรณ์นิรภัยแบบระบาย สุดแล้วแต่ชื่อเรียก ความถนัด ประจำจำถัง หน้าที่ของมันคือ ความดันเกินต้องทำงานทันที หมายถึงอะไร หมายถึง หากความดันในถัง มีค่าเกินกว่าที่ ความดันของ safety valve จะทำงาน เมื่อไหร่นั้น ลิ้นการทำงานของ safety valve จะต้องเปิดการทำงานในทันทีที่ความดันเกินครับ จะเปิดแบบไหน จะค่อยๆเปิด หรือว่า leakage ออกมา หรือจะเปิด/ปิด แบบ pop-action ก็สุดแล้วแต่ แต่ต้องมีการทำงานตรงจุดนี้ จะต้องทำงานได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไร คำตอบคือ ถอดออกมาทดสอบการทำงานนั่นเองครับ และสำหรับการติดตั้งประจำถัง ประจำ tank นั้นๆ ห้ามมีลิ้น หรือ Valve กั้น หรือคั่น ระหว่าง Safety valve กับตัวถังจะดีที่สุด เพราะหากมีใครไปปิดวาลว์เข้า นั่นหมายถึง Safety valve ที่เราติดตั้ง ไม่เกิดประโยชน์อะไรครับ ผิดวัตถุประสงค์ ลองเดินสำรวจดูครับ อีกทั้ง safety valve ท่าน รั่วหรือไม่ ซึมหรือไม่ ดูด้วยตาเปล่าไม่ทราบครับ ถอดออกมาทำการทดสอบครับเท่านั้น ตามหลักวิศวกรรม ทั้งการทำงานแบบ Automatic และการทำงานแบบ Manual ต้องทำงานได้ทั้งสองแบบนะครับ ห้ามมีข้อยกเว้น เพื่อความปลอดภัย อีกทั้ง safety valve ขนาดเท่าไหร่ sizeไหน จึงจะมีอัตราการระบาย ที่เหมาะสมกับถัง หรือขนาดถังของเรา ตรงนี้วิศวกรผู้ทำการตรวจสอบ ต้องสามารถคำนวณได้ ให้ถูกต้องตามหลักด้วยนะครับ(มีหลัก มี code อ้างอิง) มีหลายครั้งที่ขนาด safety valve ไม่เหมาะสมกับขนาดถัง และหลายครั้งที่ safety valve มีขนาดเหมาะสม แต่ถูกเปลี่ยน หรือถูกถอดออกเพราะความไม่เข้าใจ นั่นเองครับ

Manhole

Picture
                Manhole ในภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทยจะเรียกช่องคนลอด ก็สุดตามแต่ size ไหนถูกต้อง size ไหนเหมาะสม เหมือนกันครับ ต้องมีหลักการอ้างอิง การคำนวณอ้างอิง รวมถึงรูเจาะเปิด(opening) ต่างๆ ไม่ใช่ว่า เอ๊ะ…อันนี้เล็กไป ขอใหญ่กว่านี้ได้หรือไม่ เจาะให้มันใหญ่ๆหน่อย ได้ทำงานสะดวกดี แบบนี้เกรงว่าจะผิดหลักการไปนิดหน่อยครับ ทุกอย่างควรจะเป็นเหตุ เป็นผลกัน หน้าที่การทำงาน  เพื่อที่จะตรวจสอบด้านภายในถัง สนิม ความชื้น เศษขยะต่างๆ วัสดุที่นำมาเป็นปะเก็น(gasket) สภาพยังดีอยู่หรือไม่ อายุการใช้งาน ขึ้นกับสภาพการใช้งานครับ location สภาพหน้างาน การบำรุงรักษาแต่ละที่นั้น ไม่ตายตัวครับ วันนี้ลองเดินดูครับ สภาพความปลอดภัยของเราเป็นอย่างไร รั่วซึมหรือไม่ พิจารณาครับ fitting ข้อต่อต่างๆ ที่ใช้ อย่าลืมพิจารณาครับ เป็นข้อต่อที่ใช้สำหรับ รับแรงดันหรือไม่ ชนิดเกลียว ชนิดหน้าแปลน รวมถึงวาลว์ต่างๆ มีหลายครั้งที่การใช้งานผิดประเภท แล้วเกิดอันตราย ตรงนี้วิศวกรผู้ทำการตรวจสอบต้องตอบคำถามให้ได้ครับ


Drain น้ำก้นถัง

Picture
               
                 Drain
น้ำ ก้นถัง…จะ Auto drain หรือ Manual drain ก็สุดแล้วแต่ครับ ตรงนี้ออพชั่นเสริมครับ  ไม่มีได้มั้ยช่าง ไม่มีได้ครับ แต่น้ำที่มาจากความชื้น จาก compressor ท่านจะสะสมในถังลมนะครับ เป็นสิ่งไม่ดีครับ ถ้าไม่มีแบบ Auto ก็หาวาลว์ ball valve ติดแบบ manual เพื่อการ drain น้ำออก ทุกๆเช้าก่อนการทำงาน หรือ ทุกๆวันตามตารางบำรุงรักษาแต่ละโรงงาน เห็นสมควรครับ อายุการใช้งานได้นานขึ้น ครับ ความชื้น น้ำ กับเครื่องจักร ไม่คู่กันอยู่แล้วครับ


                    และที่เราโม้ มาทั้งหมดด้านบนนี่ก็คร่าวๆ เกี่ยวกับถังลม ที่เราใช้งานกันครับ ดูแล บำรุงรักษา ตรวจสอบให้ถูกต้อง ตาม พรบ.หม้อไอน้ำ ปี 49 มีระบุ ไว้อย่างชัดเจนครับ ลองพิจารณาครับ ตรวจสอบตามสภาพ วิศวกรตรวจสอบ ทุกอย่าง ตามรายการการทำงานด้านบน ความปลอดภัยเกิด zero accident แน่นอน เพราะเป็นไปตามหลักการทางวิศวกรรม หลักการและเหตุผล วันนี้ ลองเดินดูรอบๆโรงงานคุณครับ ห้านาที สิบนาที กับความปลอดภัยที่เราแนะนำครับ
Picture
    ทุกอย่างปลอดภัย มั่นใจเต็ม 100 อุบัติเหตุ เป็น 0
Picture
Safety valve ถูกอุดแบบนี้ ไม่ถูกต้อง
Picture
ทดสอบการทำงาน Safety valve
Picture
Hydro Test เราใช้เกจจ์คู่ ดูสง่า
ทดสอบแรงดัน ตาม Nameplate
Picture
การบ้านวันนี้ Fitting ที่ใช้ เป็น Fitting ที่ใช้สำหรับ รับแรงดันหรือไม่ครับ
Powered by Create your own unique website with customizable templates.