งานบริการ ทดสอบ Safety valve ภาค 3เรียนรู้กันไปถึง 2 ภาคแล้ว สำหรับ Safety valve หรือ ลิ้นนิรภัย หรือ กลอุปกรณ์นิรภัยแบบระบาย ที่ติดตั้งสำหรับ เจ้า Boiler และ pressure vessel มากันถึงภาค 3 นี้ จะไม่เน้นในส่วนของทฤษฎี เราจะพาไปชม action ภาคสนาม ของการทดสอบ safety valve กันครับ ภาพบางส่วน เราไม่สามารถเปิดเผย ถึงสถานที่ หรือ บริษัทผู้ว่าจ้าง ทางกาก้า เข้าไปทดสอบให้ได้ครับ เนื่องจากเจ้าของงาน ต้องการเก็บไว้ ไม่เผยแพร่ว่าอย่างนั้น หากเพื่อนสมาชิก มีโอกาส แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนเราที่สำนักงาน พอจะนำให้ชมได้ครับ 10 คำอธิบาย ไม่เท่า 1 รูปอธิบาย ไม่ต้องพูดกันมากมาย ไปชมกัน เลยครับ กับ บรรยากาศ ภาคสนาม การทำงาน ของ งานบริการ ทดสอบ Safety valve ของทาง กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง |
จะเล็ก จะใหญ่ เราทดสอบได้หมดครับ (ด้านบน) เป็นของ water tube boiler 65 TPH ขนาด 3 นิ้ว class 600 ระดับ set pressure 797.5 psi(g) หรือ 55.0 bar(g)
|
บนซ้าย: ห้ามมีวาลว์ต่อคั่นกลาง และ SV ต้องเป็นแบบ สปริงมีคานงัด สำหรับ boiler
บนขวา: เทียบกับวิศวกร กาก้า ใหญ่กว่านี้ มีอีกมั้ย ถ้ามี บอกเรา เราจะไปทดสอบให้ ด้านล่าง: เสียคือเสีย ผ่านคือผ่าน ทำงานคือทำงาน ไม่มีข้อยกเว้น จำเป็นต้องถอด ก็ต้องถอดครับ ไม่มีกรณีพิเศษใดๆทั้งสิ้น |
สำหรับ Boiler…..เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ท่านทราบหรือยังว่า สำหรับ Safety valve ของ boiler นั้น ตามข้อกำหนด ในการตรวจทดสอบฯ และกรอกรายงาน ในเอกสารรับรอง ความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำนั้น ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ลิ้นนิรภัย :- - ต้องติดตั้งที่เปลือก หรือถังพักไอ และต้องไม่มีวาล์วต่อคั่นกลาง - ต้องเป็นแบบน้ำหนักถ่วง หรือแบบสปริง ที่มีคานงัด ไม่มีคานงัดห้ามใช้หรือแบบอื่นที่สามารถตรวจสอบการเปิดได้ง่าย มีขนาดที่สามารถระบายไอได้ทันเมื่อความดันเกินกำหนด และปรับตั้งให้ระบายที่ความดันไม่เกิน 10% ของความดันใช้งานสูงสุด(Maximum Working Pressure) แต่ต้องไม่เกิน 3% ของความดันออกแบบสูงสุด(Maximum Allowable Working Pressure ) - ต้องมีไม่น้อยกว่า 2 ชุด สำหรับหม้อไอน้ำ ที่มีพื้นที่ผิวรับความร้อน ตั้งแต่ 50 ตารางเมตร ขึ้นไป หลักการ และเหตุผล ค่อนข้างชัดเจนในตัวเอง อยู่แล้ว วาล์วคั่นกลาง ต้องไม่มี เนื่องจาก กันเอาไว้ หรือ ป้องกันเอาไว้นั่นเอง ป้องกันจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไปปิดวาล์วคั่นกลางเสีย พอปิดแล้วอะไรเกิดขึ้น เท่ากับ boiler ลูกนั้นกลายเป็นระบบปิด หากความดันเกิน แทนที่ความดันส่วนเกิน จะไปออกที่ตัว safety valve ก็ไม่สามารถออกไปได้ เมื่อความดันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกิน Design pressure ของตัว Boilerเป็นอย่างไรครับ แน่นอน ตูม ความเสียหายเกิดขึ้นแน่นอน มากหรือน้อยเท่านั้นเอง ดังนั้น สำคัญเลยนะครับ ตรงจุดนี้ ไม่ว่าท่านจะอ้าง ด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามแต่ เช่น…..โธ่ นายช่าง มันสะดวก ต่อการถอดออกมาซ่อมบำรุงนะครับ หรือว่า นายช่างครับ จะทดสอบแรงดันก็สะดวก เราก็ทำการ block valve เอาเลยครับ ไม่ต้องถอด Nut &Bolt หรือว่า สลักเกลียว ให้เสียเวลาครับ Boiler ผมลูกเล็กๆ 3 ตันเองครับ ฟังไม่ขึ้นครับ ไม่ยอมรับ และ ยอมรับไม่ได้ สำหรับหม้อไอน้ำ จะลูกเล็ก ลูกใหญ่ จะ 1 ตัน หรือว่า จะ 100 ตัน ไม่มีข้อยกเว้นครับ จะแรงดันใช้งาน 4-5 bar(g) หรือว่า 40-50 bar(g) ก็ต้องเหมือนกันครับ ไม่มีข้อยกเว้น ห้ามต่อวาล์วคั่นกลาง เด็ดขาดครับ เคยมีมาแล้วนะครับ เหตุการณ์แบบนี้ และเราก็ไม่สามารถให้ผ่านได้ จะให้ผ่านได้อย่างไร ในเมื่อข้อกฎหมายระบุเอาไว้อย่างชัดเจนนี่ครับ |
หากเป็น Pressure vesselล่ะ ตรงนี้ ข้อกำหนด ไม่มีระบุเอาไว้อย่างชัดเจน หรือตายตัวครับ สามารถที่จะอนุโลม หรือผ่อนผันได้ ที่สามารถมีวาล์วคั่นกลางได้ครับ แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้น เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ของวิศวกรทดสอบนะครับ (ความคิดเห็นส่วนตัว)ค่อนข้างเห็นด้วยกับข้อกฎหมาย ของ Boiler นั่นคือ ถึงจะเป็น Vesselก็ช่างเถอะ จะเป็นถังแรงดันก็ช่างเถอะ จะเป็น ถังลม ถังพักลม ถังแอมโมเนียในระบบทำความเย็น ถังคลอรีน หรือถังอื่นๆ ที่มันมีแรงดัน เนี่ย ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง ที่จะมีอะไรมาคั่นกลาง ระหว่าง shell หรือbody กับตัว safety valve ทั้งสิ้นครับ ไม่ว่าจะ check valve, ball valve, gate valve, glove valve หรืออะไรก็ตามแต่ ที่สามารถขัดขวางการ flow ของ fluid ขณะที่ safety valve มันต้องทำงานได้นั่นเองครับ
บน : บรรยากาศ การทำการทดสอบ ภาคสนาม งานนี้เป็นการทดสอบ การทำงาน ของ safety valve ของ pressure vessel ประเภท air reciever tank จากภาพ จะเห็นว่า ลักษณะของ safety valve เป็นแบบ สปริงมีคานงัดเช่นกัน
|
บน(ซ้าย) : เมื่อเสีย ก็ต้องถอดออกมาหาสาเหตุครับ วิศวกรของเราควบคุมงานเอง จะแลปปิ้ง จะเปลี่ยนชิ้นส่วน หรือ จะ reject ไปเลย แล้วแต่อาการครับ ตอบแทนไม่ได้
บน(ขวา) : Spiral wound gasket ตาม ASME B16.5 class 150 ขึ้นไป สำคัญครับ |
ส่วนเหตุผลที่ ต้องเป็นแบบคานงัดครับ คือเพื่อต้องการให้ตรวจสอบได้ง่าย ตรวจสอบอย่างไร คือ ตรวจสอบการทำงานแบบ Manual หรือ แบบอัตโนมือนั่นเองครับ จับ ยก เปิดการทำงาน/ จับ ยก เปิดการทำงาน นั่นเอง ผู้ประกอบการ สามารถตรวจสอบเองได้ ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ตามแผน PM ได้เลยครับตรงนี้ ดังนั้นสำหรับBoiler ต้องเป็นแบบ สปริงที่มีคานงัด ไม่มีคานงัดห้ามใช้เด็ดขาด ซึ่งทางเราเคยพบเจอนะครับ ลักษณะแปลกๆ คือ เป็น safety valve ของเจ้า boiler นี่ล่ะ เป็นลักษณะ ของ สปริงที่มีคานงัด แต่ว่าเจ้าคานงัดหักไป เหลือแต่ตัว safety valve อย่างเดียว คือพูดง่ายๆ ว่าไม่สามารถ ทดสอบแบบอัตโนมือได้ นั่นเองครับ แบบนี้ ใช้ได้หรือไม่ครับ เป็นสปริงที่มีคานงัดจริง แต่คานงัดหักไป เป็นท่าน ท่านจะให้ผ่าน หรือ ไม่ให้ผ่านครับ
สำหรับ Vessel ก็เช่นเดียวกันครับ เพียงแต่ ของ vessel นั้น ไม่มีการกำหนดตายตัวนั่นเองครับ ว่าต้องเป็นแบบ มีสปริงคานงัดหรือไม่ จึงทำให้เราสามารถพบเห็น safety valve ในหลากหลายรูปแบบ ของภาชนะบรรจุแรงดันนั่นเองครับ หน้าตาก็ต่างกันไป ในต่างฟังค์ชันการทำงานนั่นเอง แต่จะหน้าตาประหลาด พิสดารอย่างไรก็ตามแต่ครับ สุดท้ายแล้ว เมื่อถึงเวลาการทำงาน แบบอัตโนมัติ ที่ไม่ใช่อัตโนมือ มันต้องทำงาน ตาม set pressure ที่ระบุ ที่กำหนดนะครับ สำคัญที่สุด สวยแต่รูป จูบไม่หอม แบบนั้นไม่ดีแน่ ผิดกับเงาะป่า ถอดรูปเป็นพระสังข์ ร่ายเวทย์มนต์เมื่อไหร่ แบบนี้จะดีกว่าครับ นี่ล่ะครับ เกร็ดเล็กๆน้อย กับงานบริการ ทดสอบ Safety valve ที่เราดำเนินการมาโดยตลอด ในงานตรวจสอบ Boiler และ ตรวจสอบ Pressure vessel หรือว่างานอื่นๆ ขึ้นชื่อว่า Safety valve ขอให้บอกเราครับ |
บนซ้าย : Safety valve ของถังแรงดัน ประเภทอื่นๆ จะเป็นประเภทไหน บอกเราครับ เราทดสอบให้ แบบอัตโนมัตินะครับ ไม่ใช่แบบอัตโนมือ
บนขวา : Safety valve แบบกลไก สปริง ไม่มีคานงัด อีกแบบหนึ่งที่สามารถพบเห็นใน ถังแรงดัน ประเภท Air reciever tank ครับ |