สารพัด สารพัน ระบบทำความเย็น(แบบใช้สารแอมโมเนีย)
อยู่ว่างเป็นไม่ได้ครับ อยู่ว่างต้องขอ update ข้อมูล กันเสียนิดหน่อย แน่นอนเหมือนเดิมว่าเราจะไม่เจาะลึก ชนิดทฤษฎี ถึงแก่นของระบบทำความเย็น แต่เรามาเหมือนเดิม ในลักษณะพูดคุยกันเสียมากกว่า สืบเนื่องมาจาก ที่ทาง กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ของเราได้ไปตรวจสอบ และออกเอกสารรับรอง ความปลอดภัยในระบบทำความเย็นมา กว่า 50 โรงงาน ทั่วประเทศไทย บางที่มีความเข้าใจ ลึกซึ้ง เก่งกว่าเราอีกครับ เช่นเดียวกัน บางโรงงานยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก หลากหลายคำถาม ที่เข้ามา เราขอสรุปสั้นๆในบทความฉบับนี้เลยครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาครับ เนื้อๆกันเลยครับ วิศวกรของเรา ไม่ใช่เซ็นต์ๆๆ อย่างเดียว โดยไม่ให้ความรู้ ให้ความเข้าใจอะไรเลยนะครับ แบบนั้นไม่ใช่ service ของทางเราแน่นอนครับ ทีนี้มาถึงบทความเรากันครับ ถูกถามที่หน้างานกันบ่อยๆครับ สรุปพอสังเขป ได้สามหัวข้อดังนี้ครับ
ทำไมต้องแอมโมเนีย แอมโมเนียมันคืออะไรนายช่าง มันระเบิดได้หรือไม่ครับ ทำไมผมต้องเติมแอมโมเนียในระบบ ปีละ 2 ถังบ้าง 3 ถังบ้างหรือว่า ถ้าแอมโมเนียรั่วออกมา มันจะมีผลอะไรครับ ประมาณนี้เลยครับ คือ สรุปว่า property หรือ สมบัติของเจ้า แอมโมเนีย เนี่ยมันเป็นยังไงนายช่าง ?
Reciever tank ในระบบ ทำความเย็น ด้วยแอมโมเนีย
|
สั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความครับ…แอมโมเนีย เป็นสารทำความเย็น ที่มี Evaporating Temp ที่สูงที่สุด ในบรรดา สารทำความเย็นที่เรานิยมใช้กันแพร่หลายทั่วโลกใบนี้ครับ ส่วนเจ้า Evaporating temp มันคืออะไร เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังต่อครับ เอาเป็นว่าตอนนี้ เข้าใจเบื้องต้นก่อน แล้วเราจะแน่ใจว่าของเราเป็นแอมโมเนียหรือไม่ วิ่งไปดูที่ระบบเราเลยครับ หรืออีกชื่อหนึ่ง ที่เรามักคุ้นเคยเวลา เราพบเห็นหรือพูดคุยกันในเรื่องของการทำความเย็นนั่นคือ R-717 นั่นเองครับ
เริ่ม งง แล้วนายช่าง สรุป R-717 กับ แอมโมเนีย ในระบบทำความเย็นโรงงานผม มันเป็นตัวเดียวกันหรือไม่ครับ คำตอบ…ถูกต้องครับ ตัวเดียวกัน แต่เป็นชื่อเรียก ทางสากล ตัว R ย่อมาจาก Refrigerantหรือว่าสารทำความเย็นนั่นเองครับ แบบที่เราเคยได้ยินชื่อ R-12, R-22, R-134a, R-502(404a) เช่นเดียวกัน R-717 คือ แอมโมเนีย ทีนี้เราคุยกับเพื่อนชาวฝรั่งรู้เรื่องแล้วนะครับ เวลาเพื่อนฝรั่งมาเยี่ยมชมโรงงานของพวกเรา |
แล้วแอมโมเนีย มันระเบิด ได้มั้ยนายช่าง ผมถามตรงๆเลยครับ…คำตอบคือ แอมโมเนีย เป็นแกสแห้ง ไม่มีความชื้นในตัวมันเอง เมื่ออยู่ในภาชนะปิด เช่น ถังแอมโมเนีย ในระบบ หรือว่าถังแอมโมเนียที่พวกเราเติมลงในระบบนี่ล่ะครับเรียกว่าภาชนะปิด เมื่อออกจากระบบที่ความดันบรรยากาศ (อากาศข้างนอก ที่พวกเรา ลุก เดิน วิ่ง นั่ง หายใจกันอยู่) เจ้าแกสแห้งตัวนี้ จะขยายตัวโดยประมาณ 850 เท่า เยอะมั้ย เยอะสิครับ เทียบกับ LPG ที่เราใช้ทอดไข่เจียวนะครับ LPG จะขยายตัว 250เท่าโดยประมาณ ดังนั้นความฟุ้ง แอมโมเนียไปไกลกว่ากันเยอะครับ ทีนี้พอขยายตัวแล้วมันติดไฟ ได้มั้ยล่ะนายช่าง…คำตอบคือ แอมโมเนีย ลุกติดไฟได้ครับ ที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส ดังนั้น ถ้าความร้อนถึง ปริมาณออกซิเยนถึง องค์ประกอบในการระเบิดถึงแน่นอน ดังนั้น อย่าให้มันร้อนระดับ 600 เซลเซียสดีกว่าครับ ให้มันฟุ้งเสียยังดีกว่า ที่อุณหภูมิบรรยากาศ นายช่างการันตีว่าไม่ติดไฟแน่นอนครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นายช่างบอกว่าให้มันฟุ้งดีกว่า ไม่ใช่ท่านจะวิ่งเข้าไปสูดดม มันเสียเต็มปอดนะครับ จาก property ของมัน คือมันเป็นแกสแห้ง อย่างที่นายช่างบอกเอาไว้ แกสแห้งจะไม่มีความชื้นในตัวมันเอง เมื่อท่านสูดเข้าไปในร่างกาย มันจะไปอยู่ที่ไหนครับ อยู่ในปอดสิครับ พอแอมโมเนียเข้าไปอยู่ในปอด จะไปหายใจออกได้อย่างไรครับ ตัวแกสแห้งดูดความชื้นออกจากปอดหมด เรียบร้อยเลยครับ อันตรายทั้งนั้นครับ ไม่ต้องลงลึกว่าต้องรั่วกี่ ppm หรือว่ากี่ %โดยปริมาตรนะครับ เอาเป็นว่าหลีกเลี่ยงครับ เชื่อนายช่าง หรือโทรตามนายช่าง ดีที่สุดครับ |
นี่ล่ะครับ เจ้าแอมโมเนีย ที่เราเติมกันในระบบ ปีละกี่ กิโลกรัมดีครับ ?
แล้วเจ้านี่ R-134a ล่ะครับ ใช่แอมโมเนีย หรือเปล่า
|
หัวข้อถัดมาที่นายช่าง มักถูกถามบ่อยครับ
ผู้ควบคุมระบบทำความเย็น: นายช่างครับ ในระบบทำความเย็นของผมเนี่ย มันมีน้ำแข็งจับที่วาลว์ครับ นายช่าง มันผิดปกติหรือเปล่า ผมต้องทำอย่างไร เอาแกสร้อน เป่าออกหรือไม่ครับ เดี๋ยวผมพานายช่างไปดูครับ ไหนๆมาตรวจสอบแล้ว ขอสอบถามความรู้หน่อยครับ ตั้งแต่เดินเครื่องมาห้าปี ก็ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร
นายช่างกาก้า: เอ้า ไหนๆก็ไหนๆครับ ผมพบคำถามนี้บ่อยมากครับ ขอเขียนเป็นบทความเสียเลยครับ ให้เพื่อนสมาชิกได้อ่านกันเลยครับ เรียนตามตรงในระบบทำความเย็นคือ เป็น ปกตินะครับ ท่านไม่ต้องไปทำอะไรมัน ที่ท่านทำได้ คือหมั่นสังเกตเจ้าน้ำแข็งที่มันจับวาลว์ ตัวที่ท่านบอกในระบบท่อ สังเกต อะไรครับนายช่าง ก็สังเกตเจ้าลักษณะของกลุ่ม ของก้อนน้ำแข็งที่มันจับนั่นเองครับ มันจะบ่งบอกถึงสุขภาพ ของระบบทำความเย็นของเรานั่นเองครับ
ขาว นวล เป็นอย่างไร ผิวแห้ง เป็นอย่างไร นี่คือลักษณะ ของสุขภาพ ระบบทำความเย็นที่ดีครับ (คลิก ที่ภาพเพื่อดูรูป ขนาดใหญ่)
หากเป็นหยดน้ำ จับกลุ่ม ลักษณะเหมือนเหงื่อออก คือ จะเป็นน้ำแข็งก็ไม่เป็น มีแค่หยดน้ำที่ condenseออกมา หรือบางครั้ง เอ๊ะ…จำได้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มันยังเป็นน้ำแข็งจับอยู่นี่นา มาวันนี้ ไม่มีแล้ว แห้งหมด หรือ มาวันนี้เป็นแค่เปียกๆ เป็นเหงื่อออก เป็นน้ำ เป็นแค่หยดน้ำที่ condense นั่นแปลว่า ระบบท่านมีปัญหาแล้วครับ ได้เวลาหาหมอครับ
อ้าว แล้วระบบที่ดีเป็นอย่างไรครับนายช่าง มีน้ำแข็งเกาะครับ ที่ระบบของผม แสดงว่าเป็นระบบที่ดี สุขภาพดี ใช่หรือไม่ครับ คำตอบให้ดูที่สภาพ หรือ ลักษณะของน้ำแข็งที่จับครับ สภาพภายนอก แบ่งเป็น สองกรณีด้วยกัน หลักๆ สังเกตด้วยตาเปล่านี่ล่ะครับ ถ้ากลุ่มของน้ำแข็งที่จับตัว ลักษณะ ขาว ใส ผิวน้ำแข็งเปียก (จินตนาการไปถึง น้ำแข็งมือ ที่เราเอามาใส่เครื่องมือหมุน ปั่นใส่ในหวานเย็นครับ) ขาว ใส แบบนี้น้ำยาในระบบเริ่มมีน้อยครับ สังเกตความเปลี่ยนแปลงเทียบกับอุณหภูมิน้ำมันเทียบเมื่อเดือนก่อนๆด้วย อุณหภูมิเครื่องจะสูงขึ้น สังเกตเห็นได้ น้ำยาดี แต่ระวังลงเครื่องนะครับ(จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามแต่ ค่อยมาต่อครับ)
แต่ถ้าน้ำแข็งที่จับตัวอยู่ ลักษณะ ขาว นวล (แบบไหน ให้นึกถึง น้ำแข็ง ขาวๆ นวลๆ แบบหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์นั่นเองครับ) ลักษณะผิวหน้าน้ำแข็ง ลักษณะแห้ง จะแตกต่างจาก ลักษณะผิวหน้าน้ำแข็ง แบบขาว ใส หรือ ผิวเปียกแบบชัดเจนครับ…หมายถึงอะไร นั่นหมายถึง สุขภาพ ของระบบทำความเย็นที่โรงงานท่าน ดีมากครับ น้ำยาในระบบเพียงพอ ความดันด้านดูด ด้านส่งปกติ เครื่องไม่หลวม คอมเพรสเซอร์ ทำงานเต็มที่ แบบนี้นายช่างสบายใจและหายห่วงครับ…เอาละครับ ถึงตรงนี้ ลองดูครับ ลองดูที่โรงงานของเรา น้ำแข็งสีอะไรครับ ลักษณะเป็นแบบไหน แล้วยกหูโทรศัพท์ มากริ๊งกร้าง พูดคุยกับนายช่างครับ
อ้าว แล้วระบบที่ดีเป็นอย่างไรครับนายช่าง มีน้ำแข็งเกาะครับ ที่ระบบของผม แสดงว่าเป็นระบบที่ดี สุขภาพดี ใช่หรือไม่ครับ คำตอบให้ดูที่สภาพ หรือ ลักษณะของน้ำแข็งที่จับครับ สภาพภายนอก แบ่งเป็น สองกรณีด้วยกัน หลักๆ สังเกตด้วยตาเปล่านี่ล่ะครับ ถ้ากลุ่มของน้ำแข็งที่จับตัว ลักษณะ ขาว ใส ผิวน้ำแข็งเปียก (จินตนาการไปถึง น้ำแข็งมือ ที่เราเอามาใส่เครื่องมือหมุน ปั่นใส่ในหวานเย็นครับ) ขาว ใส แบบนี้น้ำยาในระบบเริ่มมีน้อยครับ สังเกตความเปลี่ยนแปลงเทียบกับอุณหภูมิน้ำมันเทียบเมื่อเดือนก่อนๆด้วย อุณหภูมิเครื่องจะสูงขึ้น สังเกตเห็นได้ น้ำยาดี แต่ระวังลงเครื่องนะครับ(จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามแต่ ค่อยมาต่อครับ)
แต่ถ้าน้ำแข็งที่จับตัวอยู่ ลักษณะ ขาว นวล (แบบไหน ให้นึกถึง น้ำแข็ง ขาวๆ นวลๆ แบบหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์นั่นเองครับ) ลักษณะผิวหน้าน้ำแข็ง ลักษณะแห้ง จะแตกต่างจาก ลักษณะผิวหน้าน้ำแข็ง แบบขาว ใส หรือ ผิวเปียกแบบชัดเจนครับ…หมายถึงอะไร นั่นหมายถึง สุขภาพ ของระบบทำความเย็นที่โรงงานท่าน ดีมากครับ น้ำยาในระบบเพียงพอ ความดันด้านดูด ด้านส่งปกติ เครื่องไม่หลวม คอมเพรสเซอร์ ทำงานเต็มที่ แบบนี้นายช่างสบายใจและหายห่วงครับ…เอาละครับ ถึงตรงนี้ ลองดูครับ ลองดูที่โรงงานของเรา น้ำแข็งสีอะไรครับ ลักษณะเป็นแบบไหน แล้วยกหูโทรศัพท์ มากริ๊งกร้าง พูดคุยกับนายช่างครับ
ซื้อมาใหม่ ตัวตั้งหลายพัน นายช่างมาทดสอบให้หน่อยครับ ได้หรือไม่
|
หัวข้อสุดท้ายที่เราพบบ่อย ในวันนี้ครับ คำถามยอดนิยมในระบบทำความเย็นเลยครับ เวลาที่เราออกไปตรวจสอบ ออกเอกสารรับรองระบบทำความเย็นให้ตามโรงงานต่างๆ คือ เจ้าระบบความปลอดภัยในตัว safety valve นี่ล่ะครับ หลายต่อหลายโรงงาน สอบถามกันครับ นายช่างครับ ทางเรามีโครงการจะเปลี่ยนสภาพตัวใหม่ หรือว่าซื้อเจ้า เซฟตี้ วาลว์ใหม่ มาเปลี่ยนแทนตัวเดิม นายช่างทดสอบให้ได้หรือเปล่าครับ หรือว่า บางที่ สงสัย เอ….ระบบผม ทำงานทั้งปี ทั้งชาติ compressor มันก็ setไว้ที่16 bar(g)บ้าง 15.5 bar(g) บ้าง ด้าน High pressure ไม่ว่าจะใน Receiverไม่เคยเห็นมันจะทำงานสักที มันใช้ได้จริงหรือเปล่า นี่โครงการ สองปีเปลี่ยนที เฉพาะ เซฟตี้ วาลว์ก็หลักพัน ต่อ ตัวเข้าไปแล้ว ไหนๆจะเปลี่ยนแล้วก็ทดสอบได้มั้ย 21 bar(g), 22 bar(g) นายช่างทดสอบให้หน่อยครับ |
หรือว่า บางที่ เอะ นายช่างครับ ที่ถัง Accumulator ของผมมันมีเจ้า เซฟตี้วาลว์นี่ด้วย ลองทดสอบได้หรือไม่ครับ เซฟตี้วาลว์ของระบบแอมโมเนียครับ
มันจะยุ่งยาก กว่า เซฟตี้วาลว์ ในระบบอื่นๆหรือเปล่าครับนายช่าง และมีอีกมากมายหลายคำถามครับ นายช่าง ตอบรวมเลยนะครับ คำตอบสุดท้าย…ไม่ทดสอบ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรครับ ว่าทำงานได้จริง สั้นๆ ได้ใจความ ท่านจะซื้อของใหม่มา หรือ ถอดของเก่า แล้วเปลี่ยนของใหม่ ตามนโยบาย หรือ ว่าตามสภาพภายนอกจากการมองเห็น จะ Receiver จะ Accumulator จะอะไรก็สุดแล้วแต่ครับ ทดสอบได้ครับ จะเกลียวนอก จะเกลียวใน จะหน้าแปลน จะนั่งบ่า จะหูหิ้ว สุดแล้วแต่ศัพท์เราจะเรียก ทดสอบได้ครับ คำตอบสุดท้ายเลย ที่เกริ่นมายืดยาว เป็นสามหัวข้อ สามเรื่องหลักๆครับ ที่เวลาทาง บริษัท ของเรา หรือว่า วิศวกรของเราออกไปทำงานที่หน้างาน เพื่อนสมาชิกมักจะสนใจ สอบถามกันเป็นประจำ นี่ล่ะครับ จึงเป็นเหตุผลที่เราเอามาเล่าสู่กันฟังครับ ว่าเราออกไปตรวจสอบ เราพบเจออะไรมาบ้าง ไม่ใช่ ออกใบรับรอง รับรองอย่างเดียว ขายลายเซ็น แบบนั้นมีจริงๆนะครับ บางโรงงานมีกระซิบมาที่นายช่างครับ แหม…ไม่ต้องกระซิบครับ โทรมาพูดคุย สนทนากับเราเลยครับ ที่นี่ กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง งานเราทำต่อเนื่องมาตลอด 10 ปีกับ งานความดัน และ อุณหภูมิ งานถนัดเราครับ กว่า 80 โรงงาน กว่า 100 vessel ของแอมโมเนีย กว่า 500 ชุด Compressor (แต่ละยี่ห้อของCompressor การทำงาน หรือโครงสร้างด้านในก็ไม่เหมือนกันนะครับ ไว้มีเวลาจะมาเล่าให้ฟังกันต่อ) คงเป็นเครื่องการันตีได้ครับ ยกหูโทรศัพท์ มาพูดคุยกับเราเลยครับ วันนี้ ไม่ต้องรออีกต่อไปครับ |
ที่โรงงานของเรา สั่งเปลี่ยนยกชุดครับนายช่าง ทีเดียว ที่ Receiver ทั้งหมดเลย 4 ตัวรวดครับ เนื่องจากสภาพของเดิมย่ำแย่ครับ นายช่างมาทดสอบให้เราหน่อย
ทดสอบกันที่หน้างาน เปลี่ยน ถอด ทดสอบ ผ่าน ประกอบคืน ทุกฝ่ายแฮปปี้
|