KAKA Engineering, we're driving the future
  • Home
  • Knowledge
  • Inspection
  • Boiler/ Vessel
  • Hydrotest/Safety valve
  • Contact Us
  • ENG version
  • ASME
  • Boiler Room

งานบริการ การอัดน้ำทดสอบ  หม้อไอน้ำ


                            ตรวจสอบหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ(Fire  tube boiler) ที่ไหน ต้องอัดน้ำทดสอบเสมอครับ จากประสบการณ์ร่วมสิบปี บนเส้นทาง  การเดินทางของสายงานตรวจสอบ Boiler  กว่า 300 ลูกที่ผ่านเข้ามา คงจะเป็นเครื่องการันตีได้ครับ  ว่าทำไมเหตุผลที่จะต้องอัดน้ำทดสอบ หลายต่อหลายครั้ง ที่เรามักเจอ ช่างประจำโรงงาน  หรือผู้ประกอบการ ที่จะไม่ยอมอัดน้ำ ทดสอบ ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่  ทางเราก็ยืนยันว่า ไม่ได้ครับ ไม่อัดน้ำทดสอบไม่ได้ ท่านจะจ้างเราอัดน้ำทดสอบให้  หรือท่านจะอัดน้ำทดสอบเองก็สุดแล้วแต่  ยังไงก็ต้องอัดน้ำครับ
                            อีกทั้ง ข้อกำหนดในการตรวจทดสอบฯ และกรอกรายงานในเอกสารรับรองความปลอดภัย  ในการใช้หม้อไอน้ำของสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย (อยู่หน้าที่ 4) ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า 

                             การอัดน้ำทดสอบ:- ต้องใช้ความดัน  1.5  เท่าของความดันสูงสุดที่ออกแบบ(Max Allowable Working Pressure) ถ้าความดันสูงสุดต่ำกว่า 60  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ต้องใช้ความดันไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของความดันใช้งานสูงสุด ถ้าความดันใช้งานสูงสุดอยู่ในระหว่าง  60-80 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  ต้องใช้ความดันไม่น้อยกว่า 120  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ชัดเจนครับตรงจุดนี้
Picture
Picture
วิศวกร ตรวจทดสอบหม้อไอน้ำ ของทางบริษัท กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ขณะทดสอบ
                            โถ่…นายช่าง ผมอยู่กับ boiler  ทุกวัน อยู่มาสิบปีแล้วนะครับ ไม่เห็นว่ามันจะรั่วตรงไหนเลย  ไม่ต้องไปอัดหรอกครับ อัดน้ำทดสอบน่ะ เชื่อผมเถอะ นายช่างออกเอกสารรับรอง  มาก็พอครับ ต้องหยุดหม้อไอน้ำ มาทำการอัดน้ำอีก  ไม่รั่วหรอกครับนายช่างเชื่อผมเถอะ  มันมีด้วยเหรอครับนายช่าง ที่ boiler มันจะอัดน้ำแล้วรั่วน่ะครับ มีเหรอครับนายช่าง ผมไม่เคยเห็นครับ
Picture
Picture
ตัวอย่างที่ 1 Boiler อายุ 8 ขวบ ลูกหมู ขนาด 6 ตัน ขณะอัดน้ำทดสอบ รั่วที่ความดัน 8 bar(g) ซึมออกอย่างชัดเจน ที่รอยเบ่งจุ๊บ (คลิกดูภาพขยาย)
Picture
Picture
ตัวอย่างที่ 2 ลูกหมูคู่ เชื้อเพลิงแกลบ ผสมขี้เลื่อย อายุ 16 ขวบ วัยชรา ผ่านมือหมอมาแล้วหลายครั้ง ซึม ที่แนวเชื่อมซ่อม ได้เวลาหาหมออีกครั้ง
                        
                        ครับ หลายต่อหลายที่ที่พูดมาแบบนี้  เราก็ยืนยัน กันตรงนี้ครับ ว่า มีครับ  อัดน้ำทดสอบ แล้วรั่ว/ซึม และมีเยอะมากด้วยครับ มาดูกันตามรูปเลยครับ นี่แค่ส่วนหนึ่ง  มากกว่าที่ท่านคิดนะครับ เมื่อน้ำรั่ว น้ำหาย น้ำพร่องไป อะไรเกิดขึ้น  การใช้งานที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เมื่อน้ำหายไป น้ำไม่มีแล้วจุดเตา อะไรจะเกิดขึ้น ท่านลองนึกถึงระบบปิด  เป็นขวด เป็นแกลลอนซักใบ ใส่น้ำ 1  ใบ กับอีกหนึ่งใบไม่มีน้ำ แล้วปิดฝาให้สนิท หลังจากนั้น จับขวด หรือว่า  แกลลอน ทั้งสองใบนั้น ตั้งบนไฟ หรือโยนมันเข้ากองไฟ กองไฟก็ได้ครับ เห็นภาพชัดเจนดี
                        อะไรจะเกิดขึ้น…..อากาศได้รับ ความร้อน ขยายตัว เกิดแรงดันสะสมขึ้น มากเกินกว่าที่ ผนังของขวด หรือ แกลลอนจะรับได้ ผลลัพธ์คือ ตูม ครับ ไม่ต้องคิดมาก พลังงานภายใน หรือว่า enthalpy ของอากาศ เทียบเท่าที่ อุณหภูมิ และความดันเดียวกันกับน้ำ  มากมายมหาศาลอยู่หลายขุม รวมถึงความสามารถในการดึง ออกซิเยนที่อยู่ในอากาศรอบๆ ห้องเผาไหม้เข้ามาได้อีก องค์ประกอบของการระเบิด ครบหรือไม่ครับแบบนี้ อย่าให้เกิดขึ้นเลยครับ ได้ไม่คุ้มเสีย ยอมเสียเวลา ครึ่งวัน หรือ หนึ่งวัน  เพื่อให้นายช่างอัดน้ำทดสอบเถอะครับ เชื่อเรา
Picture
Picture
ตัวอย่างที่ 3 ลูกหมู 10 ตัน วัยกลางคน อายุ 14 ขวบ เชื้อเพลิงแข็ง คลิกดูภาพขยายครับ นายช่างเห็นแล้ว ปวดหัวใจจริงๆ ใช้คำว่าอะไรดี tube แตก ไหลเป็นโจ๊ก ^_^"
Picture
Picture
อย่ามัวแต่ดูกันแต่ผิวเผิน ด้านนอกอย่างเดียว แค่ end-plate หน้า หลัง กันนะครับ ด้านใน ท่อไฟใหญ่ เข้าได้ เข้าครับ มุดกันเข้าไปตรวจสอบครับ ปีละครั้ง
                        ยิ่งถ้า boiler ท่าน เป็นลูกหมู ที่มีอายุการใช้งาน เกิน 10  ปีเมื่อไหร่ ผมแนะนำเลยครับ ท่านต้องเริ่มการตรวจสอบที่เคี่ยวมากขึ้น เพิ่มดีกรีการตรวจสอบที่มากขึ้น จากประสบการณ์การตรวจสอบของเรา  มีโอกาสที่พร้อมจะรั่ว/ซึม สูงมากครับ สำหรับอายุการใช้งานดังกล่าว ไม่ว่าท่านจะคอนโทรลน้ำระดับเทพ   ควบคุมคุณภาพน้ำอย่างดี อย่างไรก็ล้วนแต่มาจากหลายองค์ประกอบครับ ตัว tube เอง, ตัวท่อไฟใหญ่เอง, ตัวแนวเชื่อมเอง สามารถเกิดขึ้นได้หมดครับ อยู่ที่ว่าจุดใด   จะแสดงความอ่อนแอ ออกมาก่อนเท่านั้นเองครับ เราเจองานมาเยอะครับ อธิบายมาถึงตรงนี้  ลูกค้า/ผู้ประกอบการณ์หลายท่าน เข้าใจ และให้ความร่วมมือกับเราในการทดสอบ  เป็นสิ่งที่ดีครับ เพื่อพัฒนาวงการตรวจสอบหม้อไอน้ำ และเพื่อสิ่งสำคัญที่สุด คือ   ความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำนั่นเอง 
                        หลายต่อหลายครั้ง มีผู้ประกอบการณ์กระซิบมาที่ทางกาก้า ด้วยนะครับ  ว่าเนี่ย…มี วิศวกร มาเสนอ ออกใบรับรองให้ ไม่ต้องอัดน้ำทดสอบ  เสนอมาด้วยนะครับนายช่าง…..ครับ เราทราบดี ว่ามีแบบนี้ และเราทราบด้วยครับ ว่าเป็นใคร ท่านไหน   อย่างไร หากทางกรมโรงงาน ผ่านมา แอบกระซิบมาทางเราครับ หรือ ทางสภาวิศวกรผ่านมา  กระซิบมาที่เราครับ เราจะกระซิบบอกท่านเองครับ เพราะที่นี่ ที่กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง  หากทดสอบหม้อไอน้ำเมื่อไหร่ เราต้อง อัดน้ำทดสอบทุกครั้ง ไม่มีข้อยกเว้นครับ ตัวอย่างการรั่วซึม มีให้เห็นดังกล่าวครับ เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการครับ ส่วนหากทดสอบ แล้ว รั่วซึม ตามลักษณะ ปรากฏข้างต้น ถามว่าซ่อมได้มั้ย คำตอบคือ ซ่อมได้ครับ repair ได้แน่นอน เชื่อมซ่อมได้แน่นอน แต่ไม่ใช่ว่า ท่านจะเอา LB-52 หรือว่า E-7016 ไปลาก โปะๆๆ พอกๆๆ จุดที่รั่วนะครับ ผิดหลักการทางวิศวกรรมอย่างยิ่ง เอาไว้เราจะนำเสนอในโอกาส ที่เหมาะสมถัดไปครับ ติดตามกันนะครับ 


สายด่วน กระซิบมาที่เรา 087 7000 121

Picture
Picture
High pressure pump สำหรับ อัดน้ำทดสอบ(เรามีตั้งแต่ 0 - 300 bar) ถ้า ผู้ประกอบการไม่มี หรือวิศวกรตรวจสอบหม้อไอน้ำ ท่านใดไม่มี มาหยิบ มายืมเราได้ เราไม่คิดค่าบริการ ไม่คิดค่าเช่า แต่เราต้องการ การทดสอบที่ถูกต้อง นั่นเอง
Powered by Create your own unique website with customizable templates.