KAKA Engineering, we're driving the future
  • Home
  • Knowledge
  • Inspection
  • Boiler/ Vessel
  • Hydrotest/Safety valve
  • Contact Us
  • ENG version
  • ASME
  • Boiler Room

Overhead Crane Inspection.

               KAKA engineering มีโอกาสได้รับความไว้วางใจ จาก G.S. Energy co.,Ltd . บริษัท ผู้ผลิต Silica รายใหญ่ ของประเทศไทยครับ(เราใช้ Silica จากการสกัดแหล่งแร่ธรรมชาติ เพื่อเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมต่างๆ) ให้เข้าไปตรวจสอบงาน Overhead crane ครับ จึงขอเก็บรายละเอียด นำมาเล่าสู่กันฟัง ถึงมาตรฐานในการทำงานของเรา นอกจากจะตรวจเชค ตาม แบบตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (Stationary Cranes) หรือ แบบ คป.1 (โดยกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย) แล้วนั้น เรายังเพิ่มเติมการตรวจสอบในส่วนอื่นๆ ที่เราเห็นว่าเป็นความสำคัญ หรือ ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับหนึ่งครับ ไม่ใช่เพียงแค่ เราตรวจไปเฉยๆ เท่านั้น มิเช่นนั้น จะมีวิศวกรตรวจสอบไว้ทำไม จริงหรือไม่ครับ
               ตามแบบ คป.1 ทั้ง 24 หัวข้อนั้น จะเป็นแบบมาตรฐานในการตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัยเป็นหลัก (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ลงวันที่ 17 เมษายน 2530) ต้องทำการตรวจสอบ ทุก 3 เดือน โดยวิศวกรซึ่งได้รับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามแบบตรวจสอบของทางราชการ และเก็บแบบตรวจสอบไว้ เพื่อพร้อมในการเรียกตรวจครับ ดังนั้นเมื่อทางเรา เข้าไปตรวจสอบแล้วนั้น รายงานการตรวจสอบ ที่ทาง KAKA engineering จัดทำนั้นจะชี้แจงถึงรายละเอียด จุดไหนบกพร่อง/ จุดไหนไม่ถูกต้อง/ จุดไหนมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ/ จุดไหนต้องทำการแก้ไข จากการตรวจสอบ เราต้องชี้แจง ให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงความปลอดภัยในการทำงานครับ
Picture
Overhead Crane
Picture
SWL ต้องมีกำกับทุกตัว
Picture

หลายท่าน สอบถามว่า ลวดสลิง มันวิ่งของมันอยู่ดีๆ มันจะขาดได้อย่างไร.....นี่คือคำตอบของการขาดครับ เกิดจากการเสียดสี กับตัว Cover ตัวรอกที่เป็นเหล็ก ที่หากเราไม่สังเกตุพบ อาจเกิดอุบัติเหตุต่อไปได้
Picture

จากการตรวจสอบครับ ผลลัพธ์คือ เกิดการขาดของลวด 1 เส้น ภายใน 1 เกลียว ของชุดลวดสลิง
Picture

สามัญวิศวกรเครื่องกล ของทาง กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ขณะกำลังทำการตรวจสอบความโตของ ลวดสลิง ด้วยเวอร์เนีย คาลิปเปอร์ครับ
Picture

ตรวจสอบ สภาพรางเลื่อน/ การเคลื่อนตัวของล้อเลื่อน/ เหล็กกันกระแทกด้านบน รวมถึง Limit switch และ อปกรณ์ด้านความปลอดภัยอื่นๆ ในทุกจุด

ลวดสลิง หรือ
Wire rope สิ่งสำคัญที่เราใส่ใจในการตรวจสอบได้แก่


   -       สภาพการสึกหรอ ของลวดสลิง อันได้แก่ มีแผล, หักงอ หรือ
        ถูกกัดกร่อน(
Corrosion) ต้องห้ามใช้งาน และ/หรือ

   -       ลวดสลิงที่มีการสึกหรอมากกว่า 1 ใน 3 ของเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม
        ห้ามนำมาใช้โดยเด็ดขาด ให้ถือว่าหมดอายุในการใช้งาน

   -       มีร่องรอยการถูกไฟไหม้ ต้องห้ามใช้งาน และ/หรือ
   -       มีลวดขาดตั้งแต่ 3 เส้นขึ้นไปในเกลียวเดียวกัน ต้องห้ามใช้งาน 
        และ/หรือ

   -       มีลวดขาด ตั้งแต่ 6 เส้นขึ้นไปในหลายเกลียวรวมกัน ต้องห้ามใช้งาน
        และ/หรือ

   -       Safety factor จาก Load ที่ปฏิบัติงานจริง ค่าความปลอดภัย
        ไม่น้อยกว่า 5



ห่วง Shackles สิ่งสำคัญที่เราใส่ใจในการตรวจสอบได้แก่

   -       ค่าความปลอดภัย หรือ Safety factor ต้องไม่น้อยกว่า 3.5 เท่าครับ
   -       สภาพการเสียรูปทรง การบิดงอ/ การกระแทก/ การโค้งงอ 
        ต้องไม่มีสำหรับ
Shackles

   -       การเกิด Corrosion หรือ สนิมกัดกร่อนต้องไม่มี รวมไปทั้ง สนิมหลุม 
        หรือ
Pitting corrosion หากมีเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าหมดอายุ
        การใช้งาน

   -       สภาพเกลียวชำรุด(เข้าได้/ ออกไม่ได้ หรือ เข้าไม่ได้/ออกได้) 
        แบบนี้ต้องไม่เกิดขึ้นครับ

   -       มี SWL หรือ Safe Working Load กำกับ ที่ตัว Shackles ด้วยครับ
            

             Hook หรือ ตะขอ สิ่งสำคัญที่เราใส่ใจในการตรวจสอบได้แก่


-       ตะขอ ต้องไม่มีการบิดตัวครับ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามแต่ หากมีการบิดตัวเกิน 10 องศา(บวก/ลบ ซ้ายหรือขวา ก็ได้)
     ให้ถือว่าไม่อยู่ในสภาพใช้งานครับ

-       Safety latch หรือ ตัวล็อคสลิง จะต้องมีติดกับตะขอเสมอ และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ สปริงตัวล็อค
     ต้องทำงานในสภาพสมบูรณ์ครับ

-       สภาพการแตกร้าว(Crack)ของตะขอครับ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ของตะขอ ต้องไม่มีเด็ดขาด
-       การสึกหรอ เกินร้อยละ 10 ให้ถือว่า หมดอายุการใช้งาน
-       การถ่างออกของปากตะขอ หากเกินร้อยละ 15 ให้ถือว่าหมดอายุการใช้งาน
-       มี SWL หรือ Safe Working Load กำกับ ที่ตัวตะขอ เช่นกันครับ
 
Picture
การตรวจสอบรอยแตกที่สามารถเกิดขึ้นได้ กับตัวตะขอ ด้วย NDT ครับ
Picture
สามัญวิศวกรเครื่องกล ของทางกาก้า เอ็นจิเนียริ่ง กำลังตรวจสอบการทำงานของ Emergency On/Off switch ครับ
Picture
Safety latch หรือ ตัวล็อคสลิง จำเป็นต้องมีติดกับตัวตะขอครับ ที่ถูกต้องคือตะขอทางด้านซ้าย เพื่อความปลอดภัย
Picture
ไม่พบ Safety latch แบบนี้ เราต้องให้ความเข้าใจ และทำการปรับปรุงต่อไป
Picture
Magnetic Particle Inspection หรือ MPI กลายเป็นมาตรฐานการตรวจสอบ รอยร้าวที่ตะขอ ของเราไปแล้วครับ 
             
              รายละเอียด เล็กๆน้อยๆ ดังที่กล่าวข้างต้นนี้ครับ คือสิ่งที่เราใส่ใจ ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ เครน/ปั้นจั่นของท่าน บางครั้งเราอาจต้องยอมเสียเวลาเพิ่มขึ้นในการตรวจสอบ ทำไมถึงตรวจสอบนาน/ วัดละเอียดหน่อย/ เส้นลวดสลิงตรวจดูละเอียดทุกความยาว/
Emergency ปุ่ม On-Off ใช้งานได้หรือไม่/ ทำไมต้องทำ MT ตรวจสอบตัวตะขอด้วย สิ่งเหล่านี้ เราให้ความสำคัญครับ ระบุแนบลงใน รายงานผลการตรวจสอบทุกครั้ง เพราะงานตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของท่าน เป็นอีกหนึ่งในงานบริการของเรา
Powered by Create your own unique website with customizable templates.