การสอบเทียบเครื่องมือวัด
ทำไมต้องสอบเทียบ...สอบเทียบไปทำไม เสียเงิน เสียทอง มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมาอีก/ ซื้อของมาแล้วก็ต้องส่งไปสอบเทียบอีกหรือ ทั้งๆที่มี Certificate จากผู้ผลิตแล้ว/ แล้วอะไร หรือเครื่องมืออะไร ที่ต้องเอาไปส่ง Calibrate บ้าง/ ความถี่ล่ะ...นานหรือไม่ กว่าจะส่ง Calibrate หรือว่า ส่งไป Calibrate แล้วสามารถใช้งานได้ตลอดชีวิต หรือ lifetime ของเครื่องมือวัดนั้นๆ แล้วเอาไปส่งสอบเทียบที่ไหนล่ะ และอีกหลากหลายคำถาม
รถยนต์...ก่อนจะต่อภาษีประจำปี วิ่งต่อไปบนท้องถนนได้ ท่านก็ต้องนำรถไปตรวจสภาพก่อน...แน่นอนครับ เฉกเช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องมือวัด หรือ อุปกรณ์ในการทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับ งานตรวจสอบทางด้านวิศวกรรม ของทาง กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ก่อนเรานำไปใช้งาน หรือออกภาคสนาม เราก็ต้องทำการตรวจสภาพก่อน เพื่อหาจุดบกพร่อง/ ความผิดพลาด หรือ error ที่สามารถเกิดขึ้นได้ ในตัวเครื่องมือของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือวัด ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรม มีความจำเป็น เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อผิดพลาดให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด(ในทางปฏิบัติ) หรือ หากไม่เกิดข้อผิดพลาดได้เป็นสิ่งดีครับ(ในทางทฤษฎี)
รถยนต์...ก่อนจะต่อภาษีประจำปี วิ่งต่อไปบนท้องถนนได้ ท่านก็ต้องนำรถไปตรวจสภาพก่อน...แน่นอนครับ เฉกเช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องมือวัด หรือ อุปกรณ์ในการทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับ งานตรวจสอบทางด้านวิศวกรรม ของทาง กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ก่อนเรานำไปใช้งาน หรือออกภาคสนาม เราก็ต้องทำการตรวจสภาพก่อน เพื่อหาจุดบกพร่อง/ ความผิดพลาด หรือ error ที่สามารถเกิดขึ้นได้ ในตัวเครื่องมือของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือวัด ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรม มีความจำเป็น เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อผิดพลาดให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด(ในทางปฏิบัติ) หรือ หากไม่เกิดข้อผิดพลาดได้เป็นสิ่งดีครับ(ในทางทฤษฎี)
Pressure gauge ที่ใช้ในการทำ Hydro TestPressure gauge ที่ใช้ทดสอบ Safety valveเครื่องมือวัดความหนา หรือ UTM |
ยกตัวอย่าง เพื่อมองให้เห็นภาพรวม เครื่องมือวัด/ อุปกรณ์ที่เราพบเห็นกันบ่อยๆในภาคสนาม ที่นำส่งสอบเทียบ หรือเอาไปส่ง Calibrate บ่อยครั้ง ตามเงื่อนไขการทำงานที่รองรับ หรือ ตาม Code requirement นั่นเอง เช่น เกจวัดความดัน หรือ Pressure gauge ที่ทาง กาก้า ใช้ในงานทดสอบแรงดัน หรือ Hydrostatic test หรือใช้งาน Pneumatic test เช่น งาน ทดสอบ Hydro test หรืออย่าง งานทดสอบ Safety valve เป็นต้น แน่นอนครับว่า หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น เกจวัดแรงดันไม่เคยทำการส่ง Calibrate เลย...นำมาใช้งานจริง ความดันที่แสดงบนหน้าจอ อาจจะมีค่ามากกว่า หรือว่าน้อยกว่า ความดันของจริง ซึ่งสามารถทำให้เกิดข้อผิดพลาด รวมถึงอันตรายอื่นๆที่สามารถเกิดขึ้นระหว่างการทำงานด้วยครับ ที่สำคัญอีกประการสำหรับ Pressure gauge ที่นำมาใช้ในการทดสอบ บาง Code ได้ระบุ ถึงเงื่อนไข ในการ Calibrate เอาไว้ด้วยครับ เช่น หากเรา Guideline ว่าการทดสอบอ้างอิง ASME Section VIII ส่วนของ Hydro test หรือ Pneumatic test ที่จะไป meet requirement ใน ASME section V อีกที ASME section V T-1060 CALIBRATION T-1061 Pressure/Vacuum Gages (a) All dial indicating and recording type gages used shall be calibrated against a standard deadweight tester, a calibrated master gage, or a mercury column, and recalibrated at least once a year, when in use, unless specified differently by the referencing Code Section or Mandatory Appendix. All gages used shall provide results accurate to within the Manufacturer’s listed accuracy and shall be recalibrated at any time that there is reason to believe they are in error. หรือ อย่างงานทดสอบ ตรวจสอบถัง/ ภาชนะรับแรงดัน หากเรา Guideline การทดสอบให้เป็นไปตามแนวทางของ API 510 Pressure Vessel Inspection Code ในส่วนของการทดสอบ Safety valve หรือ Pressure Relieve Device ระบุถึง ส่วนของรายงาน Calibration ของ Pressure gauge API 510 6.6 PRESSURE-RELIEVING DEVICES Pressure relief valves shall be tested and repaired by repair organizations experienced in valve maintenance. Each repair organization shall have a fully documented quality control system. As a minimum, the following requirements and pieces of documentation should be included in the quality control system: m. Procedures for calibrating measurement and test gauges. |
อีกซักหนึ่งตัวอย่าง ที่เราพบเห็นกันบ่อยในภาคสนาม นั่นคือ เครื่องมือวัดความหนา หรือ Ultrasonic Thickness Measurement (นิยมเรียกกันสั้นๆว่า UTM) ที่เราใช้ในงานบริการวัดความหนา ค่าที่เราอ่านได้ หากทำการปรับเทียบ สอบเทียบมาเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าเป็นการการันตี ถึงความเชื่อมั่น (reliability) ของ อุปกรณ์ที่เราใช้ทำการวัด/ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ นั่นเองครับ ว่าในขณะเวลา หรือช่วงที่เราทำการทดสอบนี่นะ เครื่องวัดความหนาของเรา มี error ที่อยู่ใน Range ที่ยอมรับได้นะ
เช่น ในการวัดความหนาท่อ 6 นิ้ว sch#40 แน่นอนว่าของใหม่ ตามใบ certificate ของท่อ การันตีที่ 7.1 มม. ผ่านการใช้งานมาเป็นเวลาหนึ่ง ในสภาวะ Corrosion จากภายใน...แน่นอนครับ ความหนาที่เราวัดได้ ต่ำกว่าของใหม่แน่นอน (ถ้ามากกว่าของเดิม...นี่แปลว่าผิดปกติแล้วครับ) แต่ทีนี้จะมี error หรือว่าผิดเพี้ยนไปเท่าไหร่นี่ล่ะครับ เวลาที่เราอ่านค่าออกมานั้น จะเห็นว่ามันคือหัวใจ หรือใจความสำคัญก็ว่าได้ครับ ทีนี้ถ้าเครื่องมือของเราโดยได้ผ่านการตรวจสอบ การสอบเทียบมาแล้วนะ error เราการันตีที่ บวก/ลบ X.XX มม. ผิดพลาดได้ ในช่วงความหนาใช้งาน XX มิลิเมตร และอีก...bla bla bla ครับ จะ 1 ปี ส่งเครื่องไป Calibrate 1 ครั้ง หรือว่า จะ 6 เดือนครั้ง หรือว่าจะส่ง เมื่อสงสัยว่าเครื่องเรามี error หรือ สงสัยข้อผิดพลาด ตาม Code requirement นั้นๆ ก็ได้ครับ แบบนี้ Owner แฮปปี้/ Customer ก็แฮปปี้/ KAKA Engineering ก็แฮปปี้ กันทุกฝ่ายครับ...ความน่าเชื่อถือ หรือความเชื่อมั่นในการทำงาน ว่าข้อผิดพลาดจากการวัดนั้น หากจะมี ก็ขอให้เกิดน้อยที่สุด หรือไม่เกิดได้ยิ่งดีในงานวิศวกรรม ทีนี้เห็นความสำคัญของการ สอบเทียบเครื่องมือวัด หรือ Calibration แล้วนะครับ |
คำถามถัดมาครับ....แล้วเราจะส่งเครื่องมือ/อุปกรณ์วัด ของเราไปสอบเทียบที่ไหนดีครับ หน่วยงานไหนดี/ ส่งไปบริษัทผู้ผลิตดีหรือไม่/ หรือหน่วยงานกลางของรัฐดีกว่า/ หรือว่าตามมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีห้องทดสอบ หรือว่าห้อง Laboratory ที่เราดูแล้วมันมาตรฐานดี
คำตอบคือ....นำส่งที่ หน่วยงานที่ใกล้บ้านท่าน/ ใกล้Office หรือ ใกล้สำนักงานภาคสนามของท่าน ใกล้ที่ไหนไปที่นั่นครับ แต่....ให้ห้องปฏิบัติการที่ท่านนำส่งนั้นๆ ต้องได้ มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เท่านั้นเองครับ เพราะอะไร...ก็เพราะว่า เจ้า ISO/IEC 17025 ตัวนี้นะครับ จะเป็นมาตรฐานสากล เพื่อประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ไล่กันไปเลยตั้งแต่ คุณภาพของห้องปฏิบัติการ/ เครื่องมือ/ วิธีที่ใช้ทดสอบ/ เอกสารต่างๆ รวมถึงการสอบกลับได้(Traceability) อีกทั้งการดำเนินการจะ Follow หรือเป็นไปในแนวทางของ ISO 9001 อีกด้วยครับ เช่น หากท่านส่ง Pressure gauge ตัวหนึ่งไป Calibrate ทางห้องทดสอบจะทำการเก็บข้อมูลไล่กันตั้งแต่ เครื่องมือ/ รุ่น/ serial no./ วิธีการทดสอบ/ ค่าที่ผิดเพี้ยน หรือค่าที่เบี่ยงเบน/ ระบบบริหารการจัดการ/ จำนวนข้อมูล sampling หรือจำนวนที่สุ่ม/ อุณหภูมิขณะทดสอบ/ ผู้นำส่งทดสอบ/ ส่งวันไหน เดือนไหน.....เรียกว่าสอบกลับได้ ตลอดเวลาครับ สำหรับ Laboratory ที่ได้มาตรฐาน ISO/IEC 17025 ตัวนี้......ซึ่งแน่นอนครับ ค่าใช้จ่าย มีแน่นอน (ตัวเลขกลมๆ สาม-สี่หลักขึ้นครับ ต่อ 1 ครั้ง) แต่สิ่งที่เราได้กลับมาคือ Reliability ของเครื่องมือวัด/ อุปกรณ์ ต่างๆที่เราใช้ทดสอบ รวมถึงความมั่นใจในข้อผิดพลาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างน้อยที่สุดอีกด้วย รวมถึงเป็นการการันตีถึงคุณภาพของงานเราอีกด้วยครับ ระบบคุณภาพที่เกี่ยวข้องสำหรับบทความนี้ - ISO 9001 Quality System - ISO/IEC 17025 General requirements for the competence of calibration and testing laboratory |
ตัวอย่าง Certificate เครื่องมือ ที่ผ่านการ Calibrate จาก ISO/IEC 17025 |