มาเตรียมตัว ตรวจสอบหม้อไอน้ำประจำปี กันเถอะ (Get ready for Boiler yearly inspection)
1.วิศวกรตรวจสอบหม้อไอน้ำผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหม้อไอน้ำจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมและควรที่จะมีอายุใบอนุญาตหมดอายุนับจากวันที่ตรวจสอบทดสอบต้องเกิน 1 ปี (เช่นนัดวันตรวจทดสอบ 25 ธันวาคม 2553 วิศวกรตรวจสอบหม้อไอน้ำต้องมีอายุใบอนุญาตหมดอายุ 31 ธันวาคม 2554 เป็นต้น) ประสานงานนัดหมายวันเข้าทางานเบื้องต้นกับทางโรงงาน/ ผู้ประกอบการ/ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ ส่วนวิศวกรรมซ่อมบำรุง ประจำหน่วยงานที่รับผิดชอบหม้อน้ำแต่ละที่นั้นๆ
2.ภายหลังจากการประสานงานนัดหมายวันเข้าทางานเบื้องต้นเรียบร้อยแล้วสิ่งที่ทางโรงงาน/ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมมีดังต่อไปนี้
2.1 วันที่เข้าทำการตรวจสอบหม้อไอน้าทางโรงงาน/ สถานประกอบการจาเป็นต้องหยุดการใช้งานหม้อไอน้าเพื่อให้วิศวกรเข้าตรวจสอบหากทางโรงงาน/ สถานประกอบการมีหม้อไอน้ามากกว่า 1 ลูกขึ้นไปและมีความจำเป็นต้องใช้งานใน Line การผลิต หรือproduction ให้มีการประสานงานกับทางวิศวกรตรวจสอบเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลเบื้องต้นในการหาSolution หากไม่สามารถหยุดการใช้ไอน้าได้อาทิ เช่นBoiler ขนาด 10 ตันต่อชั่วโมงจานวน 2 ลูกทางโรงงานต้องการไอน้าที่ปริมาณ 8 ตันต่อ ชั่วโมง ในการผลิตของแต่ละวันในขณะที่ปัจจุบัน การใช้งานหม้อไอน้ำของทางโรงงานเดินเครื่องอยู่ที่ 4 ตันต่อ ชั่วโมงทั้ง 2 ลูกในวันที่เข้าทำการตรวจสอบสามารถที่จะเดินเครื่องหม้อไอน้ำ 1 ลูกที่load 80% หรือที่ 8 ตันต่อ ชั่วโมง เพื่อหยุดหม้อไอน้าลูกที่เหลือให้ทำการตรวจสอบประจำปีหลังจากตรวจสอบแล้วเสร็จลูกที่หนึ่งจึงทำการตรวจสอบหม้อไอน้าลูกที่เหลือในลำดับถัดไปเป็นต้น 2.2 จัดเตรียมผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ (ของทางโรงงาน) หรือทางทีมงานซ่อมบำรุงพร้อมเอกสารผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ เพื่อแนบประกอบในรายงานผลการตรวจสอบ หากใบอนุญาตผู้ควบคุมหม้อไอน้ำหมดอายุหรืออยู่ในระหว่างการขออนุญาตจากกรมโรงงานให้แจ้งกับทางวิศวกรตรวจสอบในทันที |
วิศวกรตรวจทดสอบหม้อน้ำ พร้อมผู้ควบคุมหม้อน้ำ
|
3. ขั้นตอนการตรวจสอบหลังจากหยุดการทางานหม้อไอน้ำแล้วนั้น (ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง ก่อนทำการตรวจสอบหรืออุณหภูมิด้านในหม้อไอน้ำต่ำกว่า 50 องศาเซลเซียส) ให้จัดตรียมการเปิดฝาหน้าและฝาหลังหม้อไอน้ำเพื่อเตรียมทำการทดสอบทางวิศวกรตรวจสอบจะทำการตรวจสอบ
3.1 สภาพทั่วไป ทั้งด้านนอก และด้านใน สภาพเหล็กโยงยึด
3.2 สภาพความหนา End plate สภาพความหนาท่อไฟใหญ่ท่อไฟเล็กพร้อมระบุรายการค่าความหนา ที่ตรวจวัดได้ลงในรายงานการตรวจสอบประจำปีหม้อไอน้ำ หรือ เพิ่มเติมการตรวจสอบอย่างอื่น โดยหลักการทางด้านวิศวกรรมให้ขึ้นกับดุลยพินิจของวิศวกรตรวจสอบประสานงานกับทางโรงงาน/ผู้ประกอบการ 3.3 สภาพตะกรันที่เกิดขึ้นในท่อน้ำ หากเกิดตะกรันที่มีความหนามากกว่า 1/16 นิ้ว ให้ทำการกำจัดออกถ้าไม่กำจัดออกเป็นอย่างไรครับ คำตอบคือ ท่านเปลืองพลังงานเชื้อเพลิงมากกว่าเดิมครับ เพราะแทนที่ความร้อนจะถ่ายเทสู่น้ำได้ อย่างสะดวก กลับต้องสูญเสียไปยังความร้อนที่ต้องเอาชนะความหนาของกรันนั่นเองครับ 3.4 สภาพเขม่าหรือคราบสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นในท่อไฟพร้อมระบุลงในรายงานการตรวจสอบประจำปีหม้อไอน้ำซึ่งหากเป็นเชื้อเพลิงแข็ง หรือ เชื้อเพลิงเหลว คราบเขม่า คราบสกปรกจะมีมากกว่า เชื้อเพลิงก๊าซ ซึ่งหากหยุดทำการตรวจสอบหม้อน้ำประจำปีนี้แล้ว ทางโรงงานหรือทางผู้ประกอบการ สามารถที่จะทำความสะอาด คราบเขม่าไปในตัวเลย ก็สามารถที่จะทำได้ |
สภาพด้านสัมผัสน้ำ ตะกรัน คราบสนิมต่างๆที่เกิดขึ้น อันเป็นปัจจัยหลักการตรวจสอบ
สภาพด้านสัมผัสไฟ คราบเขม่า จากการเผาไหม้ครับ นี่ล่ะครับที่อยู่ใน boiler ท่าน ซึ่งสามารถที่จะเตรียมทีมซ่อมบำรุงทางโรงงานเอง หรือให้เราเป็นธุระจัดการให้ก็ได้ครับ
|
3.5 การเตรียมตัว ทดสอบ อัดน้ำ หรือทำ Hydrostatic test ที่ ความดัน 1.5 เท่า ของ ความดันออกแบบสูงสุดหม้อไอน้ำ หรือ MAWPหากความดันใช้งานสูงสุด ต่ำกว่า 60 PSI ให้ใช้ความดันไม่น้อยกว่า 2 เท่าของความดันใช้งานสูงสุด หรือ หากความดันใช้งานสูงสุด อยู่ในระหว่าง 60-80 PSI ให้ทาการทดสอบที่ความดันไม่น้อยกว่า 120 PSI โดยหลังจากขึ้นแรงดันแล้วนั้น ให้ทาการคงแรงดันไว้ เพื่อให้วิศวกรตรวจสอบ พิจารณารอยรั่วซึมที่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้และทั้งทั้งนั้น Pressure gauge ที่ใช้อ่านค่าแรงดัน ต้องผ่านการสอบเทียบ ไม่น้อยกว่า 1 ปี ในวันที่ทำการทดสอบ หากไม่มี หรือ ไม่ได้ผ่านการสอบเทียบ ให้แจ้งวิศวกรตรวจสอบในทันที - การเตรียมตัวทดสอบ Safety valve เพื่อความสามารถในการระบายไอน้ำ สามารถทำได้ทันที ต่อจากการอัดน้ำ หรือ ทำ Hydrostatic test โดยกำหนดที่แรงดันระบาย ไม่เกิน 10% ของ MWP แต่ต้องไม่เกิน 3%ของ MAWP
หมายเหตุ
หากทางผู้ประกอบการ หรือทางโรงงาน ไม่มีทีมงานที่ทำการซ่อมบำรุงรักษาหม้อน้ำโดยตรง เช่น เปิดฝาหม้อน้ำ เปลี่ยนปะเก็น หรือ ทีมงานทำความสะอาด ขจัดเขม่า หากต้องการเพิ่มเติมในส่วนนี้ ท่านควรแจ้ง ประสานงานกับวิศวกรตรวจสอบล่วงหน้า เพื่อจัดเตรียมทีมงาน ให้ดำเนินการต่อไป
หมายเหตุ
หากทางผู้ประกอบการ หรือทางโรงงาน ไม่มีทีมงานที่ทำการซ่อมบำรุงรักษาหม้อน้ำโดยตรง เช่น เปิดฝาหม้อน้ำ เปลี่ยนปะเก็น หรือ ทีมงานทำความสะอาด ขจัดเขม่า หากต้องการเพิ่มเติมในส่วนนี้ ท่านควรแจ้ง ประสานงานกับวิศวกรตรวจสอบล่วงหน้า เพื่อจัดเตรียมทีมงาน ให้ดำเนินการต่อไป
4. ลงแรงดันทดสอบเข้าสู่สภาวะแรงดันใช้งานปกติพร้อมทั้งลงระดับน้ำเพื่อให้อยู่ในระดับน้ำปกติพร้อมทำการเดินเครื่องหม้อไอน้ำทำการเปลี่ยนปะเก็น (Gasket) ฝาหน้า/ ฝาหลังที่เปิดออกพร้อมยึดปิดเพื่อทำการเดินเครื่องหม้อไอน้ำเข้าสู่การทำงานปกติ
- ภายหลังจากเดินเครื่องหม้อไอน้ำที่สภาวะปกติใช้งานไอน้ำแล้วนั้นให้เตรียมเปิดปล่องไอเสียหรือช่องทางไอเสียไม่ว่าเป็นบริเวณใดบริเวณหนึ่งเช่นปลั๊กอุด,หน้าแปลน, ช่องระบายเพื่อให้วิศวกรตรวจสอบเข้าทาการตรวจสอบไอเสียหรือFlue gas ที่เกิดขึ้นจากค่าต่างๆของการเผาไหม้ในหม้อไอน้าเช่นOxygen, Carbon dioxide, Carbon monoxide เพื่อให้คาแนะนำแก่ผู้ประกอบการ/ โรงงานต่อไป(ตรงนี้เป็น Option เสริม โดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ)
5. รายงานผลการตรวจสอบประจาปีหม้อไอน้ำจะถูกจัดส่งให้กับทางโรงงาน/ผู้ประกอบการจำนวน 1 ฉบับสำเนาที่วิศวกรตรวจสอบ 1 ฉบับพร้อมแนบแผ่นCD บันทึกรายละเอียด/ รูปถ่ายประกอบการทำงานนำส่งภายในระยะเวลา 7 วันทำการเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจสอบหม้อไอน้ำ ประจำปีครับ