งานบริการ ตรวจวัดประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ (Boiler efficiency services)
เป็นอีกหนึ่งงานบริการที่ทางกาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ดำเนินงานมาโดยตลอด ในส่วนหนึ่งของงาน ตรวจสอบเครื่องกล(Mechanical inspection) โดยโปรเจ็คที่ทางเรานำเสนอในครั้งนี้ เป็นลักษณะงานที่มีความน่าสนใจในส่วนของเนื้องาน นอกจากการตรวจวัด ตรวจสอบแล้วนั้น ว่าประโยชน์ ข้อดี ในการทำการวัด/ทดสอบ ที่ได้นั้น จากภาคทฤษฏี นำมาประยุกต์ใช้งานในภาคปฏิบัติ รวมถึงเกร็ด หรือ เทคนิค เล็กๆน้อยๆ ในการทำการตรวจสอบที่ขอนำมาเล่าสู่กันฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนสมาชิกในฉบับนี้ครับ ซึ่งงานตรวจวัดประสิทธิภาพหม้อไอน้ำในครั้งนี้ ทางเราได้รับเกียรติให้เป็น vender จากทางกลุ่ม บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ (Thai Beverage Energy) ให้เข้าร่วมดำเนินงานตรวจสอบ ในลักษณะของ third party เข้าตรวจสอบประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ CDM project ที่ร่วมมือกับทาง UNFCCC โดยมีเป้าหมายหลักคือการ อนุรักษ์พลังงาน ลดโลกร้อนนั่นเองไปชมเรื่องเล่า และบรรยากาศการทำงานของเรากันเลยครับ
โจทย์ที่เราได้รับในครั้งนี้ คือ ให้ทำการตรวจวัด ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ ทั้งสามลูก ภายใต้เงื่อนไขของ มาตรฐานสากล ในรูปแบบของสมดุลพลังงาน หรือ สมดุลความร้อนนั่นเอง โดยข้อมูลเบื้องต้น เป็นหม้อไอน้ำแบบท่อไฟนอน(Fire tube boiler) – เปลว 3 กลับ ขนาดกำลังการผลิตไอน้ำ 10 ตัน/ชั่วโมง จำนวน 2 ลูก และ ขนาดกำลังการผลิตไอน้ำ 4 ตัน/ชั่วโมง จำนวน 1 ลูก ตาม Nameplate ระบุ เชื้อเพลิงในระบบที่ใช้เป็นระบบ dual สามารถใช้ได้ทั้ง เชื้อเพลิง น้ำมันเตา (fuel oil) และ แกสชีวภาพ (Biogas) สถานที่ตั้งหม้อไอน้ำทั้งสามลูก อยู่ภายในโรงเรือนเดียวกัน คืออาคารผลิตไอน้ำ โดยหม้อไอน้ำแต่ละลูก จะส่งผ่านไอน้ำมารวมกันที่ Steam header ก่อนแยกจ่ายไปยัง line การผลิต ตามปริมาณการใช้งาน ด้วย flow meter และชุดควบคุม แยกในแต่ละ line การผลิต
โดยหลักการและเหตุผล ทางด้านมาตรฐานการตรวจสอบที่เราใช้ASME PTC 4 – 1998 [Revision of ASME PTC 4.1 – 1964(R1991)] Fire steam generator Performance Test Codes เป็นมาตรฐาน เป็น Code สากล ที่เราใช้สำหรับงานตรวจสอบในครั้งนี้ โดย method ที่ใช้ เป็น Indirect method หรือ Heat loss method สมดุลพลังงาน/ สมดุลความร้อน นั่นเองครับ และการตรวจสอบต่อ 1 หม้อไอน้ำ ใช้ระยะเวลา 1 วัน เต็มๆ สำหรับการเก็บข้อมูล (แน่นอนว่า ดังนั้น 3 ลูก ย่อมใช้เวลาการทำงานกันทั้งสิ้น 3 วันทำการหม้อไอน้ำ)การทดสอบ โดยใช้ load การใช้งานจริง ตาม condition ของการใช้งานจริง ทั้งอุณหภูมิ แรงดัน ความชื้นสัมพัทธ์ มวลอากาศ ค่าต่างๆจากก๊าซไอเสีย(Flue gas) รวมถึงตัวอย่าง sampling ของเชื้อเพลิงที่ใช้งานจริงในขณะนั้นๆ ที่ถูกเก็บตัวอย่างนำส่งห้องทดสอบมาตรฐาน เพื่อให้ Error ที่เกิดขึ้นมีน้อยที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
ในเรื่องของการตรวจสอบ เราเดินหม้อไอน้ำ ทีละเครื่อง ตาม load การทำงานจริง สลับกันแต่ละลูก ในแต่ละวันเรียกว่าตัดระบบกันที่ boiler ทีละตัวๆ กันเลยครับ ไม่ต้องห่วงว่าปริมาณไอน้ำที่ผลิตขณะทดสอบจะไปกระทบถึง line การผลิต เพราะมีการ standby ระบบไอน้ำ ในส่วนของลูกที่เหลืออยู่ โดยตัดระบบแยกกันที่ Header ในช่วงเวลาที่เราทำการตรวจสอบ Flow ของระยะเวลาการทำงานในหม้อน้ำลูกที่เราทำการตรวจวัดประสิทธิภาพนั่นเองครับ เรียกว่าทางฝ่ายผลิต ใช้ไอน้ำก็ทำงานตามปกติ ทางกาก้า ก็ตรวจสอบตามปกติ ไม่ต้องกังวลเรื่อง ระบบ และปริมาณไอน้ำในระบบแน่นอนครับ อีกทั้งแน่นอนว่า อุปกรณ์ต่างๆที่นำมาใช้ในงาน ต้อง ผ่านมาตรฐานการ calibrate รวมถึงห้อง Lab ที่ปฏิบัติงานต้องได้ทัดเทียมมาตรฐานสากล ซึ่งก็เป็นแนวทางการทำงานของ กาก้า เอ็นจิเนียริ่งไปเรียบร้อยแล้ว
และนี่คืออีกหนึ่งงานบริการทางด้าน หม้อไอน้ำ นอกเหนือจากการตรวจสอบหม้อไอน้ำ(Boiler inspection) หรือว่างานบริการ ตรวจวิเคราะห์ไอเสียหม้อไอน้ำ (Flue gas analyzer) หรือว่า งานปรับแต่งหัวเผา (Boiler tune up) เพื่ออะไร…ก็เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ (Boiler efficiency improvement) ของท่าน ให้ดียิ่งขึ้นนั่นเองครับ ซึ่งเป็นงานบริการ ที่ทางกาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ดำเนินการตลอดมาครับ
เกร็ดเล็กๆน้อยๆ สำหรับ Test condition ที่เรา follow ตามindirect method testing โดยASME PTC
- Blowdown loss เราจะไม่นำมารวม หรือนำมาคิดรวมกับ loss ที่เกิดขึ้น จากปัจจัยอื่นๆ และ
- Auxiliary equipment energy หรือ ค่าพลังงานที่เราใช้ในระบบ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น fans, burner หรือว่าปั้มต่างๆ จะไม่รวมนำมาคิดสำหรับ loss นั่นเองครับ