งานบริการ ตรวจสอบถังลม
KAKA Talk ฉบับนี้ เรานำเสนอ ผลงาน ในส่วนของงานบริการ การตรวจสอบถังลม หรือ Air receiver tank Inspection โดยที่ทางกาก้า ได้รับการติดต่อจากส่วนวิศวกรรม ของทาง บริษัท ไทยผลิตภัณฑ์ ยิบซัม จำกัด (มหาชน) สืบเนื่องจาก ถังเก็บลม ไม่ได้ใช้งานใน line การผลิต มากว่า 2 ปีแล้ว และทางโรงงานมีแผนที่จะขยาย line การผลิต จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมในส่วนของ line ลมที่ใช้ โดยถังลมที่ใช้เก็บ จะนำมาจากส่วนของของเดิมนี่ล่ะครับ ดังนั้นแน่นอนว่า ระยะเวลา กว่า 2 ปีที่ผ่านมาที่ไม่ได้ใช้ถังเลย ก่อนเราจะนำมาใช้ ต้องนำมาทำการทดสอบเสียก่อนครับ ว่าสภาพของมันยังสามารถที่จะรับแรงดัน หรือว่าทนแรงดันได้อยู่หรือเปล่า ถ้าหากสามารถใช้ได้ นั่นคือทนแรงดันทดสอบได้ แน่นอนว่าตรงนี้ทางบริษัท ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องไปซื้อ ถังลมใบใหม่ ประหยัดงบประมาณ ไปได้มากเลยทีเดียวครับผม และในทางกลับกัน ถ้าถังลมของเรา ไม่สามารถทดต่อแรงดันทดสอบได้.....แน่นอนครับ ถังแตก แน่นอน ความเสียหายย่อมเกิดขึ้น ดังนั้น เป็นหน้าที่ของเราแล้วครับ ที่จะทำการทดสอบถังลม ว่ามันจะสามารถใช้งานต่อไปได้หรือไม่
มาดูเงื่อนไขเบื้องต้นกันก่อนครับ สำหรับกรณีนี้ ที่ไม่ใช่การทดสอบถังใหม่ๆ เพิ่งออกจากโรงงาน หรือว่า เป็นการทดสอบถังลม เพื่อความปลอดภัยประจำปี ของทางโรงงาน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นspecial case ก็ไม่ผิดนักครับ condition เบื้องต้น จากการประสานงานส่วนวิศวกรรม และทางกาก้า พบลักษณะของถังลม เรียกว่าเป็นลักษณะ ถังเปล่าๆ เหมือนออกจากโรงงานเลยทีเดียวครับ ทั้งสองใบ(ต่างกันที่ขนาดของความจุ) Valve ไม่มี/ Safety valve ไม่มี/ ปลั๊กอุด ไม่มี/ check valve ก็ไม่มี มีมาแต่ถังอย่างเดียว และพบ Nameplate ระบุเบื้องต้น ที่มากับถัง โดยมีข้อมูลดังนี้ครับ
- ทั้งสองใบ ออกแบบมาให้เป็น Air receiver tank โดยตรง - ขนาดความจุ หรือ Capacity ของทั้งสองใบ 1 ลบ.ม. และ 0.5 ลบ.ม. ตามลำดับ - Working pressure หรือ ความดันใช้งาน 147 PSI - Test pressure หรือ ความดันทดสอบ 220 PSI - Date built หรือ วันที่ทำการผลิต29-8-2005 |
สภาพของถังลม ทั้งสองใบ ที่เราต้องนำมาทดสอบครับ เป็นโจทย์ของงานนี้
|
และข้อมูลเบื้องต้นที่เราได้มาจาก Nameplate เห็นได้อย่างชัดเจนครับ ว่าทั้ง สองถังของเราผ่านมากว่า 5 ปีแล้ว นับจากวันที่ถังผลิต และ 2 ปีกว่า นับจากที่ไม่ได้ใช้งานเลย และจากการหารือกับทางส่วนวิศวกรรม ทำให้เราต้องทำการทดสอบตามเหตุผลที่กล่าวไว้ในข้างต้นครับ เป็นหน้าที่ของทาง กาก้า ครับ
Nameplate ระบุ แรงดันทดสอบ
|
พิจารณาTest pressure (ขอใช้คำย่อTP) หรือความดันทดสอบ 220 PSI (ประมาณ 15.1 bar) แล้วมาเปรียบเทียบกับ Working pressure (ขอใช้คำย่อWP) หรือ ความดันใช้งาน 147 PSI (ประมาณ 10.13 bar) เราจะสังเกตเห็น ได้อย่างชัดเจนครับว่า TP เป็นสัดส่วนที่ลงตัวกับWP อย่างเห็นได้ชัดเจนเลยคือ หากเอา 220 หารด้วย 147 จะได้เท่ากับ 1.4965 หรือ ประมาณ 1.5 เท่านั่นเอง ถูกต้องแล้วครับ นั่นหมายถึง ถังลมทั้งสองใบของเรา ได้ถูกออกแบบให้ทำการทดสอบที่แรงดัน 1.5 เท่าของ แรงดันใช้งานนั่นเอง(ซึ่งก็ตรงกับหลักการทางวิศวกรรม และ Code อ้างอิง ในบางส่วนของถังรับแรงดันครับ) ดังนั้นตัวเลือกแรกสำหรับการทดสอบเจ้าถังลมทั้งสองใบของเราในตอนนี้คือ Test pressure หรือ ทดสอบแรงดัน ถ้าถังลมของเรา ทนแรงดันตามที่ระบุไว้บน Nameplate ส่วนของ Test pressure ได้ โดยที่ถัง ไม่ปริ บวม แตก หรือเสียรูปทรงใดๆ ซึ่งส่งผลโดยตรงครับว่า Working pressure สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย/มั่นใจแน่นอน |
ทีนี้มาถึงขั้นตอนแล้วครับTest pressure เราจะเลือกของไหลอะไรเป็นตัวกลางในการอัด (medium fluid) ดีครับใช้ลม หรือว่า ไนโตรเจน ดีหรือไม่ หรือว่าใช้น้ำดีกว่ากันล่ะ ก็ต้องขอย้อนกลับไปที่บทความ Hydrostatic test กันนิดหนึ่งครับ สำหรับกรณีนี้ Volume ใหญ่หรือไม่ 1 ลบ.ม. และ 0.5 ลบ.ม. คำตอบคือ จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ Volume กลางๆ ไปถึงใหญ่ครับ ค่อนไปทางใหญ่นิดหนึ่ง ส่งผลให้ หากใช้ ลม หรือ ไนโตรเจน อาจต้องใช้ปริมาณมากครับ
แล้วความดันล่ะครับ TP ที่ 220 PSI เกิน 10 bar ไปแล้วแน่นอนว่าหากเป็น ลม เป็น Air หรือ ไนโตรเจน ซึ่งล้วนเป็นของไหลที่อัดตัวได้ หรือ Compressible fluid ซึ่งการเปลี่ยนแปลงปริมาตรโดยฉับพลัน(กรณีถังรั่ว ถังแตก ถังทนแรงดันไม่ได้) พลังงานที่เปลี่ยนแปลง ย่อมมีค่าที่มากกว่า Incompressible fluid อย่างน้ำ กรณีพลาดพลั้งเกิดอันตรายที่น้อยกว่า ดังนั้นสำหรับ ตัวกลางในการอัดแรงดัน ในกรณีนี้ เราเลือก น้ำ เป็นตัวกลางอย่างเหมาะสมที่สุดครับ ที่ 220 PSI
และแน่นอนครับ สิ่งที่ขาดไม่ได้ ขณะการทำการทดสอบแรงดัน คือ ความปลอดภัยทุกอย่าง Safety ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ทั้ง safety อุปกรณ์การทำงาน และ safety ตัวบุคคลที่ทำการทดสอบ ขนาดของปลั๊กอุด (slot plug) ปะเก็น (gasket) หรือหน้าFlange ต้องได้มาตรฐานการรับแรงดัน ทนได้ ตาม ASME B16.5 (อันนี้ แนะนำครับ) Pressure gauge และ เครื่องมือวัดความหนา (ultrasonic thickness gauge) ที่ผ่านการสอบเทียบ หรือ calibrate ไม่เกิน 1 ปี รวมไปถึง การเดินสายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง การใช้สายไฟ ต้องเป็นpower plug อันเป็นมาตรฐานการทำงานของเราไปแล้ว ทางด้านความปลอดภัย และที่ขาดไม่ได้ ในงานทดสอบแรงดัน Hydrostatic Test ทางกาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ต้องมี วิศวกรควบคุมงาน ทดสอบ อยู่ที่หน้างานทุกครั้งครับ
กลับมาที่ความหนาล่ะครับ ตรวจสอบดูหรือไม่....แน่นอนครับ ทั้งความหนา และ มิติ ขนาดของถัง เป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบ และตรวจสอบ เจ้า Air receiver tank ทั้งสองใบนี้ของเรา เพื่ออะไร เพื่อที่จะได้เก็บมันเป็นประวัติไงครับ เปรียบเทียบข้อมูลที่เกิดขึ้น ตอนนี้ถังลมของเรา รับแรงดันเท่านี้ ที่ความหนาเท่านี้ ปีหน้า ปีถัดๆไป หรืออีก 5ปี ข้างหน้า เรามาตรวจวัดความหนาใหม่ หากความหนา ต่ำลงมากจนเกินกว่าความหนาที่ได้รับจากการออกแบบ(จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ เช่น ความชื้นในระบบท่อ หลุดเข้าไปในถัง หรือว่า filter กรองน้ำก่อนเข้าถังมันเสื่อมสภาพ หรือ blab bla bla….เป็นเหตุให้ข้างในถังผุกร่อน) ก็จะสามารถทำให้บอกได้ว่า ขณะนี้ถังของเรา ความหนาอยู่ในขั้นวิกฤตแล้วนะ ควรจะเตรียมหาถังลมใบใหม่ หรือ เตรียมแปลน เตรียมแผนกันใหม่ นั่นเองครับ
และผลการทดสอบ ออกมาแล้วครับ เจ้าถังลมของเราทั้งสองใบ ผ่านเกณฑ์การทดสอบแรงดัน ด้วยความดันHydrostatic test โดยที่ถังของเราสามารถทนแรงดันได้ ไม่ปริ บวม แตก หรือเสียรูปทรงแต่ประการใด ไม่จำเป็นจะต้องเสียเงิน เสียทองซื้อถังใบใหม่แล้วครับ รวมไปถึงความหนาที่ผ่านมา 5 ปี เมื่อทำการตรวจวัด ค่าที่ออกมา กัดกร่อนไปเพียงเล็กน้อยครับ นับว่าทางโรงงานดูแลสภาพของถังที่ไม่ใช้งาน ได้เป็นอย่างดี ทุกฝ่าย happy กับงานที่ออกมา พร้อมกับความมั่นใจในการนำไปใช้งานต่อไปครับ งานทดสอบแรงดัน Hydrostatic Test ทั้งในส่วนของ ท่อ/ถัง/ ระบบpiping/ Boiler หรือ Pressure vessel เป็นงานที่เราดำเนินมาโดยตลอดครับ