งานบริการ วัดความหนา ถังน้ำมัน
งานบริการ วัดความหนา ถังน้ำมัน(ขนาดใหญ่) เป็นอีก 1 งานบริการ ที่ทาง กาก้า ดำเนินการโดยตลอดมาครับ โดยเพื่อนสมาชิก หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบ ว่ามีบริการ การตรวจสอบ การวัดความหนาถังน้ำมันในส่วนนี้ด้วย วันนี้ขอแนะนำ อีก 1 บริการ งานตรวจสอบทางวิศวกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยถังน้ำมันที่เราจะกล่าวถึง ในที่นี้ เป็นในลักษณะของ Storage tank หรือว่า ถังน้ำมันขนาดใหญ่นะครับ ไม่ใช่ถังน้ำมัน 200 ลิตร บรรทุกหลังรถกระบะ เล่นสงกรานต์ แบบนั้นคงไม่ต้องทำการวัดนะครับ.....หลายท่านอาจจะสงสัย เราจะวัดไปทำไม ถังน้ำมัน มันก็อยู่ของมันดีๆ อยู่มาเป็น 10ปี อยู่มาเป็น20ปี ไม่เห็นจะเป็นอะไร ทำไมต้องวัด แล้ววัดแล้วเราจะรู้อะไร และที่สำคัญ มีมาตรฐานในการวัด หรือ มาตรฐานในการทำงานหรือเปล่า หรือ วัดเล่นๆ มาตรฐานตามอำเภอใจนายช่าง แบบนั้นหรือเปล่า นึกจะผ่านก็ผ่าน นึกจะตกก็ตก แบบนั้นหรือเปล่า ผ่านนี่…ผ่านแบบไหน มีวิศวกร รับรองหรือไม่ หลายคำตอบ ที่สามารถหาคำตอบได้ครับ
ถังน้ำมัน ที่เรากำลังพิจารณา หรือกล่าวถึง ในบทความนี้ครับ
|
ถังน้ำมันบนดิน แนะนำกันก่อน เพิ่มเติมความรู้ มาที่นี่ต้องได้ความรู้กลับไปครับ…ถังน้ำมันบนดิน หรือ ภาษาอังกฤษ เราจะเรียกว่า Above ground storage tank ซึ่งก็แปลกันตรงๆตัว ก่อนที่ท่านจะเห็น มันสร้างขึ้นมานั้น ก็ต้องมีมาตรฐานนะครับ ในการสร้าง ไม่ใช่ไม่มี งาน engineering ต้องมีมาตรฐานเกี่ยวเนื่องเกี่ยวข้องทุกงาน ไม่ใช่สุ่มสี่ สุ่มห้า นึกอยากจะสร้างก็สร้าง ต้องมีการคำนวณการรับแรง ในส่วนรองรับความดันที่เกิดขึ้น จากภาระการบรรจุน้ำมันนั่นเอง ดังนั้นท่านจะเห็นได้ว่า เมื่อถังน้ำมัน ใบนั้นๆ บรรจุน้ำมันแล้ว ภาระหลักจากแรงดันจะมาจากน้ำหนักกด จากตัวน้ำมันเองเป็นหลัก หรือ ในหลักการทางวิศวกรรม เราเรียกว่า แรงดันจากเฮด หรือ static head pressure นั่นเอง
(ถังเขียว) Above Ground Storage Tank ชนิดหลังคาลอย หรือ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Floating roof หลังคาถังปรับระดับ เลื่อนขึ้น-ลงได้ รายละเอียดลึกๆ ขอนำเสนอในลำดับถัดไป (ถังดำ) Above Ground Storage Tank ชนิด หลังคาปิด หรือ Cone roof Tank พบเห็นได้ส่วนใหญ่ เป็น 2 ประเภทหลัก ที่เราพบเห็นบ่อยครับ |
แล้วเจ้า Head pressure มันเกี่ยวอะไรกับงานวัดความหนา ของพวกเราล่ะครับนายช่าง? เกี่ยวสิครับ เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกันอย่างตรงๆตัวเลยครับ เฉกเช่นเดียว กับถังแรงดัน เช่นเดียวกันกับหม้อไอน้ำ หรือว่า Boiler เปรียบเทียบง่ายๆ เมื่อท่านใช้งานไป 10ปี 20ปี ประเด็นหลักที่จะกล่าวถึงเลยคือ การผุกร่อน หรือ ให้เข้าใจง่ายเลย คือ สนิม นั่นเองครับ ที่เรามองไม่เห็น หรือ มองไม่ออก ว่ามันผุกร่อนลงไปเท่าไหร่แล้ว ถังของเราจะมีความหนา อยู่ที่เท่าไหร่แล้ว ณ เวลาปัจจุบันนั่นเองครับ ถึงเป็นที่มา ว่า มีเพื่อนสมาชิกโทรศัพท์ มาสอบถามหลายท่านครับ ว่าเราจะประเมิณ สภาพถังน้ำมันของเรา อย่างไรดี ใช้งานมานานมากแล้ว….
คำตอบที่ทางกาก้า แนะนำ ประเด็นแรกเลยก็คือ ทำการตรวจวัดความหนา ในส่วน shell plate นั่นเองครับ สำคัญที่สุด เพราะเรามองด้วยตาเปล่า ไม่เห็นนั่นเอง ว่าความหนามันเหลือเท่าไหร่แล้ว ณ ตอนนี้ (ถึงตอนนี้ เพื่อนสมาชิก หลายท่านสอบถามต่อไปอีกครับ…นายช่าง ถังผม มันใส่น้ำมัน มันจะไปผุกร่อน เป็นสนิม ได้อย่างไร…ครับ เรายืนยัน จากหลักการทางวิทยาศาสตร์ และหลักการทางวิศวกรรม ว่าการเกิดการผุกร่อน สามารถเกิดได้ แม้ว่าท่าน บรรจุน้ำมันลงไป กลไกการเกิดสนิม หรือ เหล็กออกไซต์( Fe2O3) ไม่ได้เกี่ยวกับ สารตัวกลางที่เราบรรจุ นั่นเองครับ) ท่านจะบรรจุ น้ำมันเตา น้ำมันปาลม์ น้ำมันโซล่า หรือ น้ำมันอะไรก็แล้วแต่ กลไก การเกิดสนิม มันไม่สนใจนั่นเองครับ ขอแค่ องค์ประกอบ เหล็ก+ออกซิเยน+ความชื้น ท่านก็จะได้ สนิม หรือว่า ไฮเดรตเฟอริคออกไซต์ นั่นเอง …ดังนั้น ท่านจะเห็นได้ว่า เมื่อผุกร่อนลงไป ความหนาของถังท่าน กร่อนลงไปแน่นอน ความสามารถในการรับแรงดัน ลดลงแน่นอน ถึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมต้องมีการตรวจวัดนั่นเองครับ
คำตอบที่ทางกาก้า แนะนำ ประเด็นแรกเลยก็คือ ทำการตรวจวัดความหนา ในส่วน shell plate นั่นเองครับ สำคัญที่สุด เพราะเรามองด้วยตาเปล่า ไม่เห็นนั่นเอง ว่าความหนามันเหลือเท่าไหร่แล้ว ณ ตอนนี้ (ถึงตอนนี้ เพื่อนสมาชิก หลายท่านสอบถามต่อไปอีกครับ…นายช่าง ถังผม มันใส่น้ำมัน มันจะไปผุกร่อน เป็นสนิม ได้อย่างไร…ครับ เรายืนยัน จากหลักการทางวิทยาศาสตร์ และหลักการทางวิศวกรรม ว่าการเกิดการผุกร่อน สามารถเกิดได้ แม้ว่าท่าน บรรจุน้ำมันลงไป กลไกการเกิดสนิม หรือ เหล็กออกไซต์( Fe2O3) ไม่ได้เกี่ยวกับ สารตัวกลางที่เราบรรจุ นั่นเองครับ) ท่านจะบรรจุ น้ำมันเตา น้ำมันปาลม์ น้ำมันโซล่า หรือ น้ำมันอะไรก็แล้วแต่ กลไก การเกิดสนิม มันไม่สนใจนั่นเองครับ ขอแค่ องค์ประกอบ เหล็ก+ออกซิเยน+ความชื้น ท่านก็จะได้ สนิม หรือว่า ไฮเดรตเฟอริคออกไซต์ นั่นเอง …ดังนั้น ท่านจะเห็นได้ว่า เมื่อผุกร่อนลงไป ความหนาของถังท่าน กร่อนลงไปแน่นอน ความสามารถในการรับแรงดัน ลดลงแน่นอน ถึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมต้องมีการตรวจวัดนั่นเองครับ
บนซ้าย - อย่าลืม เรียกตรวจสอบ เครื่องมือวัด มีการสอบเทียบ หรือ calibrate หรือไม่ ก่อนทำการตรวจวัด มาตรฐานไหน ในการตรวจสอบ ทุกครั้ง
บนขวา - ตรวจสอบ ทุกแผ่น ทุก shell plate และ ทุกชั้น หรือ ทุก course เพื่อตรวจหาความหนาต่ำสุด หรือ minimum shell course นำไปเปรียบเทียบ กับ รายการคำนวณ ที่วิศวกรตรวจสอบ ต้องดำเนินการนั่นเอง |
แล้ววัดความหนาไป พอทราบความหนา เราจะประเมิน หรือ เปรียบเทียบ ได้อย่างไรครับ ว่าเห็นสมควรแล้วนะ ที่จะเปลี่ยน หรือ เห็นสมควรที่จะหยุดใช้งานถังนั้นๆ เนื่องจากความหนามันผุมากเกินไป หรือ พูดง่ายๆว่ามันไม่ผ่าน หรือ Reject นั่นเอง นายช่างเอาอะไรมาเปรียบเทียบครับ หรือว่าเรา พิจารณาตามความเห็นส่วนตัว พิจารณามาลอยๆ ว่าเห็นมันบางแล้วนะ สมควรเปลี่ยน แบบนั้นหรือเปล่า เพื่อนสมาชิกหลายท่านสอบถามมา
ครับ ในการสร้างถัง ตามที่เรียนข้างต้น การสร้าง…เรามีมาตรฐานการสร้าง แน่นอนว่า ในการตรวจสอบ เราก็มีมาตรฐานการตรวจ เช่นเดียวกันครับ ไม่ใช่นึกจะวัดก็วัด นึกจะไม่ผ่านก็ไม่ผ่าน นึกจะผ่านก็ผ่าน งานที่ไม่มีมาตรฐานรองรับ ทางกาก้า เราไม่รับแน่นอนครับ งานทางวิศวกรรม ทุกงานต้องมีมาตรฐานเกี่ยวเนื่อง และรับรอง เช่นเดียวกันกับ งานวัดความหนาถังน้ำมันขนาดใหญ่ ในกรณีนี้ เช่นเดียวกันครับ วิศวกรผู้ทำการตรวจสอบ(ในงานพิจารณาตรวจสอบ ทางด้านเครื่องกล) ต้องมีการ จัดทำรายงานการวัดความหนา และที่สำคัญ ต้องมีรายการคำนวณ ตามมาตรฐานที่เกี่ยวเนื่อง กับงานนั้นๆนะครับ มีรายการคำนวณบ่งชี้ ชี้ชัด ลงไปครับ คำนวณอย่างไร ตามมาตรฐานไหน วิศวกรผู้รับผิดชอบลงนาม ผ่านคือผ่าน ไม่ผ่านคือไม่ผ่าน….ไม่ใช่ว่า วัดเฉยๆ แล้วมาตอบคำถาม ทางผู้ประกอบการ ว่า…เอ๊ะ มันก็น่าจะผ่านนะครับ มันน่าจะใช้ได้นะครับ มันน่าจะอยู่ต่อไปได้อีกนะครับ…ซึ่งมีจริงๆนะครับ |
ผู้ประกอบการหลายท่าน ที่ใช้บริการของทางกาก้า ปรึกษากับเรา ว่าก่อนหน้านี้ มีกรณีดังกล่าวจริงๆ ไม่มีรายการคำนวณ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น มาวัดเฉยๆ แล้วก็ประเมินนั่งเทียนเอาครับ ที่สำคัญ สอบถามถึงเครื่องมือ ที่เอาเข้ามาทำการ วัดความหนา ก็ไม่ได้มีการสอบเทียบ หรือว่ามีการ calibrate เลยครับ ผู้ประกอบการ บางท่านถึงกับ สนทนากับเราไป ส่ายหน้าไปด้วยครับ บอกว่ารู้อย่างนี้…โทรมาคุย กับทางกาก้า ตั้งนานแล้วครับ
ครับ…สายด่วน สายตรง สนทนากันครับ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน/สถานประกอบการ/โรงกลั่น/คลังน้ำมัน…ฯลฯ สายตรง สนทนาคุยกัน มากกว่า สื่อผ่านทางตัวอักษรแน่นอนครับ หรือ e-mail มาคุยกันครับ มาตรฐานการทำงาน เป็นอย่างไร ระบบเซฟตี้ในการทำงานมีมั้ย เครื่องไม้เครื่องมือ เป็นอย่างไร….และอีกหลายคำถาม มีคำตอบแน่นอน ถึงความสำคัญ ของงาน วัดความหนา ถังน้ำมัน นั่นเองครับ การทำงาน ทุกงานของกาก้า ต้องมีมาตรฐานรับรองครับ ไม่ใช่มีวิศวกรลงนามรับรองอย่างเดียวครับ ไม่มีรายการคำนวณ ไม่มีหลักการ ไม่มีมาตรฐานการทำงาน กล่าวลอยๆ ไม่ใช่งานเราแน่นอนครับ กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง เราเดินทางมาไกลเกินกว่า AEC มานานแล้วครับ
ครับ…สายด่วน สายตรง สนทนากันครับ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน/สถานประกอบการ/โรงกลั่น/คลังน้ำมัน…ฯลฯ สายตรง สนทนาคุยกัน มากกว่า สื่อผ่านทางตัวอักษรแน่นอนครับ หรือ e-mail มาคุยกันครับ มาตรฐานการทำงาน เป็นอย่างไร ระบบเซฟตี้ในการทำงานมีมั้ย เครื่องไม้เครื่องมือ เป็นอย่างไร….และอีกหลายคำถาม มีคำตอบแน่นอน ถึงความสำคัญ ของงาน วัดความหนา ถังน้ำมัน นั่นเองครับ การทำงาน ทุกงานของกาก้า ต้องมีมาตรฐานรับรองครับ ไม่ใช่มีวิศวกรลงนามรับรองอย่างเดียวครับ ไม่มีรายการคำนวณ ไม่มีหลักการ ไม่มีมาตรฐานการทำงาน กล่าวลอยๆ ไม่ใช่งานเราแน่นอนครับ กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง เราเดินทางมาไกลเกินกว่า AEC มานานแล้วครับ