KAKA Engineering, we're driving the future
  • Home
  • Knowledge
  • Inspection
  • Boiler/ Vessel
  • Hydrotest/Safety valve
  • Contact Us
  • ENG version
  • ASME
  • Boiler Room

Safety valve sizing and selection.

                                        หรือการเลือก  ขนาด ของ  Safety valve ที่ถูกต้องนั่นเอง  ที่มาที่ไปมาจากไหน ที่มาที่ไป…มาจากการที่  ทางกาก้า ได้เข้าไปตรวจสอบ Safety  valve ในหลายๆที่มา  ไม่ว่าจะเป็น Safety  valve สำหรับงาน  Boiler  สำหรับงาน  Gas  หรือ  ที่เห็นได้บ่อย เห็นได้ชัดเจนที่สุด เป็นของ Air  receiver tank หรือ  Vessel ประเภท  ภาชนะรับแรงดัน ที่ทางเรา พบว่ามีการใช้งาน ที่ผิดประเภท หรือ ไม่เหมาะสมนั่นเอง  ตรงนี้อันตรายมากๆนะครับ อันตรายกับผู้ประกอบการเองครับ ไม่ได้อันตรายอะไรกับทางเรา  อันตรายตรงไหน ผิดประเภทอย่างไร ติดตามกันครับ หัวข้อนี้ ผมจะขอยกตัวอย่าง  ทางภาคทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการคำนวณ ขนาดของเจ้า Safety  valve มาให้พวกเราเข้าใจ  ที่มาที่ไปครับ
Picture

                                        ท่านทราบหรือไม่ครับ  ยังมีวิศวกรตรวจสอบ หลายต่อหลายท่าน ไม่สามารถที่คำนวณ ขนาดของ Safety  valve ที่เหมาะสม  หรือที่ถูกต้อง ที่เหมาะกับถังแรงดันนั้นๆ มีจริงๆครับ ทางผู้ประกอบการ  แจ้งทางกาก้า มาหลายต่อหลายที่ ว่าสอบถามไปยังวิศวกร ที่เคยเข้ามาตรวจสอบ  รับรองภาชนะรับแรงดัน ให้แล้ว ไม่สามารถที่จะตอบคำถามได้ชัดเจน ว่าต้องใช้  Safety  valve ขนาดไหน  ถึงจะเหมาะสม หลักการคำนวณ คำนวณอย่างไร ตอบไม่ได้เลย…ตรงนี้  ทางเรามองว่าไม่ถูกต้องนะครับ ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย   ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะพิจารณาเลือกวิศวกรเข้ามาตรวจสอบ หรือว่ารับรอง  เรื่องที่เกี่ยวกับพวกนี้ ลองสอบถามกันก่อนครับ ว่าทางวิศวกรท่านนั้นๆ มีความรู้  ความเข้าใจ มากน้อยแค่ไหน อย่างไร เพราะเรื่องพวกนี้ เป็นเรื่องเฉพาะทาง  ผู้ประกอบการบางท่าน เคยบอกกับเราว่า  วิศวกรบางท่าน พูดว่า…ใช้ๆไปเถอะครับ  ผมมองดูสภาพแล้ว มันยังใหม่อยู่ น่าจะหรือ อาจจะยังดีอยู่  แล้วก็รับรองโดยไม่ได้ทดสอบอะไรเลย…แบบนี้  ก็มีครับ!!!  ผู้ประกอบการ  ถึงกับส่ายหน้าครับ
                                        รูปแรก(ด้านซ้าย) - Click ที่ภาพ เพื่อดูรูปขนาดใหญ่ครับ ตัวอย่างแรกครับ ตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุดครับ Safety valve ถูกออกแบบ มาสำหรับอัตราการระบาย  ที่ค่าหนึ่ง แต่ในการ ติดตั้งจริง ถูกลดขนาด เท่ากับลดอัตราการระบาย แบบนี้ ผิดนะครับ จากภาพ ท่านเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ขนาดรูเจาะ ออกแบบมาสำหรับ ให้ใช้กับ Safety valve ขนาด 1 นิ้ว แต่ของจริง ท่านใช้ Safety valve ขนาด 3/4 นิ้ว แบบนี้ไม่เกิดประโยชน์ ในการใช้งานจริง และเมื่อทางวิศวกรของเรา คำนวณกลับไปที่ตัวถังรับแรงดัน พบว่า ขนาดของ Safety valve ต้องเป็น 1 นิ้ว ไม่ใช่ 3/4 นิ้ว อย่างที่ติดตั้งครับ

ตัวอย่างถัดมา - ทางด้านขวา ดูกันแบบ Slide shown ครับ

            โจทย์คือ Buffer tank ที่ Design pressure ขนาด 15 Bar(g) โดยที่ Capacity หรือความจุ ขนาด 5,000 ลิตร/ ใหญ่ ไม่ใหญ่ ท่านเทียบ size กับทาง วิศวกร ตรวจสอบของทางกาก้า ในภาพนะครับ
            เมื่อเรา เข้าทำการตรวจสอบ vessel ใบนี้ พบว่า ด้วยพื้นที่ของถัง หรือด้วย ความจุของถังขนาดใหญ่ แต่ขนาดของเจ้า Safety valve มีขนาดเพียง orifice ที่อัตราการระบาย กลับมีเพียงขนาด 3/4 นิ้ว หรือ ขนาด 19 มม. อีกเช่นกัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่า ผิดแน่นอนครับ โดยเมื่อทางวิศวกรของเรา คำนวณกลับ คิดจากขนาดของถัง แรงดันออกแบบ พบว่า ถังขนาดนี้ ต้องมี Orifice หรือ รูเจาะ สำหรับอัตราการระบาย ของ Safety valve ที่ถูกต้องคือ 2 นิ้ว นั่นเอง
            ดังนั้น ผู้ประกอบการ ต้องทำการแก้ไข แน่นอนครับ ไม่อย่างนั้นจะทำการตรวจสอบทำไม จริงหรือไม่ครับ ถัง 500ลิตร ก็ขนาด Safety valve 3/4 นิ้ว ถัง 5,000 ลิตร ก็ขนาด Safety valve 3/4 นิ้ว แบบนี้ ไม่ใช่หลักการทางวิศวกรรมครับ ท่านสามารถขอดูรายการคำนวณ ที่แนบในรายงานการตรวจสอบของเรา ได้นั่นเองครับ
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง  กับ Safety valve ฉบับรวมรวม  ที่เราควรอ่านครับ สรุปโดยนายช่าง ของทางกาก้า เอ็นจิเนียริ่ง

                    ASME  Codes – ตัวแรกเลย  ยอดฮิต ยอดนิยม กล่าวเอาไว้ ใน Code ว่า All pressure vessel ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  และ Unfired Steam Boiler ท่านพิจารณาได้ตั้งแต่  UG-125 ถึง  UG-134 มีเขียนหมด  มีบอกหมด ขนาดเท่าไหร่ อย่างไร การเลือกใช้ การปรับตั้ง การทดสอบ set ที่เท่าไหร่  กี่% อย่างไร  ไม่ใช่ว่า…ไม่มีครับ  พิจารณากันนะครับ ให้ทางเรายกมาทุก Paragraph สามวัน  สามคืนไม่จบแน่นอน  สำหรับ  ASME section I,  XIII

                     API Standard and recommended practice – ตัวที่สอง  มาถึงในส่วนของ API จะมีอยู่  2-3 ตัวด้วยกัน  นั่นได้แก่
 - API  Recommended Practice 520,  Sizing, Selection,  and  Installation of Pressure-Relieving Devices in  Refineries
 - API  Recommended Practice 521, Guide for Pressure-Relieving and Depressuring  Systems
 - API  Standard 2000,  Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (Non  refrigerated  and Refrigerated)

                    NFPA Codes – มาถึง  Code  ตัวถัดมา  ของ NFPA  โดยความเห็นส่วนตัว  มีความคล้ายคลึง กับทาง API  ค่อนข้างมาก  พบเห็นได้ว่า ในสถานประกอบการ หลายๆแห่ง ใช้แทนกันได้ครับ สำหรับตัวยอดนิยม  ของทาง  NFPA  ก็จะมี  NFPA  30, Flammable and Combustible Liquids  และที่พบเห็นบ่อยๆ
จะเป็น  NFPA 58,  Liquefied Petroleum Gases, Storage and Handling นั่นเอง
                    ยังไม่หมดนะครับ  ยังมี OSHA  Codes อีก  โอ้โห…เยอะจริงๆนายช่าง  เพื่อนสมาชิกบางท่าน ถึงกับกล่าวกับทางเรา ท่านจะเห็นว่า มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง มี  ไม่ใช่ว่าไม่มี และมีมาเป็น หลายสิบปีแล้วนั่นเอง  ไม่ใช่เพิ่งมามีตอนสมัยฟุตบอลโลกที่ประเทศบราซิลปี 2014 ครับ การเลือกใช้ การหาขนาดเจ้า  Safety  valve มีความสำคัญมาก  ไม่ใช่ว่าท่านติดตั้ง Safety  valve แล้วถังท่าน  จะมั่นใจ ไม่ระเบิดนะครับ หลายต่อหลายครั้ง อัตราการระบาย ไม่เหมาะสม ทำให้  ระบายแรงดันไม่ทัน เกิดอุบัติเหตุมาแล้วในต่างประเทศ ไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิด มีหลาย  Case  เกิดขึ้นมาแล้วครับ  ที่ขนาดไม่เหมาะสม นำไปติดตั้งโดยการรู้เท่าไม่ถึงการ หรือ ไม่มีการปรึกษา  ไม่มีรายการคำนวณของ Safety  valve เหมือนกับ  ที่ทางผู้ประกอบการหลายๆท่าน แจ้งเรามาว่า  วิศวกรบางท่านคำนวณอะไรไม่เป็นเลยนั่นเองครับ
Picture
A
Picture
B
Picture
C
Picture
D
            A, B แสดง อัตราการระบาย ที่ถูกระบุ อยู่บน Name plate ของเจ้า Safety valve ซึ่งเจ้าอัตราการระบาย ตัวนี้ จะเป็นตัวกำหนด ขนาด หรือว่า sizing ของตัว Safety valve ที่วิศวกร จะต้องคำนวณ จากแรงดันออกแบบของถัง/ขนาดของถัง รวมถึง สารตัวกลาง ที่ใช้ นั่นเองครับ ทุกอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ไสยศาสตร์ครับ
            C,D สื่อให้เห็นถึง Safety valve แต่ละประเภท จะถูกระบุมาอย่างชัดเจน เช่น Safety valve ของลม/ Safety valve ของ gas/ Safety valve ของ steam หรือว่าไอน้ำ/ Safety valve สำหรับ Petroliam product ของใคร ของมัน จะหยวนๆ เอามาใช้แทนกันไม่ได้เด็ดขาด ที่ Name plate ระบุ ชัดเจนครับ
            
                    อ่านกันมาถึงตรงนี้  ชี้แนะกันมาถึงขนาดนี้ ทางเราอยากจะเรียนแจ้งกับเพื่อนสมาชิกครับ ในการเลือกขนาด  ของเจ้า Safety  valve ที่ถูกต้อง  ให้เหมาะสม ไม่ได้มีความยากเย็นเลยครับ ใน ASME  Code หรือว่าใน  API  ก็มีเขียน  มีบอกสูตร ในการคำนวณชัดเจน  ไม่ได้ยากเย็น  ตรงไหนอย่างไรเลยครับ ดังนั้นก่อนที่ท่านจะพิจารณา ตรวจสอบ ไม่ว่าจะตรวจสอบ  Safety  valve โดยตรง  หรือ ตรวจสอบ Pressure  vessel ลองพิจารณา  สอบถามกันก่อน ว่าความเข้าใจในตัวหลักการ หรือ จะลองให้ คำนวณให้ดู เป็นรายการคำนวณ  ก็ไม่ผิดกติกา แต่ประการใดครับ ไม่เกิน  1  หน้ากระดาษ  A4  สำหรับรายการคำนวณ  เจ้า Safety  valve ที่ถูกต้องครับ  หากวิศวกรที่เสนอท่าน ว่ามาตรวจสอบ ไม่สามารถแจงรายการคำนวณ ขนาดได้ ผู้ประกอบการ  ลองพิจารณาตามความเหมาะสมครับ เพราะทางด้าน Boiler  และ  Pressure  vessel เป็นงานที่เป็นศาสตร์และศิลป์  อยู่กับทางกาก้ามาครึ่งชีวิตแล้ว เรามาสายแรงดันโดยตรงนั่นเอง ยกหูโทรศัพท์ ปรึกษา  พูดคุย ส่งแฟกซ์ รายการคำนวณ ได้ที่เรา ที่นี่ เราไม่รับงานที่ไม่ถนัด  หรือรับงานจับฉ่ายครับ ถ้าเป็นเรื่องแรงดัน ปรึกษาเรา
Picture
การทดสอบของเรา ไม่สงวนลิขสิทธิ ในการเก็บภาพนะครับ ยินดีเลย เพื่อนสมาชิกหลายท่านสอบถาม
Powered by Create your own unique website with customizable templates.