ทำไม KAKA ใช้ Digital pressure gauge ในงานทดสอบ
เพื่อนสมาชิกหลายท่านสอบถามกันมาครับ ว่า…ทำไม KAKA ใช้ Digital pressure gauge ในงานทดสอบ หรือว่า ที่มาที่ไป ในงานทดสอบประเภทต่างๆ ของทาง services ทาง KAKA ที่อยู่หน้างาน หรือว่า On site นั่นเอง ทำไมต้องใช้/ มันจะคุ้มเหรอครับ/ ต่างๆคำถามครับ วันนี้พอมีเวลา มาเล่าสู่กันฟัง อีกเช่นเคยครับ ถึงที่มา และ ที่ไปนั่นเอง
ในการอ่านค่า Pressure gauge ท่านเคยประสบปัญหานี้หรือไม่ครับ โดยเฉพาะ pressure gauge แบบเข็ม บางท่านอ่าน pressure gauge แบบ analog เรามักจะพบครับ เล็งแล้วเล็งอีก ท่านนี้อ่านได้ 10.5 bar อีกท่านมาอ่าน บอกว่า 10.8 bar พออีกท่านมาอ่าน บอกว่า น่าจะ 10.7 bar มากกว่า ไม่น่าถึง 10.8 barแล้วตกลงในการบันทึกค่าที่ได้ เราจะลงค่าไหนดีล่ะครับทีนี้
ในการอ่านค่า Pressure gauge ท่านเคยประสบปัญหานี้หรือไม่ครับ โดยเฉพาะ pressure gauge แบบเข็ม บางท่านอ่าน pressure gauge แบบ analog เรามักจะพบครับ เล็งแล้วเล็งอีก ท่านนี้อ่านได้ 10.5 bar อีกท่านมาอ่าน บอกว่า 10.8 bar พออีกท่านมาอ่าน บอกว่า น่าจะ 10.7 bar มากกว่า ไม่น่าถึง 10.8 barแล้วตกลงในการบันทึกค่าที่ได้ เราจะลงค่าไหนดีล่ะครับทีนี้
Click ที่ภาพ เพื่อดู ระยะใกล้ Nameplate ระบุ ของตัว Safety valve
[บน/ซ้าย] ระบุชัดเจน Set pressure ที่ 0.49 MPa และ Blow Down pressure ที่ 0.04 MPa [บน/ขวา] ระบุชัดเจน 0.98 MPa คำถาม...เราจะอ่านค่าแรงดันอย่างไร หากใช้ Analog pressure gauge แบบเดิม ในการอ่านค่า การทดสอบ |
หรืออย่างในบางครั้ง เราไปทำการทดสอบ safety valve ตาม nameplate ระบุ แรงดันปรับตั้ง 0.49 MPa ขณะที่เราทำการทดสอบ 0.49 MPa นี่มันแสดงว่า มันต้องเกือบๆจะ 0.5 MPa เราก็ต้องมานั่งเล็งกันอีกครับ เอ๊ะ.. 0.5MPa หรือยัง หรือว่า มานั่งเล็งกันอีก เอ๊ะ… มันใกล้ถึง 0.49 MPa หรือยัง ทำงานหรือยัง มากมายหลายปัญหาข้างต้นครับ อย่างที่เรียนมา เพื่อนสมาชิกที่อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะพอนึกภาพตามออกครับ ยิ่งหน่วย ในการทดสอบยิ่งละเอียด ยิ่งยากครับ หน่วยในการอ่านค่าแรงดัน ท่านปรึกษาวิศวกรที่โรงงานท่านเลยครับ เล่นกันหลัก PSI หรือว่า ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นี่ถือว่าละเอียดครับ
ประเด็นหลักเลย ที่ทาง KAKA เน้น และย้ำมาโดยตลอดในการทำงานวิศวกรรมครับ งานทุกงานที่ออกจากเรา ต้องไม่ปล่อยผ่าน โดยไม่มีมาตรฐานรองรับ หรือ เรียกกันว่า ปล่อยผ่านแบบชุ่ยๆ หรือ สักๆแต่ว่าทดสอบครับ งานที่ออกจากเรา ทุกงานทดสอบ จะต้องมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง รองรับนั่นเอง ไม่อย่างนั้น ท่านจะทดสอบทำไม จริงหรือไม่ครับ นี่คือหัวใจในงานทดสอบ ที่เราเน้นย้ำกับทางทีมงานภาคสนามมาโดยตลอดครับ เก็บทุกรายละเอียดแน่นอน |
เข้าประเด็นครับ ในงานทดสอบกลอุปกรณ์นิรภัย ก็เช่นกันครับ หลายต่อหลายครั้งที่เรามักจะพบว่า ในการ Set pressure ตามที่ตัวบริษัทผู้ผลิต หรือทางคนที่ Design ระบบ ให้เจ้า Safety valve ต้องทำงานที่ความดันเท่านี้นะ เท่าโน้นนะ หลากหลายแล้วแต่ การออกแบบของภาชนะรับแรงดันครับ (ขึ้นกับมาตรฐาน ในแต่ละงานนั้นๆเป็นหลัก) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบที่ต้องการ precision หรือความแม่นยำมากครับ เช่น หลักจุดทศนิยม ของการอ่านค่าแรงดันนี่ล่ะครับ จึงเป็นประเด็นหลักเลยว่า ทำไมเราถึงต้องใช้ Digital pressure gauge ในการอ่านค่าแรงดัน ในงานทดสอบภาคสนามของทาง KAKA ครับ
แล้วมันต่างกันอย่างไรครับนายช่าง ระหว่าง Digital pressure gaugeกับ Analog pressure gauge หรือว่า pressure gauge แบบเข็ม แบบเดิมที่เราเห็นในการทดสอบส่วนใหญ่ คำตอบอย่างที่เรียนข้างต้นครับ ความละเอียดในการอ่านค่านั่นเองครับ เราอ่านค่ากันได้ถึงหลัก จุดทศนิยม โดยใช้ digital pressure gauge ในการอ่านค่า เทียบกับ analog pressure gauge นั่นเอง หรือพูดง่ายๆคือ เราใช้ pressure gauge ถึง 2 ตัวเพื่อการอ่านค่า เทียบกันนั่นเองครับ
ในการทำงานกับแรงดัน หรือเล่นกับแรงดัน จะไม่มีการใช้ pressure gauge เพียงแค่ตัวเดียวในการอ่านค่าเด็ดขาดครับ สำหรับเรา เพราะทุกครั้ง เราจะถือว่า งานอันตรายอยู่ตรงหน้าเราเสมอ และที่สำคัญ อย่าลืมนะครับ pressure gauge ที่เราใช้ จะต้องผ่านการสอบเทียบ หรือว่า calibrate จากหน่วยงานที่ได้รับ ISO 17025 ในการทำงานทุกงานของเราครับ ทีนี้เราไม่ต้องมานั่งเล็ง หรือว่า มานั่งเถียงกันแล้วครับ ว่า pressure gauge เราอ่านค่ากันที่เท่าไหร่ เราอ่านกันหลัก จุดทศนิยมได้อย่างสบายๆครับ จะ 0.49MPa จะ 17.7 bar จะ 30.5 กก.ต่อ ตารางเซ็นติเมตร หรือจะเป็นหน่วยละเอียดกันหน่อย อย่าง หน่วยปอนด์ ต่อ ตารางนิ้ว ยกตัวอย่างเช่น set pressure 275 PSI หรือว่าหลักจุดทศนิยมในหน่วยความดันอื่นๆ เราก็สามารถอ่านได้ครับ สบายๆเลย ทุกฝ่ายแฮปปี้ครับ ทางโรงงานแฮปปี้ ทางกาก้า เป็นผู้ทดสอบเองก็แฮปปี้ ไม่ต้องมานั่งเล็ง จนตาบิด ตาเหล่ กันแบบเดิมครับ เราเป็นหน่วยงานทดสอบตามหลักทางวิศวกรรม ท่านไม่ต้องห่วงเรื่องคุ้ม/ไม่คุ้ม digital pressure gauge แต่ละตัว หลักหมื่นขึ้นไปทั้งนั้นครับ ที่เรานำมาใช้ในงานทดสอบของเรา เพื่อให้งานทดสอบมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง |
Digital pressure gauge กับ งานทดสอบ Safety valve ภาคสนามครับ
|
นายช่างครับ…ทางบริษัทเรา สนใจเจ้า digital pressure gauge ที่นายช่างนำมาใช้ในงานทดสอบแล้วครับ นายช่างมีขายหรือไม่ครับ ครับ…หลายที่ หลายแห่งที่เราไปทำงานทดสอบมา สอบถามเรามาแบบนี้จริงๆครับ คำตอบเลย คือทางเราไม่ได้ จัดจำหน่ายครับ ทาง KAKA ไม่ได้ขาย digital pressure gauge ครับ หากท่านสนใจ ท่านสามารถสั่งซื้อกันเองได้เลยครับ หรือ เพื่อนสมาชิก บริษัททดสอบทางด้าน งานที่เกี่ยวกับแรงดัน หรือ เพื่อนสมาชิกที่เป็นวิศวกรตรวจสอบ งานเกี่ยวกับด้านแรงดัน มาหยิบ มายืม ไปใช้งานได้เลยครับ ที่นี่เราไม่มีให้เช่า หรือ ไม่มีจำหน่ายครับ
ทางเราเป็นหน่วยงานทดสอบ แต่เราสามารถให้คำแนะนำเพื่อนสมาชิกได้ครับ ยี่ห้อไหนดี ยี่ห้อไหนทน ร้านไหนคนขายมีความรู้ ร้านไหนคนขายเน้นแต่ขายของ ฯลฯ เรื่องแรงดัน เรื่องอุณหภูมิ บอกเราสิครับ เราให้คำแนะนำได้ ที่นี่เราทดสอบ กันเป็นเหมือนของเล่นไปแล้วครับ ตั้งแต่ 0.5 bar ไปจนกระทั่ง 1,000 bar ด้วย digital pressure gauge ครับ !!!
ทางเราเป็นหน่วยงานทดสอบ แต่เราสามารถให้คำแนะนำเพื่อนสมาชิกได้ครับ ยี่ห้อไหนดี ยี่ห้อไหนทน ร้านไหนคนขายมีความรู้ ร้านไหนคนขายเน้นแต่ขายของ ฯลฯ เรื่องแรงดัน เรื่องอุณหภูมิ บอกเราสิครับ เราให้คำแนะนำได้ ที่นี่เราทดสอบ กันเป็นเหมือนของเล่นไปแล้วครับ ตั้งแต่ 0.5 bar ไปจนกระทั่ง 1,000 bar ด้วย digital pressure gauge ครับ !!!