KAKA Engineering, we're driving the future
  • Home
  • Knowledge
  • Inspection
  • Boiler/ Vessel
  • Hydrotest/Safety valve
  • Contact Us
  • ENG version
  • ASME
  • Boiler Room

มาเรียนรู้ศัพท์เทคนิค ที่เกี่ยวข้องกับ Safety valve กัน

ไหนๆก็ไหนๆ ประเทศไทยเราก็จะเข้าสู่ AEC  กันแล้วนั้น มีผล หรือ ไม่มีผล ต่อหน้าที่การงานอย่างไร ใครจะไปทราบ  หรือใครจะหยั่งรู้ดินฟ้าครับ จริงหรือไม่ ที่ว่าไม่มีอะไรแน่นอน แต่ที่แน่นอน  คือเรายังคงเดินหน้า ทำงานตามหลักการทางวิศวกรรม ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง  ในลักษณะงานที่เป็นไปตาม Code หรือ เป็นไปตามมาตรฐานสากลครับ เป็นสิ่งที่ทางเราเน้นยำมาเสมอมา  ตลอดต่อเนื่องการทำงานของเรา
Picture
Picture
ที่ Nameplate ของเจ้าตัว Safety valve ก็มีระบุครับ ว่า set pressure เท่าไหร่ หรือ ในบางครั้ง อย่างเช่นในรูปด้านล่าง ก็จะระบุ เพิ่มขึ้นมาอีกด้วยครับ ว่าค่า Blowdown เท่าไหร่...ทีนี้ เพื่อนสมาชิก ได้สนทนา ไปในแนวทางเดียวกันได้ครับ
                            ครับ…KAKA Talk ฉบับนี้ สืบเนื่องจาก เราได้มีโอกาส เข้าไปทดสอบ Safety valve ที่ทางโรงงานแห่งหนึ่ง ที่เป็นบริษัทฝรั่งนั่นเองครับ แน่นอนว่า  การสื่อสารนอกจากเราจะใช้ ภาษาอังกฤษในการสื่อสารที่หน้างาน ขณะทำการทดสอบ  ร่วมกับเพื่อนวิศวกรชาวต่างชาติแล้วนั้น ทางเพื่อนวิศวกรชาวไทย  ก็สอบถามกันเข้ามาครับ นายช่างลองแปล พวกศัพท์เทคนิคที่เกี่ยวข้อง ในงานทดสอบ Safety valve ของนายช่าง ให้พวกเราด้วยสิครับ ต่อไปเราได้สนทนาภาษาเดียวกัน  เวลาเราไปคุยกับ เพื่อนวิศวกรต่างชาติ ปวดหัวจริงๆเลยครับ  ได้ยินมามากมายหลายคำศัพท์เลย pop action  บ้าง reseat pressure บ้าง blowdown บ้าง อะไรต่อมิอะไร มากมายกว่า yes, no แล้วก็ ok ความรู้ไม่มีวันเรียนจบ
SET PRESSURE  คือ แรงดันที่ปรับตั้งเอาไว้ สำหรับเจ้าตัว Safety  valve นั่นเอง หมายถึง เมื่อแรงดันภายในภาชนะบรรจุแรงดัน เพิ่มมากขึ้น จนถึง set pressureแล้วนั้น จะต้องมีการทำงาน ของเจ้าตัว Safety  valve เกิดขึ้นนั่นเอง หรือพูดกัน เข้าใจง่ายกว่านั้นอีกคือ  ความดันที่ทำงานนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ถังลมใบนี้ Safety  valve ถูก set pressure เอาไว้ที่ 10.0 bar(g)  นั่นหมายถึง เมื่อนำ safety valve  มาทดสอบ จะมีการทำงานเกิดขึ้นที่ความดัน 10.0  bar(g) นั่นเอง…บางท่าน อาจตั้งข้อสงสัยว่า แล้วถ้า safety  valve ไม่ทำงานที่ 10.0 bar(g)  ล่ะครับ เช่น มันทำงานก่อน ทำงานที่ 8.0  bar(g) หรือว่า ทำงานที่ 15.0 bar(g)  ล่ะ ใช้ได้หรือไม่ครับนายช่าง คำตอบคือ…ไม่ได้ คำตอบสุดท้ายครับ เพราะอะไร เพราะมันจะต้อง ทำงานตามที่  set pressure กำหนดมานั่นเองครับ ซึ่ง set  pressure ก็จะไปเกี่ยวเนื่องกับMAWP  ในการออกแบบ หรือ design
ภาชนะรับแรงดันนั้นๆ อีกครั้งนั่นเอง
                           
                             POP Action 
 หรือบางท่านเรียก Pop  pressure หรือเพื่อนฝรั่งบางท่านก็เรียก Snap acting หรือนายช่างจะเรียก มัน pop  มั้ย เจ้า safety valve  ตัวนี้ หรือมัน pop ที่เท่าไหร่ ที่แรงดันเท่าไหร่…ครับ จะเรียกอย่างไร ไม่ผิดกติกา การสื่อสารไปในทางเดียวกันเป็นพอ  เข้าใจไปในแนวทาง หลักการทางวิศวกรรมเดียวกัน                             
Picture
set pressure: ตาม Nameplate ระบุ
pop action หรือ ในบางครั้ง คือค่า peak นั่นเอง
reseat pressure: safety valve ปิดสนิด หรือ นั่งบ่าอีกครั้ง
                            ครับ…เจ้า Pop action นี้ เราจะใช้ในการสื่อความหมาย ถึงกรณีที่เจ้า safety valve  ของเรา เกิดอาการที่เรียกว่า full  lift หรือหน้าบ่า/ หน้า discเจ้าตัวsafety valve กระโดด เปิดออก ในช่วงระยะเวลาที่เร็วมาก(เร็วขนาดไหน/ เร็วขนาด millisecondsครับ  หรือ ชั่วตากระพริบ ประมาณนั้น)เพื่อให้ มีการระบายแรงดันเกิดขึ้น   จึงทำให้เกิดเสียงดัง ดัง pop ขึ้นมา ดัง…ปั้ง ปั้ง…..จึงเป็นที่มาที่ไป ของคำว่า  pop  action หรือ pop pressure หรือ snap pressure นั่นเอง

                            Reseat  pressure
  หรือ reseating  pressure  ความหมายคือ เมื่อ safety  valve ได้เปิดการทำงานแล้วนั้น (จะด้วยเปิดการทำงาน ตาม set  pressure แล้วเกิด pop  action หรือไม่เกิด pop  action ก็สุดแล้วแต่นั้น)เมื่อแรงดันส่วนหนึ่ง ได้ระบายออกไป จึงเป็นผลให้กลไก  การทำงานของ safety  valve หลักด้านใน คือตัวสปริง หรือ แรงที่เกิดจากสปริง  ทำการต้านแรงดันที่เกิดขึ้น จนกระทั่ง หยุดการทำงานอีกครั้ง บ่า disc  นั่งบ่า ปิดการทำงานของ safety  valve เพื่อเตรียมกลับเข้าสู่ mode  เตรียมพร้อมการทำงานนั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า มันคือ  ความดันที่ปิดการทำงานนั่นเอง ในบางครั้ง เราสามารถที่จะเรียกว่า Close pressure ก็ไม่ผิดกติกา แต่ประการใด นั่นเองครับ หรือ แรงดันเมื่อ ลิ้นของ safety  valve ปิดการทำงานสนิท 

                         ดังนั้น สิ่งที่แน่นอนอย่างเห็นได้อย่าง เด่นชัดเลย นั่นคือ  เจ้า reseat  pressure จะต้องมีค่า อยู่ระหว่าง operating  pressure ของตัว vessel
และค่าของ set  pressure ของตัว safety  valve นั่นเองครับ ชม VDO ภาคสนาม ที่ทางทีมงานทดสอบ อัดมาครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา

                            Blowdown
คือ เปอร์เซ็นต์ในช่วงความแตกต่าง หรือเปอร์เซ็นต์แตกต่างระหว่าง  ที่เจ้าตัว Safety  valve เริ่มที่จะเปิดการทำงาน หรือ Set  pressure และปิดการทำงานสนิท หรือ Reseat  pressure พิจารณา ตาม Diagram จะเห็นได้อย่างชัดเจนครับ ในบางครั้ง เราสามารถเรียกได้ว่า %  Blowdown ก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด ซึ่งโดยทั่วไป ค่า %  blowdown สามารถอยู่ได้ ตั้งแต่ -7%  ถึง -20%  ขึ้นอยู่กับ Code  ขึ้นอยู่กับ Standard หรือขึ้นอยู่กับ fluid  ที่ใช้งานสำหรับเจ้า Safety  valve นั้นๆครับ(steam,  gas or liquid). ตรงนี้เราไม่สามารถตอบได้เป๊ะๆนั่นเองครับ 

                            ครับ Kaka  talk ฉบับนี้ ค่อนข้างที่จะลงลึก ทางด้านทฤษฎี ที่ไม่ค่อยจะมีเขียนในตำราเรียน  กันนิดหนึ่งครับ อย่าเพิ่งเบื่อกันครับ ก่อนที่จะลงภาคสนาม  ภาคทฤษฎีเราต้องแน่นเสียก่อน ทีนี้เราก็จะได้ พูดจา ประสาเดียวกันแล้วครับ  เวลาที่เราทำการทดสอบ หรือว่า เวลาที่เรา สนทนากับเพื่อนวิศวกรต่างชาติ  ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันนั่นเองครับ เป็นสิ่งที่พวกเรา มาช่วยกันยกระดับ วงการ  กันยิ่งๆขึ้นไปครับ
Powered by Create your own unique website with customizable templates.