รู้ไว้ใช่ว่า งานวัดความหนา มีมากกว่าที่คิด
ครับ KAKA Talk ฉบับนี้ เบาๆสบายๆ มาเรียนหนังสือ เพิ่มเติม เกี่ยวกับงานวัดความหนากันดีกว่าครับ หลายท่านอาจจะถามว่า การวัดความหนา หรือ ultrasonic thickness measurement , มันจะไปมีอะไรพิศดารครับ ไม่เห็นจะมีอะไรแปลกใหม่เลย หลักการคือ มี transducer หรือว่า หัว probe รับ-ส่ง คลื่นเสียง ultrasonic เพื่อยิงเข้าไปในชิ้นงาน สะท้อนกลับ back wall echo มาคำนวณ แล้วแสดงผลบนจอ display เท่านี้เองจริงๆ ไม่มีอะไรแปลกใหม่
Probe sizing หรือขนาดของ หัว probe ที่เลือกใช้ มีผลหรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในงานวัดความหนา ประเภท ความหนาท่อ พิจารณาอย่างไร
|
ถูกต้องครับ ภาคทฤษฏีแบบคร่าวๆมีเท่านี้จริงๆ แต่ถ้าเขียนแบบคร่าวๆ มาให้พวกเราอ่านกัน คงจะเบื่อใช่หรือไม่ครับ ดังนั้น KAKA Talk ฉบับนี้เรามาเจาะลึก กันด้วยเรื่อง การเลือก หัว probe ที่เหมาะสมในการใช้งานวัดความหนา นั่นเองครับ หรือ Transducer selection นั่นเองครับ เลือกเพื่ออะไร เพื่อให้ได้ความแม่นยำที่สุด ในการอ่านค่า หรือ ความแม่นยำที่สุดในการทำการวัดค่านั่นเอง และอีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจคือ การวัดความหนาบนท่อ บนtube หรือว่าบนผิวโค้ง/ curve surface นั่นเอง เริ่มน่าสนใจแล้วใช่หรือไม่ครับ
ภาคทฤษฎี เราเรียนหนังสือกันมา หลายต่อหลาย course เกี่ยวกับ ultrasonic ในเบื้องต้นแล้วว่า การเลือกใช้หัว probe ในงานทำการวัดความหนาแต่ละงานนั้น เราจะพิจารณาคร่าวๆ 2 ประการเป็นหลัก คือ การเลือกความถี่ใช้งานให้เหมาะสม และการเลือกขนาด หรือว่า sizing ให้เหมาะสม นั่นเอง แล้วคำถามถัดมาของเรา เราจะรู้ได้อย่างไรครับ ความถี่ใช้งาน กับขนาดของ หัว probe ที่เหมาะสม คำตอบคือ พิจารณาดูที่หัว probe ได้เลยครับ จะต้องมีเขียนบอกไว้ทุกอัน อย่างแน่นอน ทีนี้เราก็มาพิจารณาตามหลักทฤษฎีที่ร่ำเรียนมากันครับ ตรงนี้ วิศวกรต้องท่องจำให้ขึ้นใจครับ หัวโพรบ ความถี่ต่ำ(ต่ำแค่ไหน/ 2.5 MHz ลงมา or Lower) เหมาะสำหรับใช้งานที่ attenuation สูงๆ พวกที่ต้องการ penetration สูงๆ หรือพวกชิ้นงานหนาๆ หรือวัสดุพวกที่ scattering บ่อยๆ เช่นพวก เหล็กหล่อ, ทองเหลืองหล่อ พวกเม็ดเกรนหยาบๆ พวกนี้จะเหมาะกับ ความถี่ต่ำ หัวโพรบ ความถี่สูง(สูงแค่ไหน/ 5MHz ขึ้นไป) พวกนี้ เหมาะ สำหรับ วัดค่า งานที่บางๆ หรือว่าวัสดุพวกที่ attenuation ต่ำๆ หรือพวก non-scattering พวกนี้ควรใช้ความถี่สูงครับ เพราะว่า sensitivity จะดีกว่าพวกความถี่ต่ำ ยิ่งความถี่สูง sensitivity ความไวในการจับสัญญาณยิ่งดีครับ(ความถี่สูง ความยาวคลื่นต่ำ ถูกต้องหรือไม่ครับ เบสิค ฟิสิกส์ ม.4 นั่นเอง) |
อ่านถึงตรงนี้ หลายต่อหลายท่าน อาจตำหนิว่า…ทำไมต้องใช้ คำภาษาไทยคำ อังกฤษคำ กันด้วย…เรียนกันตรงๆ เราอยากให้ท่านคุ้นเคยกับศัพท์พวกนี้ เวลาที่เราไปคุยกันหน้างาน ภาคสนาม บางครั้ง แปลอังกฤษเป็นไทย แปลไทยเป็นอังกฤษ โอกาศที่จะสื่อสารกันพลาด มีสูงครับ ศัพท์บางศัพท์ เป็นศัพท์ทางด้านช่าง เช่น attenuation หรือว่า penetration เราขอใช้ศัพท์อังกฤษ แทน ตรงๆตัว ไม่ผิดกติกาแต่อย่างไรนะครับ เพื่อนสมาชิก หากเราใช้บ่อยๆ สนทนาภาษาช่างกันบ่อยๆ เข้าใจ และ ชัดเจนแน่นอนครับ
คำถามที่1 จากนายช่างใหญ่ ของพวกเรา…เมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้ เอาล่ะครับ หากเพื่อนสมาชิก ต้องการที่จะตรวจสอบความหนา ถังแรงดัน ประเภทถังลม หรือว่า Air receiver tank ในโรงงานของเรา ต้องการทราบความหนา ว่ามันหนาเท่าไหร่ เพื่อที่จะเอาไปเปรียบเทียบ กับรายการคำนวณ ความสามารถในการรับแรงดัน โดยที่วัสดุที่ใช้ทำถัง เป็น A516 Gr-60 ตามแบบเมื่อสิบปีที่แล้วระบุความหนาใน drawing เท่ากับ 12.7 mm. คำถามคือ…ท่านทราบข้อมูลคร่าวๆประมาณนี้ ท่านจะให้ นายช่างที่เข้ามาทำการวัดความหนา เลือกใช้ หัว probe ความถี่เท่าไหร่ ในการตรวจสอบครับ 2.5MHz หรือ ว่า 5.0MHz ดีครับ เลือกกันถูกต้องแล้วใช่หรือไม่ครับ เพื่อนสมาชิก มาถึง เรื่องที่น่าสนใจเรื่องถัดมาครับ คือ การวัดความหนา บนวัสดุที่มีพื้นผิวโค้ง หรือพวก วัสดุ ที่มี Geometry เป็นแบบ convex surface หรือว่า concave surface เช่น…การวัดความหนาท่อ การวัดความหนาของ pipe โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่ขนาด NPS หรือว่า Nominal pipe size ตั้งแต่ 4 นึ้วลงมา พวกนี้ทำไมจึงพิศดารกว่า พวกอื่นครับนายช่าง หลายท่านสอบถามเข้ามา เหตุผลหลักที่พวกนี้ พิศดารกว่าพวกอื่นเลย คือ เมื่อทำการวัด เมื่อทำการกด หัวโพรบ แนบไปกับพื้นผิวนั้น ยิ่งขนาดของพื้นผิว มีส่วนที่สัมผัสน้อยลงเท่าไหร่ การส่งผ่านคลื่น ultrasonic ยิ่งส่งผ่านพลังงานไปได้น้อยนั่นเอง เพราะอะไร ก็เหตุผลที่ว่า เพราะหัวโพรบ ultrasonic ไม่สัมผัส แนบสนิท กับพื้นผิว(สาเหตุ เพราะมันเป็นผิวโค้งนั่นเอง) ดังนั้น เมื่อมันไม่แนบสนิท การส่งผ่านคลื่น แทนที่จะวิ่งไป 100 จึงวิ่งไปแค่ 60-70 เป็นต้น นี่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพนะครับ ดังนั้น นึกง่ายๆ นึกตามง่ายๆ สมมติ ผมอยากจะวัดความหนา pipe 2 ขนาด ที่มี ขนาดแรก NPS 4 นิ้ว กับขนาดที่สอง NPS 2 นิ้ว โดยที่ว่า เราใช้ หัวโพรบ ในการอ่านค่า หรือ หัวโพรบที่ต่อเข้ากับตัวเครื่องวัดความหนา มีขนาด Diameter ของหัว probe ขนาด 10 mm. (ใช้หัวโพรบ size นี้ ในการ ทำการวัดความหนา) คำถามนายช่าง ที่อยากให้เพื่อนสมาชิกนึกตามครับ ท่อ 2 นิ้ว และ ท่อ 4 นิ้ว เมื่อเราใช้ หัวโพรบ ขนาด 10 mm. ทำการวัดความหนา ท่อขนาดใด…ที่หัวโพรบ ของนายช่าง จะแนบสนิท ส่งคลื่นเสียง ultrasonic ได้ดีกว่ากัน ซึ่งจะมีผลต่อการอ่านค่าความหนาที่แท้จริง ที่แสดงออกมาที่ display นั่นเองครับ ท่อไหนแม่ยำกว่ากันครับ และท่อไหน ที่หัวโพรบ แนบสนิท ส่งคลื่นได้ดีกว่า แม่นยำกว่า เพราะอะไร…ไม่ยากเลยใช่หรือไม่ครับ คำตอบนี้ เพื่อนสมาชิก ตอบได้ แปลว่าเข้าใจชัดเจนครับ |
|
อีกสักครั้ง ชัดๆกับ Pipe SUS 304 ขนาด NPS 3-1/2 นิ้ว sch#40 เปิดตารางเลยครับ จะได้ความหนา 0.226 นิ้ว หรือ 5.75 มม. พิจารณา ขนาดโพรบ หรือ sizing diameter ด้านบน probe 12.0 mm. และ probe 6.0 mm. วัดความหนาท่อ ที่โค้งแบบนี้ หัวโพรบใหญ่ หรือเล็ก อันไหน แม่นยำกว่ากัน พิจารณาตามรูปได้เลยครับ คำตอบชัดเจน
|
ดังนั้น คำถามถัดมาของนายช่างคือ เมื่อเพื่อนสมาชิก ต้องการที่จะวัดขนาด ของความหนาท่อ เช่นท่อแอร์/ ท่อก๊าซ/ ท่อ chiller / ท่อน้ำทิ้ง หรือ ท่ออะไรก็ตาม ที่มีขนาดความหนาท่อเล็กๆ เล็กแค่ไหน เล็กตั้งแต่ 4 นิ้วลงมา ท่านควรจะให้ นายช่างที่เข้ามาทำการตรวจสอบความหนาท่อ ให้ท่าน เลือกใช้ ขนาดของ Diameter หัวโพรบ ขนาดไหน หรือ probe sizing ไหน หากวัดท่อ 2 นิ้ว ใช้ probe sizing 10 mm. หรือว่า 6 mm. ดีกว่ากันเป็นต้น ยิ่งท่อที่ต้องการวัดความหนายิ่งเล็ก ยิ่ง sizing ของหัว probe ต้องยิ่งเล็กตาม เพื่อความแม่นยำนั่นเองครับ เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เล็กๆน้อยๆ หรือ ไม่เล็ก ไม่น้อย กับ KAKA talk ฉบับนี้ เราจะค่อยๆสอดแทรก สาระ เข้าไปเรื่อยๆ ในทุกเรื่องราว ที่เกี่ยวข้องกับงานของเรา งานที่ทางกาก้า ให้การบริการเพื่อนสมาชิกนั่นเองครับ อาจจะดูยุ่งยากกันนิดหน่อย แต่งาน engineering ทุกอย่างต้องไม่มีคำว่าผิดพลาด หรือ ผิดพลาดให้น้อยที่สุด จริงหรือไม่ครับ ไม่เช่นนั้นแล้ว ท่านไปจ้าง สมชายการช่าง หรือ สมศรีเม็คคานิค ทำงานก็ได้ครับ ไม่ต้องมี บริษัท เอ็นจิเนียริ่ง ก็ได้…จริงหรือไม่ อย่างไร และที่สำคัญ จะขาดไม่ได้ก่อนการลงมือ ทำการวัดความหนาทุกครั้ง เครื่องมือ ต้องผ่านการสอบเทียบ หรือ calibrate ก่อนทุกครั้ง อย่าลืมเรียกดูใบ certificate เครื่องมือวัดทุกชนิด ต้อง calibrate ไม่น้อยกว่า ทุกๆ 1 ปี ของการสอบเทียบนะครับ ดูปี ที่ทำการสอบเทียบกันด้วยทุกครั้ง เพื่องานของเรา จะได้เป็นมาตรฐานสากล นายช่างชาวต่างชาติยอมรับ ฝีมือนายช่างชาวไทย ไม่แพ้นายช่างชาติใดในโลกนี้ครับ แน่นอน สายตรง ได้ทันที หากมีคำถาม 087 7000 121 ไม่ต้องรอเปลี่ยนรัฐบาลครับ ยกโทรศัพท์ ได้ทันที!! |