HRSG Part I, Basic
What is HRSG ?
HRSG คือ อะไร HRSG(Heat Recovery Steam Generator) คือ ประเภทหนึ่งของ boiler จริงๆมันคือ ประเภทหนึ่งของ waste heat boiler ที่เราใช้เรียกเฉพาะในโรง combined (หรือ combined cycle power plant-CCPP นั่นเอง) ดังนั้นเมื่อพูดถึง combined cycle ตรงๆตามชื่อ คือ มันต้องมี 2 วัฏจักร(ขึ้นไป) โดยวัฏจักรแรก จะเป็นวัฏจักรของ กังหันแกส/ Gas turbine และวัฏจักรที่สอง จะเป็นวัฏจักรของ กังหันไอน้ำ/ steam turbine โดย process ที่ link กันระหว่างวัฏจักรแรก หรือ output ของวัฏจักรแรก เพื่อมาเป็น input ให้วัฏจักรที่สอง ตรงส่วนนี้คือส่วนที่เราสนใจ เพราะเป็นต้นกำลังในการผลิต steam ที่เป็น output ของวัฏจักรที่สอง นั่นคือส่วนของ HRSG (Recovery heat จาก gas turbine exhaust หรือ การนำความร้อนจากไอเสีย ของ gas turbine มาใช้ในกระบวนการอีกครั้ง นั่นเอง)
HRSG คือ อะไร HRSG(Heat Recovery Steam Generator) คือ ประเภทหนึ่งของ boiler จริงๆมันคือ ประเภทหนึ่งของ waste heat boiler ที่เราใช้เรียกเฉพาะในโรง combined (หรือ combined cycle power plant-CCPP นั่นเอง) ดังนั้นเมื่อพูดถึง combined cycle ตรงๆตามชื่อ คือ มันต้องมี 2 วัฏจักร(ขึ้นไป) โดยวัฏจักรแรก จะเป็นวัฏจักรของ กังหันแกส/ Gas turbine และวัฏจักรที่สอง จะเป็นวัฏจักรของ กังหันไอน้ำ/ steam turbine โดย process ที่ link กันระหว่างวัฏจักรแรก หรือ output ของวัฏจักรแรก เพื่อมาเป็น input ให้วัฏจักรที่สอง ตรงส่วนนี้คือส่วนที่เราสนใจ เพราะเป็นต้นกำลังในการผลิต steam ที่เป็น output ของวัฏจักรที่สอง นั่นคือส่วนของ HRSG (Recovery heat จาก gas turbine exhaust หรือ การนำความร้อนจากไอเสีย ของ gas turbine มาใช้ในกระบวนการอีกครั้ง นั่นเอง)
รูปที่ 1. HRSG = Thermodynamic Link ของระบบ
|
ไม่งง พวกเรา waste heat boiler คือ waste heat boiler ความร้อนที่เข้า จะมาจากแหล่งต่างๆ ในกระบวนการผลิต ส่วนใหญ่ที่พบเจอจะเป็นเตาเผา โรงปูน, โรงกระเบื้อง, เซรามิค bla bla bla นำมาเข้า boiler(waste heat boiler) เพื่อนำมาผลิต steam นำไปใช้ต่อไป(Heat source จะมาจาก exhaust ของเตาเผา) หากแต่เมื่อใดก็ตามความร้อนที่นำมาเข้า boiler มาจากวัฎจักรหนึ่ง เพื่อนำเข้าสู่วัฏจักรหนึ่ง ที่พบเจอคือ วัฏจักรของ Brayton cycle/gas turbine ต่อเข้ากับ วัฏจักรของ Rankine cycle/steam turbine โดยหลักการทาง Thermodynamic link นั่นเอง (Heat source จะมาจาก exhaust gas ของ gas turbine) ที่ link กันโดย HRSG หรือตัวที่มันเป็น boiler(waste heat boiler) ในกรณีนี้ มันชื่อ HRSG นั่นเอง ดังที่พวกเราคุ้นเคยในชื่อเรียกของระบบ Co-gen และ/หรือ combine cycle ในโรงไฟฟ้ากันเป็นส่วนใหญ่นั่นเองครับ โดยโครงสร้างหลัก หรือ ส่วนประกอบหลักที่ประกอบเป็น water/steam circuit ในตัว pressure part ของ HRSG ที่มีอยู่ทุกตัวบนโลกนี้(เมื่อใดก็ตาม ที่เราเรียกว่า HRSG จะต้องมี ส่วนประกอบพวกนี้ว่าอย่างนั้น) กล่าวคือ Economizer, Evaporator และ Superheater (ตอนนี้เรากำลังพูดถึง part ของโครงสร้าง หรือ diagram ของวงจร, loop หรือ circuit ของ water/steam ที่มาประกอบ แปลงร่างเป็นตัว HRSG กันนะครับพวกเรา ยังไม่ลงรายละเอียดทางด้าน จำแนกเฉพาะ ของแรงดันใน HRSG แต่ละแบบ single pressure, dual pressure, triple pressure หรือ Intermediate pressure turbine bypass)-part นี้ ผมจะเน้นทาง HRSG Thermodynamic ให้แน่นก่อน ก่อนที่ไป advance ครับ |
กลับเข้ามาที่โครงสร้างหลัก ของ HRSG จะประกอบไปด้วย :
Economizer ตรงๆตัว อีโค มีหน้าที่สำหรับอุ่นน้ำ ก่อนเข้าระบบ(ก่อนเข้า evaporator) เพื่อที่จะให้ efficiency ของระบบ มันสูงขึ้นนั่นเอง โดย economizer จะประกอบไปด้วย ชุด pipe/rack ในระบบที่วางเรียงตัวกัน ถัดจาก ชุด evaporator เป็นหลัก(หากดูจากทิศทางการ flow ของ flue/exhaust) เมื่อน้ำถูกอุ่นใน part ของ eco ก็จะวิ่งต่อเข้าไปยัง drum เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจของ eco
Evaporator คือส่วน หรือ part ที่ผลิต steam หรือ part ที่น้ำ (หรือ liquid) กำลังเปลี่ยนเฟส มาเป็น ไอน้ำอิ่มตัว (saturated steam หรือ สถานะ vapor) ไล่ยาวตั้งแต่ ท่อน้ำใน water wall หรือ water floor ยาวไปจนถึง drum เพื่อแปลงสถานะ liquid ให้เปลี่ยนเฟส-mixture ของผสม(สัดส่วน quality x = 0.8, 0.85, 0.9, 0.95, 0.99)-ไปจนถึง sat steam นี่คือ part ของ evap นั่นเอง(ตั้งแต่ water wall-water floor-วิ่งเข้า drum)
Superheater (ต่อไปในบทความ ผู้เขียนขอใช้ตัวย่อเป็น SH เพื่อความกระชับ) คือ ส่วนที่มีหน้าที่เพิ่มอุณหภูมิของ saturated steam ที่มาจาก Evaporator ให้กลายเป็น Superheat steam(ไอดง/ไอยิ่งยวด เรียกอะไรก็ได้ ไม่ซีเรียส แต่มันต้องเป็น superheat steam หรือ steam ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า saturated steam) เพื่อเตรียมนำจ่ายเข้าระบบนำไปใช้งานต่อไป
Economizer ตรงๆตัว อีโค มีหน้าที่สำหรับอุ่นน้ำ ก่อนเข้าระบบ(ก่อนเข้า evaporator) เพื่อที่จะให้ efficiency ของระบบ มันสูงขึ้นนั่นเอง โดย economizer จะประกอบไปด้วย ชุด pipe/rack ในระบบที่วางเรียงตัวกัน ถัดจาก ชุด evaporator เป็นหลัก(หากดูจากทิศทางการ flow ของ flue/exhaust) เมื่อน้ำถูกอุ่นใน part ของ eco ก็จะวิ่งต่อเข้าไปยัง drum เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจของ eco
Evaporator คือส่วน หรือ part ที่ผลิต steam หรือ part ที่น้ำ (หรือ liquid) กำลังเปลี่ยนเฟส มาเป็น ไอน้ำอิ่มตัว (saturated steam หรือ สถานะ vapor) ไล่ยาวตั้งแต่ ท่อน้ำใน water wall หรือ water floor ยาวไปจนถึง drum เพื่อแปลงสถานะ liquid ให้เปลี่ยนเฟส-mixture ของผสม(สัดส่วน quality x = 0.8, 0.85, 0.9, 0.95, 0.99)-ไปจนถึง sat steam นี่คือ part ของ evap นั่นเอง(ตั้งแต่ water wall-water floor-วิ่งเข้า drum)
Superheater (ต่อไปในบทความ ผู้เขียนขอใช้ตัวย่อเป็น SH เพื่อความกระชับ) คือ ส่วนที่มีหน้าที่เพิ่มอุณหภูมิของ saturated steam ที่มาจาก Evaporator ให้กลายเป็น Superheat steam(ไอดง/ไอยิ่งยวด เรียกอะไรก็ได้ ไม่ซีเรียส แต่มันต้องเป็น superheat steam หรือ steam ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า saturated steam) เพื่อเตรียมนำจ่ายเข้าระบบนำไปใช้งานต่อไป
ดังนั้นพวกเราจะเห็นได้ว่า ส่วนของ SH จะเป็นส่วนที่เตรียมนำออกไปใช้งานแล้วนะ เพราะมันเป็นส่วนที่พลังงานมากที่สุดนะ ส่วนที่ enthalpy มากที่สุดนะ มาเต็ม max แล้วว่าอย่างนั้น ช่วยนำพลังงานของฉันไปใช้ทีเถอะ(ถ้า SH มันพูดได้นะ มันคงจะพูดกับพวกเราแบบนี้) ส่วนของ SH จึงเป็นส่วนที่อุณหภูมิสูงที่สุด/ อยู่ด้านหน้าสุด ต้อนรับ exhaust gas/ เป็นส่วน หรือเป็น module ที่แพงที่สุด(เมื่อเทียบกับ module อื่น) เพราะตัววัสดุที่นำมาสร้างต้องทน high temp(ทั้ง hot gas ทั้ง hot steam) นั่นเองครับ
พิจารณาจาก Part หลักๆ/ พิจารณาจาก Flow diagram ประกอบ/ พิจารณาจากหลักการแล้ว หลายท่านมองภาพออก นั่นคือ จะว่าไป HRSG มันคือ Heat exchanger หรือหน้าที่มันคือ Heat exchanger ใช่หรือไม่ครับนายช่าง? คำตอบ…ถูกต้องครับ พวกเราพิจารณา รูปที่ 2. หลักการคือ Heat exchanger นั่นเอง หรือ มองให้ง่าย HRSG มันคือ group ของ Heat exchanger ที่มาอยู่ด้วยกัน(แบบเบสิค ในรูปที่ 2. มันก็คือ heat exchanger 3 ตัว มาอยู่ด้วยกัน) โดยวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อน จนกระทั่งปลายทางได้ steam ออกมาใช้งาน ดังนั้น ไอ้เจ้า group ของ heat exchanger เหล่านี้ จึงต้องถูกออกแบบ ตามหน้าที่ของมัน(ด้านบน) จึงต้องซอยออกมาเป็น 3 ส่วนหลักๆ เพราะเราไม่สามารถออกแบบให้เป็น ideal heat exchanger หรือ ความหมายคือ เราไม่สามารถออกแบบ heat exchanger ตัวเดียว ที่เปลี่ยน sat liquid ไปเป็น superheat steam ได้เลยนั่นเอง ด้วยข้อจำกัดทาง thermodynamic และ/หรือ ข้อจำกัดในการออกแบบ โครงสร้าง, ขนาด, วัสดุ และความคุ้มทุน bla bla bla…ที่สำคัญ ความสิ้นเปลือง(part2, part3 จะเขียนครับ) ดังนั้นการซอยย่อย เป็น part จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในการประกอบ heat exchanger ให้เข้าเป็น HRSG ตัวหนึ่งนั่นเอง |
รูปที่ 2. Flow diagram ไล่จากซ้ายไปขวา (อันนี้ของ single pressure HRSG)
|
อะไรคือ Pinch point และ Approach point - พิจารณา Flow schematic of HRSG (รูปที่ 2. ภาพล่าง)
Pinch point คือ ผลต่าง(temp ที่มัน diff กัน) ของอุณหภูมิของ hot gas ณ ตำแหน่งที่มันออกจาก evaporator กับอุณหภูมิ ของ sat temp(steam) ในส่วนของ evaporator หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆคือ sat temp ของ steam ณ จุดที่ drum มัน operate ในตอนนั้นๆ diff/ต่างกันเท่าไหร่ นั่นคือ pinch point = temperature different = ผลต่าง
หรือ นึกถึง Heat exchanger ตัวหนึ่ง --> ผลต่างของ temp ณ ตำแหน่ง ที่ diff temp มันต่ำที่สุดใน heat exchanger ตัวนั้นๆ นั่นคือความหมายของ pinch point ใน evaporator เช่นเดียวกัน ไม่ งง นะครับพวกเรา
Approch point คือ ผลต่าง(temp ที่มัน diff กัน) ของอุณหภูมิของ น้ำที่ตำแหน่งขาออกจาก eco กับ sat temp(steam) ในส่วนของ evaporator เช่นเดียวกัน (อ้างอิง sat temp ของ steam ณ จุดที่ drum มัน operate เหมือนกัน) ทำไมต้องมี approach point, เพราะเราไม่ให้ใน eco มันเกิดไอ เราต้องการเฉพาะ liquid อย่างเดียว เพราะ economizer วัตถุประสงค์มันไม่ต้องการที่จะสร้างให้ตัว fluid วิ่งไปถึงจุดที่เป็น sat steam temp/eco มันไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ liquid+vapor(หรือ 2 เฟส)-เพราะปัญหามันจะตามมา และไม่มีความจำเป็นสำหรับ eco ดังนั้นมันจึงมีจุดที่เป็น subcooling (ช่วงเส้นตรง)น้อยๆอยู่นั่นเอง-ตามรูปที่ 2. ภาพล่าง
ดังนั้นวัตถุประสงค์ ของ approach point นั่นคือ main หลักคือ ไม่ต้องการให้เกิดไอ นั่นเองสำหรับ approach point ใน eco และก็ในความหมายทำนองเดียวกัน ค่านี้ temperature different = approach point = ผลต่าง
อ่านถึงตรงจุดนี้ พวกเรามองออกแล้วนะครับ อะไรคือ pinch อะไรคือ approach ทำความเข้าใจร่วมกับ รูปที่ 2.ให้แม่น ไม่ต้องไปจำมัน เพราะใน episode ถัดไปจะเพิ่มความสำคัญของเจ้าสองตัวนี้ สำหรับใน episode นี้ พวกเราควรรู้จักชื่อ, รู้จักหน้าตามันก่อน ส่วนใน episode หน้า จะเอาของจริงมาให้ชมกัน ใน HRSG พวกเรามันมี pinch เท่าไหร่ มี approach เท่าไหร่, ค่าที่มีอยู่ เป็นค่าที่ดีไหม, ค่า pinch กับ approach ขึ้นกับอะไรบ้าง และค่าที่ดีที่สุดอยู่ตรงจุดไหน --> episode หน้า
Pinch point คือ ผลต่าง(temp ที่มัน diff กัน) ของอุณหภูมิของ hot gas ณ ตำแหน่งที่มันออกจาก evaporator กับอุณหภูมิ ของ sat temp(steam) ในส่วนของ evaporator หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆคือ sat temp ของ steam ณ จุดที่ drum มัน operate ในตอนนั้นๆ diff/ต่างกันเท่าไหร่ นั่นคือ pinch point = temperature different = ผลต่าง
หรือ นึกถึง Heat exchanger ตัวหนึ่ง --> ผลต่างของ temp ณ ตำแหน่ง ที่ diff temp มันต่ำที่สุดใน heat exchanger ตัวนั้นๆ นั่นคือความหมายของ pinch point ใน evaporator เช่นเดียวกัน ไม่ งง นะครับพวกเรา
Approch point คือ ผลต่าง(temp ที่มัน diff กัน) ของอุณหภูมิของ น้ำที่ตำแหน่งขาออกจาก eco กับ sat temp(steam) ในส่วนของ evaporator เช่นเดียวกัน (อ้างอิง sat temp ของ steam ณ จุดที่ drum มัน operate เหมือนกัน) ทำไมต้องมี approach point, เพราะเราไม่ให้ใน eco มันเกิดไอ เราต้องการเฉพาะ liquid อย่างเดียว เพราะ economizer วัตถุประสงค์มันไม่ต้องการที่จะสร้างให้ตัว fluid วิ่งไปถึงจุดที่เป็น sat steam temp/eco มันไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ liquid+vapor(หรือ 2 เฟส)-เพราะปัญหามันจะตามมา และไม่มีความจำเป็นสำหรับ eco ดังนั้นมันจึงมีจุดที่เป็น subcooling (ช่วงเส้นตรง)น้อยๆอยู่นั่นเอง-ตามรูปที่ 2. ภาพล่าง
ดังนั้นวัตถุประสงค์ ของ approach point นั่นคือ main หลักคือ ไม่ต้องการให้เกิดไอ นั่นเองสำหรับ approach point ใน eco และก็ในความหมายทำนองเดียวกัน ค่านี้ temperature different = approach point = ผลต่าง
อ่านถึงตรงจุดนี้ พวกเรามองออกแล้วนะครับ อะไรคือ pinch อะไรคือ approach ทำความเข้าใจร่วมกับ รูปที่ 2.ให้แม่น ไม่ต้องไปจำมัน เพราะใน episode ถัดไปจะเพิ่มความสำคัญของเจ้าสองตัวนี้ สำหรับใน episode นี้ พวกเราควรรู้จักชื่อ, รู้จักหน้าตามันก่อน ส่วนใน episode หน้า จะเอาของจริงมาให้ชมกัน ใน HRSG พวกเรามันมี pinch เท่าไหร่ มี approach เท่าไหร่, ค่าที่มีอยู่ เป็นค่าที่ดีไหม, ค่า pinch กับ approach ขึ้นกับอะไรบ้าง และค่าที่ดีที่สุดอยู่ตรงจุดไหน --> episode หน้า
Thermodynamic Heat Balance ใน HRSG
หัวข้อสุดท้าย ของ HRSG Part I, Basic ผู้เขียนจะพูดถึง ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบ ของ HRSG หรือ ที่มาของคำว่า Heat recovery(แปลเป็นไทย คือ ความร้อนที่ถูกนำกลับมาอีกครั้ง/ เวียนมาอีกครั้ง/ เอามาใช้อีกรอบ ประมาณนี้) ตามหลักการทาง Thermodynamic โดยจะเกิดเป็น Heat balance ที่มาจาก 2 ส่วนหลักด้วยกัน นั่นคือ ส่วนของ Gas side(exhaust side) และส่วนของ steam side(water/steam side) โดยที่ Heat recovery หรือ Qrecover ของทั้งสองฝั่ง จะมีค่าดังนี้ (พิจารณา รูปที่ 3. ประกอบครับ) ตรงนี้สำคัญ พวกเราต้องแม่นนะครับ Part ต่อไปคำนวณล้วนๆ
Qrecover (gas side) = mgt.Cpg.(tg1-tg4)
Qrecover (steam side) = mst.(hSH-hfw)
Qrecover (steam side) = mst.(hSH-hfw)
รูปที่ 3. สมดุลความร้อนที่เกิดขึ้นใน HRSG ตามหลักการทาง Thermodynamic
|
พิจารณา Economizer เราจะได้ Heat recover ที่เกิดขึ้น
- ภาคทฤษฎี (ไม่สนใจ approach point) mgt.Cpg.(tg3-tg4) = mst.(hS1-hfw) - ภาคชีวิตจริง (พิจารณา approach point) mgt.Cpg.(tg3-tg4) = mst.(hw-hfw) พิจารณา Evaporator เราจะได้ Heat recover ที่เกิดขึ้น
- ภาคทฤษฎี (ไม่สนใจ approach point) mgt.Cpg.(tg2-tg3) = mst.(hS2-hS1) - ภาคชีวิตจริง (พิจารณา approach point) mgt.Cpg.(tg2-tg3) = mst.(hS2-hw) นั่นคือ tg3 = ts + tpp
ดังนั้น tg3 = อุณหภูมิของ gas ที่ตำแหน่งวิ่งออกจาก evap นั่นคือ tw = ts - tapp ดังนั้น tw = อุณหภูมิของน้ำ ที่ตำแหน่งวิ่งเข้า evap hw = enthalpy ของน้ำ ที่ตำแหน่งวิ่งเข้า evap |
พิจารณา Superheater (approach point ไม่มี ส่วนได้ ส่วนเสีย) เราจะได้ Heat recover ที่เกิดขึ้น
mgt.Cpg.(tg1-tg2) = mst.(hSH-hS2)
โดยที่ mgt, mst = mass flow ของ gas, steam ตามลำดับ
Cpg = specific heat ใน part หรือ ในส่วนนั้นๆที่เราสนใจ
tg1,tg2,tg3,tg4 = อุณหภูมิของแกส ณ ตำแหน่งต่างๆ
hSH,hS1,happ,hfw = enthalpy ของ water/steam ณ ตำแหน่งต่างๆ
พิจารณา Superheater (approach point ไม่มี ส่วนได้ ส่วนเสีย) เราจะได้ Heat recover ที่เกิดขึ้น
mgt.Cpg.(tg1-tg2) = mst.(hSH-hS2)
โดยที่ mgt, mst = mass flow ของ gas, steam ตามลำดับ
Cpg = specific heat ใน part หรือ ในส่วนนั้นๆที่เราสนใจ
tg1,tg2,tg3,tg4 = อุณหภูมิของแกส ณ ตำแหน่งต่างๆ
hSH,hS1,happ,hfw = enthalpy ของ water/steam ณ ตำแหน่งต่างๆ
ดังนั้น บทสรุปของ Part Basic 1, HRSG ใน episode แรกนี้ หากพวกเราพิจารณา HRSG จะพบว่า ลักษณะทางกายภาพเฉพาะ ของ boiler ประเภทนี้ ที่ต่างจาก boiler ประเภทอื่น อย่างเห็นได้ชัดเจน นั่นคือ
- HRSG จะไม่มี part ในส่วนของหัว burner/หัวเผา รวมถึง part ในส่วนของเชื้อเพลิง หากเทียบกับ หม้อไอน้ำในอุตสาหกรรมทั่วไป
- Heat transfer mode ของ HRSG จะไม่มี Radiation ในระบบ(อันเนื่องจากสาเหตุ ด้านบน) คงไว้เฉพาะ Conduction และ Convection(free convection + forced convection)
- หม้อไอน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป จะไม่มีค่าของ pinch point และ approach point อันมาจาก เกิด mode ของการถ่ายเทความร้อน ที่พิจารณาจาก module ของ heat exchanger กับกฎของ thermodynamic เป็นหลัก ตามข้างต้นนั่นเอง
Part I, Basic HRSG เราจะหยุดที่ตรงนี้ก่อนนะครับ ทำความรู้จักเบื้องต้นกับ HRSG กันก่อน มีอะไรบ้าง, ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง, Factor เฉพาะที่เราพิจารณา หรือ characteristic เฉพาะตัวที่เราพิจารณา แต่ละหน้าที่ function หรือการทำงานของแต่ละตัว และ heat flow/ heat balance ทาง Thermodynamic หน้าตาเป็นอย่างไร โดยเน้นไปที่พื้นฐาน เน้นความเข้าใจก่อน ก่อนที่จะไปต่อในชีวิตจริงของ HRSG ใน Part หน้า พร้อมตัวอย่างการคำนวณ จะว่ากันด้วยเรื่อง ทำอย่างไรให้ HRSG มันมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น หรือ ได้งานทางความร้อนที่เพิ่มขึ้น part นี้ เน้นความเข้าใจ เบสิคให้แน่นๆก่อนครับ
- HRSG จะไม่มี part ในส่วนของหัว burner/หัวเผา รวมถึง part ในส่วนของเชื้อเพลิง หากเทียบกับ หม้อไอน้ำในอุตสาหกรรมทั่วไป
- Heat transfer mode ของ HRSG จะไม่มี Radiation ในระบบ(อันเนื่องจากสาเหตุ ด้านบน) คงไว้เฉพาะ Conduction และ Convection(free convection + forced convection)
- หม้อไอน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป จะไม่มีค่าของ pinch point และ approach point อันมาจาก เกิด mode ของการถ่ายเทความร้อน ที่พิจารณาจาก module ของ heat exchanger กับกฎของ thermodynamic เป็นหลัก ตามข้างต้นนั่นเอง
Part I, Basic HRSG เราจะหยุดที่ตรงนี้ก่อนนะครับ ทำความรู้จักเบื้องต้นกับ HRSG กันก่อน มีอะไรบ้าง, ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง, Factor เฉพาะที่เราพิจารณา หรือ characteristic เฉพาะตัวที่เราพิจารณา แต่ละหน้าที่ function หรือการทำงานของแต่ละตัว และ heat flow/ heat balance ทาง Thermodynamic หน้าตาเป็นอย่างไร โดยเน้นไปที่พื้นฐาน เน้นความเข้าใจก่อน ก่อนที่จะไปต่อในชีวิตจริงของ HRSG ใน Part หน้า พร้อมตัวอย่างการคำนวณ จะว่ากันด้วยเรื่อง ทำอย่างไรให้ HRSG มันมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น หรือ ได้งานทางความร้อนที่เพิ่มขึ้น part นี้ เน้นความเข้าใจ เบสิคให้แน่นๆก่อนครับ
คำถามท้ายบท : ให้นักศึกษา คิดตาม แล้วตอบ 1) ในบรรดา 3 part หลัก Eco-Evap-SH ท่านคิดว่า Fluid flow ในส่วนของ water/steam ของ part ไหน ที่ต้องการ/ หรือที่ต้องมีแรงดันสูงสุด ? 2) จากกราฟ ในรูปที่ 2. Flow diagram ที่เกิดขึ้นเป็นของ single pressure HRSG ท่านคิดว่า หากเป็น double pressure HRSG(พวกที่มี 2 แรงดัน หรือ พวกที่มี 2 drums/มี HP, มีLP) ท่านคิดว่า ค่า Pinch point และ Approach point ควรจะมีค่าเดียว หรือมี 2 ค่าในแต่ละตัว ? ณัฐพงศ์ ไชยสิทธิ์ วุฒิวิศวกรเครื่องกล วก.958 |