FAQ
Boiler and Pressure vessel
Q.วิศวกรที่ตรวจสอบหม้อไอน้ำ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง A.ผู้ที่จะตรวจสอบหม้อน้ำได้จะต้องเป็นวิศวกรเครื่องกล ระดับตั้งแต่ สามัญวิศวกรเครื่องกล ขึ้นไป และต้องขึ้นทะเบียนจากสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม Q.หม้อไอน้ำแบบใด ที่เราเรียกว่า หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ หรือ หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ A.- หม้อไอน้ำชนิดที่ไฟถูกพ่นวิ่งไปในท่อและน้ำอยู่นอกท่อ จะเรียกว่า หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Fire tube boiler) - และหากไฟเผานอกท่อ ซึ่งภายในท่อมีน้ำอยู่ด้านใน จะเรียกว่า แบบท่อน้ำ (Water tube boiler) Q.ที่เรานิยมเรียกหม้อไอน้ำว่า หม้อไอน้ำขนาด 5 ตัน หม้อไอน้ำขนาด 10 ตัน หมายถึงอะไร A.หม้อไอน้ำขนาด 5 ตัน หมายถึง ภายในระยะเวลา 1ชม หม้อไอน้ำนั้น สามารถผลิตไอน้ำได้ 5 ตัน หรือ 5 Ton/hr. ส่วนหม้อไอน้ำขนาด 10 ตัน หมายถึงภายในระยะเวลา 1ชม หม้อไอน้ำนั้น สามารถผลิตไอน้ำได้ 10 ตัน หรือ 10 Ton/hr….ซึ่งเรามักจะเรียกกันว่า ตันไอน้ำ Q.ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ 1 คน สามารถดูแล หม้อไอน้ำได้มากกว่า 1 เครื่องหรือไม่ A.ไม่ได้ ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ 1 คน สามารถดูแล หม้อไอน้ำได้ 1 เครื่องเท่านั้น และจะต้องผ่านการอบรมจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม และมีชื่อขึ้นทะเบียน เป็นผู้ควบคุมหม้อไอน้ำตามกฎหมาย Q.การตรวจสอบหม้อไอน้ำ ความถี่ในการตรวจสอบ ควรจะเป็นเท่าไหร่ A. - คุณภาพของของเหลวที่ใช้เป็นสื่อนำความร้อน ทุก 6 เดือน - รายงานผลและตรวจสอบหม้อไอน้ำ ปีละ 1 ครั้ง - ต่อทะเบียนผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ 2 ปี ต่อ 1 ครั้ง Q.งานบริการ ทางด้านหม้อไอน้ำ ที่ทาง กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง ให้บริการ มีอะไรบ้าง A.นอกจากงานรับรอง ความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำแล้ว กาก้า ยังมีบริการ ตรวจวัดประสิทธิภาพ หม้อไอน้ำ จัดทำรายการ Boiler efficiency รวมถึง ให้บริการ วัดค่าแกสไอเสีย หรือ Flue gas ที่ได้จากการ เผาไหม้อีกด้วย Q.รับ แยง tube ด้วยหรือไม่ A.งานบริการรับ แยง tube ทำความสะอาด ท่อไฟ ทำความสะอาดคราบเขม่า รวมถึงกำจัดตะกรัน ในหม้อไอน้ำ เป็นสิ่งที่กาก้า แนะนำลูกค้ามาเสมอมา Q.งานอัดแรงดันทดสอบ Hydro test ของถังรับแรงดัน กาก้าใช้อะไรเป็นตัวกลางในการทดสอบ A.ถัง หรือท่อ หรือที่เราเรียกว่า ภาชนะบรรจุความดัน หากเข้าเกณฑ์ในส่วนของ Code ของทางผู้ผลิต ที่ Code ไหน เราต้องทำตามกฎที่ Code นั้นๆระบุเอาไว้ Hydrostatic test เราใช้น้ำ เป็นตัวกลางในการอัด ที่ความดัน 1.5 เท่า ของ MAWP Pneumatic test เราใช้ ก๊าซไนโตรเจน เป็นตัวกลางในการอัด ทดสอบ ที่ความดัน 1.1 เท่า MAWP Q.ถังรับแรงดันโดยทั่วไป ทางกาก้าตรวจสอบอะไรบ้าง A.เบื้องต้น ทางเราจะพิจารณาถึง ปริมาตร และขนาดของแรงดันใช้งานของถังรับแรงดันนั้นๆ หากมี Nameplate เราจะทำการทดสอบตาม Code ที่ Nameplate ระบุ หากไม่มี Nameplate ระบุ กาก้าแนะนำให้ทำการทดสอบ ทั้ง - วัดความหนา ของถังรับแรงดัน (เพื่อนำไปประเมิณ ความหนาเทียบกับความหนาออกแบบ) - ทดสอบ leak test หรือ ทดสอบรอยรั่วซึม ภายใต้แรงดันใช้งานจริง - ทดสอบ Hydro test หรือ ทดสอบอัดแรงดัน เพื่อทดสอบความสามารถในการรับแรงดันของถัง - ทดสอบ Safety valve ของถังรับแรงดัน เพื่อให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน - ทดสอบด้วย วิธีตรวจสอบโดยไม่ทำลาย หรือ NDT วิธีอื่น ตามแต่ วิศวกรตรวจสอบ จะแนะนำ และเห็นว่ามีความจำเป็น ในจุดเสี่ยงนั้นๆ และต้องทำการแจ้งผู้ประกอบการทุกครั้ง Q.ถังแบบไหน ที่เรียกว่า ถังรับแรงดัน A.ขอตอบในเงื่อนไขของ ASME Code อย่างกว้างๆ ว่า ภาชนะที่มีส่วนของพื้นผิวรับแรงดัน เกิน 14.7 PSI จะขึ้นชื่อว่า เป็นถังรับแรงดัน หรือ ภาชนะบรรจุแรงดันหมด ไม่ว่าจะบรรจุอะไรก็ตาม เช่น ถังก๊าซ LPG ถังคลอรีน ถังแอมโมเนีย หรือ ถังลม ล้วนเป็นถังรับแรงดันทั้งสิ้น Q.ทางโรงงาน หรือทางผู้ประกอบการ ควรตรวจสอบบ่อยแค่ไหน กับความปลอดภัยของ ถังรับแรงดันที่ใช้งานอยู่ A.ขอตอบบนพื้นฐานของ สองเงื่อนไข เงื่อนไขที่หนึ่ง ตรวจสอบโดยทั่วไป ทางโรงงานหรือผู้ประกอบการสามารถ จัดการเองได้ ไม่ว่าจะเป็น ตรวจสอบสภาพทั่วไป ตรวจสอบการรั่วซึมของการใช้งาน ตรงจุดนี้ แนะนำว่าทำได้บ่อย เท่าที่ต้องการ อาจจะ เดือนละครั้ง หรือ เดือนละสองครั้ง ตามความสะดวก เงื่อนไขที่สอง ตรวจสอบอย่างละเอียด รวมถึง Clean ทำความสะอาด เปิด/ปิด Manhole เปลี่ยนปะเก็น (หากมี) ตรวจสอบความหนา ทดสอบอัด Hydro test ตรงนี้เราแนะนำ ความถี่ที่เหมาะสม ปีละ 1 ครั้ง เป็นช่วงที่เหมาะสม อาจจะทดสอบในช่วงหยุด shut down ระบบ หยุดปีใหม่ หยุดสงกรานต์ประจำปี เป็นต้น |
Crane and Lift
Q.ภายหลังการติดตั้งเครนเป็นระยะเวลาเท่าใด เราจึงต้องตรวจเครนตามแบบ คป.1
A.ตามกฎหมายระบุว่าให้ตรวจสอบเป็นประจำทุกๆ 3 เดือนโดยใช้แบบ คป.1 สำหรับปั้นจั่นชนิดที่เคลื่อนที่ไม่ได้ (Stationary crane) และถ้าเป็นปั้นจั่นหอสูง (Tower crane) ที่มีความสูงเกิน 9 เมตร จำเป็นต้องให้ วิศวกรโยธาเป็นผู้ออกแบบและตรวจสอบฐานที่ยึดปั้นจั่นด้วย Q. ผู้ตรวจสอบเครน ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง A. ตรวจสอบเครนจะต้องเป็น วิศวกรเครื่องกล ระดับสามัญ วิศวกรเครื่องกล ขึ้นไป Q. ลิฟท์ขนของ หรือ ลิฟท์โดยสาร ต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยหรือไม่ A. ลิฟท์ขนของ หรือ ลิฟท์โดยสาร สามารถจัดอยู่ในประเภทเดียวกันกับ เครนหรือปั่นจั่นชนิดอยู่กับที่ได้ หรือไม่ได้ก็แล้วแต่จะตีความได้ ดังนั้นการตรวจสอบความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องที่ทางเจ้าของงานจะพิจารณา จัดให้มีการตรวจสอบ หรือไม่จำเป็นก็ตาม ซึ่งหากมีการตรวจสอบ ความถี่ในการ ตรวจสอบทางกฎหมาย ก็มิได้บังคับไว้ ขึ้นกับทางเจ้าของงานพิจารณาเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงขึ้นกับการพิจารณาทางเจ้าของงาน ในเรื่องของ การตรวจสอบความปลอดภัย หรือ การตรวจสอบทางกฎหมาย Q.กาก้า ตรวจสอบสลิง ด้วยวิธีอย่างไร A.เราใช้ผ้าขาวบาง ช่วยในการตรวจสอบเบื้องต้น ด้วยการใช้มือและผ้าขาวบาง รูดไปพร้อมกับ การจัดให้มีการเคลื่อนที่ของ สลิง เพื่อหาจุดสัมผัสในส่วนของการสึกหรอ หรือการขาดของ สลิง ตลอดทั้งเส้นการใช้งาน Q.ในส่วนของ Load Test หากผู้ประกอบการต้องการทดสอบด้วย มีวิธีอย่างไร A.หากต้องการทำ Load Test เพิ่มเติม ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียม Load หรือ สามารถสร้าง Load ที่ใช้สำหรับทดสอบได้ โดยสามารถปรึกษากับทางกาก้า ได้โดยตรง Q.หากตรวจแล้ว พบจุดเสียง ล่อแหลม ที่จะไม่ผ่าน ทำอย่างไร A.ทางวิศวกรผู้ตรวจสอบ จะแนะนำให้ทำการแก้ไข จุดที่ไม่ผ่าน เพื่อความปลอดภัยเป็นหลัก แล้วจึงออกใบรับรอง ตามชนิดและประเภท โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด เพราะทางเรามุ่งเน้นที่คุณภาพงานเป็นหลัก |
Welding Service
Q. กาก้า รับงานเชื่อมประเภทไหนบ้าง
A.ทีมงานวิศวกรรมการเชื่อม พร้อมที่จะดำเนินงาน โดยเราแบ่งตามลักษณะงานเชื่อมดังนี้ แบ่งตามลักษณะวัสดุ.....การเชื่อมวัสดุทุกประเภท เหล็ก สเตนเลส อัลลอยด์ ทองแดง ทองเหลือง อลูมิเนียม วัสดุพิเศษ วัสดุประเภทต่างๆ บนพื้นฐานของ วัสดุวิศวกรรม แบ่งตามลักษณะงาน.....งานเชื่อมสร้าง หรือ งานเชื่อมซ่อม เพื่อบำรุงรักษา และ พร้อมที่จะทำตามมาตรฐานงานนั้นๆ เช่น งานระบบท่อ/piping งานโครงสร้าง/structure งานภาชนะรับแรงดัน/pressure vessel Q. กาก้า มีการประกัน คุณภาพงานเชื่อมอย่างไรบ้าง A. เรามีการ Qualify ช่างเชื่อม ทั้ง welder และ welding operator ในแต่ละลักษณะงานนั้นๆ อีกทั้งยัง qualify เครื่องเชื่อม เพื่อให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว เรายังมีทีมงานที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ ภายหลังงานเชื่อมเสร็จสิ้น เพื่อที่จะเข้าไปดำเนินการ ตรวจสอบงานเชื่อมนั้นๆ ด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ตรวจสอบแบบทำลาย ซึ่งขึ้นกับลักษณะงานนั้นๆ Q.มีบริการจัดทำ ขั้นตอนการเชื่อม หรือไม่ A.ขั้นตอนการเชื่อม หรือ Welding Procedure Specification เรียกสั้นๆว่า WPS คือ ขั้นตอน ลำดับขั้น กรรมวิธีการเชื่อมในแต่ละงานนั้นๆ แต่ละวัสดุนั้นๆ แต่ละตัวแปรที่มีผลต่องานเชื่อมนั้นๆ เรามีทีมงาน วิศวกรงานเชื่อมที่พร้อมจะจัดทำตรงนี้โดยตรง รวมไปถึง การทำ PQR เพื่อที่จะ proof ในแต่ละ WPS ว่าสามารถใช้งานได้จริง ไม่มีผลกระทบทาง mechanical property ใดๆ อยู่ในเงื่อนไขที่ยอมรับได้ เพื่ออนุมัติ นำ WPS แต่ละงานนั้นๆ ไปใช้งานจริง |
Machine Design Center
Q. บริการรับงานออกแบบเครื่องจักรกล หรือ ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลอะไรบ้าง
A.ไม่ว่าจะใหญ่ หรือเล็ก จุดสำคัญของการแบบเครื่องจักรกล หรือชิ้นส่วนต่างๆ คือ ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานของลูกค้าเป็นสำคัญ เราเริ่มงานกันที่ ความต้องการลูกค้าเป็นหลัก ปรึกษาลูกค้า+กาก้า ออกแบบàส่งแบบให้ลูกค้าàอนุมัติแบบàจัดสร้าง ตามความต้องการ หรือ ลูกค้าออกแบบเบื้องต้นàกาก้า ให้คำแนะนำ ถึงความสะดวกในการทำงานàอนุมัติแบบàจัดสร้าง Q.ประเภทของ กรรมวิธีการผลิต ที่ให้บริการ A.เราถนัดงาน machining มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น งานกลึง/ไส/กัด/เจาะ หรือ CNCwire cut ทางเราพร้อมทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาตลอด ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ จนกระทั่งติดตั้งใช้งาน Q.มีการ Guarantee ชิ้นงานหรือไม่ A.ทั้ง static load และ dynamic load เรามีการรับประกัน ความผิดพลาดของสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตจากเรา ไม่ว่าจะเป็น ความผิดพลาดทางด้าน Dimension ไม่ตรงกับแบบ/ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น ความเรียบของผิวชิ้นงานหลังการทำ machining เป็นต้น Q.มีการนำกรรมวิธี การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย เข้ามาช่วยในการประกันคุณภาพทำไม A.สำหรับกรรมวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย หรือ NDT จะถูกนำเข้ามาเพื่อช่วยตรวจสอบ ข้อบกพร่อง ที่อันสามารถเกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตนั้นๆได้ เช่น รอยร้าว รอยแตก ที่พื้นผิวของชิ้นงาน เป็นต้น โดยระดับ หรือ degree ความเข้มข้นในการตรวจสอบ ขึ้นกับลักษณะของงาน แต่ละประเภทนั้นๆ หากชิ้นงานมีข้อผิดพลาดที่เพิ่มขึ้น หรือ อัตรา fail ที่เพิ่มขึ้น ความเข้มข้นย่อมเพิ่มขึ้น ตามที่ทางวิศวกรของกาก้า จะปรึกษากับทางเจ้าของงานอีกครั้ง |