วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ
ทำไมต้องมีวิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ สรุปใจความสำคัญ ตาม พรบ.หม้อไอน้ำ ปี 49 ที่พวกเราคุ้นเคยกันนะครับตรงนี้ (พวกเราหา download ได้ทางอินเตอร์เนท กันได้เลย) ใจความสำคัญจะอยู่ที่ คำถามที่เราคุ้นเคยได้ยินกันบ่อยมาก ว่าทำไม เราต้องมี วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ ? กล่าวจับประเด็นหลักๆเลยคือ ตอบแบบง่าย - เพราะมันเป็น กฎหมาย นั่นเองครับ กฎหมาย คือ เราต้องทำตาม ตัวนี้เป็นกฎหมายหม้อไอน้ำ ดังนั้น โรงงานที่มีหม้อไอน้ำก็ต้องทำตาม ตอบแบบยาก – เพราะหม้อไอน้ำ มันเป็นเครื่องจักร ที่เราสามารถเรียกได้ว่า เครื่องจักรต้นกำลัง เครื่องจักรกลต้นกำลัง ที่มีความอันตรายสูง ขึ้นชื่อว่าหม้อไอน้ำ จึงมีอันตรายว่าอย่างนั้น จึงจำเป็นต้องมีการควบคุม การตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หม้อไอน้ำขนาดใหญ่(ใหญ่ขนาดไหนล่ะ ประเดี๋ยวต้องมีเพื่อนสมาชิกถามต่อไปอีก ทางกรมโรงงานฯ จึงขีดเส้นไว้ให้พวกเราเลย ว่าหม้อไอน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ 20 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป) มีความซีเรียสสูงในทางวิศวกรรม กล่าวคือ มันค่อนข้างอันตรายนะ ในทางวิศวกรรม มันพลาดไม่ได้นะ พลาดที ความเสียหายมันค่อนข้างจะเยอะ เนื่องด้วยหม้อไอน้ำ ขนาดใหญ่ แบบนี้ มักจะอยู่ในขบวนการ หรืออยู่ใน process ที่ค่อนข้างสำคัญ ต่อระบบการผลิตขนาดใหญ่ เช่น โรงงานขนาดใหญ่/ กลุ่มปิโตรเคมี/ โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่-โรงไฟฟ้าขนาดย่อย เป็นต้น จึงจำเป็น ที่ทางกรมโรงงานฯ จะต้องลงมาควบคุม ดูแล ว่าง่ายๆ จึงมีกฎหมายตัวนี้ออกมา |
พรบ.หม้อไอน้ำ ปี 49 พวกเรา หา download ได้เลย ทางอินเตอร์เนท
|
แล้วกรมโรงงานฯ จะลงมาควบคุม ดูแลอย่างไร ให้ทั่วถึง มีหม้อไอน้ำอยู่ทั่วประเทศ มากมาย แบบนี้ ล่ะครับนายช่าง นี่จึงเป็นคำตอบที่ว่า ทางกรมโรงงานฯ จึงจัดการ ให้มี วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ นั่นเองครับ โดยที่วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ ของโรงงานนั้นๆ จะต้องทำการขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจาก ทางกรมโรงงาน เรามี list เรามีข้อมูลของหม้อไอน้ำนั่นเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหม้อไอน้ำขนาดใหญ่ จะถูกจับตามองเป็นพิเศษ ซึ่งตรงนี้ ทางเราค่อนข้างเห็นด้วยครับ เพราะอะไร เพราะสาเหตุหลัก คือความปลอดภัย เท่านั้นครับ สาเหตุเดียวเลย คือเราพลาดไม่ได้ ชีวิตและทรัพย์สิน เป็นเรื่องที่ไม่ควรมาเสี่ยง เป็นเรื่องที่ไม่ควรมาเลี่ยง กับการกระทำอันไม่ถูกต้องนั่นเอง ดังนั้น หลายที่ที่มองข้ามตรงนี้ จัดการเถอะครับ นี่ถึงเป็นสาเหตุหลักที่ต้องมี วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ นั่นเองครับ
วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ มีหน้าที่อะไร? ชัดเจน ตามภาคผนวก 1 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ.2549 ใจความว่า วิศวกรควบคุมและอํานวยการใช้หม้อน้ำ มีหน้าที่ดังนี้ 1. ควบคุม กํากับดูแลให้บุคลากรต่าง ๆ ที่ทํางานเกี่ยวข้องกับหม้อน้ำ ปฏิบัติงานตามมอบหมาย 2. อํานวยการ วางแผน จัดทําแผน และดําเนินการตามแผนในการใช้งาน การตรวจสอบและ บํารุงรักษาหม้อน้ำให้มีความมั่นคงแข็งแรงปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3.จัดให้มีการตรวจทดสอบเพื่อความปลอดภัยในการใช้หม้อน้ำ ตามที่กฎหมายกําหนด 4.ควบคุมการแก้ไข และซ่อมแซมหม้อน้ำให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน 5.ให้หยุดการใช้งานหม้อน้ำทันที เมื่อพบข้อบกพร่องของหม้อน้ำซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตราย ร้ายแรง และแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทราบทันที 6.รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ |
วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ ต้องศึกษา เข้าใจ ในระบบ ของหม้อไอน้ำนั้นๆ ในแต่ละรายละเอียด ของหม้อไอน้ำนั้นๆ ที่ตน ควบคุมอยู่ อย่างถ่องแท้
|
ทำให้ถูกต้องครับพวกเรา หลายที่ไม่มี หรือ ไม่สนใจ หรืออาจจะไม่ให้ความสำคัญกับตรงนี้ โดยให้เหตุผลว่า เอ…เราก็ใช้ Boiler มาตั้งนาน ไม่เห็นมันจะมีอะไร ตรวจสอบตามกฎหมายประจำปี ก็ตรวจสอบตลอดนี่นา ทั้งนี้และทั้งนั้น พวกเราลองพิจารณาดู ตามรายการด้านบนครับ ตั้งแต่ข้อ 1-6 เลย นี่ถึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมต้องมี วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำนั่นเอง โดยจะเห็นได้ว่า วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ เปรียบเสมือนผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ หรือ ผู้กำกับควบคุมหม้อไอน้ำอีกที คือ ต้องสนิท ต้องคุ้นเคย ต้องคลุกคลี อยู่กับมัน อยู่กับหม้อไอน้ำลูกนั้นๆ ที่อำนวยการใช้อยู่ และด้วยสาเหตุนี้เอง ทางกรมโรงงานฯ จึงกำกับ ดูแล ให้มีวิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ ณ โรงงานที่มีหม้อไอน้ำ นั้นๆ นั่นเองครับ รวมถึง
- วิศวกร 1 ท่าน สามารถอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ ได้ที่เดียว/โรงงานเดียวเท่านั้น (เปรียบเสมือน วิศวกรอำนวยการใช้ เป็นพนักงานคนหนึ่งในโรงงานท่านครับ) ไม่มีนะครับ ที่วิ่งไปอำนวยการใช้ 2 โรงงาน 3 โรงงาน ตรงนี้ไม่สามารถทำได้ครับ
- วิศวกรอำนวยการใช้ ต้องมีการจัดทำรายงาน การใช้งานหม้อไอน้ำนั้นๆ เพื่อนำส่งกรมโรงงานฯ เพื่อเก็บเป็นข้อมูลการใช้ Boiler นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลการใช้เชื้อเพลิง การใช้น้ำ การใช้ไอน้ำ รวมไปถึงแผนบำรุงรักษา ต้องระบุลงในรายงานนำส่งด้วยนั่นเอง
- วิศวกรอำนวยการใช้ ต้องเข้าปฏิบัติงาน ควบคุม อำนวยการใช้ ร่วมกับทางโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนกหม้อไอน้ำ เข้าควบคุมผู้ดูแลหม้อไอน้ำทางโรงงานอีกทีหนึ่ง รวมถึงให้คำปรึกษาตามหลักวิศวกรรม คือเป็นผู้รับผิดชอบ ตามข้อ 6. ด้านบนนั่นเองครับ ไม่ใช่เอามาแต่ ชื่อวิศวกร แต่ไม่รู้เรื่องหม้อไอน้ำอะไรเลย แบบนั้นไม่ใช่นะครับ ไม่ได้นะพวกเรา ผิดหลักการแล้วครับ
จะไปหา วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ ได้ที่ไหน?
นี่ล่ะ มันยากตรงนี้ล่ะ…ชื่อก็บอกพวกเราอยู่แล้วครับ ว่าวิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ ก็ต้องเป็นวิศวกร ผู้ซึ่งประกอบอาชีพวิศวกรรมควบคุม โดยข้อกำหนดตรงนี้ เป็นกฎหมายเลยนะครับพวกเรา ออกความตาม ราชกิจจานุเบกษา ปี 2551 เกี่ยวกับ ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ หรือ กว.ที่นิยมเรียกกัน โดยถ้าพวกเราจะกล่าวถึงหม้อไอน้ำ ก็ต้องเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพ ในสาขาเครื่องกล หรือ ที่พวกเราเรียกกันว่า วิศวกรเครื่องกล ถูกต้องหรือไม่ครับ โดยผมจะสรุปใจความสำคัญให้ กล่าวคือ ระดับ ของวิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ มีดังนี้คือ
- หม้อไอน้ำ ขนาดไม่เกิน 20ตัน/ชั่วโมง วิศวกรเครื่องกล ระดับ ภาคีวิศวกร เครื่องกล อำนวยการใช้ แต่โดยรวม ต้องไม่เกิน 100 ตัน(ในโรงงานเดียวกัน)
- หม้อไอน้ำ ขนาดไม่เกิน 100ตัน/ชั่วโมง วิศวกรเครื่องกล ระดับ สามัญวิศวกร เครื่องกล อำนวยการใช้ แต่โดยรวม ต้องไม่เกิน 300 ตัน(ในโรงงานเดียวกัน)
- หม้อไอน้ำ ที่ขนาดเกิน 100ตัน/ชั่วโมง ขึ้นไป วิศวกรเครื่องกล ระดับ วุฒิวิศวกร เครื่องกล อำนวยการใช้
กลับมาที่คำถามเรา หาได้ที่ไหน ล่ะทีนี้ วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ พวกเราก็ต้องมาไล่ดู จากวิศวกรเครื่องกล นั่นล่ะครับ ง่ายที่สุดก็เริ่มจาก ดูขนาดพิกัด/ความสามารถ หม้อไอน้ำของพวกเราก่อน เสร็จแล้วก็ดูระดับ ของวิศวกร เพื่อทำการขออนุญาต ต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในลำดับถัดไป ส่วนตัวผู้เขียน มองว่าไม่น่ายากเกินไปครับ โดยเฉพาะในระดับ ภาคีวิศวกร กับ สามัญวิศวกร (limit 100 tons/Hr) แต่น่าจะไปหนัก ที่ วุฒิวิศวกรเครื่องกล ประเภทที่ เกิน 100 tons/Hr ขึ้นไป น่าจะหามาอำนวยการใช้ ยากสักนิดหนึ่งนะพวกเรา แต่คิดว่าไม่เกินความสามารถพวกเราครับ เอาเป็นว่า ถ้าลองแล้ว หลายทางแล้ว ตามหามาหลายที่แล้ว ไม่มีจริงๆ ก็โทรแจ้งมาที่ผู้เขียนได้ครับ เดี๋ยวถามพรรคพวกที่ทำงานด้านหม้อไอน้ำ ช่วยหาให้อีกแรงครับ
วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ ต้องปฏิบัติงาน ร่วมกับ ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำนั้นๆ ด้วยนะครับพวกเรา รวมถึงต้องมีความรู้ ความชำนาญทางด้านหม้อไอน้ำอีกด้วย ไม่ใช่ไปเอาแต่ชื่อวิศวกรมา หรือวิศวกร เซ็นต์แต่เครน มาทั้งชีวิต ไม่เคยจับหม้อไอน้ำเลย ไม่ได้ครับ
|
Example หรือ ตัวอย่าง ผู้ประกอบการ A: นายช่างครับ ที่โรงงานผมมี boiler 25 ตัน อยู่ 1 ลูก ผมต้องใช้ วิศวกรอำนวยการใช้ ระดับไหนครับ นายช่าง: วิศวกรเครื่องกล ระดับ สามัญวิศวกร จบครับ ผู้ประกอบการ B: นายช่างครับ โรงงานของเรามี Boiler 2 ลูก เป็น boiler A กับ boiler B ขนาด 25 ตัน ทั้งคู่ แบบนี้ ต้องมีวิศวกรอำนวยการใช้ ระดับสามัญวิศวกร จำนวน 2 คน ถูกต้องหรือไม่ครับ นายช่าง: พิจารณา Boiler A และ Boiler B ของพี่ ขนาดรวมกัน 25+25 = 50 ตัน พี่สามารถใช้ วิศวกรคนเดียว อำนวยการใช้ได้ครับ คือดูทั้ง 2 ลูก ครับผม ยิ่งเป็นระบบที่ feed water ร่วมกัน/ main steam ร่วมกัน ยิ่งง่ายครับ ไม่มีอะไรซับซ้อน จบครับ ผู้ประกอบการ C: นายช่างครับ โรงไฟฟ้าที่กำลังจะขึ้น สร้างใหม่ ของเรา ใช้ boiler 200 ตัน x 2 ลูกเลย เป็น Fluidize bed ด้วยครับ แบบนี้ ต้องใช้วิศวกรระดับไหน อำนวยการใช้ครับ นายช่าง: เกิน 100 ตันขึ้นไป ใช้ วิศวกรเครื่องกล ระดับวุฒิวิศวกร ครับผม จะ Fluidize bed จะ HRSG จะพิสดารแบบไหน เราไม่ต้องไปสนใจครับ เราดู max Boiler Capacity เกิน 100 ตัน ใช้ วุฒิวิศวกรเครื่องกล จบครับ |
เอกสารที่ท่านต้องเตรียม เพื่อไปขอเป็นวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ มีดังนี้
1.คำขอขึ้นทะเบียน เป็น วิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ-ตัวนี้ ท่าน Download แบบฟอร์มเอกสาร จากกรมโรงงานได้เลยครับ ตรงนี้ วิศวกร และผู้ประกอบการ(เจ้าของโรงงาน) ต้องกรอกเอกสาร และลงนามในแบบฟอร์มด้วยกัน จำนวน x1 ชุด
2.วิศวกร ต้องเตรียม รูปถ่ายวิศวกร-เอารูปเป็นทางการนะครับ ใส่สูท ผูกเนคไทด์ก็ได้ ขนาด 1 นิ้ว หน้าตรง ไม่สวมหมวก(สำหรับติดในคำขอ ติดในแบบฟอร์ม ตามข้อ 1) จำนวน x1 รูป
3.วิศวกร ต้องเตรียม สำเนา บัตรประจำตัวผู้ได้รับใบประกอบอนุญาต ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน x1 ชุด
4.สำหรับผู้ประกอบการ(เจ้าของโรงงาน) ต้องเตรียม สำเนาใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงงาน หรือ รง.4 และ/หรือ หากผู้ประกอบการ อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ท่านก็ต้องเตรียม สำเนาหนังสืออนุญาตให้ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม(แบบ กนอ. 03/6 จะเป็นฉบับออกใหม่ หรือ ฉบับต่ออายุก็ได้ ไม่ผิดกติกา)
5.สำหรับผู้ประกอบการ(เจ้าของโรงงาน) ต้องเตรียมเพิ่ม ในกรณีไม่ได้ลงนามเอง ในแบบฟอร์มตามข้อ 1. จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามแต่ ติดธุระไปต่างประเทศ, ยุ่งมาก, ไม่มีเวลาลงมาดู หรือว่า มอบให้ฝ่ายกฎหมาย ของบริษัทดูแล bla bla bla ตรงนี้ ก็ให้ผู้ที่เซ็นต์แทน เตรียมหนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ฉบับ พร้อมติดอากรแสตมป์ด้วยนะครับ มอบอำนาจให้ นายXXX หรือ นางXXX ใครก็ได้ที่ บริษัทท่านจัดการแทน ลงนามแทนได้ ฝ่ายกฎหมายก็ได้ ฝ่ายวิศวกรรมก็ได้ Adminก็ได้ ไม่ผิดกติกา อย่าลืม สำเนาบัตรประชาชน ผู้มอบ และ ผู้รับมอบอำนาจ ด้วยนะครับ
เท่านี้เอง ไม่ยากเกินไป ใช่หรือไม่ครับพวกเรา เตรียมเอกสารเสร็จ วิ่งไปที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ถนนพระรามหก ตรงข้าม รพ.รามา ติดต่อที่จุด one stop service ยื่นเอกสาร ท่านจะให้วิศวกรไปยื่นก็ได้ หรือ ผู้ประกอบการไปยื่นก็ได้ครับ หลังจากนั้น เตรียมรอรับใบอนุญาต ของวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ ของโรงงานท่านได้เลยครับ ไม่ยากเลยครับพวกเรา
ประวัติผู้เขียน วิศวกรอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ สก.3289 พ.ศ.2553-2556 - อำนวยการใช้หม้อไอน้ำ บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน)/ ท่ามะกา กาญจนบุรี Water tube boiler, max Capacity 60 T/hr: เชื้อเพลิง ถ่านหิน สก.3289 พ.ศ.2556-2559 - อำนวยการใช้หม้อไอน้ำ บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) / นครชัยศรี นครปฐม Water tube boiler, max Capacity 25T/hr x 2ลูก: เชื้อเพลิง แกลบ วก.958 (เลื่อนระดับ) ปัจจุบัน -อำนวยการใช้หม้อไอน้ำ บริษัท สยามเลเทกซ์สังเคราะห์ จำกัด ในเครือ SCG-DOW GROUP/ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง Water tube boiler, max Capacity 121 T/hr: เชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ(NG) |
ณัฐพงศ์ ไชยสิทธิ์
(087 7000 121) วุฒิวิศวกรเครื่องกล วก.958 |