Boiler Draught Part I
พวกเราเคยจอดรถยนต์ทิ้งไว้กลางแดด กลางแจ้งหรือไม่ครับ ผมเชื่อว่าทุกท่านเคย และก็แน่นอนว่า ในขณะที่พวกเรา จอดรถยนต์ หรือมีความจำเป็นที่ต้องจอดตากแดด กลางแจ้งนั้น พวกเราเคยที่จะ แง้มกระจก เอาไว้สักนิดหนึ่ง(หลักการ และเหตุผล ผมคงไม่ต้องอธิบาย ว่าเราจะแง้มกระจก ไว้ทำไม) หากแต่พวกเรา เคยสังเกตุกันหรือไม่ครับ ขณะที่เราจอดรถ กลางแดด แง้มกระจกหน้าต่างเอาไว้ ในวันที่อากาศข้างนอกร้อนจัด พวกเราสามารถสังเกตเห็น ว่ามีไอของ ไอร้อน ไออากาศร้อน ลอยขึ้นเหนือ ส่วนที่แง้มกระจก นั่นคือ อากาศในรถยนต์ ร้อนกว่าอากาศด้านนอก Temp ด้านนอก ต่ำกว่า Temp ด้านใน จึงเป็นผลให้ไอร้อนที่เราเห็นนั้น คือ มวลอากาศร้อน ที่มันเกิดการไหล โดยอาศัยความแตกต่าง ของแรงดันที่เกิดขึ้นภายในรถ กับ แรงดันภายนอกรถนั่นเองครับ นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า draught นั่นเอง…boiler ก็เช่นกัน
Draught pressure คืออะไร ? draught หรือ draft (ในบางตำรา ที่พวกเราสามารถพบเจอ) คือ ผลต่างระหว่าง ความดันบรรยากาศ(atmospheric pressure) กับความดันด้านในตัว boiler ที่เกิดขึ้นโดยการไหล ของมวลอากาศที่ไหลผ่าน ดังนั้น เมื่อ draught มันคือ ผลต่างของความดัน, หน่วย ของ draught มันจึงเป็นหน่วย ในรูปแบบของความดัน แต่มันเป็น ความดันที่ไม่เยอะ(คำว่าไม่เยอะ นี่ผมเขียน เทียบกับหน่วยอื่นๆ สักครู่จะเปรียบเทียบให้เห็น) โดยผลความดัน หรือ draught ใน boiler ของพวกเรา จะคุย หรือ จะสนทนา กันในหน่วยของ ความสูงน้ำเป็น มิลลิเมตร(บางที่เรียก มิลลิเมตรน้ำ-millimeter of water column) หรือ ความสูงน้ำ เป็นนิ้ว(บางที่ เรียก นิ้วน้ำ-inch of water column) โดย draught ที่เกิดขึ้น ในตัว boiler จะมีค่าระหว่าง 10-100 มม.น้ำ (นี่เรายกตัวอย่างให้เห็นภาพก่อน draught จะมาก จะน้อย ประเดี๋ยวมาว่ากันทีหลังว่ามี factor อะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง) |
Draught หลักๆ ที่พวกเราสนทนากัน จะมีประมาณนี้
|
ความดัน 1 บรรยากาศ P(absolute) มีค่า = 14.7 PSI หรือ ความดัน 1 บรรยากาศ P(absolute) มีค่า = 10,330 มม.น้ำ หรือ 407.3 นิ้ว.น้ำ ดังนั้น หาก draught ใน boiler เรามีค่า 100 มม.น้ำ หรือ 3.94 นิ้ว.น้ำ จะได้ = 0.0098 bar หรือ 0.1422 PSI เปรียบเทียบ ให้เห็น กับหน่วยของความดัน ในหน่วยอื่นแล้ว พวกเราพอมองเห็นภาพแล้วหรือยังครับ ในบทความต่อจากนี้ไป เราจะคุยกันใน หน่วยของ มม.น้ำ และ/หรือ นิ้ว.น้ำ ในหัวข้อของ draught เป็นหลัก โดยผู้เขียนไปสอนในหลายๆที่ มักจะมีคำถาม ถามว่าจากตัวอย่าง ข้างต้น หากมี draught 100 มม.น้ำ เราพิจารณาแล้ว ไม่เยอะนี่นา นายช่าง เราจำเป็นต้องสนใจด้วยหรือไม่ ค่าความดันนี้ เปรียบเทียบเป็น PSI แล้ว มีค่าไม่มาก คำตอบที่ได้ คือ ต้องสนใจครับ เพราะเรากำลังพิจารณาถึง มวลอากาศ ที่ถ่ายเทอยู่ โดยมวลอากาศที่วิ่ง(ที่ไหล) อยู่ในขณะนี้นั้น เป็นผลให้เกิด draught นั่นเอง หรือ กล่าวเข้าเรื่องเลยคือ เรากำลังพิจารณา ความดันที่เกิดขึ้นของมวลอากาศ ในระบบของเรา นั่นก็คือ boiler นั่นเองครับ ไม่งงนะครับ ย้อนกลับอ่านอีกครั้งหนึ่ง พวกเรา เพราะเจ้า draught ที่เกิดขึ้นนี้ มันจะเป็น subset ของเรื่องราวต่างๆ ในบทความต่อๆไปอีก เช่น การออกแบบปล่องไอเสีย(เพื่อนชาวอเมริกัน เรียกว่า stack หรือ chimney), การออกแบบ FD Fan หรือ ID Fan, การเผาไหม้ หรือ combustion ที่เกิดขึ้นในห้องเผาไหม้(furnace) ที่เราต้องการ รักษาระดับของการเผาไหม้ จากมวลอากาศที่ไหลผ่าน เพื่อให้การเผาไหม้มันสมบูรณ์ /ให้อากาศมันเพียงพอกับสัดส่วน อากาศ:เชื้อเพลิง ในห้องเผาไหม้ ล้วนสัมพันธ์ มีความเกี่ยวข้องกับเจ้า draught นี้นั่นเอง ดังนั้นในตอนแรกนี้ ผมจะปูทางให้พวกเราคุ้นเคยกันก่อน กับคำว่า draught นั่นเอง *** ตอนท้ายของบทความ ผมมีงานจริง มาให้พวกเราลองคำนวณเล่นๆกัน |
ประเภทของ Draught
Natural draught : คือ draught ที่เกิดจาก ความแตกต่างของ ความหนาแน่น(หรือ density) ระหว่าง flue gas กับ ambient(อากาศด้านนอก) นั่นคือ ร้อน-->ต้องวิ่งไปหา-->เย็น ตามหลักการของ Heat and mass transfer ดังยกตัวอย่างใน paragraph แรก
Force draught : คือ draught ที่เกิดขึ้น จากการใส่พลังงานกล เข้าไป หากพิจารณาในส่วน boiler นั่นคือ อากาศ หรือ flue gas จะมี draught ที่มากกว่า ความดันบรรยากาศ (พิจารณา จากรูปที่ 3. พวกเราจะเห็น ใน stage ที่ 2 เป็น positive pressure) นั่นคือ เราใส่พลังงานกล เข้าไปจาก force draught fan นั่นเอง
Induced draught : คือ draught ที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ natural draught ไม่เพียงพอที่จะทำให้ อากาศ หรือ flue gas วิ่งออกปล่องไปได้, นั่นคือ negative (-) pressure ดังรูปที่ 3. ดังนั้นพวกเราจะเห็นได้ว่า ปล่องไอเสีย จำเป็นต้องมีความสามารถเพียงพอให้ อากาศ หรือ flue gas วิ่งผ่านไปได้ จึงจำเป็นต้องใส่พลังงานกล เข้าไปจาก induced draught fan
Balance draught : คือ การทำให้ draught ที่เกิดขึ้น ทั้งระบบของเรา(อากาศ หรือ flue gas ตั้งแต่เริ่มการเผาไหม้-จนกระทั่งออกปล่อง) มีค่าใกล้เคียง 0 หรือ สามารถกล่าวได้ว่า balance draught เราต้องการให้ static pressure ที่เกิดขึ้น มีค่าใกล้เคียง หรือ เท่ากับ atmospheric pressure นั่นเอง(draught = 0)
Natural draught : คือ draught ที่เกิดจาก ความแตกต่างของ ความหนาแน่น(หรือ density) ระหว่าง flue gas กับ ambient(อากาศด้านนอก) นั่นคือ ร้อน-->ต้องวิ่งไปหา-->เย็น ตามหลักการของ Heat and mass transfer ดังยกตัวอย่างใน paragraph แรก
Force draught : คือ draught ที่เกิดขึ้น จากการใส่พลังงานกล เข้าไป หากพิจารณาในส่วน boiler นั่นคือ อากาศ หรือ flue gas จะมี draught ที่มากกว่า ความดันบรรยากาศ (พิจารณา จากรูปที่ 3. พวกเราจะเห็น ใน stage ที่ 2 เป็น positive pressure) นั่นคือ เราใส่พลังงานกล เข้าไปจาก force draught fan นั่นเอง
Induced draught : คือ draught ที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ natural draught ไม่เพียงพอที่จะทำให้ อากาศ หรือ flue gas วิ่งออกปล่องไปได้, นั่นคือ negative (-) pressure ดังรูปที่ 3. ดังนั้นพวกเราจะเห็นได้ว่า ปล่องไอเสีย จำเป็นต้องมีความสามารถเพียงพอให้ อากาศ หรือ flue gas วิ่งผ่านไปได้ จึงจำเป็นต้องใส่พลังงานกล เข้าไปจาก induced draught fan
Balance draught : คือ การทำให้ draught ที่เกิดขึ้น ทั้งระบบของเรา(อากาศ หรือ flue gas ตั้งแต่เริ่มการเผาไหม้-จนกระทั่งออกปล่อง) มีค่าใกล้เคียง 0 หรือ สามารถกล่าวได้ว่า balance draught เราต้องการให้ static pressure ที่เกิดขึ้น มีค่าใกล้เคียง หรือ เท่ากับ atmospheric pressure นั่นเอง(draught = 0)
รูปที่ 3. Draught ที่ stage ต่างๆ พวกเราต้อง จินตนาการไปพร้อมๆกัน
คำถาม ข้อที่ 1 ที่ตำแหน่ง Super heater zone ใน Boiler ของพวกเรา มี draught เป็น positive(+) หรือ negative(-) ?
|
ดังนั้น หากเราพิจารณา ถึง การออกแบบ Draught ที่เกิดขึ้นหลักๆ ในตัวระบบที่เราสนใจ พิจารณาตามภาพประกอบ (จินตนาการ ตัด FD และ ID ออกจากระบบ ตัวนี้จะกลายเป็น Natural draught) พวกเราจะพบว่า ปัจจัยหลัก ในส่วนที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1.อุณหภูมิ(ภายนอก), Ta หรือ อากาศเข้า/ Air inlet หรือว่า fresh air ที่อุณหภูมิต่ำ มวลอากาศมีความหนาแน่นมาก draught จะเพิ่มมากขึ้น 2.อุณหภูมิของไอเสีย (Flue gas) ในปล่อง, Tg ยิ่งอุณหภูมิมาก Draught ยิ่งมากตามตัว 3.ความสูงของ Column ของปล่อง หรือ stack, h ยิ่งสูงมาก Draught ยิ่งมากตามตัว |
Forced Draught
- โดยปกติ จะอยู่ ตำแหน่งที่ทางเข้าอากาศ หรือ air inlet เพื่อเข้าสู่ air preheater, ห้องเผาไหม้ ดังนั้น อากาศที่เข้าจะเป็น อากาศเย็น(cold air บางตำราเรียก fresh air) ที่ความดันบรรยากาศ - เมื่อ FD ทำงานกับมวลอากาศเย็น พิจารณา ความหนาแน่น ของมวลอากาศเย็น จะสูงกว่า มวลอากาศร้อน ดังนั้น 1 หน่วยพลังงานที่ใช้ ในการดูด มวลอากาศเข้าระบบ ที่มวลอากาศเท่ากัน จะใช้ค่าพลังงานที่น้อยกว่า(เมื่อเทียบกับ การดูดมวลอากาศร้อน) - Positive pressure หรือ ความดันเป็นบวก(+) เทียบกับความดัน บรรยากาศ ในด้าน FD พิจารณาจากกราฟด้านบน ดังนั้น วัตถุประสงค์หลัก ของ FD คือช่วยในการปรับ Air-Fuel ratio ให้เหมาะสม Induced Draught - ID Fan จะถูกออกแบบมาเพื่อดูด มวลอากาศ(ร้อน) ออกจากระบบ (เพื่อรักษาความดันของระบบ ในส่วน ห้องเผาไหม้, super-heater, re-heater, economizer ) เพื่อออกไปสู่ปล่องไอเสีย - ดังนั้น ID Fan จะทำงานอยู่กับ มวลอากาศร้อน(hot air) ตลอดเวลา เมื่อพิจารณา มวลอากาศร้อน ความหนาแน่นต่ำ เมื่อเทียบ 1 หน่วยปริมาตร กับ มวลอากาศเย็น จะมีขนาดที่มากกว่า ดังนั้น พลังงานที่ใส่ จึงต้องมีมากกว่าในการดึง มวลอากาศที่ขนาดเท่ากัน - ค่าบำรุงรักษา ในส่วน ID จะมีมากกว่า อีกทั้งปัญหาในระยะยาวจาก การกัดกร่อน(corrosive) จาก flue gas/ fly ash ที่สามารถเกิดขึ้นได้ - ดังนั้น วัตถุประสงค์หลัก ของ ID คือ รักษาระดับ หรือ พยุงความดันในระบบ ให้เสถียรนั่นเอง |
พวกเรา พอจะทราบ concept และ ความสัมพันธ์คร่าวๆ ของ Draught ในระบบ Boiler กันแล้วนะครับ ครั้งหน้า episode หน้า ผมจะพาไปพบกับ วิธีการคำนวณ การหาขนาด FD fan, ID fan, และ ขนาดของ stack-ความสูง, เส้นผ่านศูนย์กลาง เตรียมออกแบบ boiler กันได้แล้ว เริ่มเจาะลึกมากขึ้น พร้อมตัวอย่างการคำนวณครับ
และจาก ความเดิมตอนที่แล้ว ในเรื่อง Boiler combustion เมื่อพวกเราทราบ theoretical air หรือ อากาศที่ต้อง supply เข้า boiler ต่อ 1 หน่วยเชื้อเพลิงแล้ว เราจะสามารถคำนวณ flow rate ของอากาศขั้นต่ำได้ จาก [ (Volume flow rate)theoretical air และ/หรือ excess air ] x mass flow rate ของเชื้อเพลิง(fuel consumption rate) เราก็จะได้ ปริมาตรขั้นต่ำที่สุด ในการใช้สำหรับออกแบบให้อากาศเข้าห้องเผาไหม้นั่นเองครับ [ (ลบ.ม./kg) x (kg/ชม.)] = ลบ.ม./ชม. --> หรือ --> ลบ.ม. ต่อ นาที (ตามสมัยนิยม)
และจาก ความเดิมตอนที่แล้ว ในเรื่อง Boiler combustion เมื่อพวกเราทราบ theoretical air หรือ อากาศที่ต้อง supply เข้า boiler ต่อ 1 หน่วยเชื้อเพลิงแล้ว เราจะสามารถคำนวณ flow rate ของอากาศขั้นต่ำได้ จาก [ (Volume flow rate)theoretical air และ/หรือ excess air ] x mass flow rate ของเชื้อเพลิง(fuel consumption rate) เราก็จะได้ ปริมาตรขั้นต่ำที่สุด ในการใช้สำหรับออกแบบให้อากาศเข้าห้องเผาไหม้นั่นเองครับ [ (ลบ.ม./kg) x (kg/ชม.)] = ลบ.ม./ชม. --> หรือ --> ลบ.ม. ต่อ นาที (ตามสมัยนิยม)
Example เอาล่ะ มาดูตัวอย่างงานจริงกันครับ เรามี Boiler เก่าลูกหนึ่ง หยุด ไม่ได้ใช้งานมา 3-4 ปีแล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี ทางโรงงานจึงต้องหยุดกิจการชั่วคราว ต่อมามีการซื้อ-ขาย กิจการ เจ้าของใหม่เข้ามา จึงทำการปัดฝุ่น Boiler ลูกนี้ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ปลุกผี ว่าอย่างนั้น เป็น Boiler capacity 20 Tons/Hr ใช้เชื้อเพลิงเป็นถ่านหิน โดยติดต่อไปยังบริษัท ที่ขายถ่านหินเก่า เจ้าเดิม ปรากฎว่า ปิดกิจการไปแล้ว เช่นเดียวกัน จึงติดต่อไปที่ Supplier ถ่านหินเจ้าใหม่ เพื่อเตรียมนำมาเป็นเชื้อเพลิง โดย mass basis คร่าวๆ ของถ่านหินเจ้าใหม่ มีค่าประมาณนี้ คือ C 87.1% H 4.4% O 1.2% ash 7.3% โดยที่ Fuel consumption หรืออัตราการ บริโภคถ่านหิน เมื่อลองคำนวณจากค่าความร้อนเล่นๆ จะอยู่ที่ 2,200-2,500 กิโลกรัม/ชั่วโมง คำถามคือ FD fan ของเดิมเรา ดังที่เห็นในภาพ Volume flow rate = 501 ลบ.ม. ต่อ นาที มันถูกออกแบบไว้ สำหรับของเดิม(ถ่านหิน เจ้าเดิม ดีอยู่แล้ว) มาครั้งนี้ เราทำการเปลี่ยนชนิดถ่านหิน ตาม mass basis ข้างต้น ในขณะที่พวกเราต้องเตรียมตัว การปรับจูน boiler ลูกนี้ เจ้า FD fan ของเดิม อยู่นี้ มันสามารถที่จะรองรับ กับปริมาณอากาศ ที่ต้อง supply เข้าห้องเผาไหม้ เราได้หรือไม่-เพราะเราไปเปลี่ยนห้องเผาไหม้ มันไม่ได้แล้ว(ถูกต้องหรือไม่ครับ) เนื่องจาก ตอนนี้เราเปลี่ยนชนิดถ่านหิน ดังนั้น factor การเผาไหม้ที่เราควบคุมได้ตอนนี้ คือ อากาศ และ เชื้อเพลิง เท่านั้น |
พวกเรา ไม่ งง กับสรุปคำถาม ของโจทย์ในข้อนี้นะครับ นั่นคือ เราเปลี่ยนชนิดของถ่านหินใหม่(เชื้อเพลิงใหม่) เราจะทำการปรับจูน condition ของผมคือ เราต้องทำการเช็ค ว่ามวลอากาศที่จะเข้าไปเผาไหม้ โดย main อัดมาจาก FD fan ตัวนี้ คร่าวๆ ความสามารถเพียงพอหรือไม่/อย่างไร ถ้าไม่เพียงพอ พวกเราก็ต้องทำการเลือกขนาด เลือก size ใหม่นั่นเองครับ
|
วิธีทำ
ย้อนกลับไปที่ episode 1 และ 2 ในส่วนของ Boiler combustion พวกเราต้องคำนวณ ปริมาณ O2 ที่ใช้ ต่อ 1 หน่วยของถ่านหิน(เชื้อเพลิง) โดยในที่นี้ ถ่านหิน(เชื้อเพลิง) ของเราประกอบด้วย C 87.1% H 4.4% O 1.2% ash 7.3% by mass พวกเราคำนวณได้แล้วนะครับ ผมไม่แสดงวิธีทำในส่วนนี้นะครับ
ขอลัดขั้นตอน ตัดกลับมา O2 required สำหรับ 1 kg ถ่านหิน(เชื้อเพลิง) = 2.663 กิโลกรัม
จาก ความหนาแน่น(density) – O2 ที่ 0 เซลเซียส/1 bar หรือ S.T.P. = (molecular weight)/(molar volume)
โดยที่ molar volume ของแกส ที่ 0 เซลเซียส/1 bar หรือ S.T.P. = 22.4 ลบ.ม.
ดังนั้น ความหนาแน่น(density) – O2 ที่ S.T.P = (32.0)/(22.4)
หรือ = 1.429 กิโลกรัม/ลบ.ม.
จะได้ ปริมาตร ของ O2 required = (mass)/(density)
ปริมาตร ของ O2 required = (2.663)/(1.429) หรือ 1.843 ลบ.ม.
และ เนื่องจาก O2 จะมีอยู่ 21% โดยปริมาตรในอากาศ --> ปริมาณ อากาศที่น้อยที่สุด
ดังนั้น สำหรับ complete combustion ถ่านหิน 1 กิโลกรัม = (1.843) x (100/21) หรือ 8.776 ลบ.ม.
และ จากเงื่อนไข จากโจทย์ อัตราบริโภคถ่านหิน อยู่ที่ 2,200-2,500 กิโลกรัม/ชั่วโมง
ดังนั้น Flow air ที่เราต้องการ คือ = 8.776 x [2,200 : 2,500] (ลบ.ม./กิโลกรัม) x (กิโลกรัม/ชั่วโมง)
= [(19,307), (21,940)] [min, max] ลบ.ม./ชั่วโมง หรือ
= [(321.7), (365.6)] [min, max] ลบ.ม./นาที < 501 ลบ.ม./นาที ACCEPT
ย้อนกลับไปที่ episode 1 และ 2 ในส่วนของ Boiler combustion พวกเราต้องคำนวณ ปริมาณ O2 ที่ใช้ ต่อ 1 หน่วยของถ่านหิน(เชื้อเพลิง) โดยในที่นี้ ถ่านหิน(เชื้อเพลิง) ของเราประกอบด้วย C 87.1% H 4.4% O 1.2% ash 7.3% by mass พวกเราคำนวณได้แล้วนะครับ ผมไม่แสดงวิธีทำในส่วนนี้นะครับ
ขอลัดขั้นตอน ตัดกลับมา O2 required สำหรับ 1 kg ถ่านหิน(เชื้อเพลิง) = 2.663 กิโลกรัม
จาก ความหนาแน่น(density) – O2 ที่ 0 เซลเซียส/1 bar หรือ S.T.P. = (molecular weight)/(molar volume)
โดยที่ molar volume ของแกส ที่ 0 เซลเซียส/1 bar หรือ S.T.P. = 22.4 ลบ.ม.
ดังนั้น ความหนาแน่น(density) – O2 ที่ S.T.P = (32.0)/(22.4)
หรือ = 1.429 กิโลกรัม/ลบ.ม.
จะได้ ปริมาตร ของ O2 required = (mass)/(density)
ปริมาตร ของ O2 required = (2.663)/(1.429) หรือ 1.843 ลบ.ม.
และ เนื่องจาก O2 จะมีอยู่ 21% โดยปริมาตรในอากาศ --> ปริมาณ อากาศที่น้อยที่สุด
ดังนั้น สำหรับ complete combustion ถ่านหิน 1 กิโลกรัม = (1.843) x (100/21) หรือ 8.776 ลบ.ม.
และ จากเงื่อนไข จากโจทย์ อัตราบริโภคถ่านหิน อยู่ที่ 2,200-2,500 กิโลกรัม/ชั่วโมง
ดังนั้น Flow air ที่เราต้องการ คือ = 8.776 x [2,200 : 2,500] (ลบ.ม./กิโลกรัม) x (กิโลกรัม/ชั่วโมง)
= [(19,307), (21,940)] [min, max] ลบ.ม./ชั่วโมง หรือ
= [(321.7), (365.6)] [min, max] ลบ.ม./นาที < 501 ลบ.ม./นาที ACCEPT
คำถาม ถัดไป… ในขณะนี้ เราพิจารณาที่ Theoretical air ผลปรากฎว่า Accept ความสามารถของ FD สามารถดึงอากาศได้เพียงพอกับการเผาไหม้ แล้วถ้ากรณี ถ้ามี excess air ในการออกแบบ ที่ maximum 30% Flow air จะอยู่ที่เท่าไหร่ครับพวกเรา? เราสามารถใช้ Fan ตัวเดิมนี้ ได้หรือไม่อย่างไรครับ? พวกเราช่วยนายช่างตอบคำถาม เชิงวิศวกรรมเสียหน่อยครับ ลองจิ้มเครื่องคิดเลขกัน
Note***
S.T.P = Standard Temperature and Pressure = 0 เซลเซียส, Absolute P. 1 bar N.T.P = Normal Temperature and Pressure = 20 เซลเซียส, Absolute P. 1 atm (14.7 psi) S.A.T.P = Standard Ambient Temperature and Pressure = 25 เซลเซียส, Absolute P. 1 bar ณัฐพงศ์ ไชยสิทธิ์ วก.958 วุฒิวิศวกรเครื่องกล |
Flow ที่ FD ระบุ 501 ลบ.ม./นาที
|