KAKA Engineering, we're driving the future
  • Home
  • Knowledge
  • Inspection
  • Boiler/ Vessel
  • Hydrotest/Safety valve
  • Contact Us
  • ENG version
  • ASME
  • Boiler Room

คุณค่า จรรยาบรรณ ของวิศวกรเครื่องกล

17/3/2012

1 Comment

 
                ตั้งใจว่าจะเขียนเรื่องนี้นานแล้วครับ คุณค่า จรรยาบรรณ  ของวิศวกรเครื่องกล อยู่ตรงไหน…สืบเนื่องจากเมื่อเร็วๆนี้ ทางผู้เขียน(สามัญวิศวกรเครื่องกล และ  วิศวกรตรวจสอบหม้อไอน้ำ)ได้ไปเจอเหตุการณ์ที่จะเรียกว่าประหลาดใจ ก็เป็นได้  แบบนี้ก็มีด้วย นั่นคือ ทางตัววิศวกรของบริษัทกาก้า เอ็นจิเนียริ่ง เอง  ได้รับการว่าจ้าง จากบริษัท ABC  Safety(บริษัท นามสมมติ)ให้เข้าไปตรวจสอบหม้อไอน้ำ ของโรงงาน  โรงงานหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ทางวิศวกรของเรา  ก็ได้ถามสโคปงานกับทางบริษัท ABC Safety  ไปครับ ว่าสโคปงานมีอะไรบ้าง คำตอบที่ได้ คือ  พี่ออกเอกสารรับรองมาอย่างเดียวเลยครับ ต้องการเอกสารรับรอง ล่ะว่าอย่างนั้น  ทางวิศวกรเลยสอบถามต่อไปอีก ว่าแล้ว…ให้ทางวิศวกรของเราไปรับรองน่ะ รับรองได้ครับ อาชีพวิศวกรเครื่องกล  เป็นอาชีพอิสระ ไม่จำเป็นว่าคุณเป็นวิศวกรของบริษัทกาก้า เอ็นจิเนียริ่งแล้ว  คุณจะไปรับงานตรวจสอบหม้อไอน้ำที่อื่น บริษัทอื่นไม่ได้  ไม่ใช่แบบนั้นครับ
Picture
                ย้อนกลับมาเข้าเรื่องของเราต่อ ทางวิศวกรเราสอบถามต่อไปครับ(ลืมบอกไปครับ หม้อไอน้ำขนาด 2 ตัน/ชั่วโมง) แล้วทางการเปิดฝา เพื่อตรวจสภาพ ด้านสัมผัสน้ำ สัมผัสไฟ การทำ  HydroTestอัดแรงดันล่ะครับ รวมถึง การตรวจสอบ Safety  valve นำมาทดสอบล่ะครับ ทางใครเป็นคนจัดการ ทาง ABC   Safety หรือว่าทาง โรงงาน เป็นคนจัดการ คำตอบที่ได้จากทาง ABC Safety คือ ทางโรงงานเป็นคนจัดการพี่ พี่มาถ่ายรูป ออกเอกสารอย่างเดียวครับ  ทางเราก็สะดวกครับ ว่าอย่างไรก็ว่าตามกัน ถ้าทำกันถูกต้อง ตามการตรวจสอบ  ก็ไม่มีปัญหาครับ นัดวันกันเข้าทำการตรวจสอบได้เลย คือพูดง่ายๆว่า ทางบริษัท ABC  Safety ไม่มี วิศวกร แต่ไปรับงานมา แล้วมาว่าจ้าง วิศวกร ให้ออกเอกสารรับรอง  ความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำ ว่าอย่างนั้น  ไม่ได้ซีเรียสอะไรครับ


                 เมื่อถึงวันที่ทำการทดสอบ ตามที่นัดกันครับ ตามเวลานัดหมาย  หน้างานสมุทรปราการ ตามที่ทางโรงงานแจ้งหยุดการใช้ Boiler  เพื่อเข้าทำการตรวจสอบ วิศวกรของทางบริษัทกาก้าไปถึง  คนของทางบริษัทABCไปถึง คนของทางโรงงานมารับ(เป็นน้อง จป.มาใหม่ครับ) พาไปที่ตัว Boiler  ที่หยุดเครื่องแล้ว ผิดคาดหน้ามือเป็นหลังมือครับ  ความปวดหัวได้เริ่มขึ้นเป็นลำดับขั้น ดังนี้ครับ


                 1.ตามขั้นตอนการทำงานของวิศวกรตรวจสอบหม้อไอน้ำครับ แน่นอน  ผมจะถามอันดับแรกเลย ผู้ควบคุม อยู่ที่ไหน Boiler ทุกลูก ทุกตัว ทุกโรงงาน ต้องมีผู้ควบคุมครับ กฎหมายระบุชัดเจน ผลที่ได้  คือ ผู้ควบคุมไม่อยู่คะ วันนี้ผู้ควบคุมลา ทางวิศวกรเราก็เลยถามต่อ ก็นัดกันแล้วนี่ครับ ว่าวันนี้จะเข้ามาตรวจสอบ  น้อง จป.ก็แจ้งว่า ใช่คะ นัดกับทาง ABC  Safety เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ไม่ทราบว่าผู้ควบคุม ต้องอยู่……อ้าว ผู้ควบคุมไม่อยู่ แล้วใครจะ ถ่ายรูปคู่กับทางวิศวกร ตรวจสอบ  ที่หน้าเตา Boiler ล่ะครับ กฎหมายระบุไว้ชัดเจน วิศวกรตรวจสอบ  เริ่มปวดหัวแล้วครับ


                 2. เริ่มปวดหัว ตามมาครับ เมื่อมองเห็น ฝาเครื่อง Boiler ยังไม่ได้เปิด เลยสอบถาม ABC  Safety ไปว่า ไม่เปิดฝาแบบนี้ จะตรวจสอบด้านสัมผัสน้ำยังไง ด้านสัมผัสไฟยังไง  วิศวกรของเรา จะเข้าไปวัดความหนาท่อได้อย่างไร ทาง ABC  Safety บอกว่า ทางโรงงานต้องจัดการ นัดเตรียมการกันแล้ว  กับทางคุณสมชาย(นามสมมติ) ผมเลยถามว่า งั้นเรียกคุณสมชายมาเลยครับ ไม่เปิดฝาแบบนี้  จะให้ตรวจรับรองได้อย่างไร ผลที่ได้คือ คุณสมชาย ลาคะวันนี้(อีกแล้วครับ  เริ่มปวดหัวอีกแล้ว)


                 3.ผมสอบถามต่อไป แล้วจะอัด Hydro  test ยังไง ไม่เปิดฝา แบบนี้ คำตอบที่ได้เหมือนกับข้อ 2.ครับ โยนกันไป โยนกันมา ระหว่างทางโรงงานเอง กับทางบริษัท ABC Safety ไม่รู้ใครจะทำ ผมเลยตัดประเด็นต่อไป Safety  valve ล่ะทดสอบยังไง ก็โยนกันไป โยนกันมาอีก แท่นทดสอบ Safety valve ก็ไม่มี แล้วแบบนี้ จะรับรองกันอย่างไรครับ มันผิด จรรยาบรรณ วิศวกร  กันแบบเต็มๆประตูเลย ถ้าจะให้ วิศวกรมายืนถ่ายรูปหน้า หม้อไอน้ำ อย่างเดียว  แล้วออกเอกสารรับรอง ไม่ตรวจสอบ ไม่วัดความหนาท่อ ไม่มีการทำ Hydro Test ไม่มีการทดสอบ Safety valve  ที่ตัว Boiler ผิดเต็มๆประตูครับ ทางวิศวกรของเราทำไม่ได้ครับ

Picture
                เมื่อสอบถามไปยัง จป.น้องใหม่ น้องใหม่บอกว่า เพิ่งเข้ามาคะ ยังไม่ทราบอะไร ว่า Boiler ต้องตรวจอะไรบ้าง ทางวิศวกรของเรา จึงแจ้งไปว่า เนี่ยนะครับ ตามแบบฟอร์ม  ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเลย หน้าแรกระบุไว้อย่างชัดเจน ต้องมีการ อัดน้ำ หรือ ว่า  Hydro Test ตัว Boiler ความดันไม่น้อยกว่า เท่านี้ๆ ตรวจสอบด้านสัมผัสน้ำ ตรวจสอบด้านสัมผัสไฟ  ตรวจสอบความหนา และที่สำคัญ ตรวจสอบการทำงานลิ้นนิรภัย หรือว่า Safety valve แต่ที่มาวันนี้ ทาง ABC Safety  จ้างผมมาให้ออกเอกสารรับรอง อย่างเดียว โดยที่ไม่ได้มีการทำการทดสอบ  ตรวจสอบอะไรเลย ทางผมรับรองให้ไม่ได้ครับ ออกเอกสารรับรองให้ไม่ได้จริงๆ  เพราะผิดเต็มๆประตูครับ คุณค่า จรรณยาบรรณวิศวกร ชัดๆครับ น้อง จป. จึงถึงบางอ้อ ว่าอ้อ….ทาง บริษัท ABC Safety  ไม่มีวิศวกร เลยมาจ้างทางพี่ ที่เป็นวิศวกรมาออกเอกสารรับรองให้  แล้วก็มาให้ทางโรงงานจัดการทุกอย่างโดยที่ ตัวคนที่คุยรับงานก็ไม่มา ทั้งทาง  ABC Safety และคนที่คุยรับงานของทางโรงงาน ก็ไม่มา(เหมือนนัดกัน มี something wrong อะไรกันหรือเปล่า)


                 สอบถามกันไป สอบถามกันมา น้อง จป.เลยเอาเอกสารรับรอง รายงานของเก่าปีที่แล้วมาให้ดู  เป็นไปตามที่คาดคิดไว้เลยครับ ผมพลิกไปดูที่รูปถ่าย ไม่มีการเปิดฝาเพื่อตรวจสอบ  ไม่มีการทำการอัดน้ำทดสอบ หรือว่า Hydrotest  ไม่มีการตรวจสอบ Safety valve  ว่าทำงานได้จริงหรือเปล่า แต่มีวิศวกรเซ็นต์ลงนามกำกับ  มีรูปถ่ายวิศวกรท่านนั้นหน้า Boiler  และที่สำคัญ วิศวกรท่านนั้น ก็ได้ถูกว่าจ้างจากทางบริษัท ABC Safety มาด้วยครับ หน้าปกรายงานระบุไว้ โอ้โห…..วิชาชีพ จรรยาบรรณ คุณค่า ความเป็นวิศวกรอยู่ที่ไหนครับ(ท่านใดอยากรู้ว่า  วิศวกรคนนั้น เป็นใคร หรือ ที่โรงงานนั้น อยู่ที่ไหน กระซิบมาทางเราครับ  โทรสอบถามมาทางเรา จะแจ้งให้ทราบครับ) สอบถามกันไป สอบถามกันมา  ทางวิศวกรเราก็ยืนยันครับ ไม่ออกเอกสารรับรองให้ครับ  จะออกเอกสารรับรองให้ได้อย่างไร คุณไม่ทดสอบอะไรเลยซักอย่าง จะให้ผมมานั่งเทียน  เขียนเหรอครับ Safety valve ของ Boiler ทำงานที่เท่านี้ ตัว Boiler  ผนังท่อไฟใหญ่ หนาเท่านี้ จริงหรือไม่ครับ อย่างไร คุณค่า จรรยาบรรณ  วิศวกร จะแลกกับเงินแค่ 3,000บาท โดยที่ ไปเก็บกับทางโรงงาน 1x,xxx บาท ใช่หรือไม่ครับแบบนี้ ปวดหัวครับ เจอแบบนี้เข้าไป วิชาชีพวิศวกร  ทำได้กันถึงเพียงนี้ ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเองครับ งานนี้เจอมาแล้วเต็มๆครับ  แต่เราก็ยังยืนยันในวิชาชีพเรา เหมือนเดิมครับ

This is your new blog post. Click here and start typing, or drag in elements from the top bar.
1 Comment

รายการ Test safety valve ราคาเท่าไหร่

13/8/2011

8 Comments

 
Picture
          Q. ค่า Test safety valve ราคาเท่าไหร่

          A. ค่าทดสอบนั้น เรียนพิจารณาดังนี้ครับ ทุกอย่างต้องเป็นเหตุ เป็นผลกัน การพิจารณาขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลักๆเลยคือ พี่จะทดสอบ safety valve เนี่ย เป็น safety valve ของงานอะไรครับ safety valve ของลม หรือ ว่าถังลม, safety valve ของ NH3 หรือว่า แอมโมเนีย ในระบบทำความเย็น/ระบบปรับอากาศ, safety valve ของระบบ ท่อ ถัง ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือว่า LPG, safety valve ของระบบท่อ ถัง ก๊าซธรรมชาติ หรือว่า Natural Gas, safety valve ของระบบไอน้ำ หรือว่า steam, safety valve –ของถังสารเคมีต่างๆ ถังแอมโมเนียม แอนไฮดรัส, ถังคลอรีน, ถังกวน, ถัง mixing chamber และอีกสารพัดถัง เป็นต้นครับ

            ทั้งนี้ ทั้งนั้น เพราะอะไรครับ ก็เพราะว่าการทำงานมันต่างกัน เหตุผลหลักคือ ระบบการทำงาน กลไกการควบคุมการทำงาน รวมถึงแรงดันทำงานที่ต่างกัน, set pressure ที่ต่างกัน, รวมไปถึง Test fluid ที่ต่างกัน ครับ ไม่ใช่ว่า การทดสอบจะเหมือนกันในแต่ละชนิด แต่ละประเภทนะครับ ไม่อย่างนั้น safety valve ที่ทางบริษัทผู้ผลิต ผลิตออกมาจำหน่ายในแต่ละงาน ก็สามารถที่จะใช้ด้วยกันได้ ใช้กลไกการทำงานเดียวกัน วัสดุตัวเดียวกันสิครับ เหตุผลง่ายๆมองในเรื่องวัสดุ ทำไมบางตัวเป็น ทองเหลือง(brass) บางตัวเป็นเหล็กหล่อ(cast iron) บางตัวเป็นเหล็กกล้าไร้สนิม(stainless steel) เหตุผลทางด้านวิศวกรรม มีอยู่ในตัวครับ

            เคยมี เพื่อนสมาชิกโทรมาปรึกษาทางกาก้า ว่าทางบริษัทของเพื่อนสมาชิก ทางเค้าไปแนะนำ ทางโรงงาน ผู้ประกอบการให้เปลี่ยน safety valve เสียใหม่ ทั้งหมดในระบบ โดยให้เหตุผลว่า เห็นมันติดตั้งมาหลายปีแล้ว ควรที่จะเปลี่ยนใหม่ โดยที่ถัดมาเพียงไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง ทางผู้ประกอบการ กิจการโรงงาน โทรศัพท์มาสอบถามถึงขั้นตอนการทดสอบกับทางกาก้า และ ทางกาก้า เลยแนะนำครับ เหตุผลที่ว่ามา ไม่ใช่เหตุผล หรือ ตรรกะ ทางหลักการทางวิศวกรรมเลย และอีกทั้งบริษัทที่แนะนำให้กับทางโรงงานผู้ประกอบการในตอนแรก  แจ้งว่า ค่าทดสอบ safety valve แต่ละตัว ราคาพอๆกับซื้อ safety valve ของใหม่ ทางกาก้า ได้ยินแบบนั้นจึงแปลกใจครับ ว่าพี่ไปถามที่ไหนมาครับ ค่าทดสอบ safety valve พอๆกับ ซื้อ safety valve ใหม่ ยืนยันตรงจุดนี้ว่าไม่ใช่แล้วล่ะครับ ถ้าค่าทดสอบ safety valve แพง มหาโหดขนาดนั้น เราคงไม่รวมอยู่ใน รายการตรวจสอบ ภาชนะบรรจุแรงดัน รายการตรวจสอบ air receiver tank รับรองความปลอดภัยประจำปี แน่นอนครับ ทางผู้ประกอบกิจการโรงงาน พอฟังดังนั้น เลยยกเลิกสัญญา จ้างงานกับทางบริษัทนั้นเลยครับ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วครับ ทางเราจึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

Picture
            Q. ตอน Test หรือ ตอนทดสอบ ต้องถอดออกนำไป ทดสอบข้างนอกโรงงานหรือไม่

            A. ไม่มีการนำ safety valve ที่ถอดออกมาทดสอบ นำกลับมาทดสอบ หรือนำออกมา test นอกโรงงาน นอกสถานประกอบการ นอกบริเวณท่อ ถัง ภาชนะบรรจุแรงดันที่ตัว safety valve ติดตั้งอยู่ครับ เราทำการทดสอบกันที่หน้างานเลย ทดสอบกันที่ตรงนั้นเลย ทดสอบกันที่บริเวณนั้นๆเลยครับ ผ่านคือผ่าน ตกคือตก เสียคือเสีย ไม่เสียคือไม่เสีย มีอยู่เท่านี้จริงๆ สำหรับการทดสอบ ด้วยผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม  ผ่านคือผ่าน ไม่ผ่านคือไม่ผ่านครับ ไม่มีหรอกครับว่า…มันเกือบจะผ่านนะ มันน่าจะผ่านนะ หรือว่า สภาพมันน่าจะยังดีอยู่นะ สภาพมันน่าจะทำงานได้นะ โดยที่นั่งเทียน ดูด้วยตาเปล่า ไม่มีการถอดออกมาทดสอบ แบบนี้ไม่ใช่ หลักการและเหตุผลทางด้าน วิศวกรรมครับ

อีกทั้ง ทางกาก้า เราเคยเจอครับ ว่ามีผู้ประกอบการโทรมาปรึกษาเรา ว่ามีผู้รับเหมาแจ้งว่า ถ้าจะทดสอบ safety valve จะต้องมีการถอด ออกมา แล้วนำกลับไปทดสอบที่บริษัท หรือที่ office คือ พูดง่ายๆคือ นำกลับออกมานอกโรงงานนั่นล่ะครับ ทางเราเลยแจ้งกลับไปว่า ไม่ใช่แล้วครับ ที่ถอดออกมาแล้วนำออกไปนอกโรงงาน จริงๆเรา test หรือเรา ทดสอบกันที่หน้างาน ที่โรงงานนั่นเลยนะครับ ต่อหน้าเจ้าของงาน ต่อหน้าผู้ประกอบกิจการโรงงานกันเลย ผ่านคือผ่าน ไม่ผ่านคือไม่ผ่าน ตามที่เรียนไว้ข้างต้น ซึ่งเป็นไปไปได้ครับ ว่าผู้รับเหมาที่ทางผู้ประกอบการไปเจอมา เค้าอาจจะถอด safety valve ออกมา แล้วนำมา หรือส่งมา ให้ทางกาก้าทดสอบ ในลักษณะนั้นครับ ซึ่งเคยมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นครับ ทางเราจึงเรียนกันตรงจุดนี้ว่า หากทางเราเป็นผู้ทดสอบนั้น เราทำการทดสอบกันที่หน้างาน ที่โรงงานท่านเลยครับ ไม่มีการแอบอ้าง หรือ ต้องนำออกมาทดสอบกันข้างนอกแต่อย่างใดครับ ซึ่งก็แปลกดี แบบนี้ก็มีด้วยครับ

            Q. แล้วใช้มาตรฐานอะไร ตัดสินว่า safety valve ตัวที่เรานำมาทดสอบ ใช้งานได้ต่อไปหรือไม่

            A. มาตรฐานของ safety valve สิครับ ง่ายๆ สั้นๆ คำตอบสุดท้าย Safety valve สำหรับถังอะไร เราก็ไปใช้ มาตรฐาน สำหรับถังนั้น ยกตัวอย่าง Safety valve ของถัง แอมโมเนีย ในระบบทำความเย็น เราก็ต้องใช้มาตรฐาน ของระบบทำความเย็นสิครับ Safety valve ของถังขนส่งก๊าซ LPG เราก็ต้องไปใช้มาตรฐาน ของถังขนส่งก๊าซ LPG เข้ามามีส่วนร่วมในการทดสอบ หรือ พูดง่ายๆ คือ Accept หรือว่า Reject นั่นเองครับ ไม่ใช่ว่า อยู่ดีๆ ทางกาก้า นำ safety valve ของท่านมาทดสอบ แล้วบอกว่า เราใช้มาตรฐาน กาก้า ในการทดสอบ แบบนี้ก็ไม่ถูกต้องตามหลักการทางวิศวกรรมครับ ไม่มีแน่นอนครับ เพื่อนสมาชิกสอบถามกันก่อนครับ ก่อนทดสอบ
Picture
        Q. ทางกาก้า จัดจำหน่าย Safety valve หรือเปล่าครับ

        A. ทางเรา ไม่ได้จำหน่ายครับ หรือว่าไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่าย safety valve ครับ ประเด็นหลักๆของเรา คือ หน้าที่ของผู้ทดสอบ และผู้ตรวจสอบ แต่สามารถให้คำแนะนำได้ว่า safety valve ยี่ห้อไหนดี ยี่ห้อไหนไม่ดี สำหรับงานนี้ งานนี้นะ จากประสบการณ์หน้างาน การทำงานจริง การทดสอบจริง กว่า 10 ปีการทำงาน ของวิศวกรทดสอบของเรา สามารถที่จะตอบคำถามท่านได้ครับ งานถังลม เราแนะนำยี่ห้อนี้ดี ซื้อได้ที่นี่ ที่นี่ขายแพง ที่นี่นำของเก่ามาซ่อมใหม่ มาย้อมแมวขาย, งานถังแอมโมเนีย ต้องยี่ห้อนี้ดี ยี่ห้อนี้ทน ยี่ห้อนี้ทำเอง จ้างโรงกลึงที่นี่ทำ แต่ไม่มีการทดสอบ ทำงานได้จริงหรือเปล่า หรือว่างานถัง LPG ยี่ห้อนี้ดี คุณภาพสมราคา นำเข้าจากประเทศนี้นะ บริษัทที่นำเข้ามาชื่อบริษัทนี้นะ ขายปลีกจะอยู่ที่ตัวละ เท่านี้บาท ขายส่งจะอยู่ที่เท่านี้บาท ติดต่อได้ที่นี้นะ office เค้าอยู่ตรงนี้นะ แต่โกดังอยู่ตรงนี้นะ ………. bla bla bla ลักษณะนี้ เป็นต้นครับ

        ก็รู้ซะอย่างนี้ เล่นมาขนาดนี้ ทำไมไม่ขายเองล่ะครับ…..ครับ เรายังยืนยัน จุดยืนเดิมของเรา คงซึ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบหลัก จรรยาบรรณทางวิศวกรรม ทำหน้าที่ ทดสอบ ของเราให้ดีที่สุด scope ส่วนที่เหลือ กาก้า ขอเป็นผู้ให้คำแนะนำครับ เราไม่มีนโยบายที่จะทำการทดสอบเอง และขายของเอง ไม่ว่าใน brand ของทางบริษัทเอง หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย ของ product ที่เราทดสอบครับ

8 Comments

บทความ ASME เกี่ยวกับ U Stamp

4/1/2011

8 Comments

 
Picture

ยุคสมัยนี้ การสื่อสารด้วย E mail เท่านั้นครับ ถึงจะว่องไว

Knowledge ฉบับนี้ ผมมีบทความเกี่ยวกับ ASME โดยตรงครับ ที่ได้รับมาเป็นคำถาม เกี่ยวกับ Pressure vessel ในส่วนของ ASME section VIII div 1. ซึ่งเป็น Code ยอดนิยมเลยล่ะครับ เกี่ยวกับ ภาชนะรับแรงดัน ลำดับต้นๆเลยล่ะครับ ที่เจอกันในประเทศไทยของเรา ไม่ว่าจะเป็นถังแรงดัน, ถังลม,  Air receiver tank,  ถังเก็บสารเคมี,  ถังบรรจุก๊าซLPG, หรือว่าถังสารพัดถังที่รับแรงดันและ meeting requirement ในส่วนของ ASME section VIII div 1. ของเรา ซึ่งเป็น E-mail คำถามจากเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งครับ สอบถามเข้ามา ผมเห็นว่าคำถามน่าสนใจมากครับ จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังใน Knowledge ฉบับนี้ครับ

มาทวนคำถามกันเลยครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาครับ จาก Information ที่เราได้รับในเบื้องต้น design pressure 27 PSI ความจุ 740 cubic ft. ซึ่งจะให้ Design ตาม ASME section XIII จากข้อมูลที่ได้รับ

          1)    pressure vessel ลูกนี้ จำเป็นต้อง มี code “Stamp” ไหมครับไม่ทราบว่าการพิจรณาว่าต้อง “Stamp” ดูที่อะไรเพราะ Tank เก่า ขนาดใหญ่ หลายลูกในโรงงานผม (เกือบ 20ลูก) ออกแบบตาม ASME แต่ไม่ “Stamp” เลยสักลูก  หรือว่าผิดกันมาตั้งนาน

          คำตอบคือ ในการที่เราจะตอบว่า Pressure vessel ลูกนี้ จำเป็นต้องมี code “Stamp” หรือไม่/ ดูที่อะไร คำตอบคือ ดูที่ บริษัทผู้ผลิตถัง หรือ โรงงานที่เค้าผลิตถังให้เราครับ ส่วนเราในฐานะผู้ใช้ หรือผู้ซื้อ หรือผู้ไปเอาถังใบนั้นมาใช้งาน จะขายต่อ จะอะไรก็ว่ากันไปนะครับ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเจ้า stamp ตัวนี้เลยครับ เจ้า code stamp เนี่ยมันเป็นหน้าที่ของ บริษัทผู้ผลิตถัง หรือโรง Fabrication ถังนั่นเองครับ

          ซึ่งหน้าที่หลักๆของเจ้า stamp ตัวนี้คือ เป็นการบ่งชี้ หรือบ่งบอกว่า ถังใบเนี้ย......สามารถที่จะทวนกลับไปได้ เริ่มตั้งแต่ เหล็กที่เอามาใช้สร้าง หรือวัสดุี่เอามาใช้สร้าง การเชื่อม การออกแบบ รายการคำนวณ การตรวจสอบ ที่สามารถทวนกลับไปได้ทุกเมื่อ โดยที่ follow ตาม ASME นั่นเอง โดยจะต้องมีรายละเอียดที่ว่าเนี่ยครับ อยู่ที่โรงงานผู้ผลิตถังให้เรา โดยที่จะต้องมี หน่วยงานที่สาม หรือหน่วยงานกลางที่เป็น third party ของ ASME เอง ที่เรียกกันว่า Authorize inspector หรือสั้นๆว่า AI มาจัดการแทนเรา(ในฐานะที่เราเป็นผู้ซื้อ) โดยที่ Authorize inspector ก็ต้องมาจาก Authorize Inspection Agency : หรือ AIA ซึ่งก็ต้อง Accredited by ASME นะครับ ไม่ใช่ Inspector จาก สมชาย เอ็นจิเนียริ่ง, ศรีสมร เอ็นจิเนียริ่ง หรือว่า กาก้า เอ็นจิเนียริ่ง แบบนั้นก็ไม่ใช่ครับ(ตรงนี้ UG-91 ใน ASME section XIII div 1.)

          ทีนี้คำถามคือ แล้วมันดียังไง คำตอบคือดีตรงที่มันได้คุณภาพมากกว่านั่นเองครับ ทวนกลับได้ หรือ ในภาษาง่ายๆคือ ได้ มอก.แบบบ้านเราว่างั้นครับ แต่เป็น มอก.ของเพื่อนชาวฝรั่งนั่นเองครับ เป็น Code เป็นกฎ ของเพื่อนชาวฝรั่งนั่นเอง ซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์คือ Value หรือ ราคามันจะได้ราคากว่าชาวบ้านนั่นเองครับ ราคาถังแพงกว่า เพราะเหตุผลที่ได้เจ้า Stamp ตัวนี้นั่นเอง Quality มันก็ตามตัวขึ้นไปนั่นเอง

          แล้วทีนี้ที่ผ่านมาล่ะ ถังโรงงานผมที่ใช้งานผ่านมา มันไม่มี Stamp แต่มันออกแบบตาม ASME ผิดหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ผิดครับ ผมออกแบบตาม ASME หรือ Design ตาม ASME ความหนาถัง การเชื่อมต่อ รอยต่อ การทดสอบ ถ้าเราทำตาม ASME code มันก็สามารถทำได้ ทีนี้ประเด็นคือ อ้าว.....แล้วผม ในฐานะคนใช้ถังเนี่ย หรือคนซื้อถังเนี่ย จะรู้ได้อย่างไรว่าท่าน(โรงงานที่ผมจะซื้อถังเนี่ย)ทำตาม ASME code หรือ ที่ท่านบอกว่า ถังของเรา ออกแบบ ทำตาม ASME code นะ ไม่ใช่ สมชาย code ว่าอย่างนั้น

          ตรงนี้ล่ะครับ บริษัททำถังที่ได้ U stamp เนี่ย จะต้องมีเอกสารทุกขั้นตอน ให้เราดู ยืนยันจริง มีคนกำกับการทำงาน ซึ่งต้องเป็น third party ซึ่งก็คือคนของ ASME ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เข้ามาตรวจสอบแทนเราจริง เก็บเอกสารจริง มีเอกสาร รายละเอียดให้เราดู คือขั้นตอนมันจะเยอะกว่า สุดท้ายเนี่ย ตอนที่เราซื้อถังมา ได้ถังมา ก็ต้องได้แบบฉบับเอกสารรวมเล่มขั้นตอนที่กล่าวมาข้างข้นนั่นล่ะครับเป็น เป็นข้อมูลการสร้างถังทั้งหมดที่นิยมเรียกกันว่า MDR หรือว่า Manufacturer’s Data Report มาให้ท่านด้วย เช่นกันครับ
Picture

2)    ถ้าต้องมี “Stamp” ต้องเป็น “U” หรือ “UM” ครับ อะไรคือความแตกต่างครับ

คำตอบคือ U Stamp กับ UM Stamp เนี่ยต่างกันที่อะไร มีสองส่วนที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ U Stamp และ UM Stamp นั่นก็คือ ส่วนแรก UM Stamp เนี่ย ใน U-1(j) เนี่ยจะระบุถึง ขนาด และ design pressure เอาไว้เรียบร้อย ว่าถ้าเข้าข่ายนี้นะ UM Stamp มาแน่นอนล่ะว่างั้น กับเรื่องน่ารู้อีกเรื่องหนึ่งครับนั่นคือ การที่โรงงานผลิตถัง จะผลิตถังที่เป็น UM stamp ออกมาขายได้เนี่ย จำเป็นจะต้องที่ได้ U stamp ก่อนเท่านั้น โรงงานถึงจะทำถัง UM stamp ออกมาได้ แล้วทั้งนี้ และทั้งนั้น U stamp จะต้อง certify โดยท่าน Authorize Inspector หรือ AI หรือ คนของ ASME แต่ UM stamp จะ certify การเก็บหลักฐาน เก็บข้อมูลโดย โรงงานผู้ผลิตถังเอง โดยที่ QC ของโรงงานจะต้องถูก Audit โดยคนของ ASME อีกครั้งหนึ่ง อีกทั้ง UM Stamp เนี่ย เวลาขอต่อ มันต้องขอต่อ ปีต่อปี แต่ของ U Stamp เนี่ย ขอได้ปุ๊บ อยู่ได้สามปี พอครบสามปี ก็ยื่นเรื่องขอ Stamp ต่อายุให้ ASME เข้ามาพิจารณาใหม่ เท่านั้นเอง

จะเห็นได้ว่า มาตรฐานแทบไม่ต่างกัน (ความเห็นส่วนตัวนะครับ) ต่างกันที่ ดีกรีความเคี่ยว ขนาด และ Design pressure เป็นหลักนั่นเองครับ

Picture

3)    การออก code “Stamp” มีการหมดอายุไหมครับ หรือว่าออก “Stamp” ให้ตั้งแต่ตอนสร้างเสร็จครั้งแรก ก็ใช้ได้ตลอด

          อย่างนี้ครับ…..ถังใบนี้ สมมตินะครับ serial no. KAKA120-BUG ได้ผ่านการผลิต จากโรงงาน หรือโรง Fabricationที่ได้รับรองคุณภาพ หรือ ได้ U stamp ว่างั้น เมื่อวันที่ สมมติ 1 มกราคม 2554 หมายถึง เสร็จสิ้นกระบวนการแล้วล่ะ เมื่อวันที่ 1 โรงงานผู้ผลิตถัง ส่งมอบถังให้ท่านแล้วล่ะ ถังท่านมาตรฐานตามนี้ คำตอบคือ มันไม่ได้บ่งชี้ว่ามันจะหมดอายุเมื่อไหร่ครับ อายุของการ ขอ certify หรือว่า อายุการใช้งานของถัง เป็นคนละประเด็นครับ ดังเช่นคำตอบในข้อสอง เกี่ยวกับความแตกต่างของ U และ UM Stamp ตามที่กล่าวไว้แล้ว(ตรงนี้ ใน Mandatory appendix 10 มีรายละเอียดที่เพิ่มเติมครับ) การที่จะบ่งชี้ว่ามันจะหมดอายุเมื่อไหร่ ขึ้นกับ ถังจะสามารถทนแรงดันได้อยู่หรือเปล่านั่นเองครับ ถึงเป็นผลให้มันมีการตรวจสอบถังในลำดับถัดมานั่นเองครับ ไม่ได้เหมือน ปลากระป๋อง มีวันที่ผลิต/ วันหมดอายุนะครับ และก็ไม่ได้เกี่ยวว่า ถัง U stamp จะใช้งานได้ยาวนานกว่า ถังที่ไม่ได้ U stamp ไม่ใช่นะครับ การใช้งาน การบำรุงรักษาก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับที่เราจะพิจารณา พูดในลำดับถัดมา ว่าถังเราเนี่ยจะอยู่ได้นาน อยู่ได้ชั่วลูก ชั่วหลาน เป็นคนละประเด็นครับ

                    Knowledge ฉบับนี้ ว่ากันด้วยเรื่อง Code ASME section VIII div 1 ที่เกี่ยวกับ U stamp, UM stamp ล้วนๆเลยครับ จริงๆผมอยากเขียนถึง UV stamp อีกซักตัว แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้น ถ้าเพื่อนสมาชิก อยากสอบถามเกี่ยวกับ Code ตัวอื่นที่เกี่ยวพันกับงาน engineering ของเราก็สามารถครับ ทางเราเห็นว่า section VIII มันอยู่ใกล้ตัวเรา จะหยิบ จะจับมันใกล้ตัวว่างั้นครับ เลยมาเล่าสู่กันฟังครับ หรือเพื่อนสมาชิกท่านใด มีประสบการณ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ยินดีมาแชร์กันครับ ทางอีเมลล์ของเราได้ที่
KAKA@KAKAEngineering.com


8 Comments

งานบริการ วิเคราะห์การเผาไหม้ หรือ Combustion analysis services

1/12/2010

3 Comments

 
                   
                    การเผาไหม้ หรือ
Combustion เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียนในสาขา หรือภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล แน่นอนว่า ทฤษฎีการเผาไหม้ (combustion theorem) มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งกับแนวทาง หรือ ปริมาณการใช้เชื้อเพลิง ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับหม้อน้ำ หม้อต้มน้ำมัน ของโรงงานเราๆท่านๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ ลองตั้งสมมติฐาน หรือ assumption ดูครับ  1 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงเข้าหม้อน้ำ/ หม้อต้ม ของเรามีค่าเท่านี้ xxx ลิตร(ค่าสมมติ) มาปีนี้จะสิ้นปีแล้ว น่าแปลกใจ ทำไมปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของเรา มีค่าเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆที่ปริมาณ steam หรือ ปริมาณความร้อนที่เรานำมาใช้งานจริง มีค่าไม่แตกต่างไปจากเดิม…..แน่นอนครับว่าทฤษฎีการเผาไหม้ เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Picture

               ทฤษฎีการเผาไหม้ หรือ Combustion theorem


[C + H (fuel)] + [O2 + N2 (Air)] -> (Combustion Process) -> [CO2 + H2O + N2 (Heat)]

                ขอกล่าวอย่างสรุป หากเราพิจารณาถึง สถานะของเชื้อเพลิงที่เราใช้ในการเผาไหม้ หรือที่เราใช้สำหรับหม้อน้ำ สามารถที่จะจำแนกได้เป็น  3 ประเภท ตามสถานะของมัน หลักๆด้วยกัน ได้แก่ เชื้อเพลิงแข็ง เชื้อเพลิงเหลว และ แกส เป็นหลักๆ โดยที่พื้นฐานของการเผาไหม้ในเชื้อเพลิงนั้นๆ องค์ประกอบหลักๆ หรือธาตุ ที่เผาไหม้ แล้วมันให้ความร้อนของเรา ได้แก่ C, H และ S ที่อยู่ในเชื้อเพลิงนั้นๆนั่นเอง (ไม่ว่าเชื้อเพลิงที่เอาเข้าหม้อน้ำของท่าน จะเป็น กะลาปาลม์ ซังข้าวโพด ฟางข้าว แกลบ น้ำมันเตาA น้ำมันเตาC แกสLPG แกสธรรมชาติ หรือว่า Biogas หรือว่าอะไรก็ตามแต่…แค่ 3 ธาตุหลักนี้เท่านั้นที่ให้ค่าความร้อนออกมา องค์ประกอบตัวอื่น เช่น O หรือ N หรือว่า ขี้เถ้า ในการเผาไหม้เราจะไม่ได้ค่าความร้อนมันออกมา) ตามหลักการทางทฤษฎี

                    C + O2  à CO2                    ผลที่ออกมา           คาร์บอนไดออกไซด์

                    H + 1/2 O2 à  H2O              ผลที่ออกมา           น้ำ

                    S + O2 à SO2                      ผลที่ออกมา           ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
Picture
              
               กลับเข้าสู่โลกของความเป็นจริง หรือภาคปฏิบัติครับ เราไม่สามารถทำให้การเผาไหม้เป็นไปได้ตามค่าทางทฤษฎี หรือไม่สามารถทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ (
Stoichiometric combustion) ได้โดยที่ใช้ปริมาณอากาศจากทางทฤษฎีได้ เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น การเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ จำเป็นจะต้องดึงอากาศเพิ่มเติมเข้ามา หรือใช้อากาศมากกว่า อากาศที่ใช้ในทางทฤษฎีนั่นเอง…..เพราะอะไรครับ


                                C + 1/2 O2 à CO 

              ลองพิจารณาให้เห็นภาพอย่างง่าย นึกถึง Boiler ลูกหมูที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว (น้ำมัน) ขอยกตัวอย่าง พิจารณาห้องเผาไหม้ (combustion chamber) แล้วนึกถึงห้องเผาไหม้ในเครื่องยนต์ ลักษณะการเผาไหม้ การวิ่งของไฟไปในแนวทางเดียวกันเลยครับ


-          ฉีดน้ำมันออกมา อากาศผสม คลุกเคล้าส่วนผสม แน่นอนว่าโอกาสที่จะคลุกเคล้ากันไปทั่ว ไม่ 100% แน่นอนครับ ดังนั้นการผสมระหว่างเชื้อเพลิงกับอากาศไม่สมบูรณ์แล้วหากเป็นเชื้อเพลิงแข็ง ยิ่งไปกันใหญ่ครับ ช่วงหรือ Range ของการคลุกเคล้าส่วนผสม ควบคุมได้ Stable หรือไม่ครับ

-          เครื่องยนต์มี pre ignition หรือเผาไหม้หลอก ก่อนเผาไหม้จริง  Boiler ของเรา หัวฉีด/หัวเผาของเรา ก็เช่นกัน ต้องใช้เวลาในการเผาไหม้ หรือในการทำปฏิกิริยา เช่นเดียวกัน(อย่างเครื่องยนต์ ดีเซล ในโตโยต้า วีโก้ ก็มี pilot injection หรือว่าฉีดนำร่อง เพื่อให้เผาไหม้ ดึงสัดส่วนของเวลา ก่อนฉีดจริง ลักษณะเดียวกัน)

-          สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หน้าร้อน/หน้าฝน/หน้าหนาว อากาศมีอุณหภูมิไม่เท่ากันแน่ หน้าร้อน อุณหภูมิอากาศสูง มวลอากาศเบา ในขณะที่พัดลมอัดอากาศเข้าคงที่ ไม่ว่าจะร้อน/ฝน/หนาว condition ต่างกันแน่นอน

-          น้ำมันเตา A หมด ของมาส่งไม่ทันติดน้ำท่วม ใช้น้ำมันเตา C ไปก่อนแล้วกันหัวหน้า หรือหนักกว่านั้น...แน่นอนครับ viscosity ต่างกัน หัวฉีดตัวเดิม เบอร์เดิม การกระจายตัวของเปลวไฟ หรือ Flame propagation ที่ได้ย่อมต่างกัน ความร้อนที่ส่งผ่านล่ะครับ ต่างกันแน่นอน หรือ อย่างเชื้อเพลิงแข็ง ยกตัวอย่าง ถ่านหิน Sub bituminous เหมือนกัน ลองเปลี่ยนยี่ห้อ/ เปลี่ยน supplier แน่นอน...ค่าความร้อนที่ออกมา เพี้ยนแน่ๆครับ

Picture
               ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า ในการเผาไหม้ของเรา ใน Boiler ของเรา หากเราต้องการให้เผาไหม้เชื้อเพลิงหมด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ อากาศในการเผาไหม้จริง ที่มากกว่าอากาศในทางทฤษฎีนั่นเองครับ ซึ่งเจ้าอากาศส่วนเกินขึ้นมานี่ล่ะครับที่เราเรียกมันว่า excess air หรือว่าอากาศส่วนเกินที่ใช้ในการเผาไหม้นั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมี excess air อากาศส่วนเกิน ก็ย่อมมี O2ออกมาพร้อมๆกัน ซึ่ง O2ตัวนี้เอง ที่จะเป็นตัวบอกเราในเบื้องต้นถึงอากาศส่วนเกิน หรือว่า excess air ครับ

ดังนั้นเมื่อเราทราบแล้วว่า เราต้องการที่จะเผาไหม้เชื้อเพลิงให้มันหมด หมดจดจริงๆว่าอย่างนั้น เราก็จัดการทำให้ Excess air หรือว่าอากาศส่วนเกิน มันเข้าไปเยอะๆเลยดีหรือไม่ ให้มันเลยจุดที่เหมาะสม หรือว่าจุดที่มันควรจะอยู่ดีหรือไม่
 
                คำตอบคือไม่ดีครับ เพราะเหตุผลที่ว่าเจ้า
excess air ที่มันมากเกินความจำเป็นเนี่ย มันจะพาความร้อนสูญเสียออกไปเปล่าๆครับ เป็น Flue gas loss อันเป็น main หลักของการสูญเสีย ซึ่งมีผลโดยตรงกับเจ้า Boiler efficiency ตามที่เรียนกล่าวมาแล้วข้างต้น…..แล้วถ้าหากว่า ในเมื่อเยอะเกินก็ไม่ดี ถ้าอย่างนั้นเราก็ให้มันอยู่ ในตำแหน่งที่ น้อยกว่าจุดเหมาะสมล่ะ เป็นอย่างไร คำตอบตามที่เรียนไว้ข้างต้น คือ เผาไหม้ไม่สมบูรณ์(incomplete combustion) อากาศไม่เพียงพอต่อการเผาไหม้เชื้อเพลิงได้หมด แทนที่จะเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา กลับกลายเป็น  คาร์บอนมอนนอกไซด์ หรือ CO หลุดออกมา พร้อมกับพลังงานความร้อนบางส่วน loss อีกแล้วครับ

Picture
            แล้ว Excess air เท่าไหร่ หรือว่า O2ออกมาเท่าไหร่ ถึงจะดี หรือว่าพอดีกับ Boiler ของผมล่ะครับนายช่าง

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิงหลักๆ ของท่านล่ะครับ ว่า Boiler ท่าน เชื้อเพลิงหลักเป็นอะไรครับ หากพิจารณา อากาศเกิน เป็น % โดยปริมาตร อ่านมาถึงบรรทัดนี้ก็เดากันไม่ยากแล้วครับ หากเป็นเชื้อเพลิงก๊าซ (การคลุกเคล้า ระหว่าง Fuel กับ air ทำได้โดยง่าย) อากาศเกินก็จะอยู่ในช่วง 5-15% by volume หากเป็นเชื้อเพลิงเหลว อากาศเกินก็จะอยู่ในช่วง 10-20% by volume หรือ หากเป็นเชื้อเพลิงแข็ง (เจ้าปัญหา, จะ Fixed fuel หรือจะ Mixed fuel หรือว่า ระบบการเผาไหม้ การป้อนเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน) อากาศเกินก็จะอยู่ในช่วง 15-60% by volume ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยครับตัวนี้.....หรือว่าเรามามองในมุมของ O2บ้าง อาจจะคุ้นเคยมากกว่า โดยที่ทั้งนี้และทั้งนั้น O2ส่วนเกิน ควรจะน้อยที่สุด ที่ทำให้ ปริมาณ CO ไม่เกิน 200 ppm(ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนด ห้ามเกิน 690 ppm นะครับสำหรับเจ้า CO ตัวนี้) โดยขอสรุปอย่างรวบรัดเลยครับ O2 ส่วนเกิน ที่ออกจากห้องเผาไหม้ สำหรับเชื้อเพลิงก๊าซ ไม่ควรเกิน 2% หากเป็นเชื้อเพลิงเหลว ไม่ควรเกิน 4% และหากเป็นเชื้อเพลิงแข็งเจ้าปัญหา ก็ขึ้นอยู่กับสภาพเชื้อเพลิงเป็นหลักตามที่กล่าวไว้ข้างต้นครับ ทีนี้เราตอบได้แล้วนะครับ Boiler ที่โรงงานของเรา เจ้า O2ส่วนเกิน มันควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ดี


Picture
              แล้วผมจะรู้ได้อย่างไรครับนายช่าง ว่า O2ผมมีค่าเท่าไหร่ แล้วจะปรับตรงไหน (Boiler tune up) อย่างไร

วัดสิครับ ใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือทดสอบ(Flue gas analyzer) อ่านค่า O2ส่วนเกินที่มันออกมาจาก Boiler ของเรา อันเป็นตัวตั้งต้น หรือตัวแม่ ก็ไม่ผิดครับ ตรวจวัดปริมาณ O2ที่ออกมา เปรียบเทียบกับเชื้อเพลิง ค่าความร้อน เปรียบเทียบ CO2 ที่ออกมา CO ที่ออกมา อุณหภูมิไอเสียที่ออกมา รวมถึง loss ที่มันสูญเสียออกมาจากการเผาไหม้เนี่ย มีค่าเท่าไหร่ เหมาะสม ไม่เหมาะสม อย่างไร.....ท่านต้องวัด เท่านั้นครับ ถึงจะรู้ค่าที่ exactly จริงๆ

                บางท่านอาจจะบอกว่า....เอ๊ะ นายช่าง ผมดูเปลวไฟเอาก็ได้นี่ครับ เปลวไฟสม่ำเสมอ สีของเปลวสดใส/ หรือบางท่านอาจจะกล่าวว่า ผมดูสีของควันไฟ ที่มันออกทาง ปล่องควัน หรือ Stack เอาก็ได้นี่ครับ ควันออกสีเทาจางๆ ตรงตามหลักทฤษฎีการเผาไหม้เป๊ะๆ จะไปวัดทำไมล่ะครับนายช่าง....ถูกต้องในส่วนหนึ่งครับ รถยนต์ เครื่องยนต์แกสโซลีน หรือเครื่องยนต์เบนซิล มีออกซิเยน เซนเซอร์ ที่ทางออกท่อไอเสียไว้เพื่อเป็น Feed back control สำหรับ กล่อง ECU ควบคุมการส่งจ่ายน้ำมันเข้าห้องเผาไหม้ในจุดที่เหมาะสม คือ ประหยัดน้ำมันที่สุด ฉันใดก็ฉันนั้น หากเราควบคุมจุดของการเผาไหม้ใน Boiler ของเราให้อยู่ในช่วงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผลลัพธ์ก็คือ การประหยัดที่เกิดขึ้นในระบบ ทั้งในระบบการเผาไหม้ และระบบไอน้ำ ส่งผลโดยตรงแน่นอนครับ เรียกได้ว่า หากเราเป็นช่างรุ่นใหม่ เราต้องเรียนรู้ ก้าวทันเทคโนโลยีในงานของเรานั่นเอง

                ส่วนจะวัดเมื่อไหร่ดี ปีละครั้งดีมั้ย หรือ หกเดือนครั้งดีกว่า หรือว่าหยุดตรวจสอบ
boiler ประจำปี เปิดเครื่องมาอีกทีค่อยทำการวัด ก็สุดแล้วแต่ทางโรงงาน ทางผู้บริหารครับ แต่ถ้าถามทางกาก้า เราแนะนำให้วัดทุกครั้งเมื่อท่านทำการปรับปรุงแก้ไขระบบ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเชื้อเพลิง เช่น หัว burner ตัน/ ชำรุด เปลี่ยนตัวใหม่ เปลี่ยนเบอร์ใหม่ หรือว่า เปลี่ยนปั้มน้ำมันใหม่ หรือว่าหากเป็นเชื้อเพลิงแข็ง เปลี่ยนถ่านหินชนิดใหม่ เปลี่ยน supplierเปลี่ยนตะกรับใหม่ ฯลฯ หรือหากเราไม่ได้ไปยุ่ง ไปทำอะไรเลยกับระบบ ก็แนะนำว่า ตรวจวัดเถอะครับ ปีละครั้ง แล้วนำค่าที่ได้นี่ล่ะครับ เก็บเพื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของ boiler ท่านในแต่ละเดือน/ แต่ละปี ต่อเจ้าค่า combustion analysis ที่กล่าวมายืดยาวข้างต้น รับรองว่าเห็นผลแน่นอนครับ หากว่ามีการปรับตั้ง หรือว่าแก้ไขระบบ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องตามเรียนข้างต้น  ซึ่งส่วนต่างค่าเชื้อเพลิงตรงนี้ เงินๆทองๆ ทั้งนั้นครับ ส่วนจะปรับตั้ง boiler ของเรา หรือว่า Boiler tune up กันตรงไหน อย่างไร ก็อย่างที่เรียนครับ ขึ้นอยู่กับนิสัยของ boiler เราเป็นหลัก ว่าจะปรับอากาศเข้าหาเชื้อเพลิง หรือว่าปรับเชื้อเพลิงเข้าหาอากาศ หรือว่าเป็นแบบอัตโนมัติ tune up กันแบบ feedback control ทั้งอากาศ ทั้งเชื้อเพลิงก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใดครับหากอ่านถึงจุดนี้แล้วทางเรามั่นใจว่าเราๆท่านๆ สามารถตอบโจทย์เกี่ยวกับ การเผาไหม้ของ boiler ของพวกเรา ได้อย่างไม่ยากแล้วครับ



แบบฟอร์มการตรวจวัด การเผาไหม้ (Data collected sheet for combustion analysis)

3 Comments

ประสิทธิภาพ หม้อไอน้ำ (Boiler Efficiency) ภาคทฤษฎี 2

28/8/2010

4 Comments

 
               จากภาคทฤษฎี 1 เราเรียนรู้ไปเรียบร้อยแล้วครับ ว่า ประสิทธิภาพ หม้อไอน้ำ เราสามารถหามาได้อย่างไร...แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้น จากภาคทฤษฎี1 หรือ ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำแบบ Direct method หรือ Input-Output method นั้น เป็นค่าทางอุดมคติ หรือ ทางทฤษฎีเท่านั้น ทั้งนี้ทั้งนั้น เพราะเหตุผลหลักที่เป็นเช่นนั้นมาจากปัจจัยหลักคือ การเผาไหม้ (Combustion)ที่เป็นหัวใจของการเปลี่ยนพลังงาน จากพลังงานความร้อนที่ได้จากเชื้อเพลิง มาเป็นพลังงานความร้อนที่ออกมากับตัวไอน้ำ
Picture
               ภาคนี้ ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำแบบ Indirect method หรือ Heat loss method หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า สมดุลพลังงานนั่นเองครับ จะเป็นการรวมพลังงานเข้า และพลังงานออก ซึ่งจะเป็นค่าของพลังงานที่ออกมาจริงๆ ค่าความร้อนที่ loss ออกมาจริงๆ loss ออกมาในรูปแบบไหน loss ออกมา มากน้อยแค่ไหน ซึ่งข้อมูลตรงจุดนี้...สำคัญเป็นอย่างยิ่งครับ สำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ ให้มันดีขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง จึงทำให้มีการคิดวิธีนี้ขึ้นมา...แน่นอนครับ ว่าสิ่งที่ตามมาคือ ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แน่นอนว่าต้นทุนท่านย่อมลดลงนั่นเอง ค่าไฟลดลง/ ค่าถ่านหินลดลง/ ปริมาณน้ำมันเตาที่ใช้ลดลง/ค่าเชื้อเพลิงลดลง ในขณะที่ ค่าพลังงาน ต่อหนึ่งหน่วยเชื้อเพลิงของท่าน เพิ่มมากขึ้น....นี่คือสิ่งที่เรา สามารถทำได้ หลังจากที่เรารู้ประสิทธิภาพ ของ Boiler เราว่ามันจะ loss ออกไปใน Directionไหน เราก็กำจัดจุดอ่อน หรือ ปิดจุดอ่อนตรงนั้นครับ เพื่อผลที่ตามมาคือ ประสิทธิภาพ หรือ ค่าพลังงานในรูปแบบที่เราต้องการ ที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเองครับ

หากเราพิจารณาหม้อไอน้ำ ลูกหนึ่ง โดยที่มองให้มันอยู่ในสภาวะที่คงตัว หรือ Steady state โดยพิจารณาตั้งแต่ ตัว Boiler / Super heater/ Reheater/ Economizer ให้คลอบคลุมทั้งหมด พิจารณาให้มันเป็นตัวเดียวกัน เป็นระบบเดียวกัน สิ่งที่เรามองออกมาในรูปแบบของพลังงานจะพบว่า

พลังงานที่เข้าระบบ (E) คือ พลังงานที่วิ่งเข้ามาจากเชื้อเพลิง หรือ ค่าความร้อนที่มาจากเชื้อเพลิง (ในหน่วยเวลา)
Picture
พลังงานที่ออกจากระบบ ได้แก่

L1 พลังงานที่ออกไปในรูปแบบของไอเสียแห้ง (Dry flue gas) ล่องลอยออกไปทางปล่องไอเสีย

L2 พลังงานที่สูญเสียจากความร้อนแฝงของ Hydrogen ในเชื้อเพลิง

L3 พลังงานที่ทำให้ความชื้นของเชื้อเพลิง กลายเป็นไอ (moisture in fuel/ H2O ใน fuel)

L4 พลังงานที่ทำให้ความชื้นในอากาศที่เข้าห้องเผาไหม้ กลายเป็นไอ (moisture in air/ H2O ใน air)

L5 พลังงานที่สูญเสียในรูปแบบของการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ หรือ incomplete combustion

L6 พลังงานที่สูญเสียออกไปในรูปแบบการถ่ายเทความร้อนที่ตัวพื้นผิวหม้อไอน้ำ

L7*** พลังงานที่สูญเสียในรูปแบบของ Unburned Carbon ในเถ้าลอย หรือ fly ash

L8*** พลังงานที่สูญเสียในรูปแบบของ Unburned Carbon ในเถ้าหนัก หรือ bottom ash

หมายเหตุ*** L7 และ L8 มาจากเชื้อเพลิงแข็ง หรือ Solid fuel
 

สิ่งที่เราได้จาก สมดุลความร้อน หรือ Heat loss method คือ

Boiler efficiency = 100 – (L1+L2+L3+L4+L5+L6+L7+L8)
แน่นอนว่าค่าต่างๆที่เราต้องการออกมานั้น ตั้งแต่ L1 ไล่มาเรื่อยๆ จนถึง L8 ครับ...คือค่าที่ loss หรือค่าที่สูญเสียอย่างแท้จริง ต่อหนึ่งหน่วยเชื้อเพลิงในขณะนั้นๆ ที่เราทำการเดินเครื่อง Boiler อยู่นั่นเอง ค่าที่ได้มาจากค่าของการวัดค่า/ การอ่านค่าที่ต้องนำมาเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณค่า L1 ถึง L8 ข้างต้น ซึ่งวิธีการคำนวณ ค่อนข้างยาวและซับซ้อนนิดหน่อยครับ
Picture
ดังนั้น สิ่งที่เราต้องการในขณะนี้คือ

  1. Flue gas analyzer ครับ...สำหรับ %CO2, CO และ O2 อันเป็นตัวตั้งต้นในการทำงานของเรา
  2. เครื่องมือวัดอุณหภูมิ(ทั้ง dry bulb และ wet bulb)….ไม่ว่าจะเป็น thermometer, thermocouple หรือว่า Infrared thermometer สำหรับอุณหภูมิขณะนั้นๆ เพื่อนำมาคำนวณค่า
  3. Flow meter ต่างๆ เพื่อใช้ในการวัด หรืออ่านค่าอัตราการไหลในขณะนั้นๆ เช่น อัตราการไหลไอน้ำ/ อัตราการไหลก๊าซเชื้อเพลิง/ อัตราการไหลน้ำป้อน เป็นต้น
  4. Sample หรือ ตัวอย่างของเชื้อเพลิง ในขณะที่ทำการทดสอบนั้นๆ เพื่อนำส่ง ห้องทดลอง(Laboratory)สำหรับค่าของความร้อน หรือ ค่าพลังงานในสภาวะที่ใกล้เคียงการทำงานจริงที่สุด
  5. Sample ของ Unburned carbon ในขณะที่ทำการทดสอบนั้นๆ ส่งห้องทดลอง เช่นเดียวกันกับข้อ4.
  6. ข้อมูลของน้ำ หรือ คุณภาพน้ำในขณะนั้นๆ เพื่อเก็บมาเป็นฐานข้อมูลในต่อไป เช่น Feed/ Blow down TDS หรือ pH เป็นต้น

               และทีนี้ เมื่อเราได้ค่าที่ผ่านมาทั้งหมดแล้ว คือ L1 ถึง L8 เรียบร้อย...เราก็สามารถที่จะวิเคราะห์ ได้อย่างตรงจุดแล้วครับ ว่าตอนนี้นะ Boiler เรามัน Loss ออกไปที่ตรงจุดไหนบ้าง กี่เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้/ตรงนั้น มากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะนำมาแก้ไขให้ตรงจุด และครงประเด็นครับ...นอกจากนั้น เรายังสามารถที่จะตั้งเป้าหมาย ในการเพิ่มประสิทธิภาพ อีกด้วยครับ เช่น เป้าหมายเราภายหลังจากการวัดประสิทธิภาพหม้อไอน้ำนั้น เราอยากให้ประสิทธิภาพขึ้นมาอีก 5-10 เปอร์เซ็นต์(จัดว่าเยอะครับ ระดับนี้) เราก็มานั่งดู นั่งวิเคราะห์ครับ loss หรือสูญเสียของเรา หายไปในตัวไหนของ L1 ถึง L8 ที่เป็นเปอร์เซ็นต์มาก เราก็ไปปรับแก้ตรงจุดนั้นครับ ขยับที่จุดโน้นนิด ขยับที่จุดนี้หน่อยให้ได้ตามเป้า 5-10เปอร์เซ็นต์ที่เราวางไว้.....ไม่ยากและไม่ง่ายที่จะมานั่งทำความเข้าใจครับ สำหรับการนำภาคทฤษฎี ลงมาใช้งานจริงในภาคปฏิบัติ หรือภาคสนาม อย่างไรก็ตามแต่Indirect method หรือ Heat loss method หรือ สมดุลความร้อน เป็น วิธีการหาประสิทธิภาพของ Boiler ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง และสามารถแก้ไข หรือ ช่วยในการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆที่สามารถตามมาได้อีกมากมายครับ ประโยชน์ของมันคือ นอกจากเรารู้ประสิทธิภาพ(ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง)แล้วนั้น เรายังสามารถที่จะ ปรับปรุงและพัฒนา ให้เกิดประสิทธิผลต่อเนื่องด้วยนั่นเองครับ

               ส่วนโอกาสหน้า เราจะมาวิเคราะห์ ปัจจัยหลักเกี่ยวกับผลของประสิทธิภาพ Boiler ที่มีผลโดยตรงไปยัง A/F ratio และ อากาศส่วนเกิน (excess air) ถึงความสัมพันธ์ กับการวัดค่าประสิทธิภาพ รวมถึงเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ในการวิเคราะห์ ค่าที่ได้จากการเผาไหม้ อันเป็นปัจจัยหลักโดยตรงกันครับ
ตารางบันทึกผลข้อมูล ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ
File Size: 207 kb
File Type: pdf
Download File

ตารางบันทึกผลข้อมูล ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ(ต่อ)
File Size: 152 kb
File Type: pdf
Download File

 
4 Comments

Limitation of NDT หรือ ข้อจำกัดของการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย

25/7/2010

7 Comments

 
         
          หลังจากที่เราได้รู้จัก การเลือก
NDT มาใช้ให้เหมาะสมกับงาน ของเราในเบื้องต้นแล้วนั้น บทความนี้ขอนำทุกท่านเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อจำกัดของ NDT โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะเน้นไปที่งานเชื่อมเป็นหลักครับ โดยที่ Limitation ของ NDT หรือ ข้อจำกัดของมันนั้น แน่นอนว่า NDT คือ กระบวนการตรวจสอบกระบวนการหนึ่ง ซึ่งเพิ่มความมั่นใจในตัวชิ้นงาน หรือสามารถกล่าวได้ว่า เราสามารถที่จะการันตี ชิ้นงาน ของเราได้ในระดับหนึ่ง(หากอ้างอิงจาก Code/ Standard หรือ Specification) แล้วหากกรณีที่ว่าเราต้องการตรวจสอบเพื่อความมั่นใจ ตรวจสอบเพื่อความปลอดัย ตรวจสอบเพื่อความเป็นระบบล่ะ แน่นอนว่าเราสามารถที่จะทำกระบวนการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย หรือเจ้า NDT ตัวนี้ได้ โดยที่เราสามารถที่จะอ้างอิงจาก Welding procedure หรือขั้นตอนงานเชื่อมนั่นเอง ซึ่งก็สามารถทำได้ครับ เนื่องจากหากงานเชื่อมเรามี ขั้นตอนงานเชื่อมนะ ว่างานเชื่อมของเราได้ทำตามเงื่อนไขแล้ว การทำ NDT ก็เปรียบเสมือนการการันตีชิ้นงาน หรือการันตีงานเราไปอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง

            ปัจจัยหลักๆ ที่เรานำมาพิจารณา Method หรือ แต่ละวิธี ซึ่งมันจะสัมพันธ์กับ ข้อจำกัดของการทำ NDT สามารถที่จะสรุปอย่างคร่าวๆได้ดังนี้ครับ โดยในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะ method ในการตรวจสอบหลักๆ ที่เรามักพบเจอ หรือนิยมเจอในประเทศไทย เป็นหลัก อันได้แก่ MT(Magnetic Particle Inspection)/ PT(Penetrant Testing)/ UT(Ultrasonic Testing) และ RT หรือ Radiographic Testing( นิยมเรียกว่า X-ray/ gamma-ray)

          Factor ที่ 1. Type of material หรือ ชนิด ของวัสดุ เช่น งานเชื่อมของท่านเป็นวัสดุกลุ่มไหน เป็นเหล็ก/ สเตนเลส/ ทองเหลือง/ ทองแดง/ อลูมิเนียม เป็นต้น แน่นอนครับว่า group หรือ กลุ่มของบรรดาวัสดุที่กล่าวมา ล้วนเกี่ยวเนื่องกับข้อจำกัดของ NDT อย่างแน่นอนครับ

          ยกตัวอย่าง: งานเชื่อมประกอบโครงสร้างของเรือ ที่ทำจากอลูมิเนียม อยากทำการตรวจสอบแนวเชื่อม แน่นอนครับว่า อลูมิเนียม อยู่ในวัสดุกลุ่ม Non ferrous material(ภาษาบ้านๆเลยคือ วัสดุในกลุ่มที่ไม่มีอำนาจที่จะเหนี่ยวนำแม่เหล็ก) ดังนั้น NDT ใน method ที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้ ในวิธีนี้ก็คือ การตรวจสอบด้วยอนุภาคแม่เหล็ก/ Magnetic Particle Inspection หรือ MPI หรือ MT ก็สุดแล้วแต่จะเรียกครับ ก็เป็นวิธีที่ตัดทิ้งไปได้เลยครับ 


          Factor ที่ 2. Thickness of materialหรือ ความหนาชิ้นงาน งานเชื่อมที่เราต้องการตรวจสอบ หนามาก/หนาน้อย/ ส่วนที่เชื่อมต่อมีหลาย Joint/ หลายจุด หนาบ้าง ไม่หนาบ้าง เท่ากันบ้าง แน่นอนครับว่า ข้อจำกัดของการทำ NDT ในแต่ละ method ส่งผลแน่นอน เพราะ แต่ละวิธีนั้น จะครอบคลุม หรือ Cover ในส่วนของความหนาชิ้นงานเชื่อมที่ไม่เท่ากัน
Picture
PT ครอบคลุม งานเชื่อมที่ความหนาไม่มากนัก/ เน้นการตรวจสอบที่พื้นผิวความหนาชิ้นงานเป็นหลัก

MT สามารถที่จะ Detect หรือตรวจสอบข้อบกพร่องในงานเชื่อม ได้ในระดับความหนาจากพื้นผิวงาน ไม่เกิน 3-4 มิลลิเมตร ถ้าหนามากกว่านี้…แน่นอนครับ อำนาจสนามแม่เหล็ก ส่งผ่านลงไปไม่ถึง ก็ไม่สามารถตรวจสอบในส่วนที่ อำนาจแม่เหล็กลงไปถึงได้

UT เหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีความหนา แล้วหนาเท่าไหร่ล่ะครับ…คำถามถัดมา หนามากกว่า 12.7 มิลลิเมตร หรือ หนามากกว่า ½ นิ้วขึ้นไปครับ ถึงจะเหมาะสมกับวิธีนี้ ด้วยข้อจำกัดทางด้านเทคนิค ของการส่งผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง จะมีผลโดยตรงกับระยะความหนาตั้งแต่ 2 มม. ถึง 12 มม. ซึ่งเป็นตัวแปรหลักอันสามารถทำให้เกิดการตีความที่ผิดพลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงความหนา 3-4 มม. แรก เราไม่สามารถที่จะอ่านค่าได้(จากข้อจำกัดทางเทคนิค)จึงไม่นิยม ทำ UT ในกรณีที่งานเชื่อมเรา หนาน้อยกว่า ½ นิ้วนั่นเองครับ

RT เหมาะสำหรับชิ้นงาน หรืองานเชื่อมที่มีความหนาตั้งแต่ 3-30 มม. หนากว่า 30 มม. ทำไมจะทำ RT ไม่ได้/ ทำได้ครับ แต่…ผลของภาพถ่ายด้วยรังสี หรือ Film จะไม่สวยครับ และอีกทั้ง ท่านจะใช้เวลาในการตรวจสอบที่นานเกินความจำเป็น


Factor ที่ 3.
ความซับซ้อนของชิ้นงาน และ การเข้าถึงชิ้นงาน


           ความซับซ้อนของชิ้นงานเชื่อม ซับซ้อนมาก หรือน้อย เชื่อมต่อชนธรรมดา เชื่อมตั้งฉาก หรือ Fillet weld หรือ Joint ในลักษณะ ของ T-Y-K  พวกนี้จะส่งผลต่อ ข้อจำกัดของการทำ NDT ครับ ยกตัวอย่าง แนวเชื่อม Fillet weld ของแผ่นเสริมแรง ที่ฐานเสาไฟ…RT ได้มั้ย/ ได้ครับ แต่ Film ท่านไม่สวยแน่ อาจตีความผิดพลาดได้แน่ เพราะรังสีที่ผ่าน ตกลงมาบน film นั้น ต้องผ่าน แผ่นเสริมแรงในแนวตั้ง+ผ่านแนวเชื่อม+ผ่านพื้นเสาในแนวนอน แบบนี้ ภาพถ่ายที่ได้ไม่สวยครับ เราไม่นิยมทำ RT ในกรณีที่ต้องผ่านความหนา 2 ความหนาแบบนี้ครับ PT หรือ MT เหมาะสมกว่าด้วยประการทั้งปวงครับ

            การเข้าถึงชิ้นงาน เข้าได้ด้านเดียว หรือ เข้าถึงได้สองด้าน เช่น ผมมีเหล็กกล่อง(หนา 5mm ขนาดหน้าตัด สี่เหลี่ยม กว้างxยาว 1 นิ้วx3.5 นิ้ว) ต่อชนกัน เพื่อให้มันยาวขึ้นว่าอย่างนั้น แน่นอนครับ การเข้าถึงชิ้นงานเข้าได้ด้านเดียว คือด้านนอก เพราะด้านในเราเข้าไม่ได้นี่ครับ ถ้าจะ RT ก็ผ่าน สองความหนาอีก จะ UT ชิ้นงานก็บางเกินไปอีกครับ เหลือแต่ MT และ PT แล้วครับ ที่ท่านสามารถเลือกใช้ได้

            เช่นเดียวกันครับ…ผมเปลี่ยนจากเหล็กกล่องของผม เป็นเหล็ก I – beam หนาเท่าเดิมเลยล่ะ หนา 5 มม. (หน้าตัดชิ้นงานตามขวาง เป็นรูปตัว I) เห็นข้อแตกต่างชัดเจนครับ การเข้าถึงชิ้นงาน สามารถเข้าถึงได้สองด้านแบบนี้ RT ได้มั้ย/ ผ่านความหนาเดียวด้วย คำตอบคือ ได้ครับ film สวย/ อ่าน หรือ แปรผลง่าย เหมาะสมกับการตรวจสอบ แล้ว MT ล่ะ ได้มั้ย…ได้เหมือนกันครับ หนา 5 มม. นี่ครับ แต่เข้าถึงหน้าชิ้นงานได้ทั้งสองด้าน ก็ทำ MT ทั้งสองด้าน 3+3 เท่ากับ 6 มม. Cover หรือ คลอบคลุม แนวเชื่อมแล้วครับ

Picture
Factor ที่ 4. ความปลอดภัยในการทำงาน

          ตรงนี้จะขอเน้นไปที่ การทำ RT เป็นหลักครับ…เนื่องจาก ความปลอดัยทางด้านรังสี ที่ใช้ถ่ายภาพ หรือทำ RT นั่นเอง กล่าวโดยรวมคือ หน้างาน/ site งาน หรือ บริเวณ ที่จะทำงานของท่านเป็นอย่างไร อยู่ที่โล่งแจ้งมั้ย มีกำบังมั้ย อยู่ติดถนนคนเดินผลุกผล่าน หรืออยู่กลางป่า กลางเขา หรืออยู่ใน shop มีคนทำงานเป็นกะ ตลอด 24 ชั่วโมง……

          .เพราะอะไรครับ เพราะหากเป็นสถานที่ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนเป็นข้อจำกัด หากเราไม่สามารถที่จะจำกัด จำนวนคนไม่ให้เข้ามาในบริเวณที่ทำ RT ได้นั่นเอง เนื่องจากรังสีอันตรายไงครับ…..ดังนั้น หากทำ RT ต้องมีการกั้น หรือ กันพื้นที่ ไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปอย่างเด็ดขาด หากเป็นบริเวณที่ไม่สามารถกั้นได้ล่ะครับ เช่น ริมถนนใหญ่/ตึกสูง อาคารสูง/ ใจกลางเมือง สีลม สาทร/ ในโรงพยาบาล/ สถานศึกษา แบบนี้….งาน ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย นิยมที่จะหลีกเลี่ยง การทำ RT เป็นหลักครับ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆครับ


Factor ที่ 5.
ความถี่ในการตรวจสอบ


            แน่นอนครับ ความถี่ในการตรวจสอบมีผลโดยตรง ไม่ว่าท่านจะทำการตรวจสอบแบบ Full Inspection(ทำมัน 100% ทุกแนวเชื่อมเลย) หรือ Random Inspection(สุ่มเอา เป็น% ไป อาจจะ 15% หรือ 25% ก็ว่ากันไป) หรือ เฉพาะ joint เฉพาะจุดที่ serious จุดที่เป็น weak point หรือ จุดแนวเชื่อมสำคัญๆ ที่รับน้ำหนัก รับ load รับ stress ที่เกิดขึ้น ก็เป็นได้ครับ ซึ่งท่านจะทำการตรวจสอบโดยทางผู้ผลิตเอง หรือ ให้ทางหน่วยงานที่สาม(หน่วยงานกลาง หรือ third party) ตรวจสอบ ตรงนี้ล้วนมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบทั้งนั้นครับ หรืออาจจะมี Inspection Test Plan ของแต่ละโครงการ ของแต่ละลักษณะงานเชื่อมนั้นๆ ควรปริกษากับวิศวกรในแต่ละงานนั้นๆครับ เพื่อให้ง่ายขึ้น มี Procedure งานเชื่อมสร้าง งานเชื่อมซ่อม/ Procedure งานตรวจสอบ เป็นต้นครับ

            สำหรับทั้ง 5 Factor นั้น เป็นปัจจัยหลักๆนะครับ จากการทำงานที่ผ่านมา….อาจจะไม่ตายตัว หรือ ไม่ยึดติดในกรณีใด กรณีหนึ่ง แต่ขอให้อ้างอิง ถึงความเหมาะสมในการทำงานเป็นหลักครับ ส่วนในเรื่องของราคาการตรวจสอบ แน่นอนครับ RT คิดเป็น film(ราคาต่อ film ครับ-พอสมควรครับ)PT/MT คิดเป็น ต่อ เมตรแนวเชื่อม หรือ minimum ขั้นต่ำพื้นที่ทำการตรวจสอบ เช่นเดียวกันกับ UT ครับ….ดังนั้นมาถึงตรงจุดนี้แล้ว ท่านก็สามารถที่จะ select หรือ เลือก หรือ พิจารณาข้อจำกัดของ การทำ NDT เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับการทำงานของท่านได้แล้วนะครับ เพื่อเป็นการการันตีงานของท่านให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นครับ
7 Comments

ประสิทธิภาพ หม้อไอน้ำ (Boiler efficiency) ภาคทฤษฎี 1

25/7/2010

3 Comments

 
          อ้างอิงจาก ASME Standard: PTC-4-1 Power Test Code for Steam Generating Units ครับ...โดยที่ เจ้า ASME Standard ตัวนี้จะแบ่ง หรือ จำแนกวิธีการคิด หรือวิธีการคำนวณ ประสิทธิภาพ หม้อไอน้ำ ออกเป็น 2 วิธีหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่

วิธีที่1 เรียกว่า
Direct Method (หรือ สามารถเรียกได้ว่า Input-Output Method) และ

วิธีที่2 เรียกว่า Indirect Method (หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า Heat loss method)
Picture
          ซึ่งวันนี้เราจะมาศึกษาในส่วนของ Direct method หรือ input-output method นั่นคือ ประสิทธิภาพในส่วนของ input ต่อ output ที่ออกมาของตัวหม้อไอน้ำนั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า input ของเราหมายถึงความร้อนที่ให้เข้าไปในตัวหม้อไอน้ำ ความร้อนมาจากไหน...ความร้อนมาจากเชื้อเพลิงที่เราใส่เข้าไปไงครับ เพราะเราต้องการต้มน้ำ เอาไอน้ำไปใช้ ดังนั้น input ของเราคือ ทำยังไงก็ได้ให้น้ำมันร้อน เพื่อให้ได้ไอน้ำออกมา....นั่นก็คือ เราต้องมีตัวแปรต้น คือ อะไรก็ได้ที่เราจำเป็นต้องใส่เข้าไปเพื่อให้เป็นตัวแปรในการให้ค่าความร้อน (Heating value) ออกมาสำหรับการเผาไหม้(Combustion)นั่นเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ input ของเราคือ เชื้อเพลิงนั่นเองครับ(ไม่ว่าจะเป็น ถ่านหิน/ไม้ฟืน/แกลบ/น้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติ/ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น....ที่นิยมใช้กันนะครับ)

          แล้ว Output ของวิธี direct method ล่ะ คืออะไร...คำตอบคือ steam หรือไอน้ำ นั่นเอง เพราะหม้อไอน้ำ เราต้องการไอน้ำมาใช้ ดังนั้นเมื่อ input คือ พลังงานความร้อนที่ใส่เข้าให้ในการต้มน้ำ (ที่มาจากเชื้อเพลิง) ผลลัพธ์หรือ output ที่ออกมาได้ ก็จะเป็น พลังงานความร้อนที่น้ำได้รับ โดยผลลัพธ์ในรูปแบบของไอน้ำ หรือ Steam enthalpy ที่เปลี่ยนแปลงออกมานั่นเอง

          ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อัตราส่วนของ Input ต่อ output ที่ออกมา สามารถกล่าวได้ว่า คือ ผลลัพธ์อัตราส่วน หรือ ประสิทธิภาพ ของเชื้อเพลิง ต่อ ไอน้ำ (fuel to steam efficiency) ก็สามารถกล่าวได้ครับ

ประสิทธิภาพ หม้อไอน้ำ หรือ  Boiler Efficiency  = (Heat output/Heat input) x 100           


                                        Boiler Efficiency = Steam quantity x (steam enthalpy - feed water enthalpy)
 x 100
                                                                      Fuel consumption quantity x fuel carolific value
          


          Steam quantity   คือ อัตราการผลิตไอน้ำที่ออกมา ในหน่วยของ ไอน้ำ ต่อเวลา สามารถหาได้จาก Log book ของ boiler หรือ ค่าที่วัดค่า/อ่านค่าได้ จากข้อมูลของ หม้อไอน้ำตัวนั้นๆ หรือค่าจริงจากการวัดค่า
 
          Steam enthalpy และ feed water enthalpy คือ ค่าพลังงานของน้ำ (หรือ ไอน้ำ) ในสถานะนั้นๆ ในหน่วยของ พลังงาน ต่อ หน่วยมวล โดยทั่วไปนิยม ในหน่วยของ Cal/kg. หรือ Joule/kg. ซึ่งสามารถหาค่าได้จาก ตารางคุณสมบัติของไอน้ำอิ่มตัว (Saturated steam table) ของตำรา Thermodynamics ทั่วไป

          Fuel consumption quantity คือ ปริมาณของเชื้อเพลิงที่ใช้ ในหน่วยของ มวล ต่อเวลา

          Fuel calorific value คือ ค่าความร้อนจำเพาะ ของเชื้อเพลิงตัวนั้นๆที่เราใช้ในการเผาไหม้ ในหน่วยพลังงาน ต่อเวลา ซึ่งสามารถหาได้จาก ตำราหรือ ข้อมูลจาก บริษัท/แหล่งผู้ผลิตเชื้อเพลิง

          ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าหากเราต้องการค่าของ ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ ให้มีค่าสูงๆเข้าไว้ก่อน ตัวเศษ หรือ Heat input ค่าที่ได้ควรจะมีค่ามากไว้ก่อน หรือมีค่าผลต่างที่เป็นจำนวนมาก นั่นคือ ค่าของผลต่าง steam enthalpy  และ feed water enthalpy มีค่าที่ต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่าหากที่สภาวะความดันเดียวกัน steam ที่อุณหภูมิสูงกว่า จะมีค่าพลังงานทางความร้อนที่มากกว่า หรือ enthalpy มากกว่านั่นเอง ซึ่งนั่นก็หมายถึง ความร้อนถ่ายเท เข้าสู่ตัว steam ได้อย่างเต็มที่นั่นเอง ในสภาวะของ Superheat steam ที่อุณหภูมิยิ่งมากยิ่งดี(สร้างพลังงานได้มาก) ในทางเดียวกัน หากปริมาณของเชื้อเพลิงต่อหน่วยเท่ากัน(ที่ป้อนเข้า หม้อไอน้ำ) เชื้อเพลิงที่มีค่าพลังงานความร้อน หรือเจ้า calorific value ที่มากกว่า ย่อมให้อัตราการถ่ายเทความร้อนที่มากกว่าต่อหน่วยเชื้อเพลิง 

          แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ท่านต้องคำนึงถึง ราคาต่อหน่วยเชื้อเพลิง ที่นำมาใช้ด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าต้องการแต่ ประสิทธิภาพสูงอย่างเดียว ไม่สนใจการลงทุน แบบนี้ก็ไม่
balance หรือ สมดุลทางด้านเศรษฐศาสตร์เท่าไหร่ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น concept ทางด้านประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ แบบ Direct method สามารถหาได้จากวิธีการด้านบนครับ.....เดี๋ยว ภาค2 จะมาต่อ ถึงการหาประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ แบบ indirect method ซึ่งละเอียด และยุ่งยากกว่า direct method มากๆครับ แต่ผลลัพธ์ ต่างกันในหลักระหว่าง 5-10 เปอร์เซ็นต์ครับ(เทียบจากการคำนวณ ทั้งสองแบบ)


          โจทย์การบ้าน : หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ หรือ แบบลูกหมู (ในภาษาลูกทุ่ง)ลูกหนึ่ง มีกำลังการผลิตไอน้ำที่ 8ตัน ต่อชั่วโมง โดยค่าจากเครื่องมือวัดที่วัดค่าอุณหภูมิ และความดันไอน้ำ อ่านค่าได้ 180 องศาเซลเซียส และ 10
bar โดยประมาณ และใช้ถ่านหิน ชนิด KAKA เป็นเชื้อเพลิง ที่อัตราการบริโภค 1,600 กิโลกรัม ต่อ ชั่วโมง(กำหนดให้ ค่าความร้อนของ ถ่านหินKAKA อยู่ที่ 4000 kCal/Kg) โดยอุณหภูมิน้ำป้อนเข้าอยู่ที่ 85 องศาเซลเซียส เจ้าของโรงงานอยากทราบประสิทธิภาพ หม้อไอน้ำตัวนี้ อย่างคร่าวๆ ทางหลักทฤษฎี ด้วยวิธี Direct-method ครับ (เฉลย: 72.5% โดยประมาณ)
3 Comments

WPS+PQR+WQT กับงานเชื่อม(ภาค1)

1/7/2010

13 Comments

 
               หลายท่านคุ้นเคยกับศัพท์ทางด้านงานเชื่อมพวกนี้อยู่แล้วครับ แต่มาวันนี้เรามาทบทวน เผื่ออีกหลายท่านที่แวะเวียนมายังพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ ได้มาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

               WPS หรือ Welding Procedure Specification หรือ ภาษาไทยจะเรียกว่า ขั้นตอนงานเชื่อม ก็ไม่ผิดนัก ซึ่งโดยชื่อมันก็บอกเราตรงๆแล้วว่า เป็นขั้นตอนที่ระบุตัวแปรของงานเชื่อมเอาไว้ ในแต่ละงานนั้นๆ กำหนดให้ใช้ตัวแปรนั้นๆในการเชื่อม ซึ่งตัวแปรต่างๆนี่ล่ะครับ จะเป็นตัวหลักเลยที่จะบอกว่า งานเชื่อมของท่านนั้น จะมีผลหรือส่งผลต่อ mechanical property ในตัวเนื้องานแค่ไหน หรือ ผลกระทบทางด้านอื่นๆ เช่น โลหะวิทยาที่เปลี่ยนไป ผลต่อความแข็งหรือ hardness หรือแม้กระทั่ง Defect ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ หากผิดขั้นตอนงานเชื่อมตัวนี้ ที่จะเป็นผลให้งานของเราๆท่านๆเสียหายได้ครับ

Picture
               หลายท่านคุ้นเคยกับศัพท์ทางด้านงานเชื่อมพวกนี้อยู่แล้วครับ แต่มาวันนี้เรามาทบทวน เผื่ออีกหลายท่านที่แวะเวียนมายังพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ ได้มาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

               WPS หรือ Welding Procedure Specificationหรือ ภาษาไทยจะเรียกว่า ขั้นตอนงานเชื่อม ก็ไม่ผิดนัก ซึ่งโดยชื่อมันก็บอกเราตรงๆแล้วว่า เป็นขั้นตอนที่ระบุตัวแปรของงานเชื่อมเอาไว้ ในแต่ละงานนั้นๆ กำหนดให้ใช้ตัวแปรนั้นๆในการเชื่อม ซึ่งตัวแปรต่างๆนี่ล่ะครับ จะเป็นตัวหลักเลยที่จะบอกว่า งานเชื่อมของท่านนั้น จะมีผลหรือส่งผลต่อ mechanical property ในตัวเนื้องานแค่ไหน หรือ ผลกระทบทางด้านอื่นๆ เช่น โลหะวิทยาที่เปลี่ยนไป ผลต่อความแข็งหรือ hardness หรือแม้กระทั่ง Defect ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ หากผิดขั้นตอนงานเชื่อมตัวนี้ ที่จะเป็นผลให้งานของเราๆท่านๆเสียหายได้ครับ


Picture
               PQR หรือ Procedure Qualification Recordจะเป็นตัวที่บ่งบอก หรือบ่งชี้ เงื่อนไขของงานเชื่อมใน WPS นั้นๆ เพราะว่า การทำ PQR นั้นๆ จะบ่งบอก หรือบ่งชี้ WPS ตัวนั้นๆ ว่ามันสามารถที่จะเอาไปใช้งานได้หรือไม่ นั่นคือ มีการ พิสูจน์ถึงตัวแปรในงานเชื่อมที่เราระบุอยู่ใน Code นั้นๆไงครับ ซึ่งขั้นตอนของการจัดทำ PQR ก็ต้องมาระบุชิ้นงานตาม WPS นั้นๆ เอาชิ้นงานที่ผ่านการเชื่อมตามที่ WPS นั้นๆ(จริงๆควรจะเรียกว่า Pre-WPS มากกว่า) มาทำ NDT หรือ non-destructive testing(สำหรับ AWS D1.1) หรือ อาจจะไม่ทำ เพื่อดู sound weld(สำหรับ ASME code/ material บางตัว).....มาทำ Tensile test ดึงโหลดดู mechanical property หรือนำชิ้นงานมาบิด มาดัด หรือ bending ดูความเหนียว หรือ toughness เพื่อที่ว่าสามารถรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเชื่อม ในแต่ละ WPS นั้นๆได้ ซึ่ง PQR ตัวนี้ ใน Code แต่ละตัว แต่ละเงื่อนไขก็มีระบุอยู่ครับ ว่าการทำ PQR จะทำอย่างไรบ้าง ตัดชิ้นงานทดสอบอย่างไร เตรียมชื้นงานทดสอบอย่างไร กี่ชิ้น นำไปทำอะไรบ้าง หรือ ผลการทดสอบ จะ Accept หรือ Reject เพื่อเป็นตัวตัดสิน WPS นั้นๆ ตรงนี้ใน Code ภายใต้งานนั้นๆ มีบอกไว้ชัดเจนครับ

               ดังนั้น WPS นั้นๆที่สามารถเอามาใช้งานนั้นๆได้ จำเป็นจะต้องมีเจ้า PQR ตัวนั้นๆรองรับ หรือ สามารถกล่าวว่า WPS ตัวนั้นๆ มี PQR ตัวนั้นๆ support นะ ไม่ใช่อยู่ดีๆ เอา WPS ที่ไหนมาก็ไม่รู้ นั่งเทียนเอามา ผล PQR support ก็ไม่มี แล้วแบบนี้จะเอาไปใช้งานได้อย่างไร ถูกมั้ยครับ เพราะจะเอาอะไรมา การันตี mechanical property ในงานนั้นๆล่ะครับ ดังนั้นใน WPS ทุกตัวจะต้องมี PQR ระบุ ว่า support ทุกครั้งครับ

เช่น WPS kaka 001 จะต้องระบุ Support by PQR no. kaka 001 ในทางเดียวกัน

PQR no. kaka 001 จะต้องระบุ Supported WPS no. kaka 001 เช่นเดียวกันครับ ถึงจะสมบูรณ์

                ซึ่งข้อมูลใน PQR จะต้องระบุ เงื่อนไข ที่ follow ตาม WPS ตาม Code meeting นั้นๆในแต่ละงาน/ มีผลการทดสอบ ยกตัวอย่างเช่น มีผล Bending/มีผล Tensile/มีผล Macro จาก Lab หรือจาก สถาบันทดสอบที่ได้มาตรฐาน ตาม Code requirement นั้นๆ ซึ่ง 1 PQR สามารถที่จะ support ได้ หลายWPS เช่นเดียวกันครับ 1WPS ก็สามารถที่จะ support ได้หลายPQR ดังนั้นจะเห็นว่า ขั้นตอนการจัดทำ WPS จะไปยุ่งยาก ตรงลองผิด ลองถูก เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่ง ผลของ PQR ที่สมบูรณ์ หรือผิดพลาดน้อยที่สุดตาม code requirement เพื่อที่จะให้เงื่อนไขของ WPS นั้นๆ Approve หรืออนุมัติ ไปใช้งานได้ครับ

               งานบางงาน ย้ำว่าบางงานครับที่ทางเราเคยเจอมา เรารู้กันอยู่แล้วว่าคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก คนไทยหัวหมอครับ เจอฝรั่งหัวหมอ ไม่เชื่อในผลของ PQR ในส่วนของตัวชิ้นงาน ถึงกับต้องนำ ชิ้นงานที่ทำ PQR มาวิเคราะห์ดูเองก็มีนะครับ ทั้งก่อนนำชิ้นงานไปดัด ไปดึง แล้วก็ชิ้นงานหลังผ่านการดัด หลังผ่านการดึง นำมาส่งให้เจ้าของงาน ดูด้วยทุกครั้ง แบบนี้ก็มีครับ/ ขนาดถึงกับเจ้าของงาน หรือ owner อยากไปดูตอนทดสอบ ตอนทำ Lab ก็ต้องพาเค้าไปดูจริงๆ ล่ะครับ นี่ล่ะครับ คนไทยหัวหมอ.....เดี๋ยว blog หน้า จะต่อภาคสอง (WPS+PQR+WQT ภาค 2 ครับ)



13 Comments

งานบริการวัดความหนา

1/7/2010

14 Comments

 
               งานบริการวัดความหนา ด้วยเครื่องวัดความหนา หรือ Ultrasonic Thickness Measurement หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า UTM เป็นส่วนหนึ่งของงานพิจารณาตรวจสอบ เพื่อพิจารณาถึง ความหนาของชิ้นงาน/เนื้องาน ที่เราต้องการตรวจสอบความหนานั้นๆ โดยอาศัยหลักการของคลื่นเสียงความถี่สูง ส่งผ่านไปยังชิ้นงานที่ต้องการตรวจสอบ แล้วจึงอาศัยคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจากอีกฝั่งหนึ่งของผิวชิ้นงาน นำมาคำนวณค่าของความหนาชิ้นงาน เพื่อแสดงผลออกมาให้เราทราบ
 

               วัดความหนาได้เฉพาะเหล็กหรือไม่

               คำตอบคือ
…เราสามารถวัดความหนาของชิ้นงาน ได้ในวัสดุเกือบทุกชนิดที่เราสามารถส่งคลื่นเสียงความถี่สูง ลงไปในชิ้นงานนั้นๆได้ ซึ่งหลักการทำงานตรงนี้ ถูกนำมาใช้ในการตั้งค่า หรือ set ค่า เครื่องวัดความหนาในส่วนใหญ่ (คือ หลักการทำงานของตัวเครื่อง จะใช้หลักการทำงานเดียวกัน) นั่นคือ set ค่าของความเร็วคลื่นเสียง ตามยาว (ในหน่วย เมตร/วินาที) ที่ส่งผ่านเข้าไปในวัสดุนั้นๆ หากเรารู้ว่าวัสดุนั้นๆ เป็นชิ้นงานอะไร เช่น หากเราต้องการนำไปวัดความหนาของ ท่อเหล็ก (Steel) การตั้งค่า เราจะ set ความเร็วของคลื่นที่ถูกส่งผ่าน เครื่องวัดความหนาไปที่ 5,920 m/s หรือ หากเราต้องการนำไปวัดชิ้นงานที่เป็น อลูมิเนียม (Aluminum) การตั้งค่า เราก็เพียงปรับ set ค่าความเร็วของคลื่นที่ถูกส่งผ่าน เครื่องวัดความหนาไปที่ 6,320 m/s เป็นต้น เช่นเดียวกันกับวัสดุอื่นๆครับ ไม่ว่าจะเป็น ทองแดง ทองเหลือง พลาสติก  PVC แก้วหรือ กระจก เราก็ล้วนใช้หลักการเดียวกันทั้งสิ้นครับ
 

               การประยุกต์ใช้งาน หรือ การใช้งานภาคสนาม

               สำหรับงาน Service เกี่ยวกับ งานบริการวัดความหนา ส่วนใหญ่เรานิยมใช้ ควบคู่ไปในงานพิจารณาตรวจสอบต่างๆ เพื่อพิจารณาความหนาที่เราอ่านค่าจริงได้ในขณะนั้นๆ นำไปเปรียบเทียบกับ รายการคำนวณ ตามแบบก่อสร้าง หรือตามข้อกำหนดตามแบบ ของงาน engineering design เพื่อที่จะพิจารณาว่าความหนาชิ้นงานในขณะนั้นๆ(เช่น ชิ้นงานเรานั้น อาจจะเป็นท่อ หรืออาจจะเป็นถัง หรือ container ผ่านการใช้งานมาแล้ว 5 ปี) ความหนาของวัสดุ หรือความหนาของชิ้นงานเรานั้น มีการสึกกร่อน(Corrosion) ลงไป มาก น้อยเพียงใด ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ต่อไปโดยผ่าน ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของทางวิศวกรรมหรือไม่ เช่น ท่อ/ถัง/ภาชนะบรรจุแรงดัน/ถังเก็บน้ำมัน (Storage tank) เสียเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างดังเช่น

-       งานวัดความหนาของท่อไฟใหญ่ ใน Fire tube boiler หรืองานวัดความหนาของ ท่อน้ำ ใน water tube boiler
-       งานวัดความหนาของท่อน้ำมัน ใน hot oil boiler
-       งานวัดความหนาของผนังถัง vessel หรือ ผนังของภาชนะบบรจุแรงดัน/ ผนังถังบรรจุก๊าซคลอรีน(Cl2)/ ผนังถังบรรจุก๊าซแอมโมเนีย(NH3)ผนังถังก๊าซ LPG/NGV
-       งานวัดความหนาถังลม/ ถัง Air compressor
-       งานวัดความหนาผนัง
(Shell)/ วัดความหนาพื้นหลังคา(Roof plate) ถังเก็บน้ำมัน(Storage tank) เป็นต้น

Picture
               ซึ่งค่าที่เราอ่านได้ หรือค่าที่เราวัดได้นี่ล่ะครับ จะถูกนำมาเปรัยบเทียบกับรายการคำนวณในทางวิศวกรรม เพื่อพิจารณาความสามารถในการใช้งาน เช่น หากเป็นถังรับแรงดัน ก็จะนำมาพิจารณาว่า ผนังถังตามความหนาที่เราวัดค่าได้ สามารถใช้งานได้ต่อไป โดยปลอดภัยหรือไม่ ไม่ใช่ว่าใช้งานไปเรื่อยๆ ความหนาก็กร่อนลงเรื่อยๆ(อันสาเหตุมาจาก Corrosion ที่ด้านใน ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้) หากเป็นท่อ ก็เช่นเดียวกัน เพื่อพิจารณาความหนาของเนื้อท่อที่เหลืออยู่ อันสามารถเกิดการกัดกร่อนจากภายในได้ เช่นเดียวกันครับ ซึ่งหากไม่มีรายงานการคำนวณ วิศวกรผู้ทำการตรวจสอบ หรือทดสอบ ก็จำเป็นที่จะต้องจัดทำรายการคำนวณ ตามหลักการทางวิศวกรรมขึ้นมา เพื่อที่จะใช้เปรียบเทียบค่าที่อ่านได้ (ไม่อย่างนั้นเราจะทำการวัดค่า ทำไม จริงหรือไม่ครับ วัดค่า/อ่านค่ามา แต่ไม่รู้จะเอาไปเปรียบเทียบกับอะไร จะผ่าน หรือตก ก็ไม่รู้ เพราะไม่มีตัวเปรียบเทียบ….แล้วจะวัดความหนาไปทำไมครับ ต้องมีหลักการทางวิศวกรรมอ้างอิงครับ) 

ข้อควรระวังเล็กๆน้อยๆครับ ในการใช้งานภาคสนาม

     -  อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ทุกชนิดครับ ไม่เน้นว่าจะต้องเป็นเครื่องวัดความหนา การใช้งานควรให้หลีกห่างจากความชื้นต่างๆ และควรทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้ง ทั้งตัวเครื่อง และหัว probe (ส่งคลื่นเสียง) ให้สะอาดอยู่เสมอ อีกทั้ง หากเราไม่ได้ใช้เครื่องวัดความหนาเป็นเวลานานๆ(ซักประมาณ 1 เดือนนี่ก็ถือว่านานแล้วครับ) ถอดแบตเตอรรี ออกทุกครั้งนะครับ

   - หัวโพรบ
(Probe) จะส่งผ่านคลื่นได้ดีนั้น ผิวชิ้นงาน ณ จุดที่ทำการตรวจสอบ ควรจะทำความสะอาด ให้ชิ้นงานปราศจากสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น/เขม่า/สนิม เป็นต้น อันสามารถเป็นตัวกำจัด ความสามารถในการส่งผ่านของคลื่น อันสามารถทำให้เกิด error ในการวัดค่าได้ และก่อนใช้งานจริง อย่าลืมทำการตั้งค่า หรือ Calibrate ทุกครั้งด้วยนะครับ
  
-   หัวโพรบ(Probe)ความถี่ต่ำ เหมาะสำหรับ ใช้กับชิ้นงานที่มีเกรนหยาบ(เช่น เหล็กหล่อ) สำหรับความถี่สูง เหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีเม็ดเกรนละเอียด ซึ่งจะให้ resolution ที่ดีกว่าครับ โดยความถี่ของหัวโพรบ ส่วนใหญ่ของเครื่องวัดความหนาที่เรานิยมใช้ มักจะอยู่ที่ 1MHz/ 2.5MHz/ 5MHz และ 10 MHz เสียเป็นส่วนใหญ่ครับ

14 Comments

Hydrostatic Test

7/6/2010

12 Comments

 
          Hydro คือน้ำ Static คืออยู่กับที่/อยู่นิ่ง Test คือการทดสอบ ดังนั้นเรานำมารวมกัน เป็น Hydrostatic Test คือ การทดสอบด้วยแรงดันน้ำ หรือ การอัดน้ำทดสอบนั่นเอง โดยทั่วไปเรามักพบการทดสอบ Hydrostatic Test ใน ถัง ท่อ ภาชนะรับแรงดัน เช่น Boiler/ Pressure vessel/ Piping/ ถังรับแรงดันทั่วไป/ ถังเก็บและ บรรจุก๊าซ/ ถังแอมโมเนีย/ ถังก๊าซLPG/ ถังNGV หรือ ถังรับแรงดันทุกประเภทว่าอย่างนั้น
Picture
ทดสอบที่ความดันเท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่า ทดสอบ Hydrostatic Test

          โดยทั่วไป หากมีกฎ หรือ Code ในลักษณะงานนั้นๆ เราจะยึด กฎ หรือ Code ตัวนี้เป็นหลัก ในเรื่องของความดันทดสอบ เช่น หากทดสอบถังรับแรงดัน โดยที่ถังนั้นออกแบบ และสร้างตาม Code ของเพื่อนชาวอเมริกา ASME section VIII, div 1 เราก็ต้องปฏิบัติงาน การทดสอบที่ตาม Code นั้นกำหนด ซึ่งตรงนี้ ตัว Code จะกำหนดไว้ชัดเจน ว่าเราจะทำการอัดน้ำที่เท่าไหร่ นั่นเอง เช่น 1.3เท่า ของความดันออกแบบ/ หรือ 1.5 เท่าของแรงดันออกแบบ เป็นต้น และหากเป็น Boiler หรือ Pressure Vessel ที่ควบคุม หรือ มีกฎหมายควบคุม เช่น พรบ.โรงงาน กำหนด (อาจสามารถเรียกได้ว่าเป็น กฎหมายลูก ก็ไม่ผิด) เราก็ต้องทำการทดสอบครับ ตรงนี้มีกำหนดไว้ชัดเจน ทดสอบ แล้วรับรองการทดสอบ รับรองไปเพื่อ....ถังใบนี้นะ serial no. นี้นะ ได้ผ่านการทดสอบ การอัดแรงดัน ที่ความดัน XXเท่าของความดันออกแบบ สามารถใช้งานได้ต่อไป ด้วยความปลอดภัย(สรุป เป็นภาษาพูดคือ ถังใช้งานได้ต่อไปว่าอย่างนั้น/ ไม่ต้องห่วงว่าจะรองรับแรงดัน ได้หรือไม่/ ไม่ระเบิด ว่าอย่างนั้น) และในการตรวจสอบ ท่านควรที่จะ ให้ดำเนินการตรวจสอบภาชนะรับแรงดันตามหลักสากลและทำตรวจสอบโดยวิศวกรที่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรครับ

          หากไม่มี Code หรือ กฎหมายกำหนดในงานนั้นๆล่ะ ทำอย่างไร....คำตอบคือ ให้ใช้ Engineering practice คำตอบเดียวเลย คือ หากไม่มี Nameplate ระบุ/ หากไม่มีกฎหมายกำหนด/ ไม่มี Code รองรับ ว่าทำการทดสอบที่ความดันเท่าไหร่ โดยทั่วไปจะยึดกันที่ 1.5 เท่าของความดันออกแบบ เป็นหลัก หากไม่รู้ความดันออกแบบอีก ก็ 1.5 เท่าของความดันใช้งานเป็นกรณีสุดท้ายครับ ส่วนเรื่องของจะ Hold ทิ้งไว้เท่าไหร่ ตั้งทิ้งไว้เท่าไหร่ 1 ชั่วโมง/ ครึ่ง ชั่วโมง/ 1 วัน / 3 วัน........ตรงนี้ก็ต้องอ้างอิง กฎ หรือ Code เป็นหลักนะครับ ไม่ใช่ว่า พอเราขึ้นแรงดันได้ปุ๊บ เดินดูๆ รอยเชื่อม/ หน้าแปลน/ วาลว์/ อุปกรณ์ Fitting เดินดูรอบเดียว พอเห็นไม่รั่ว ไม่ซึม แล้ว ก็ลงแรงดันได้ แบบนี้ไม่ดีแน่ ทางที่ดีที่สุดคือ ทำตามขั้นตอนที่ Code หรือ กฎที่เค้าออกแบบมาแล้วครับ ดีที่สุด ตัวอย่างนะครับ

ASME Pressure Vessel Code ระบุ 30 นาที เป็นอย่างน้อย

ASME/ANSI B31.3 Chemical Plant and Petroleum Refinery Piping ระบุ 10 นาที เป็นอย่างน้อย

ASME/ANSI 31.8 Piping for Gas Transmission ระบุ 2 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย......พอสังเขปนะครับ


ข้อควรระวังในการทำการทดสอบ

          กรณีทำการทดสอบที่แรงดันสูงๆ ทั้งการขึ้นแรงดัน และการลดแรงดัน ควรทำการทดสอบ แบบเป็น step หรือขั้นบันไดในการทดสอบ ไม่ควรขึ้นรวดเดียว ม้วนเดียวจบเลย เช่น ขึ้นที่จากแรงดัน 1 bar รวดเดียวไปที่ 30 bar เลย ภายใน 2 นาที อะไรแบบนี้ครับ......เพราะ มันอันตรายครับ อันตรายกับ ตัวบุคคลที่ทำการทดสอบ บุคคลที่อยู่บริเวณทดสอบ บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง(ไทยมุง) เพราะสามารถมีชิ้นส่วนต่างๆ ที่หลุด/ ปริ/ แตก ออกมาทำความเสียหาย ได้โดยที่เราไม่ทันคาดคิด รวมถึงอันอาจเกิด ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Shock load ในตัววัสดุที่ทำการทดสอบเอง อันสามารถเป็นผลให้สูญเสียความสามารถในทางกลไปได้ในบางส่วนครับ ดังนั้นในการขึ้นแรงดัน/ ลงแรงดัน ให้ทำการทดสอบ เป็นขั้นบันได ได้จะดีที่สุดครับ เช่น จากความดันปกติ—ไต่ระดับไปที่ความดันใช้งานก่อน —จากความดันใช้งาน ทิ้งไว้ซักครู่---ไต่ระดับไปที่ ความดันออกแบบ---จากความดันออกแบบ --- ไต่ระดับไปที่ความดันทดสอบ พอถึงแรงดันทดสอบนี่ล่ะครับ เราถึงทำการจับเวลา/ Hold point เริ่มที่ตรงจุดนี้ + เดินดู เดินตรวจสอบ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อความมั่นใจครับ.............หลังจากที่ทดสอบแล้ว การลดแรงดันลงมา กลับสู่สภาวะปกติ ก็เช่นเดียวกันครับ เป็นลำดับเหมือนกัน ซึ่งหากผ่านการทดสอบแล้ว ผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงาน เจ้าของกิจการ ลูกมือ/พนักงาน ก็ปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจครับ

 

          แบบไหนเรียกแรงดันสูง ลองมาดูกัน ผมจะเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ยึดที่ความดันใช้งานปกติในถัง เป็นหลัก


ความดันบรรยากาศ หรือความดันอากาศที่มนุษย์เราอยู่ปัจจุบัน  14.7 PSI หรือ ประมาณ 0 bar

ความดันที่มือมนุษย์ สามารถกด หรืออุดได้ อยู่ที่ 20-25 PSI หรือ ประมาณ 1.3-1.7 bar

ความดันลมยาง VIGO ประมาณ 40-45 PSI หรือ ประมาณ 2.7-3.1 bar (เคยเห็นอุบติเหตุ จากการที่รถยางระเบิด แล้วเสียหลักพลิกคว่ำ กันนะครับ แล้วลองเทียบดู ความดัน เริ่มอันตรายแล้วนะครับ)

ความดันในถังก๊าซ LPG ทั้งถังบ้าน(ที่เราทอดไข่เจียว)/ ถังรถยนต์ ประมาณ 90-110 PSI หรือ ประมาณ 6.2-7.5 bar

ความดันในถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง ประมาณ 175-180 PSI หรือ ประมาณ 12 bar

ความดันถังแอมโมเนีย ประมาณ 250 PSI หรือ ประมาณ 17.2 bar

ความดันถังไนโตรเจน/สภานะก๊าซ (ที่เราเห็นกันในงานอุตสาหกรรม) ประมาณ 2000 PSI หรือ 137 bar

ความดันในถังก๊าซ NGV ประมาณ 3000 PSI หรือ ประมาณ 206 bar


          ลองพิจารณา ดูถึงความอันตรายนะครับ และแน่นอนว่า ความดันที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อความหนาของภาชนะที่บรรจุความดันเหล่านั้นด้วย เดี๋ยวภาคหน้า ขอมาต่อกันด้วยเรื่อง ของการวัดความหนา ถังรับแรงดัน หรือที่เรา ฮิตเรียกกันติดปากว่าUTM(Ultrasonic Thickness Measurement) นั่นเองครับ
12 Comments
<<Previous

    Author

    KAKA

    Archives

    March 2012
    August 2011
    January 2011
    December 2010
    August 2010
    July 2010
    June 2010
    May 2010

    Categories

    All
    ศัพท์ ภาษาอังกฤษ วิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม
    งานบริการ วิเคราะห์การเผาไหม้
    การเลื่อนระดับ วิศวกร
    การเลือกวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย
    Asme U Stamp
    Engineering Society
    Hydrostatic Test
    ศัพท์ Welding ผู้รับเหมา แปลกๆ
    Welding Code นั้นสำคัญไฉน
    Welding Society

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.